Archive for the ‘Uncategorized’ Category

พิ ชิ ต 1,250 ขั้ น บั น ไ ด ณ วั ด พ ร ะ ข า ว … ป า ก ช่ อ ง

Phra_Khao03

วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
พิชิต 1,250 ขั้นบันได ณ วัดพระขาว … ปากช่อง
วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม ตั้งอยู่บริเวณเขาสีเสียดอ้า หมู่บ้านกลางดง ทางฝั่งขวาของทางหลวงหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ซึ่งนักเดินทางบนถนนมิตรภาพสามารถมองเห็นองค์พระพุทธรูปสีขาวตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บนไหล่เขา เมื่อเดินทางมาถึงตรงหลักกิโลเมตรที่ ๑๕๐ มีทางแยกเข้าไปอิก ๒ กิโลเมตร มีถนนราดยางเข้าไปถึงวัด ซึ่งเมื่อเข้าไปถึงบริเวณภายในวัดสามารถสัมผัสกับความรู้สึกที่สงบ ร่มเย็น เหมาะสำหรับการเข้าไปหยุดสักการะ เปรียบเสมือนหนึ่ง ขอพรในนาทีแรกที่ย่างก้าวสู่ประตูอีสาน

วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม เกิดขึ้นจากดำริของ พระอาจารย์ท่านพ่อลี (พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์) ที่จะสร้างวัดขึ้น ณ เชิงเขาสีเสียดอ้าไปพร้อมๆ กับ การสร้างพระพุทธรูปไว้บนเนินเขา

การสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ได้ทำการขยายส่วนมาจาก พระพุทธรูป ภ.ป.ร. ซึ่งเป็นพระพุทธรูป ปางประทานพร

สำหรับผู้ที่เป็นผู้นำสำคัญในการก่อสร้าง วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม พร้อมกับพระพุทธรูปองค์นี้ คือ พลเอกพงษ์ ปุณณกัณต์ ซึ่งได้เริ่มสร้างตั้งแต่ครองยศเป็นพลโท และตามจารึกปณิธานวัจนะ ซึ่งบรรจุอยู่ภายในองค์พระพุทธรูปบอกไว้ว่า เนื่องจากผู้สร้างได้รำลึกถึงโอวาทของพระอาจารย์ท่านพ่อลี การก่อสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ ซึ่งได้ลงมือสร้างเป็นปฐม เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2510 และ ได้สำเร็จเป็นองค์พระบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2512

Read more »

ประวัติศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง ( กิ้วอ๋อง )

1505

ปฏิสนธิของประวัติกิ้วอ๋อง ซึ่งเดิมอยู่ที่เมืองจีนของจังหวัดกั่งส่าย ซึ่งเป็นที่สักการะบูชาของพวกคณะงิ้วเป็นอย่างมาก
แรกเริ่มเดิมทีของเรื่อง คือ ครั้งสมัยหนึ่งประมาณการผ่านไปเจ็ดสิบกว่าปีแล้วมีงิ้วคณะหนึ่งได้นำคณะล่องใต้ไปแสดงตามสถานที่ต่างๆ คณะงิ้วจะต้องอัญเชิญ กิ้วอ๋อง ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขานับถือ สักการบูชาอย่างสูงให้ท่านติดตามไปคุ้มครอง ปกปักรักษาให้พวกเขาอยู่เย็นเป็นสุขตลอดมา
ต่อมาคณะงิ้วดังกล่าวได้เดินทางมาถึงจังหวัดภูเก็ต ก็ได้เริ่มทำการแสดงอยู่ที่ซอยรมณีย์ทางด้านวัดมงคลนิมิต ( ซึ่งคนพื้นเมืองของจังหวัดภูเก็ตเรียกซอยรมณีย์ว่า อ่างอ่าหล่าย ) คณะงิ้วได้มาอยู่ที่จังหวัดภูเก็ตนานพอประมาณ ระหว่างที่คณะงิ้วอยู่ภูเก็ตนั้นก็ได้จัดให้มีพิธีกินผัก ( กินเจ ) กัน ซึ่งพวกงิ้วได้ถือปฏิบัติสืบอายุเป็นตอนๆ มา พิธีการกินเจคือเริ่มขึ้นประมาณเดือน 9 ขึ้น 1 ค่ำ ของปฏิทินจีน ( เก้าโง้ยโช่ยอีด ) ก่อนถึงวันกินเจ พวกงิ้วจะปัดกวาด ล้างชำระสถานที่เครื่องใช้ หม้อข้าว ถ้วยชาม และสิ่งของที่จะประกอบในพิธีให้สะอาด ผู้ที่จะร่วมในพิธีจะต้องแต่งตัว นุ่งขาวห่มขาว ในพิธีการกินเจมีทั้งหมด 9 วัน 9 คืน
ในสมัยนั้นก็มีพี่น้องชาวภูเก็ต ทั้งคนจีน และคนไทย ก็ได้เข้าร่วมในพิธีการถือศีลกินเจกับคณะงิ้วด้วย พี่น้องชาวภูเก็ตของเราก็ได้ศึกษา ปฏิบัติ พิธีการต่างๆ ตั้งแต่วันเริ่มงานกินเจจนเสร็จพิธี ในพิธีการกินเจนี้ เขาจะมีพิธีขึ้นเสาโกเต้ง มีตะเกียงน้ำมัน 9 ดวง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพิธีการกินเจได้เริ่มขึ้นแล้ว ในพิธีการกินเจก็มีการประทับทรงพระ ทำพิธี ลุยไฟ สะเดาะเคราะห์ อาบน้ำมันซึ่งกำลังเดือด พิธีไหว้เทวดา มีการแห่ขบวนไปตามถนนสายต่างๆ พอครบกำหนด 9 วัน 9 คืน ก็เป็นอันเสร็จพิธีการกินเจ
เมื่อพวกคณะงิ้วเสร็จสิ้นการแสดงงิ้ว ต่างก็เก็บข้าวเก็บของเตรียมเดินทางกลับภูมิลำเนาของตน หัวหน้าคณะงิ้วได้พิจารณาเห็นว่าพี่น้องชาวภูเก็ตทั้งคนจีนและคนไทยมีความเลื่อมใสศรัทธาในพิธีการถือศีลกินเจ พวกคณะงิ้วได้อัญเชิญเหี่ยวโห้ย และสิ่งของต่างๆ ซึ่งมีความจำเป็นจะต้องใช้ในพิธีการกินเจให้ไว้กับพี่น้องชาวภูเก็ตไว้ดำเนินพิธีการกินเจสืบทอดต่อไป พี่น้องชาวภูเก็ตต่างพร้อมใจกัน จัดตั้งเป็นศาลเจ้าขึ้นที่อ่างอ่า หล่าย ( ซอยรมณีย์ )
Read more »

ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย

juitui-shrine

เดิมศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง ตั้งอยู่ที่ซอยอ่างอ่าหล่าย (ซอยรมณีย์) ต่อมาได้เกิดไฟไหม้บริเวณบ้านเรือนลามมายังบริเวณศาลเจ้า ชาวบ้านจึงได้อัญเชิญเฮี้ยวโห้ย (ไฟศักดิ์สิทธิ์) มาฝากไว้ที่ศาลเจ้าปุดจ้อ และเมื่อถึงประเพณีกินผักก็ได้อัญเชิญมายังศาลเจ้าชั่วคราว ที่ชาวบ้านสร้างขึ้น ณ สวนพลูข้างศาลเจ้าปุดจ้อ ต่อมาเจ้าของสวนพลูได้ถวายที่ให้กับ “พระกิ้วอ่องไต่เต” ่สร้างเป็นศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง ซึ่งหลังแรกเป็นเรือนหลังคามุงจากต่อมา ชาวบ้านได้มาร่วมพิธีกินผักมากขึ้นจึงได้มีการพัฒนาศาลเจ้าเรื่อยมาตราบจนถึงปัจจุบัน จึงได้มีการก่อตั้ง “มูลนิธิจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง” เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2546

ขอขอบคุณ http://www.phuketvegetarian.com/

ประวัติประเพณีถือสีลกินเจ ภูเก็ต -ศาลเจ้าจีน

เดิมประเพณีกินผัก (เจี๊ยะฉ่าย) ที่ชาวบ้านและชาวจีนที่อยู่ในจังหวัดภูเก็ตเรียกกันว่า “เจี๊ยะฉ่าย” นั้น เป็นลัทธิเต๋าซึ่งนับถือบูชาเซียนเทวดา เทพเจ้า วีรบุรุษ เป็นประเพณีที่คนจีนนับถือมาช้านาน โดยเฉพาะคนจีนฮกเกี้ยน คำว่า “เจี๊ยะฉ่าย” (กินผัก) เป็นภาษาท้องถิ่น วันประกอบพิธีตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ (เก้าโง้ยโฉ่ยอีดถึงโฉ่ยเก้า) ตามปฏิทินจีนของทุกๆปี

ประเพณีเจี๊ยะฉ่าย ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกที่หมู่บ้าน ไล่ทู (ในทู) ซึ่งเป็นหมู่บ้านกะทู้ ตำบลกะทู้ จังหวัดภูเก็ตในปัจจุบัน คนจีนเหล่านั้นได้อพยพเข้ามาทำเหมืองแร่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา (ในสมัยรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) มีการค้าขายแร่ดีบุกกับปอร์ตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส อังกฤษ เป็นต้น คนจีนเหล่านั้นได้หลั่งไหลเข้ามามากที่สุดก่อนปี พ.ศ.2368 คือหลังจากเมืองภูเก็ตและเมืองถลางถูกพม่ารุกรานเมื่อปี พ.ศ.2352 พลเมืองได้กระจัดกระจายไปอยู่ตามที่ต่างๆ ครั้นพระยาถลาง (เจิม)ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองถลาง และได้ตั้งเมืองภูเก็ตที่บ้านเก็ตโฮ่ ให้พระภูเก็ต (แก้ว) มาเป็นเจ้าเมือง (ระหว่าง พ.ศ. 2368-2400)

พื้นที่รอบๆในทู (กะทู้) อุดมสมบรูณ์ไปด้วยแร่ดีบุก จึงทำให้คนจีนหลั่งไหลเข้ามาขุดแร่ดีบุกเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะเป็นคนจีนที่อพยพมาจากเมืองถลางเดิมที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป และที่อพยพมาจากมณฑลฮกเกี้ยน,ซัวเถาและเอ้หมึง ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน โดยอาศัยเรือใบผ่านมาทางแหลมมาลายู เป็นต้น หมู่บ้านในทูในสมัยนั้นยังเป็นป่าทึบ มีไข้ป่า ตลอดจนภยันตรายต่างๆ จากสัตว์ป่ามากมาย แต่ผู้คนและชาวจีนในหมู่บ้านในทูกลับเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีแร่ดีบุกอุดมสมบูรณ์จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลก

Read more »

ประวัติประเพณีถือศีลกินผักภูเก็ต–ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย

ภูเก็ต… เกาะศักดิ์สิทธิ์แผ่นดินนี้ ทุก ๆ ปี ที่นี่จะมีประเพณีใหญ่ยิ่งระดับที่โลกต้องจดจารอยู่ประเพณีหนึ่ง

คนภูเก็ตเรียกกันว่า ‘ประเพณีถือศีลกินผัก’ หรือ ‘เจียะฉ่าย’ ซึ่งก็คือ ‘เทศกาลกินเจ’ ของคนเชื้อสายจีนทั่วโลกนั่นเอง ปีนี้เวียนมาบรรจบครบรอบอีกวาระ ในระหว่างวันที่ 27 กันยายน – 5 ตุลาคมอันยิ่งใหญ่… ท้องทะเลอันงามงด และชายหาดอันเลอค่าของเกาะนี้อาจไร้ความหมายไปโดยปริยาย

เพราะจุดสนใจสูงสุดจะถูกย้ายมาอยู่ในตัวเมืองภูเก็ต …แน่นอนถนนสายสำคัญ ๆ จะเกลื่อนกล่นไปด้วยผู้คน และนักท่องเที่ยวจากทั่วสารทิศ ที่นุ่งขาวห่มขาว ธงเหลืองสะบัดพลิ้วปลิวไสว ประทัดสีแดงฉานถูกจุดก้องไกรดารดาษไปทั่วทุกท้องถนน

ประเพณีถือศีลกินผัก มีหลากหลายตำนาน ที่น่าสนใจยิ่งจากประเทศจีน แต่สำหรับเกาะสวรรค์แห่งนี้แล้ว มีหลักฐานว่า เริ่มต้นพิธีครั้งแรกที่อำเภอกะทู้ เมื่อ 184 ปี ที่ผ่านมา

ใน พ.ศ. 2368 มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ว่า …พระยาถลาง ได้ย้ายเมืองมาตั้งที่บ้านเก็ตโฮ่ ซึ่งอุดมไปด้วยแร่ดีบุก แต่ตอนนั้นยังเป็นป่าทึบ ชุมชุกด้วยไข้มาเลเรีย ต่อมามีคณะงิ้วปั่วฮี่ จากเมืองจีนมาเปิดการแสดง ชาวคณะได้เกิดล้มป่วยลง คณะงิ้วจึงได้ประกอบพิธีกินผักขึ้น เพื่อบวงสรวงเทพเจ้า ‘กิ๋วฮ๋องไต่เต่’ และ ‘ยกอ๋องซ่งเต่’ การณ์ปรากฏว่า โรคภัยไข้เจ็บได้หายไปหมดสิ้น จากนั้นมา ชาวกะทู้เกิดความศรัทธาสูงสุด จึงประกอบพิธีกินผักขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่ วันขึ้น 1 ค่ำ ถึงวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 (ตามปฏิทินจีน) รวม 9 วัน 9 คืน มาเป็นประจำทุกปี จนถึงทุกวันนี้

Read more »

ขบวนแห่พระศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยยิ่งใหญ่ ประชาชน นักท่องเที่ยวร่วมชมนับหมื่น

557000011599407

เมื่อเวลา 07.00 น. วันนี้ (30 ก.ย.) บรรยากาศการประกอบพิธีแห่พระรอบเมือง ในงานประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2557 คึกคักกว่าทุกวันที่ผ่านมา มีประชาชนชาวภูเก็ต นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติหลายพันคนออกมารับขบวนแห่พระของศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย เต้าโบ้เก้ง ซึ่งเป็นศาลเจ้าที่มีการประกอบพิธีแห่พระรอบเมืองที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาศาลเจ้าทั้งหมดกว่า 21 ศาลเจ้าของจังหวัดภูเก็ต

โดยในปีนี้ มีขบวนพระ ม้าทรง ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ ตั้งแต่อายุ 10-60 ปี กว่า 2,000 คน และมีเด็ก เยาวชน ประชาชน ตลอดจนหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนงานถือศีลกินผักของศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยฯ ร่วมมาในขบวนแห่พระจำนวนมาก ทำให้ขบวนมีความยิ่งใหญ่ และใช้เวลานานในการเคลื่อนขบวน ซึ่งเริ่มตั้งแต่ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยฯ ต่อเนื่องไปจนถึงปลายแหลมสะพานหิน เพื่อไปประกอบพิธีอัญเชิญควันธูป ควันเทียนกลับศาลเจ้า

อย่างไรก็ตาม ตลอดเส้นทางที่ขบวนแห่พระผ่านเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากตลอด 2 ข้างทางเนืองแน่นไปด้วยผู้คนที่มารอรับพระเพื่อรับพรจากองค์พระ และชมการแสดงอิทธิฤทธิ์ของม้าทรง โดยการใช้ของแหลม ของมีคมต่างๆ ทั้งใน และนอกตำนานทิ่มแทงตามร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณกระพุ้งแก้ม ลิ้น เช่น หัวมณฑล ร่มไทย มีดดาบ มีด เหล็กแหลม สว่าน เชิงเทียน ขวาน เขากวาง เรือสำเภา ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นการรับเคราะห์แทนผู้ถือศีลกินผัก

Read more »

ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง ภูเก็ต จัดพิธีลุยไฟแสดงอิทธิฤทธิ์บังคับไฟไม่ให้ร้อน

557000011596502

เมื่อเวลา 20.09 น. วานนี้ (29 ก.ย.) ที่บริเวณสนามหญ้าใกล้กับโรงยิม 4,000 ที่นั่ง สะพานหิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต พร้อมด้วย นายธีรวุธ ศรีตุลารักษ์ ประธานมูลนิธิจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง ร่วมเป็นประธานในพิธีถวายน้ำชาแก่องค์กิ้วอ๋องไต่เต่ ในการประกอบพิธีโก้ยโห้ย หรือพิธีลุยไฟ ของศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง ในงานประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2557 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 ก.ย.-2 ต.ค.57 โดยมีคณะกรรมการศาลเจ้าฯ ตลอดจนฝ่ายบริหาร สมาชิกสภาเทศบาลนครภูเก็ต ประชาชน นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติเข้าร่วมชมเป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ ในการประกอบพิธีดังกล่าว ทางศาลเจ้ายังได้รับการสนับสนุนกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบ และเจ้าหน้าที่อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนกว่า 100 คน คอยอำนวยความสะดวก และดูแลความปลอดภัยแก่ผู้เข้าร่วมพิธี

สำหรับพิธีลุยไฟถือเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ เป็นการแสดงถึงอิทธิฤทธิ์ที่บังคับไฟไม่ให้ร้อนหรืออาจถือว่าเป็นไฟทิพย์ ใช้ชำระความสกปรกของร่างกายให้บริสุทธิ์ โดยผู้ที่ร่วมลุยไฟของศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยในครั้งนี้ มีทั้งคนทรงเจ้าที่กำลังประทับทรง หรือม้าทรง และประชาชนโดยทั่วไปที่มั่นใจว่าตัวเองสะอาดแล้ว ทั้งกาย วาจา และใจ โดยการวิ่ง หรือเดินผ่านไปบนกองถ่านร้อนๆ ซึ่งปีนี้มีประชาชนทั่วไป รวมถึงเด็ก และเยาวชนด้วยที่ร่วมวิ่ง หรือเดินผ่านไปบนกองถ่านร้อนๆ

Read more »

ประเพณีถือศีลกินผัก (กินเจ) จังหวัดภูเก็ต

map-juitui
ครั้งที่1 ระหว่าง วันที่ 24 กันยายน – 02 ตุลาคม 57 (ทุกศาลเจ้า)

ครั้งที่2 ระหว่าง วันที่ 24 ตุลาคม – 01 พฤศจิกายน 57 (เฉพาะศาลเจ้ากะทู้ กับ ศาลเจ้าเชิงทะเล)

ทำไมปี 2557 นี้ ถึงต้องจัดให้มีการกินผักสองครั้ง
เนื่องจากในปี 2557 นี้ ตามปฏิทินฝ่ายจีน (จันทรคติ) ได้กำหนดมีเดือน 9 สองครั้ง โดยเดือน 9 ครั้งแรก เป็นเดือนใหญ่ มี 30 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน ถึงวันที่ 23 ตุลาคม 2557 ส่วนเดือน 9 ครั้งหลัง เป็นเดือนเล็ก มี 29 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม ถึงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2557 จึงถือได้ว่า ในปี 2557 นี้ มีวันเก้าโหง้ยโชยอีดถึงโชยเก้า ถึงสองครั้งในปีนี้

การกินผัก ครั้งที่2 จะมี เฉพาะศาลเจ้ากะทู้ กับ ศาลเจ้าเชิงทะเล เท่านั้น

ประเพณีถือศีลกินผัก (กินเจ) จังหวัดภูเก็ตเป็นประเพณีที่ดีงามที่สืบทอดกันมานับร้อยปี เป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของภูเก็ตผมได้รวบรวมข้อมูลเรื่องราวประเพณีกินผักของภูเก็ตจากเอกสารต่างๆหรือคำบอกเล่าของผู้ใหญ่ ถ้ามีข้อมูลที่ผิดพลาดประการใด ผมขอน้อมรับคำติ และหากว่าท่านมีข้อมูลอยากจะเพิ่มเติมช่วยส่งมาให้ผมด้วยน่ะครับ ผมถือว่าทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของเว็บนี้

ขอขอบคุณ http://www.phuketvegetarian.com/

 

ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย

JuiTui_Shrine_10

เป็นศาลเจ้าขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัด ตั้งอยู่กลางเมือง ในซอยภูธรติดกับศาลเจ้าปุดจ้อ ในช่วงเทศกาลประเพณีถือศีลกินผัก ศาลเจ้าจุ๊ยตุ่ยนับเป็นศูนย์รวมของคนไทยเชื้อสายจีน และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ที่เขามาร่วมงานในเทศกาลดังกล่าวเป็นจำนวนมาก

ตามประวัติของศาลเจ้าจุ๊ยตุ่ยนั้น นับว่าเกี่ยวเนื่องกับศาลบางเหนียวเป็นอย่างมาก คือหลังจากที่เกิดไฟไหม้ศาลเจ้าจีนของคณะงิ้วในซอยรมณีย์แล้ว ครั้งนั้น แกนนำกลุ่มหนึ่ง ก็ได้ไปติดต่อกับเจ้าของที่ดิน บริเวณหมู่ที่ 8 ตำบลตลาดเหนือ เพื่อสร้างศาลเจ้าขึ้นใหม่ โดยเดิมทีที่ดินตรงนั้นเป็นสวนปลูกพลู ส่วนด้านหน้าทิศตะวันออกนั้นเป็นคลองขนาดใหญ่ ที่เรือใบขนาดใหญ่สามารถแล่นเข้ามาเทียบท่าได้ ภายหลังจากเจรจากับเจ้าของที่ดินเรียบร้อยแล้ว แกนนำชาวบ้านก็ได้อัญเชิญรูปเคารพเทพเจ้าจีนทั้งหลายที่ยังหลงเหลือมาประดิษฐานไว้ ณ ที่แห่งใหม่ และสร้างศาลเจ้าขึ้นมา โดยมุงหลังคาและกั้นด้วยจาก แล้วชาวบ้านก็รียกศาลเจ้าแห่งใหม่นี้ว่า ศาลเจ้าจุ๊ยตุ่ย มาจนถึงทุกวันนี้

ปัจจุบันศาลเจ้าจุ๊ยตุ่ย ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาจนเป็นศาลเจ้าที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของชาวภูเก็ต ซึ่งไม่เฉพาะในช่วงประเพณีถือศีลกินผักเท่านั้น แต่ทุกๆ วันจะมีประชาชนที่เคารพศรัทธาเดินทางมาเพื่อกราบไหว้ขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาลเจ้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งโดยปกติแล้ว เมื่อกราบไหว้เทพเจ้าจีนที่ศาลเจ้าจุ๊ยตุ่ยแล้ว ประชาชนก็มักจะเดินผ่านประตูไปกราบไหว้พระโพธิสัตว์กวนอิมที่ศาลเจ้าปุดจ้อซึ่งอยู่ติดกันด้วย

Read more »

กินเจที่ภูเก็ต ประเพณีถือศีลกินผัก จังหวัดภูเก็ต–ศาลเจ้าปุดจ้อ

635872-topic-ix-0
เมื่อ ถึงวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 (ตามปฏิทินจีน) ของทุกปี เราจะเห็นธงสีเหลือง ๆ มีตัวอักษรจีนประดับอยู่ตามร้านอาหาร และที่ต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกว่า…เริ่มเข้าสู่ เทศกาลกินเจแล้ว ซึ่ง เทศกาลกินเจ ปี 2555 เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 – 23 ตุลาคม 2555 แต่บางคนอาจกินเจล่วงหน้า 1 วัน หรือที่เรียกว่า ล้างท้อง นั่นเอง
จังหวัด ภูเก็ต ขอเชิญร่วมงาน ประเพณีถือศีลกินผัก (กินเจ) ระหว่างวันที่ 15 – 23 ตุลาคม 2555 ไปอิ่มบุญ เสริมบารมี อยู่เย็นเป็นสุข ในช่วงงานประเพณี นอกจากจะได้ถือศีลกินผัก อิ่มบุญ และชมพิธีกรรมแห่พระ ลุยไฟ ไต่บันไดมีด และพิธีสะเดาะเคราะห์จากทุกศาลเจ้าทั่วเกาะภูเก็ตในแต่ละวันแล้ว ยังเสริมบารมีให้ตัวเองด้วยการทำบุญเขียนชื่ออักษรจีนบนเม็ดข้าวสาร ศักดิ์สิทธิ์จากศาลเจ้าปุดจ้อ (ศาลเจ้ากวนอิม จังหวัดภูเก็ต) ซึ่งถือว่าเป็นศาลเจ้าศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต ที่ประชาชนชาวภูเก็ตให้ความเคารพนับถือกันมาก

ทั้ง นี้ ประเพณีการกินผัก หรือที่ชาวภูเก็ตเรียกกันว่า เจี่ยะฉ่า นั้น เชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดจากบ้านในทู หรือไล่ทู (เขตอำเภอกะทู้ ในปัจจุบัน) เนื่องจากในสมัยก่อนพื้นที่นี้เต็มไปด้วยกิจการเหมืองแร่ จึงทำให้มีชาวจีนอพยพหลั่งไหลมาอยู่อาศัย เกิดเป็นชุมชนชาวจีนขนาดใหญ่ขึ้น ปัจจุบันประเพณีกินผักถือเป็นจุดขายทางด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญ และ อ๊าม (ชาวภูเก็ตนิยมเรียกกัน หมายความว่าศาลเจ้า) ที่สำคัญ ๆ ในจังหวัดภูเก็ตมีทั้งหมด 6 แห่ง คือ

Read more »

เทศกาลกินเจคึกคัก ภูเก็ตเปิดยิ่งใหญ่ ประเพณี “ถือศีลกินผักภูเก็ต”

13502188851350218926l-610x404

เมื่อเวลา 17.09 น. วันที่ 14 ตุลาคม ที่บริเวณศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง ซอยภูธร ถนนระนอง ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุก องคมนตรี เป็นประธานในพิธียกเสาโกเต้ง เนื่องในประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต ที่กำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 15-23 ตุลาคมนี้ โดยมี นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นางธันยรัศม์ อัจฉริยะฉาย สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดภูเก็ต นางอัญชลี วานิช เทพบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เขตเลือกตั้งที่ 2 พรรคประชาธิปัตย์ นางสาวสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต หัวหน้าส่วนราชการ ตลอดจนแขกผู้มีเกียรติ พี่น้องประชาชนชาวจังหวัดภูเก็ตและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ที่ส่วนใหญ่พร้อมใจกันแต่งกายด้วยชุดขาวเข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก

ในขณะเดียวกันศาลเจ้าต่างๆ ในจังหวัดภูเก็ตที่เข้าร่วมประเพณีถือศีลกินผัก ที่มีประมาณ 20 แห่งเช่นศาลเจ้าบางเหนียว ศาลเจ้าปุดจ้อ ศาลเจ้าสะปำ ศาลเจ้ากะทู้ ศาลเจ้าท่าเรือ ศาลเจ้าหล่อโรง ศาลเจ้ากวนอูบ้านนาบอน ศาลเจ้ายกเค้เก้ง ศาลเจ้าเชิงทะเล ศาลเจ้าสามกองและศาลเจ้าฮุนจงอ๊าม จ้อสู่ก้ง นาคา เป็นต้น มีการประกอบพิธียกเสาโกเต้งเช่นเดียวกัน สำหรับการประกอบพิธียกเสาโกเต้งถือเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นประเพณีถือ ศีลกินผัก และเพื่อเป็นการอัญเชิญตะเกียงไฟเทวดาทั้ง 9 ดวง องค์กิ้วฮ๋องไต่เต่ และองค์ยกฮ๋องซ่งเต่ประดิษฐานไว้ที่เสาโกเต้ง และก่อนการประกอบพิธีดังกล่าวบรรดาประชาชนได้มีการปิดทองตามต้นเสาโกเต้ง เพื่อเป็นสิริมงคลกับตนเองและครอบครัวด้วย

Read more »

ศาลเจ้าจุ๊ยตุ่ย ภูเก็ต

sarnchao Jui_Tui

ตั้งอยู่ในซอยภูธร ติดกับศาลเจ้าปุดจ้อ ตามประวัติของศาลเจ้าจุ๊ยตุ่ยนั้น มีความเกี่ยวข้องกับศาลเจ้าบางเหนียว กล่าวคือหลังจากเกิดไฟไหม้ศาลเจ้าของคณะงิ้วในซอยรมณีย์แล้ว ครั้งนั้นแกนนำกลุ่มหนึ่งได้แยกตัวออกไปตั้งศาลเจ้าบริเวณบ้านบางเหนียว ซึ่งต่อมาคือศาลเจ้าบางเหนียวในปัจจุบัน ขณะเดียวกันแกนนำอีกกลุ่มนึ่ง ก็ได้ไปติดต่อกับเจ้าของที่ดิน บริเวณหมู่ที่ 8 ตำบลตลาดเหนือ เพื่อสร้างศาลเจ้าขึ้นใหม่ โดยเดิมทีที่ดินตรงนั้นเป็นสวนปลูกพลูด้านหน้าทิศตะวันออกเป็นคลองขนาดใหญ่ ที่เรือใบขนาดใหญ่สามารถแล่นเข้ามาเทียบท่าได้ เมื่อตกลงกับเจ้าของที่ดินเรียบร้อยแล้ว แกนนำชาวบ้านก็ได้อัญเชิญรูปเคารพเทพเจ้าจีนที่ยังหลงเหลือมาประดิษฐานไว้ ณ ที่แห่งใหม่ และสร้างศาลเจ้าขึ้นมา ชาวบ้านแถบนั้นเรียกศาลเจาแห่งใหม่นี้ว่า ศาลเจ้าจุ๊ยตุ่ย มาจนถึงทุกวันนี้

ปัจจุบันศาลเจ้าจุ๊ยตุ่ย ได้รับการปรับปรุงและพัฒนา จนเป็นศาลเจ้าที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งและโดยเฉพาะในช่วงประเพณีถือศีลกินผัก จะมีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนี้ในทุก ๆ วันจะมีประชาชนที่เคารพศรัทธาเดินทางเพื่อมากราบไหว้ขอพรจากสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ในศาลเจ้าเป็นจำนวนมาก

ขอขอบคุณ http://www.teawtourthai.com/

ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง

IMG_2819

เดิมศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง ตั้งอยู่ที่ซอยอ่างอ่าหล่าย (ซอยรมณีย์) ต่อมาได้เกิดไฟไหม้บริเวณบ้านเรือนลามมายังบริเวณศาลเจ้า ชาวบ้านจึงได้อัญเชิญเฮี้ยวโห้ย (ไฟศักดิ์สิทธิ์) มาฝากไว้ที่ศาลเจ้าปุดจ้อ และเมื่อถึงประเพณีกินผักก็ได้อัญเชิญมายังศาลเจ้าชั่วคราว ที่ชาวบ้านสร้างขึ้น ณ สวนพลูข้างศาลเจ้าปุดจ้อ ต่อมาเจ้าของสวนพลูได้ถวายที่ให้กับ “พระกิ้วอ่องไต่เต” สร้างเป็นศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง ซึ่งหลังแรกเป็นเรือนหลังคามุงจากต่อมา ชาวบ้านได้มาร่วมพิธีกินผักมากขึ้นจึงได้มีการพัฒนาศาลเจ้าเรื่อยมาตราบจนถึงปัจจุบัน จึงได้มีการก่อตั้ง “มูลนิธิจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง” เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2546

ขอขอบคุณ http://www.phuketemagazine.com/

ศาลเจ้าปุดจ้อ ภูเก็ต

20130126112719

โดยในปีนี้ ททท.ภูเก็ต ร่วมกับพันธมิตรจัด 2 กิจกรรมไฮไลท์ส่งเสริมการท่องเที่ยวภูเก็ต ได้แก่
* “ไหว้พระเป่งอ้าน…ฮวดจ๋ายตรุษจีน” นำนักท่องเที่ยวเดินทางสักการะองค์เทพตามอ๊าม (ศาลเจ้า) ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อขอพรในเทศกาลตรุษจีน โดยเริ่มต้นลงทะเบียนที่ ททท.สำนักงานภูเก็ต ถ.ถลาง จากนั้นเดินทางไปยังศาลเจ้ากิ้วเทียนเก้ง – ศาลเจ้าบางเหนียว – ศาลเจ้าแม่ย่านาง – ศาลเจ้าปุดจ้อ – ศาลเจ้าจุ้ยตุ๋ย – ศาลเจ้ากะทู้ – ศาลเจ้าสะปำ – ศาลเจ้าท่าเรือ และศาลเจ้าแสงธรรม จากนั้นเชิญร่วมงานตรุษจีนย้อนอดีตเมืองภูเก็ต ครั้งที่ 14 เพลิดเพลินกับสีสันในมิติแห่งแสง สี เสียง ท่ามกลางบรรยากาศอดีตมณฑลภูเก็ต ตลอดถนนถลาง, ถนนพังงา,ถนนกระบี่ และถนนดีบุก
* กิจกรรมสาธิตขนมพื้นเมือง ทดลองทำ ทดลองกิน ฟรีตลอดรายการ ภายใต้ชื่อ “ทำไป…อิ่มไป…สุขใจกับ ททท.” ณ หน้าที่ทำการ การท่องเที่ยงแห่งประเทศไทย โดยจัดทำขนมสามอย่างต่อวัน ตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป อาทิ ขนมอาโป้ง / โกซุย / ขนมคีบ / ขนมโค / เกี้ยมโก้ย / เหนียวหีบ / อังกู่ / ฮวดโก้ย / เป่าล้าง และในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ เทศบาลนครภูเก็ต ได้จัดพิธีไหว้พระจันทร์ (ส่งเจ้าขึ้นสวรรค์) ททท. ได้ร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต ผัดหมี่ฮกเกี้ยน แจกให้กับ ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อเป็นศิริมงคลและสืบสานประเพณีดั้งเดิมให้กับเยาวชนรุ่นหลังต่อไป

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานภูเก็ต

ขอขอบคุณ http://th.aectourismthai.com/

ศาลเจ้าปุดจ้อ

ศาลเจ้าปุดจ้อเป็นศาลเจ้าเก่าแก่ของเมืองภูเก็ต มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานกว่าร้อยปี ตัวศาลเจ้าสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบจีนซึ่งนิยมมากในมณฑลฮกเกี้ยน โดยการบูรณครั้งล่าสุดหรือแทบจะเป็นการสร้างใหม่เลยก็ว่าได้ก็เมื่อ พ.ศ. 2451 หรือราวร้อยปีที่แล้ว ดังนั้นผังของศาลเจ้าที่เราเห็นในปัจจุบันก็คือของที่สร้างเมื่อร้อยปีก่อน สวนประกอบต่างๆงทุกสิ่งทุกอย่างของอามปุดจ้อ นั้นยังคงเป็นเหมือนเดิมเหมือนเมื่อร้อยกว่าปีก่อนผ่านร้อนผ่านหนาวและผ่านเหตุการณ์สำคัญที่ทุกคนก็รู้กันดี คือเมื่อ ศาลเจ้ากิวอ๋องที่ “อ่างอ่าหลาย”หรือ”ซอยรมณี” เกิดไฟไหม้ คณะกรรมการศาลเจ้าในสมัยนั้น ก็ได้นำขี้ธูปขิงกิวอ๋องเอี๋ยมาฝากไว้ที่อามปุดจ้ออยู่ระยะหนึ่งเพราะยังไม่มีที่ดินแน่นอนที่จะสร้างศาลเจ้าใหม่ เวลากินผักทีก็เชิญขี้ธูปออกมาจากอามปุดจ้อมาประกอบพิธีจนเจ้าของที่สวนพลูยกที่ดินให้ จึงได้เอาขี้ธูปศักด์สิทธ์มาประดิษฐานที่ศาลเจ้าหลังใหม่เป็นการถาวรจนกระทั่งปัจจุบันเห็นมั้ยหล่ะว่าอามปุดจ้อของเรานั้นมีประวัติยาวนานแค่ไหน หลังจากนั้นอามปุดจ้อก็ได้ดำรงความเป็นศาลเจ้าฮกเกี้ยนโบราณจนกระทั่ง พ.ศ. 2536 ได้มีการบูรณะอาดปุดจ้อครั้งใหญ่จนเป็นที่น่าเสียดายว่าโบราณสถานที่เก่าแก่ของเรากำลังจะถูกทำลายศิลปกรรมที่เต็มไปด้วยประวัติความเป็นมาที่ยาวนานด้วยน้ำมือของคนภูเก็ตเอง ที่ได้เปลี่ยนรูปทรงของศาลเจ้าปุดจ้อที่ช่างจีนโบราณได้ฝากฝีมือเอาไว้จนกลายเป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน จนไม่มีเค้าความเป็นศาลเจ้าโบราณเหมือนเก่า(ที่มาเลเซียและสิงคโปร์ที่เขาจะอนุรักษ์โบราณสถานของเขาให้เหมือนเดิมมากที่สุดเพื่อแสดงถึงความเก่าแก่ของท้องถิ่นนั้นๆ)จึงขอสรุปความเปลี่ยนแปลงที่ดูแล้วน่าใจหายไว้ดังนี้
Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .