Archive for the ‘พระเจดีย์ พระธาตุเจดีย์ พระบรมธาตุ พระบรมสารีริกธาตุ พระปรางค์ การไหว้พระธาตุ’ Category

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหารเดิมชื่อ วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง ตั้งอยู่ถนนเชียงใหม่ – ฮอด หมู่ ๒ ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ ๕๘ กิโลเมตร    วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ บริเวณที่ตั้ง เป็นเนินดินสูง ประมาณ ๑๐ เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่า ดอยจอมทอง ตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัด ปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรมในสมัยหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่

พ.ศ. ๑๙๙๔ สร้างบนดอยจอมทอง ชื่อว่า วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง ทางทิศตะวันตกมีทิวเขา อินทนนท์ และลำน้ำแม่กลาง
พ.ศ. ๒๔๗๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้รับพระราชทานยกฐานะวัดขึ้นเป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิด วรวิหาร
พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ของกรมการศาสนา
พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ที่มีผลงานดีเด่น ของ กรมการศาสนา

วัดพระธาตุศรีจอมทองเป็นสถานที่ประดิษฐานของพระทักขิณโมลีธาตุ พระธาตุส่วนที่เป็นพระเศียรเบื้องขวาของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีขนาดโตประมาณ เมล็ดข้าวโพด สันฐานกลมเกลี้ยง สีขาวนวลเหมือน ดอกบวบ หรือ สีคล้ายดอกพิกุลแห้ง ตามประวัติเล่าว่า พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นผู้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ ดอยจอมทอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๑๘ ปัจจุบัน พระธาตุ ถูกบรรจุไว้ในพระโกศ ๕ ชั้น ซึ่งตั้งอยู่ภายใน พระวิหารจตุรมุข ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส คล้ายพระเจดีย์ กว้าง ๔ เมตร สูง ๘ เมตร ตามประวัติว่าสร้างขึ้นโดย พระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช หรือ พระเมืองแก้ว กษัตริย์ราชวงศ์มังราย เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๖๐

Read more »

เจ้าอาวาส วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร

AjarnTong08

พระธรรมมังคลาจารย์ วิ. ฉายา สิริมงฺคโล อายุ ๘๙ ปี พรรษา ๖๙ (พ.ศ.๒๕๕๕)

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
เจ้าอาวาส วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่
เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่แห่งที่ ๑
ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระวิปัสสนาจารย์ภาคเหนือ
ที่ปรึกษาสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ

สถานเดิม
ชื่อ ทอง นามสกุล พรหมเสน เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ เดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๖ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีกุน ณ ตำบลบ้านแอ่น อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ บิดาชื่อ นายทา นามสกุล พรหมเสน มารดาชื่อ นางแต้ม นามสกุล พรหมเสน

บรรพชาอุปสมบท
บรรพชาเมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๗ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๒ ณ วัดนาแก่ง ตำบลบ้านแอ่น อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี พระชัยวงศ์ เป็นพระ-อุปัชฌาย์
อุปสมบท เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๗ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ณ วัดบ้านแอ่น ตำบลบ้านแอ่น อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพระครูคัมภีรธรรม พฺรหฺมปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดพระชัยเกียรติ เป็นพระอุปัชฌาย์พระอธิการญาณรังษี วัดหัวยทราย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาจันทร์ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นพระอนุสาวนาจารย์

Read more »

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

watchomtong01_1

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เดิมชื่อ วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง ตั้งอยู่ถนนเชียงใหม่-ฮอด หมู่ 2 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 58 กิโลเมตร วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 บริเวณที่ตั้ง เป็นเนินดินสูง ประมาณ 10 เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่า ดอยจอมทอง ตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20 แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัด ปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรม ในสมัยหลังพุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่

ขอขอบคุณ http://www.watchomtong.org/

ตำนานและประวัติวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

พระธาตุศรีจอมทอง

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เดิมชื่อ วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง ตั้งอยู่ถนนเชียงใหม่-ฮอด หมู่ 2 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 58 กิโลเมตร วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 บริเวณที่ตั้ง เป็นเนินดินสูง ประมาณ 10 เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่า ดอยจอมทอง ตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20 แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัด ปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรม ในสมัยหลังพุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่

ประดิษฐานพระบรมธาตุ
ตามตำนานที่กล่าวถึงความเป็นมาของพระบรมธาตุศรีจอมทอง ดอยศรีจอมทองนั้น ได้แก่ที่ตั้งของวัดพระธาตุศรีจอมทองในปัจจุบันนี้ ซึ่งมีลักษณะเป็นภูเขาดินสูงจากระดับที่พื้นราบอื่น ๆ ในบริเวณนั้น ที่ตั้งพระวิหารอันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุเจ้าจอมทอง จะเป็นยอดของดอยลูกนี้ในสมัยพุทธกาล และมีเมืองอยู่เมืองหนึ่งชื่อว่า “เมืองอังครัฏฐะ” มีเจ้าผู้ครองเมืองนั้นนามว่า พระยาอังครัฎฐะ ซึ่งเมืองนี้ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับดอยจอมทองลูกนี้ ซึ่งพระยาอังครัฎฐะนั้นได้ทราบข่าวจากพ่อค้าที่มาจากอินเดียว่า “บัดนี้พระพุทธเจ้าได้บังเกิดในโลกแล้ว เวลานี้ประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์ในประเทศอินเดีย” จึงได้ตั้งจิตอธิษฐานขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรด เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณแล้ว จึงเสด็จสู่เมืองอังครัฏฐะพร้อมด้วยภิกษุสาวกทางอากาศ ได้มารับอาหารบิณฑบาตจาก พระยาอังครัฏฐะ และ ทรงแสดงธรรมโปรดพร้อมทั้งได้ตรัสพยากรณ์ไว้ว่า “เมื่อเรานิพพาน แล้วธาตุพระเศียรเบื้องขวา (พระทักษิณโมลี) ของเราจักมาประดิษฐานอยู่ ณ ที่ดอยจอมทองแห่งนี้” แล้วเสด็จกลับ ส่วนพระยาอังครัฏฐะเมื่อได้ทราบจากคำพยากรณ์นั้นแล้ว จึงได้สร้างสถูปไว้บนยอดดอยจอมทอง ด้วยหวังว่าจะให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุตามที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้นั้น พระยาอังครัฎฐะอยู่ครองราชย์จนสิ้นพระชนมายุของพระองค์

ต่อมาภายหลังเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว โทณพราหมณ์ได้จัดแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้แก่กษัตริย์ทั้งแปดนคร ซึ่งในครั้งนั้น มัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินารา ทรงได้พระทักษิณโมลีธาตุไว้ พระมหากัสสปะเถระเจ้าประธานฝ่ายสงฆ์ จึงได้กราบทูลมัลลกษัตริย์ถึงพุทธพยากรณ์ที่พุทธองค์เคยตรัสไว้ มัลลกษัตริย์ทราบ ดังนั้นจึงถวายพระบรมธาตุแด่พระมหากัสสปะเถระ ซึ่งท่านก็ได้อัญเชิญพระบรมธาตุวางไว้บนฝ่ามือ แล้วอธิษฐานอาราธนาพระบรมธาตุให้เสด็จไปยังดอยจอมทอง เพื่อประทับอยู่ในโกศแก้วอินทนิลภายในเจดีย์ทองคำ ที่พญาอังครัฎฐะได้สร้างถวายไว้ อยู่ที่ยอดดอยจอมทอง ตามที่พระพุทธองค์ได้พยากรณ์ไว้

Read more »

เที่ยวเมืองนครฯ ชมวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

22

“เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสาม กษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู”

บางจาก ขอนำท่านสู่เมืองนครศรีธรรมราช ที่โด่งดังเรื่องประวัติศาสตร์ ศิลป์ และสถาปัตยกรรมมากมาย โดยเฉพาะวัดวาอารามที่มีเอกลักษณ์งดงาม มากมายให้เลือกสักการะ ซึ่งในโอกาสนี้บางจากขอแนะนำตัวอย่างวัดที่น่าสนใจให้ทุกท่านลองแวะกราบไว้เที่ยวชม…นั่นก็คือ “วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร” พร้อมแล้วไปกันเลย

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือ ที่ชาวนครเรียกว่า วัดพระธาตุ โบราณสถานสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็น มิ่งขวัญชาวเมืองนครศรีธรรมราชตลอดจนพุทธศานิกชน ทั้งหลาย สัญลักษณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่รู้จัก กันแพร่หลายก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เนื่องจากเป็นที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศจดทะเบียนวัดพระมหาธาตุเป็นโบราณสถาน นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้

Read more »

วัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก

t5mahathat09

ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง วัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้และประเทศไทย ตามตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช กล่าวว่า เจ้าชายธนกุมารและพระนางเหมชาลา เป็นผู้นำเสด็จพระบรมธาตุมาประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้วและสร้างเจดีย์องค์เล็ก ๆ เป็นที่หมายไว้ ต่อมาในปีมหาศักราช 1098 (พ.ศ.1719) พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นพร้อมการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ พระบรมธาตุเจดีย์มีลักษณะรูปแบบศิลปกรรมเป็นเจดีย์ทรงลังกาสูง 55.78 เมตร (กรมศิลปากรวัดเมื่อการบูรณะปลียอดทองคำเมื่อ พ.ศ. 2538) จากฐานบัวคว่ำบัวหงายถึงปลียอด 6.80 เมตร ใช้ทองคำเนื้อสิบหุ้มโดยรอบ ภายในวัดพระมหาธาตุฯ มีวิหารที่มีความสำคัญหลายหลังประดิษฐานอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระวิหารหลวง มีความงามตามแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา นอกจากนั้นยังมี วิหารสามจอม วิหารที่มีพระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ชื่อว่า “พระศรีธรรมาโศกราช” ประดิษฐานอยู่ วิหารพระมหาภิเนษกรมน์ (วิหารพระทรงม้า) วิหารทับเกษตร ส่วน วิหารเขียน และวิหารโพธิ์ลังกานั้นเป็นสถานที่จัดแสดงโบราณวัตถุที่พุทธศาสนิกชนถวายเป็นพุทธบูชา

พระแม่เจ้าเหมชาลา เริ่มต้นการเดินทางเข้าสู่วัดพระมหาธาตุ จากตัวเมืองนครศรีธรรมราชใช้ถนนราชดำเนิน ตรงอย่างเดียว มาจอดรถที่หน้าวัดแล้วเดินเข้ามา สิ่งแรกๆ ที่จะได้เห็นนอกจากยอดพระธาตุแล้วก็มีรูปปั้น พระแม่เจ้าเหมชาลา พระทนทกุมาร ซึ่งเป็นพระราชธิดาและพระราชโอรสของพระเจ้าโคสีหราชและพระนางมหาเทวีแห่งเมืองทันทบุรี ประเทศอินเดียเป็นผู้อัญเชิญพระบรมสารีริธาตุมาฝังไว้ ณ หาดทรายแก้ว เมื่อปี พ.ศ. 854 จากนั้นพระเจ้าศรีธรรมโสกราช ได้สร้างพระมหาเจดีย์ และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุดังได้ปรากฎอยู่จนทุกวันนี้

Read more »

วัดพระพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ นครศรีธรรมราช

p-pt1

พระมหาธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชศูนย์รวมแห่งศรัทธาของชาวพุทธทั้งคาบสมุทรภาคใต้
ตามตำนานกล่าวว่าเจดีย์พระบรมธาตสร้างโดย”พระเจ้าศรีธรรมโศกราช”พร้อมกับการสร้าง
เมืองนครศรีธรรมราชในพุทธศตวรรษที่๑๘นับแต่นั้นมาเมืองนครศรีธรรมราชเจริญรุ่งเรือง
ขึ้นเป็นลำดับ เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเมือง ศิลปวัฒนธรรม ตราบจนทุกวันนี้

เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง
จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่ภายในเขตกำแพงเมืองโบราณมีเนื้อที่ ทั้งหมดจำนวน
25 ไร่ 2 งาน
ประวัติความเป็นมา
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช สันนิษฐาน จากตำนาน
เมืองนครศรีธรรมราชว่า สร้างโดยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ใน พ.ศ. 1098 เพื่อเป็นที่
ประดิษฐานองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ในสมัยโบราณถือว่าเป็นเขตพุทธาวาสจึงไม่มีพระสงฆ์
จำ พรรษา ต่อมาได้มีการบูรณะและสร้างเสริมโบราณวัตถุ โบราณสถานภายในวัดอีกหลายครั้ง
ในสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชโปรดเกล้าฯให้นำทองแดงหล่อปิดทอง ยอดพระบรม
ธาตุ และสร้างพระระเบียงโดยรอบทั้งหมด 165 ห้อง พระพุทธรูป 165 องค์ สร้าง กำแพง
4 ด้าน สร้างวิหารสามจอม และพระรูปพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช
สมัยธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราชได้บูรณะวิหารทับเกษตร วิหารหลวง และศาลากุ ฎิ
ในพระอาราม ถมทรายเทปูนรอบพระบรมธาตุเจดีย์ ยกพื้นสูง 75 ซม. กว้าง 1 เมตร
เรียกกัน ว่า ทางเดินพระเจ้าตากสิน Read more »

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง วัดพระมหาธาตุเป็น พระอารามหลวงชั้นเอก ชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของ ภาคใต้และประเทศไทย ตามตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช กล่าวว่า เจ้าชายธนกุมารและพระนางเหมชาลา เป็นผู้นำเสด็จพระบรมธาตุมาประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้วและสร้างเจดีย์องค์เล็ก ๆ เป็นที่หมายไว้ ต่อมาในปีมหาศักราช 1098 (พ.ศ.1719) พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นพร้อมการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ พระบรมธาตุเจดีย์มีลักษณะรูปแบบศิลปกรรมเป็นเจดีย์ทรงลังกาสูง 55.78 เมตร (กรมศิลปากรวัดเมื่อการบูรณะปลียอดทองคำเมื่อ พ.ศ. 2538) จากฐานบัวคว่ำบัวหงายถึงปลียอด 6.80 เมตร ใช้ทองคำเนื้อสิบหุ้มโดยรอบ ภายในวัดพระมหาธาตุฯ มีวิหารที่มีความสำคัญหลายหลังประดิษฐานอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระวิหารหลวงมีความงามตามแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา วิหารสามจอม วิหารที่มีพระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ชื่อว่า “พระศรีธรรมาโศกราช” ประดิษฐานอยู่ วิหารพระมหาภิเนษกรมน์ (วิหารพระทรงม้า) วิหารทับเกษตร ส่วนวิหารเขียน และวิหารโพธิ์ลังกานั้นเป็นสถานที่จัดแสดงโบราณวัตถุที่พุทธศาสนิกชนถวายเป็นพุทธบูชา Read more »

พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ณ วัดพระธาตุมหาวรวิหาร

6248520fa

ตามตำนานกล่าวว่า พระบรมธาตุเมืองนคร สร้างขึ้นครั้งแรกประมาณ ปี พ.ศ. 854
ภายในบรรจุพระทันตธาตุ (ส่วนฟันของพระพุทธเจ้า) ณ บริเวณหาดทรายแก้ว
ด้วยศิลปะการก่อสร้างแบบศรีวิชัย (หลายคนเชื่อว่ามีลักษณะคล้ายพระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี)

ต่อมาในปี พ.ศ. 1093 พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ได้ทำการสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้น
พร้อมกับสร้างเจดีย์องค์ใหม่ทรงศาญจิครอบพระบรมธาตุองค์เดิม จากนั้นในปี พ.ศ. 1770
ได้มีพระภิกษุจากลังกามาทำการบูรณะพระบรมธาตุเมืองนครให้เป็นไปตามรูปแบบสถาปัตยกรรมทรงลังกา
หรือทรงโอคว่ำ ดังที่เห็นในปัจจุบัน โดยหาดทรายแก้วสถานที่สร้างพระบรมธาตุนั้น
เป็นสันดอนทรายชายฝั่งที่เกิดจากการตกตะกอนสะสมในทะเลจนเกิดเป็นผืนแผ่นดินขึ้น
ซึ่งก็คือที่ตั้งของ “เมืองนครศรีธรรมราช” ในปัจจุบันนั่นเอง

Read more »

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

DCF 1.0

ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง วัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้และประเทศไทย เปรียบเสมือนศูนย์รวมใจของพุทธศาสนิกชนชาวใต้ มีพระบรมธาตุเจดีย์อันยิ่งใหญ่ที่มีส่วนยอดเจดีย์เป็นทองคำเป็นภาพสะท้อนแห่งความศรัทธาของชาวพุทธที่มีต่อการสร้างพระบรมธาตุเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (พระทันตธาตุหรือพระเขี้ยวแก้วเบื้องซ้าย) ตามตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช กล่าวว่า เจ้าชายธนกุมารและพระนางเหมชาลา เป็นผู้นำเสด็จพระบรมธาตุมาประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้วและสร้างเจดีย์องค์เล็ก ๆ เป็นที่หมายไว้ ต่อมาในปีมหาศักราช 1098 (พ.ศ.1719) พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นพร้อมการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ พระบรมธาตุเจดีย์มีลักษณะรูปแบบศิลปกรรมเป็นเจดีย์ทรงลังกาสูง 55.78 เมตร (กรมศิลปากรวัดเมื่อการบูรณะปลียอดทองคำเมื่อ พ.ศ. 2538) จากฐานบัวคว่ำบัวหงายถึงปลียอด 6.80 เมตร ใช้ทองคำเนื้อสิบหุ้มโดยรอบ ภายในวัดพระมหาธาตุฯ มีวิหารที่มีความสำคัญหลายหลังประดิษฐานอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระวิหารหลวง มีความงามตามแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา นอกจากนั้นยังมี วิหารสามจอม วิหารที่มีพระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ชื่อว่า “พระศรีธรรมาโศกราช” ประดิษฐานอยู่ วิหารพระมหาภิเนษกรมน์ (วิหารพระทรงม้า) ส่วนวิหารเขียนและวิหารโพธิ์ลังกานั้นเป็นสถานที่จัดแสดงโบราณวัตถุที่พุทธศาสนิกชนถวายเป็นพุทธบูชา ส่วนฐานขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ (วิหารทับเกษตร) มีซุ้มถึง 22 ซุ้ม แต่ละซุ้มมีหัวช้างยื่นออกมารองรับพระบรมธาตุเจดีย์ ประหนึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งการค้ำจุ้นพระพุทธศาสนาให้มั่นคง นอกจากนี้ยังมีปริศนาธรรมให้ค้นหา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกมากมาย ภายในวัดมีแหล่งจำหน่ายสินค้าที่ระลึกขึ้นชื่อของเมืองนคร อาทิเช่น เครื่องเงิน เครื่องถม ตัวหนังตะลุง เป็นต้น ผู้มาเยือนที่นี่นิยมนำผ้าขึ้นห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

Read more »

พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช

chedi8

ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง วัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของ ภาคใต้และประเทศไทย ตามตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช
ตามตำนานกล่าวว่า พระบรมสารีริกธาตุเสด็จมาสู่หาดทรายแก้ว โดยนางเหมชาลาฒ และพระธนกุมาร เมื่อประมาณปี พ.ศ.๘๓๔ จึงได้สร้างพระบรมธาตุ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ผู้ปกครองเมืองนครศรีธรรมราช จะก่อสร้างตกแต่งเพิ่มเติมอยู่เสมอ เพื่อสร้างสมความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อองค์พระบรมธาตุเช่น สมัยศรีวิชัยได้สร้างเป็นเจดีย์ทรงศรีวิชัย ต่อมาในรัชสมัยพระเจ้าจันทรภาณุ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๗๙๐ ได้ทรงสร้างเป็นเจดีย์ทรงลังกาครอบองค์เจดีย์เดิมแบบศรีวิชัยไว้ภายใน

พระบรมธาตุเจดีย์ ประดิษฐานอยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นปูชนียสถานอันเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงสุดของชาวนครศรีธรรมราช และชาวใต้ทั้งปวง ไม่ปรากฎหลักฐานที่แน่นอนเกี่ยวกับประวัติการสร้างตามตำนานกล่าวว่า พระเจดีย์องค์เดิมสร้างตามความเชื่อของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๓๐๐ สมัยอาณาจักรตามพรลิงค์ ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัย ต่อมาเมื่อได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับพระภิกษุลังกา โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช ได้นิมนต์พระภิกษุลังกามาตั้งคณะสงฆ์ในเมืองนครศรีธรรมราชเป็นการสถาปนาพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในระยะนั้นพระบรมธาตุองค์เดิมชำรุดทรุดโทรมมาก พระภิกษุลังกาจึงได้ช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์ให้เป็นสถาปัตยกรรมแบบลังกา โดยสร้างพระสถูปแบบลังกาครอบองค์พระเจดีย์เดิม เป็นพระสถูปทรงโอคว่ำปากระฆังติดกับพื้นกำแพงแก้ว ที่มุมกำแพงแก้วมีพระบรมธาตุจำลองประดิษฐานอยู่ทั้งสี่มุม

Read more »

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร จ.ลำพูน พระธาตุหริภุญชัย ไหว้พระธาตุประจำปีเกิด

วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร จ.ลำพูน
พระธาตุหริภุญชัย พระธาตุประจำปีเกิด วัดพระธาตุประจำคนเกิดปีระกา (คนเกิดปีไก่)

วัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูนมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๒๗ ไร่ ๓ งาน ๘๘ ตารางวา ทิศเหนือ จรดถนนอัฏฐารส ทิศใต้ จรดถนนสุพรรณรังษี ทิศตะวันออก จรดประตูท่าสิงห์ ทิศตะวันตก จรดถนนอินทยงยศ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ในรัชสมัยของพญาอาทิตยราช กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โดยที่แห่งนี้ เคยเป็นพระราชฐานของพระองค์ซึ่งพระราชทานอุทิศถวายให้เป็นวัดพระธาตุฯ เพื่อเป็นพุทธบูชาหลังจากที่พระบรมสารีริกธาตุได้ปรากฏ ให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรในบริเวณดังกล่าวโบราณสถานที่สำคัญในวัดพระธาตุหริ ภุญชัยวรมหาวิหาร Read more »

วัดพระเจดีย์ซาวหลัง พระเจ้าแสนแซ่ทองคำ จ.ลำปาง สักการะพระเจ้าแสนแซ่ทองคำ ณ วัดพระเจดีย์ซาวหลังลำปาง

วัดพระเจดีย์ซาวหลัง พระเจ้าแสนแซ่ทองคำ จ.ลำปาง
สักการะพระเจ้าแสนแซ่ทองคำ ณ วัดพระเจดีย์ซาวหลังลำปาง

พระแสนแซ่ทองคำ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง พระแสนแซ่ทองคำ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ เนื้อวัสดุทองคำน้ำหนัก ๙๕.๕ บาท หน้าตักกว้าง ๙.๕ นิ้ว สูง ๑๕ นิ้วศิลปะแบบล้านนาผสมอยุธยา สร้างใน สมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เป็นพระพุทธรูปทองคำ องค์แรกที่ขึ้นทะเบียน เป็นโบราณวัตถุแห่งชาติปัจจุบันประดิษฐานเป็น พระประธานในพระวิหาร วัดพระเจดีย์ซาวหลัง เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๖ ได้ขุดพบพระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์องค์หนึ่งในไร่อ้อย ของนายบุญเทียม เครือสาร เป็นทองคำบริสุทธิหนัก ๑๐๐ บาทสองสลึง ลักษณะกรรมวิธีการสร้าง ตีแต่งขึ้นเป็นส่วนๆ มิได้เป็นการหล่อ แต่ละส่วนต่อกันด้วยสลัก ได้แก่ พระเศียรชั้นนอก พระเศียรชั้นในกับพระพักตร์ พระกรรณ พระกร พระสังฆาฏิ ฝีมือประณีตมาก พุทธลักษณะคล้ายพระแก้วมรกตในวัดพระธาตุลำปางหลวงและพระแก้วดอนเต้า ซึ่งต่อมานายบุญเทียม เครือสาร ได้อัญเชิญมามอบให้เป็นสมบัติของแผ่นดิน ประดิษฐานในพระวิหารวัดพระเจดีย์ซาวหลัง Read more »

วัดพระธาตุลำปางหลวง พระเจ้าล้านทอง จ.ลำปาง สักการะพระเจ้าล้านทอง ณ วัดพระธาตุลำปางหลวง ไหว้พระธาตุประจำปีเกิด

วัดพระธาตุลำปางหลวง พระเจ้าล้านทอง จ.ลำปาง พระเจดีย์ประจำปีฉลู
สักการะพระเจ้าล้านทอง ณ วัดพระธาตุลำปางหลวง

วัดพระธาตุลำปางหลวง ตั้งอยู่ในเขตตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากตัวเมืองลำปางไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๑๘ กิโลเมตร ตัววัดตั้งอยู่บนเนินสูง มีการจัดวางผัง และส่วนประกอบของวัดสมบูรณ์แบบที่สุด มีสิ่งก่อสร้าง และสถาปัตยกรรมต่าง ๆ บริเวณพุทธาวาสประกอบด้วย องค์พระธาตุลำปางหลวง เป็นประธาน มีบันไดนาคนำขึ้นไปสู่ซุ้มประตูโขง ถัดซุ้มประตูโขงขึ้นไปเป็น วิหารหลวง บริเวณทิศเหนือขององค์พระธาตุมีวิหารบริวารตั้งอยู่คือ วิหารน้ำแต้ม และ วิหารต้นแก้ว ด้านตะวันตกขององค์พระธาตุประกอบด้วย วิหารละโว้ และ หอพระพุทธบาท ด้านใต้มี วิหารพระพุทธ และ อุโบสถ ทั้งหมดนี้จะแวดล้อมด้วยแนวกำแพงแก้วทั้งสี่ด้าน นอกกำแพงแก้วด้านใต้มีประตูที่จะนำไปสู่เขตสังฆาวาส ซึ่งประกอบด้วยอาคาร หอพระไตรปิฎก กุฏิประดิษฐาน พระแก้วดอนเต้า อาคารพิพิธภัณฑ์และกุฏิสงฆ์ Read more »

วัดมหาธาตุ จ.เพชรบูรณ์ สักการะหลวงพ่อวัดมหาธาตุ หลวงพ่อเพชร มีชัย วัดมหาธาตุเพชรบูรณ์

วัดมหาธาตุ จ.เพชรบูรณ์
สักการะหลวงพ่อวัดมหาธาตุ หลวงพ่อเพชร มีชัย วัดมหาธาตุเพชรบูรณ์

ประวัติวัดมหาธาตุ วัดมหาธาตุ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๗ ถนนนิกรบำรุง ตำบลในเมืองอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๑๗ ไร่๓งาน ๓๓ ตารางวาตามโฉนดที่ดินเลขที่๘๓๐เล่ม๙หน้า๓๐อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับที่ดิน ของเอกชนทิศใต้ติดต่อกับคลองตลุกทิศตะวันออกติดต่อกับถนนนิกรบำรุงทิศตะวัน ตกติดต่อกับที่ดินของเอกชน

พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบอยู่ในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ การคมนาคมสะดวก อาคารเสนาสนะต่าง ๆ มี พระอุโบสถหลังใหม่ ศาลาการเปรียญเป็นอาคารไม้ยกพื้นสูง กุฎีสงฆ์ จำนวน ๑๓ หลัง อาคารเรียน พระปริยัติธรรม ๒ ชั้น พระวิหารหลวงพ่อเพชรมีชัย ศาลาธรรมสังเวชและฌาปนสถาน ปูชนียวัตถุของวัดมี พระประธานในพระอุโบสถ มีพระนามว่า “หลวงพ่องาม” พระประธานในพระวิหารมีพระนามว่า “หลวงพ่อเพชรมีชัย” นอกจากนี้มีพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ บูรณะเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๐ เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ อัฐิธาตุพระอรหันต์ และพระพุทธรูปบูชา พระเครื่อง พระพิมพ์ต่าง ๆ ตลอดจนวัตถุโบราณอื่น ๆ อีกด้วย Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .