Archive for the ‘Uncategorized’ Category

ศาลเจ้าบางเหนียว

อ๊ามบางเหนียว หรือ ศาลเจ้าต่าวบู้เก๊ง หรือ มูลนิธิเทพราศี เป็นศาลเจ้า เก่าแก่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2447 ชาวบ้านเรียกว่า ศาลเจ้าต่าวโบ้เก๊ง หรือฉ้ายตึ๋ง เป็นที่ทราบกันว่า มีคณะงิ้วจีน คณะกังฉ๊ายฮี่ เดินทางมาจากเมืองจีน มาแสดงที่ตรอกเม่าเก้า (ซอยรมณีย์ปัจจุบัน) ขณะนั้นมีศาลเจ้า อยู่แห่งหนึ่ง จึงได้นำพระเตี๋ยนฮู้หง่วนโส่ย (เหล่าเอี๋ย) มาบำเพ็ญกุศล และเริ่มประเพณี ถือศีลกินผักเป็นประจำจนชาวบ้าน เกิดความเลื่อมใส และเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

ขอขอบคุณ http://thai.tourismthailand.org/

รวมภาพขบวนแห่พระศาลเจ้าบางเหนียว @ Phuket

ภาพขบวนแห่พระของศาลเจ้าบางเหนียว
พิธีอิ้วเก้ง หรือพิธีแห่้พระ ไปตามถนนสายต่าง ๆ ที่กำหนด เพื่ออวยพรให้แก่ประชาชนที่บูชา และทำพิธีอัญเชิญ เิฮี้ยวโห้ย กลับไปยังศาลเจ้า

โดยในระหว่างเส้นทางที่ขบวนผ่าน ก็จะมีประชาชนตั้งของไหว้ และพระก็จะเดินมาที่โต๊ะของไหว้ หรือไม่เราเป็นคนไปเชิญท่านมาทำพิธีที่โต๊ะ เมื่อทำพิํธีเสร็จ พระจะแจกของไหว้่แก่ผู้ที่ตั้งของไหว้ และประชาชที่อยู่บริเวณนั้น

SL370177

 

SL370183

SL370184

Read more »

ศาลเจ้าต่าวบู้เก้ง มูลนิธิเทพราศี (ศาลเจ้าบางเหนียว)

DSC_0082

ที่ตั้ง : ถ.ภูเก็ต บ.บางเหนียว ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต

การเดินทาง : จากเมืองภูเก็ตไปทางสะพานหิน เมื่อผ่านสีแยกบางเหนียวศาลเจ้าจะอยู่ทางซ้ายมือ

เป็นศาลเจ้ายุคหลังจาก ศาลเจ้าในซอยอังอาหลายหรือซอยรมณีย์ในปัจจุบันได้ถูกไฟไหม้ โดยได้มีการเชิญกิมซิ้นหรือรูปแกะสลักองค์พระเหลาเอี๋ย หรือ เตี่ยนหู้หง่วยโซ่ย มาตั้งที่ชุมชนบางเหนียว ส่วนกระถางธูปและป้ายชื่อหยกอ๋องซ่งเต่ไปตั้งที่ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย

อ๊ามบางเหนียวแรกเริ่มเดิมทีมีองค์พระไต่ซ้องสามต่องอ๋องเป็นประธานอ๊าม ต่อมาได้มีการอัญเชิญองค์เหลาเอี๋ยมาเป็นประธานเพื่อประกอบพิธีถือศีลกินผักสืบมา โดยในศาลเจ้าจะมีการแบ่งเป็นช่องๆ แต่ละช่องก็จะมีองค์พระต่างกันไป เช่น สามต่องอ๋อง สามฮู้อ่องเอี๋ย ฮวบจูกง เป็นต้น ภายในศาลเจ้าจะมีรูปวาดลงสีอยู่บนกำแพงด้านบนศาลเจ้า

ขอขอบคุณ http://www.thisphuket.com/

สุดหวาดเสียวม้าทรงศาลเจ้าบางเหนียวภูเก็ตใช้อาวุธนอกตำนานแสดงอภินิหาร

Image

วันนี้ (10 ต.ค.) เป็นวันที่ 5 ของพิธีอิ้วเก้ง หรือพิธีแห่พระรอบเมืองในประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2556 ซึ่งเป็นขบวนแห่พระรอบเมืองของศาลเจ้าบางเหนียว ซึ่งเป็นศาลเจ้าเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดภูเก็ต โดยบรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคัก มีประชาชน และนักท่องเที่ยวเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณหน้าลานนวมินทร์ ภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มาตั้งโต๊ะรับพระ ในขณะที่โรงแรมเพิร์ล ภูเก็ต และโรงแรมเมโทรโพล ภูเก็ต ได้ตั้งโต๊ะรับพระเช่นกัน ส่วนที่บริเวณวงเวียนสุรินทร์ (หอนาฬิกา) ได้มีประชาชน และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติจำนวนมากได้เดินทางมารอรับขบวนแห่พระของศาลบางเหนียว เพื่อเป็นการขอพรจากองค์พระ รวมทั้งชมการแสดงอิทธิฤทธิ์ของบรรดาม้าทรงกว่า 500 คน

โดยม้าทรงของศาลเจ้าบางเหนียวยังคงแสดงอภิหารสุดหวาดเสียว ใช้อาวุธที่มีอยู่ในตำนาน และของมีคมที่อยู่นอกตำนานในการทิ่มแทงตามร่างกาย เช่น พลั่วตักดิน ปืนบีบีกัน นิ้วมือของชาวต่างชาติทิ่มแทงที่กระพุ้งแก้มแทนอาวุธ นอกจากนั้น ยังมีมีดดาบขนาดใหญ่ ร่มกันฝน ปืนยาว เรือสำเภาจำลอง คีมตัดเหล็ก และอาวุธอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งสร้างความหวาดเสียวให้แก่ประชาชน และนักท่องเที่ยวที่ไปรอชมขบวนแห่พระจำนวนมาก โดยการแสดงอภินิหารของม้าทรงเชื่อว่าเป็นการรับเคราะห์แทนผู้ถือศีลกินผัก

Read more »

ศาลเจ้าบางเหนียว

เป็นศาลเจ้าที่มีผู้คนศรัทธาและให้ความเคาพบูชากันมากแห่งหนึ่งในตัวเมืองจังหวัดภูเก็ต ศาลเจ้าบางเหนียว หรืออ๊ามบางเหนียวต้าวโบ้ก้องแห่งนี้ เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2447 คำว่า ต้าวโบ้ หมายถึง ดาวเหนือ ก้อง หมายถึง พระราชวัง หมายถึง พระราชวังดาวเหนือ ตามประวัติการก่อสร้างกล่าวว่า มีคณะงิ้วกังฉ่ายฮี่จากจีนเดินทางมาเปิดการแสดงที่ตรอกมาเก๊า หรือซอยรมณีย์ในปัจจุบัน และยังได้นำพระตี่ฮู้หง่วนโส่ย หรือเหล่าเอี๋ยมาเพื่อเคารพบูชาและบำเพ็ญกุศลถือศีลกินผักเป็นประจำ โดยมีการสร้างศาลเจ้าในบริเวณเดียวกัน ต่อมาเกิดไฟไหม้ศาลเจ้าโดยไม่ทราบสาเหตุ แกนนำชาวบ้านแถบนั้นจึงได้พร้อมใจกันนำพระตี่ฮู้หง่วนโส่ยไปประดิษฐาน ณ บ้านเลขที่ 384-386 บนถนนภูเก็ต ซึ่งตรงข้ามกับศาลเจ้าในปัจจุบัน และอีกประมาณ 4-5 ปีต่อมา เกิดเพลิงไหม้ศาลเจ้าโดยไม่ทราบสาเหตุอีก ชาวบ้านจึงได้นำพระตี่ฮู้หง่วนโส่ยไปประดิษฐานยังฝั่งตรงข้ามซึ่งติดกับสถานที่ปัจจุบัน จากนั้นแกนนำของศาลเจ้าได้ช่วยกันเรี่ยไรเงินจากภาคเอกชนจัดซื้อที่ดินด้านข้าง เพื่อขยายพื้นที่ของศาลเจ้าและได้พัฒนาศาลเจ้าบางเหนียวจนเป็นดังที่เห็นทุกวันนี้ ในปีพ.ศ.2547 ศาลเจ้าบางเหนียว มีอายุครบ 100 ปี ได้มีการจัดเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีอย่างยิ่งใหญ่

ปัจจุบันนี้ ศาลเจ้าบางเหนียวนับเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยเชื้อสายจีนในภูเก็ต ที่มีความศรัทธาและเชื่อมั่นในความดีงามของบรรพบุรุษที่เคยได้สร้างไว้ และในแต่ละปี ในช่วงเวลาของประเพณีถือศีลกินผัก ทางศาลเจ้าจะมีการจัดงานเทศกาลอย่างยิ่งใหญ่ มีชาวไทยเชื้อสายจีนในประเทศ และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศให้ความนิยมเข้ามาร่วมงานเป็นจำนวนมาก

ขอขอบคุณ http://www.phuketbulletin.co.th/

ศาลเจ้าบางเหนียว

bang-neow-shrine10

อ๊ามบางเหนียว หรือ ศาลเจ้าต่าวบู้เก๊ง หรือ มูลนิธิเทพราศี เป็นศาลเจ้า เก่าแก่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2447 ชาวบ้านเรียกว่า ศาลเจ้าต่าวโบ้เก๊ง หรือฉ้ายตึ๋ง เป็นที่ทราบกันว่า มีคณะงิ้วจีน คณะกังฉ๊ายฮี่ เดินทางมาจากเมืองจีน มาแสดงที่ตรอกเม่าเก้า (ซอยรมณีย์ปัจจุบัน) ขณะนั้นมีศาลเจ้า อยู่แห่งหนึ่ง จึงได้นำพระเตี๋ยนฮู้หง่วนโส่ย (เหล่าเอี๋ย) มาบำเพ็ญกุศล และเริ่มประเพณี ถือศีลกินผักเป็นประจำ จนชาวบ้าน เกิดความเลื่อมใส และเข้าร่วมกิจกรรม เป็นจำนวนมาก

ต่อมา เกิดเพลิงไหม้ที่ศาลเจ้า โดยไม่ทราบสาเหตุ จึงมีชาวบ้านกลุ่มหนึ่ง ได้นำ พระเตี๋ยนฮู้หง่วนโส่ย (เหล่าเอี๋ย) ไปประดิษฐานที่ อ๊ามบางเหนียว และช่วยกันสร้าง ศาลเจ้าเรือนไม้ หลังคามุงจาก

4-5 ปีต่อมา เกิดเพลิงไหม้ศาลเจ้าอีกครั้งโดยไม่ทราบสาเหตุเช่นกัน จากนั้น ชาวบ้าน จึงได้นำพระเตี๋ยนฮู้หง่วนโส่ย (เหล่าเอี๋ย) ไปประดิษฐาน ณ บริเวณตรงกันข้าม ที่เกิดเพลิงไหม้ ชาวบ้านบางเหนียว เกิดความเลื่อมใส ศรัทธา ร่วมบำเพ็ญกุศล และถือศีลกินผักทุกปี ทำให้สถานที่คับแคบแก่ผู้ที่มาร่วม ทำพิธีกรรมของศาลเจ้า จึงมีคณะนำโดย ขุนเลิศภาคารักษ์ ได้ร่วมแรงร่วมใจ กับปรับปรุงศาลเจ้าขึ้นใหม่ เป็นหลังคามุงสังกะสีและเรี่ยไรเงินจากชาวบ้าน ซื้อที่ดิน 6 แปลง ในปี พ.ศ.2500 คณะกรรมการ บริหารศาลเจ้า จำนวน 5 คน ได้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิเทพราศี ในปี 2501 จากนั้น ได้มีการปรับปรุง พัฒนาจาก หลังคาสังกะสี เป็นอาคารคอนกรีตที่มีขนาดใหญ่ อำนวยความสะดวก แก่ผู้คนมี่มาร่วมบำเพ็ญกุศลด้วย

ขอขอบคุณ http://phuketvegetarian.com/

เที่ยวแหลมสะพานหิน จ.ภูเก็ต ไหว้ทะเลขอพรที่..ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง

สวนสาธารณะสะพานหิน ตั้งอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 207 ไร่ สุดสายถนนภูเก็ต บรรจบทะเลในเมือง มีอนุสาวรีย์หลัก 60 ปี ที่จำลองมาจากกะเชอขุดแร่ เป็นสัญลักษณ์ของสถานที่นี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 จนถึงปัจจุบัน สะพานหินเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจยอดนิยมของชาวภูเก็ตตลอดมา ซึ่งที่นี่มีความเป็นธรรมชาติที่ประกอบไปด้วยต้นไม้สีเขียวชนิดต่างๆ ทั่วบริเวณสัมผัสกับระบบนิเวศของป่าชายเลน และทะเลในเมืองที่มองเห็นทิวทัศน์ของภูเก็ตได้ในมุมกว้าง และด้วยความร่มรื่นของทิวสนที่ปกคลุมถนนตลอดทั้งสองข้างทางก่อนจะถึงปลายแหลมสะพานหิน จึงมีผู้คนนิยมมาขับรถเล่นภายใต้ทิวสน รวมไปถึงพักผ่อนปิกนิก และทำกิจกรรมต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของศูนย์กีฬา สระว่ายน้ำ ศูนย์บริการคอมพิวเตอร์แก่ประชาชน ศูนย์เยาวชน ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลนครภูเก็ต และศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง สถานที่สักการะพระนางกิ้วเที้ยนเลี่ยนลื้อ และใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีในเทศกาลกินผักในช่วงเดือนเมษายนของทุกๆปี

ความสำคัญของศาลเจ้าแห่งนี้ นอกจากจะเป็นสถานที่ที่มีรูปประทับของเทพเจ้ากิ้วเทียนเฮียนลื้อตั้งอยู่เป็นประธานของศาลเจ้าแล้ว ศาลเจ้าแห่งนี้ยังมีรูปบูชาองค์เทพเจ้าจีนตามความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายจีนอีกมากมาย โดยเฉพาะเทพเจ้าที่เป็นเพศหญิง และนอกจากนี้บริเวณที่ตั้งศาลเจ้า หากขึ้นไปยืนอยู่ตรงทางประตูศาลเจ้า แล้วหันหน้ามองออกไปทางสะพานหิน จะเห็นภูมิทัศน์เป็นท้องทะเลที่กว้างใหญ่ และสวยงาม ขณะเดียวกันหากมองจากปลายแหลมสะพานหินขึ้นมายังศาลเจ้า จะเห็นเป็นสถาปัตยกรรมจีนแบบประเพณีนิยมที่สวยงามทรงคุณค่าอีกแห่งหนึ่งบนเกาะภูเก็ต

Read more »

ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง ภูเก็ต

067c022-p001
ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง เป็นศาลเจ้าแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ตที่มีชื่อเสียงในด้านของความศักดิ์สิทธิ์ ชาวภูเก็ตเชื้อสายจีนทั้งหลายที่นับถือในองค์กิ้วเที้ยนเฮี้ยนลื้อ มักมาสักการะเพื่อขอสิริมงคลต่อชีวิต ความศักดิ์สิทธิ์ของศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้งยังเลื่องลือไปมากขึ้น นับตั้งแต่การเกิดธรณีพิบัติภัยคลื่นยักษ์สึกนามิที่พัดเข้าสู่เกาะภูเก็ตปรากฏว่าศาลเจ้าแห่งนี้ไม่ได้รับความเสียหายราวปาฏิหาริย์

ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้งนั้นเริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2539 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2541 โดยมีความเชื่อกันว่าศาลนี้ได้สร้างขึ้นตามประประสงค์ของพระแม่กิ้วเที้ยนเฮี้ยนลื้อเทพเจ้าชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายศาสนาเต๋า ในสมัยพระจักรพรรดิเหลือโดยการผ่านร่างทรง เพื่อเป็นที่สถิตของพระแม่กิ้วเที้ยนเฮี้ยนลื้อ ที่คอยเป็นเทพปกปัก และใช้บารมีปัดป้องภัยธรรมชาติที่จะเข้ามาสู่จังหวัดภูเก็ตให้หมดสิ้น ยังอีกความเชื่อหนึ่งที่กล่าวถึงองค์กิ้วเที้ยนเฮี้ยนลื้อว่าเป็นเทพผู้ประทานกำเนิดแห่งราชวงศ์ซาง โดยมีตำนานเล่าว่าเมื่อหญิงสาวที่ชื่อเจียนตี๋ไปเดินเล่นทีทะเลได้พบกับนางแอ่นสีดำตัวหนึ่งที่ปรากฏตัวขึ้น และไข่ให้เธอกินก่อนจะบินลับฟ้าไป หลังจากที่เธอกินไข่นกเข้าไปแล้วนั้นจึงเกิดตั้งครรภ์ และให้กำเนิดผู้ที่เป็นองค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซาง โดยเชื่อกันว่านกนางแอ่นสีดำนั้นคือองค์กิ้วเที้ยนเฮี้ยนลื้อนั่นเอง ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้งนั้นถือได้ว่าตั้งอยู่ในทำเลที่มีความสวยงามแห่งหนึ่งของภูเก็ต เชื่อว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีความเหมาะสมถูกต้องตามหลักฮวงจุ้ยของจีน กล่าวกันว่าเมื่อร้อยปีก่อนได้มีการอัญเชิญเฉี้ยโห้ย(ไฟศักดิ์สิทธิ์) มาจากมณฑลกังไส เพื่อมาประกอบพิธีถือศีลกินผักตามแบบฉบับเดิมของจีนและในปี พ.ศ.2548 ได้มีการอัญเชิญม่าจ้อโป้ มาจากเกาะเหมยโจ ประเทศจีนเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีเฉี้ยโห้ย อัญเชิญยกอ๋องซ่งเต่ มาเป็นประธานในพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งทุกๆ ศาลเจ้าต้องมาประกอบพิธีที่สะพานหิน ปัจจุบันศาลเจ้าแห่งนี้เป็นที่กราบไหว้ของชาวภูเก็ตและผู้ที่มาเยือนทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ

Read more »

ศาลเจ้าภูเก็ต ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง

IMG-7

ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง ได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 และได้แล้วเสร็จเรียบร้อยเมื่อปี พ.ศ. 2540 ตั้งอยู่ตัวเมืองภูเก็ต บริเวณปลายแหลมสะพานหิน โดยด้านหน้าของศาลเจ้าจะหันออกท้องทะเล

ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง จากประวัติที่จารึกไว้ในแผ่นหิน ด้านหน้าศาลเจ้า ที่ปรากฏว่า พระนางกิ้วเที้ยนลือ ซึ่งเป็นเทพเจ้าชั้นผู้ใหญ่ ฝ่ายศาสนาเต๋า ในสมัยของพระเจ้าเหลือง ได้บอกผ่านร่างทรงของท่านว่า ต้องการที่จะให้มีการจัดตั้งสร้างศาลเจ้าประจำองค์ของท่าน เพื่อท่านจะได้ช่วยปกป้อง คุ้มครองรักษา ลูกหลานชาวภูเก็ต เพื่อให้พ้นภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ

ศาลเจ้่กิ้วเที้ยนเก้ง สำคัญของศาลเจ้าแห่งนี้ นอกจากจะเป็นสถานที่ประทับของเทพเจ้า กิ้วเที้ยนฮียนลือ ซึ่งตั้งอยู่เป็นพระประธานของศาลเจ้า ยังมีรูปบูชาขององค์เทพเจ้าจีน ตามความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายจีน โดยเฉพาะเทพเจ้าที่เป็นเพศหญิง อีกมากมาย

ช่วงเวลาในวันสุดท้ายของประเพณีถือศิลกินผักของทุกปี ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง แห่งนี้จะคึกคักเป็นพิเศษ เต็มไปด้วยผู้คน เนื่องจากบริเวณนี้ บรรดาศาลเจ้าต่าง ๆ ในเมืองภูเก็ต ต่างจัดขบวนแห่เทพเจ้ามาทำพิธี ส่งพระ กันบริเวณปลายแหลมสะพานหิน

ขอขอบคุณ http://www.homemediatravel.com/

ศาลเจ้ากิ้วเทียนเก้ง ปลายแหลมสะพานหิน

DSC_0808
ที่ตั้ง : ปลายแหลมสะพานหิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต

การเดินทาง : ปลายแหลมสวนสาธารณะสะพานหิน ในตัวเมืองภูเก็ต

เช้านี้ ฝนตกนิดๆ วันหยุดอีกหนึ่งวันก่อนที่จะต้องทำงานต่อในวันจันทร์ เลยถือโอกาสตื่นแต่เช้าเพื่อไป ทานขนมจีบแบบภูเก็ต ใจจริงว่าจะเขียนเรื่อง ขนมจีบภูเก็ต หรือ เซียวโบ๋ย แต่ด้วย เมนูอาหารที่ตั้งใจ มีไม่ครบ (วันหยุดจะหมดเร็วเป็นพิเศษ) จึงเปลี่ยนทาง ไหว้พระที่ศาลเจ้าและเก็บ ภาพเล็กๆ น้อยๆ มากฝาก ส่วนบรรยากาศรอบนอก

ศาลเจ้าแห่งนี้เดิมที่เป็นเก่งเล็กตั้งตรงปลายแหลมต่อมามีผู้มีจิตศรัทธราได้ร่วมลงเงินลงแรงกันสร้างขึ้นมาใหม่ โดยได้รับมองกรรมสิทธิ์ที่ดินจากเทศบาลนครภูเก็ต ตัวศาลเจ้าเป็นสีทองมีความงดงามจากการตัดด้วยสีแดง ภายมนศาลเจ้ามีองค์กิ้วเทียนเลี่ยนลื้อเป็นองคืประธาน แบ่งเป็น 3 ห้องง่ายเหมือนศาลเจ้าทั่วไป ด้านนอกศาลเจ้ามีรูปแกะสลักเหล่าโป๊ยเซียน หรือ แปดเซียน และมีศาลาเจ้าแม่กวนอิมหยกขาว 3 ปรางค์ อยู่ด้านข้างศาลเจ้า

ขอขอบคุณ http://www.thisphuket.com/

ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง

sapanhin-shrine-05

ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้งเป็นศาลเจ้าอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ ในตัวเมืองภูเก็ต ตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมสะพานหิน จากประวัติที่จารึกไว้ในแผ่นหินหน้าศาลเจ้าระบุว่า พระนางกิ้วเที้ยนลื้อ ซึ่งเป็นเทพเจ้าชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายศาสนาเต๋า ในสมัยของพระเจ้าเหลือง ได้บอกผ่านร่างทรงของท่านว่า ต้องการที่จะให้จัดตั้งศาลเจ้าประจำองค์ของท่าน เพื่อท่านจะได้ ช่วยปกปักรักษาคุ้มครองลูกหลานชาวภูเก็ตไม่ให้พบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ต่าง ๆ โดยท่านได้เลือกบริเวณปลายแหลมสะพานหิน เป็นที่สำหรับศาลเจ้ร จึงมีการดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปี 2539 จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2540

ความสำคัญของศาลเจ้าแห่งนี้ นอกจากจะเป็นสถานที่มีรูปประทับของ เทพเจ้ากิ้วเที้ยนเฮียนลื้อ ตั้งอยู่เป็นพระประธานของศาลเจ้าแล้ว ศาลเจ้าแห่งนี้ยังมีรูปบูชาขององค์เทพเจ้าจีนตามความเชื่อของชาวไทย เชื่อสายจีนอีกมากมาย โดยเฉพาะเทพเจ้าที่เป็นเพศหญิง

นอกจากนี้บริเวณศาลเจ้า หากขึ้นไปยืนอยู่ตรงทางประตูศาลเจ้า แล้วหันหน้ามองออกไปทางสะพานหิน จะเห็นภูมิทัศน์เป็นท้องทะเลที่กว้างใหญ่ ขณะเดียวกันหากมองจากปลายแหลมสะพานหินขึ้นมายังศาลเจ้า จะเห็นเป็นสถาปัตยกรรมจีนแบบประเพณีนิยมที่สวยงามทรงคุณค่าบนเกาะภูเก็ต

ในวันสุดท้ายของประเพณีถือศิลกินผักของทุกปี ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง แห่งนี้จะคึกคักเป็นพิเศษ เต็มไปด้วยผู้คนเนื่องจากบรรดาศาลเจ้าต่าง ๆ ในเมืองภูเก็ตต่างจัดขบวนแห่เทพเจ้ามาทำพิธีส่งพระกันที่บริเวณปลายแหลม สะพานหิน

Read more »

องคมนตรีเปิดศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้งสะพานหิน

วันนี้ (15 ต.ค.) ที่มณฑลพิธีศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง สะพานหิน ภูเก็ต พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก องคมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง ปลายแหลมสะพานหิน ภูเก็ต โดยมี นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายเรวัต อารีรอบ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดภูเก็ต น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต นายธีรวุธ ศรีตุลารักษ์ ประธานกรรมการบริหารศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนผู้มีจิตศรัทธาเข้าร่วม

พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้งได้ดำเนินการจัดสร้างตามพระประสงค์ขององค์เทพกิ้วเที้ยนเก้งเลี่ยนลื้อ ท่านเป็นเทพเจ้าชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายศาสนาเต๋าในสมัยพระจักรพรรดิ โดยการผ่านร่างประทับทรงบอกกล่าว ทางคณะกรรมการได้เริ่มจัดสร้างเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2539 พร้อมกับได้รับหนังสืออนุญาตให้ก่อสร้างได้จาก นายเฉลิม พรหมเลิศ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และนายสมบูรณ์ คู่พงศกร เป็นประธานกรรมการการดำเนินการจัดสร้าง พร้อมได้รับการสนันสนุนช่วยเหลือจากคณะกรรมการศาลเจ้าที่ร่วมบริจาคเงิน และได้รับเงินสมทบจากองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชนจังหวัดภูเก็ต ที่ได้ร่วมบริจาคในการสร้างตัวอาคารศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง และเสร็จในปี พ.ศ.2541 ต่อมา นายสมบูรณ์ คู่พงศกร และคณะกรรมการได้ลาออกเมื่อปี พ.ศ.2547 และมีคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ ได้เข้ามาบริหารงานต่อ ซึ่งได้ดำเนินการจัดสร้างต่อเติม ตกแต่ง เก็บรายละเอียดภายในตัวอาคารศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง และบริเวณรอบนอกศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง จนเสร็จสมบูรณ์พร้อมที่ใช้งานต่อไป

Read more »

ศาลเจ้ากิ้วเทียนเก้ง

เป็นศาลเจ้าอีกแห่งหนึ่งในตัวเมืองภูเก็ต ตั้งอยู่ปลายแหลมสะพานหิน จากประวัติที่จารึกไว้ในแผ่นหินหน้าศาลเจ้าระบุว่า พระนางกิ้วเที้ยนเฮียนลื้อ ซึ่งเป็นเทพเจ้าชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายศาสนาเต๋า ในสมัยของพระเจ้าเหลือง ได้บอกผ่านร่างทรงของท่านว่า ต้องการที่จะให้จัดตั้งศาลเจ้าประจำองค์ท่านขึ้นมา เพื่อนที่ท่านจะได้ช่วยปกปักรักษาคุ้มครองลูกหลานชาวภูเก็ตไม่ให้พบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ โดยท่านได้เลือกบริเวณปลายแหลมสะพานหิน เป็นที่สำหรับสร้างศาลเจ้า จึงมีการดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปีพ.ศ.2539 จนแล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2540

ความสำคัญของศาลเจ้าแห่งนี้ นอกจากจะเป็นสถานที่ที่มีรูปประทับของเทพเจ้ากิ้วเทียนเฮียนลื้อตั้งอยู่เป็นประธานของศาลเจ้าแล้ว ศาลเจ้าแห่งนี้ยังมีรูปบูชาองค์เทพเจ้าจีนตามความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายจีนอีกมากมาย โดยเฉพาะเทพเจ้าที่เป็นเพศหญิง และนอกจากนี้บริเวณที่ตั้งศาลเจ้า หากขึ้นไปยืนอยู่ตรงทางประตูศาลเจ้า แล้วหันหน้ามองออกไปทางสะพานหิน จะเห็นภูมิทัศน์เป็นท้องทะเลที่กว้างใหญ่ และสวยงาม ขณะเดียวกันหากมองจากปลายแหลมสะพานหินขึ้นมายังศาลเจ้า จะเห็นเป็นสถาปัตยกรรมจีนแบบประเพณีนิยมที่สวยงามทรงคุณค่าอีกแห่งหนึ่งบนเกาะภูเก็ต

Read more »

อ๊ามปลายแหลมสะพานหิน (ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง)

20120607_etmwbjye

ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง สร้างขึ้นเมื่อปี 2539 แล้วเสร็จเมื่อปี 2540 ตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมสะพานหิน โดยด้านหน้าของศาลเจ้าจะหันออกท้องทะเล บริเวณโดยรอบบรรยากาศร่มรื่น จากประวัติที่จารึกไว้ในแผ่นหินหน้าศาลเจ้า ปรากฎว่า พระนางกิ้วเที้ยนลื้อ ซึ่งเป็นเทพเจ้าชั้นผู้ใหญ่ ฝ่ายศาสนาเต๋า ในสมัยของพระเจ้าเหลือง ได้บอกผ่านร่างทรงของท่านว่า ต้องการที่จะให้มีการจัดตั้ง ศาลเจ้าประจำองค์ของท่าน เพื่อท่านจะได้ช่วยปกปักรักษาคุ้มครองลูกหลานชาวภูเก็ต เพื่อพ้นภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆความสำคัญของศาลเจ้าแห่งนี้
นอกจากจะเป็นสถานที่มีรูปประทับของเทพเจ้ากิ้วเที้ยนเฮียนลื้อ ตั้งอยู่เป็นพระประธานของศาลเจ้าแล้ว ยังมีรูปบูชาขององค์เทพเจ้าจีน ตามความเชื่อของชาวไทย เชื่อสายจีนอีกมากมาย โดยเฉพาะเทพเจ้าที่เป็นเพศหญิงในวันสุดท้ายของประเพณีถือศิลกินผักของทุกปี ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง แห่งนี้จะคึกคักเป็นพิเศษ เต็มไปด้วยผู้คนเนื่องจากบรรดาศาลเจ้าต่าง ๆ ในเมืองภูเก็ตต่างจัดขบวนแห่เทพเจ้ามาทำพิธี ส่งพระกันที่บริเวณปลายแหลมสะพานหิน

ขอขอบคุณ http://www.phuketcity.go.th/

ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง สะพานหิน ภูเก็ต

ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเลี่ยนลื้อ อ๊ามสะพานหิน ได้ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 16 เมษายน 2538 โดยได้รับการอนุญาตการก่อสร้าง จากผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตในสมัย ท่านเฉลิม พรหมเลิศ และ คุณสมบูรณ์ คู่พงศกร เป็นประธานศาลเจ้า ดำเนินการ ให้มีการ ก่อสร้าง ศาลเจ้าแห่งนี้จนสำเร็จ จากนั้นได้อัญเชิญ องค์เทพกิ้วเที้ยนเลี่ยนลื้อ มาประดิษฐานในศาลเจ้า

ในปี พ.ศ.2548 ได้อัญเชิญ ม่าจ้อโป้ มาจากเกาะเหมยโจ ประเทศจีน เพื่อใช้เป็น สถานที่ประกอบพิธีเฉี้ยโห้ย (พิธีกรรมอัญเชิญไฟศักดิ์สิทธิ์ การอัญเชิญ ยกอ๋องซ่งเต่ มาเป็นประธานในพิธีกรรมต่างๆเช่น ประเพณีถือศีลกินผัก เป็นต้น) ซึ่งทุกๆศาลเจ้าต้องมาประกอบพิธีที่สะพานหิน

ความเชื่อ

อ๊ามแห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มีความเหมาะสม ถูกต้องตามหลักฮวงจุ้ยของจีน เมื่อร้อยปีก่อน ได้มีการอัญเชิญเหี่ยวโห้ย (ไฟศักดิ์สิทธิ์) มาจากมณฑลกังไซ้ ประเทศจีน เพื่อมาประกอบพิธีถือศีลกนผักตามแบบฉบับเดิมของจีน

ในมณฑลกังไซ้ ตามความเชื่อ ของชาวจีนโบราณ องค์เทพกิ้วเที้ยนเลี่ยนลื้อ เป็นเทพที่มีอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ สามารถปกป้อง คุ้มครองชาวภูเก็ต จากสิ่งชั่วร้าย และภัยอันตรายจากธรรมชาติ

ขอขอบคุณ http://www.phuketvegetarian.com/

. . . . . . .
. . . . . . .