Archive for the ‘วัดในภูเก็ต’ Category

วัดฉลอง

2

วัดฉลอง หรือชื่อที่เรียกเป็นทางการ ก็คือ วัดไชยธาราม เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองที่มีชื่อเสียงของภูเก็ต ถ้าใครมา ภูเก็ตจะต้องมาแวะนมัสการ หลวงพ่อแช่ม แห่งวัดฉลอง เพื่อเป็นสิริมงคลแต่ตัวเอง เรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ กิตติศัพท์ในการรักษาโรค บุญญาบารมีและเมตตาธรรมที่สูงส่งของหลวงพ่อทำให้มีผู้เลื่อมใสศรัทธาเป็นอันมาก เล่ากันว่าในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่นั้นถึงกับมีผู้ที่รอปิดทองตามแขนและขาของท่านจนแลดูเหลืองอร่าม ไปทั่วราว กับปิดทองพระพุทธรูปและแม้ว่าหลวงพ่อแช่มจะมรณภาพเป็นเวลานับหนึ่งร้อยปีมาแล้วก็ตาม ชื่อเสียงเกียรติคุณ และบารมีของท่านก็อยู่ในความทรงจำของผู้คนสืบมา อีกทั้งที่วัดฉลองแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของ พระมหาธาตุเจดีย์พระจอมไทยบารมี ประกาศเป็นที่ประดิษฐสถานของ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่นำมาจากศรีลังกา วัดฉลองแห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวใน ภูเก็ตอีกแห่งที่ ใครๆ ที่มาเที่ยวภูเก็ตจะต้องมาวัดแห่งนี้

ขอขอบคุณ http://www.chillpainai.com/

วัดฉลอง จังหวัดภูเก็ต

วัดฉลองก่อตั้งเมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเมื่อเมืองถลางพ่ายแพ้แก่กองทัพพม่าในสมัยรัชกาลที่ 2 ชาวบ้านจึงอพยพกระจัดกระจายไปตั้งหลักแหล่งในสถานที่ต่างๆ บางส่วนอพยพมาที่บ้านฉลองและได้ตั้งหลักแหล่งทำมาหากินที่นี่ ต่อมาชาวบ้านจึงร่วมแรงร่วมใจกันตั้งวัดขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมในการศึกษาธรรมะ และเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา โดยได้อาราธนาพระภิกษุซึ่งเป็นที่นับถือและเลื่อมใสของชาวบ้านมาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดฉลองเรียกว่า “ พ่อท่านเฒ่า ” เป็นอาจารย์วิปัสสนาของหลวงพ่อแช่มศึกวุ่นจีน : ในปี พ . ศ . 2419 ตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 มีพวกชาวจีนอพยพเข้ามาทำงานเป็นกรรมกรเหมืองแร่จำนวนมาก ได้ก่อเหตุวุ่นวายจลาจลขึ้น โดยเข้าโจมตีชาวบ้านฉลอง ชาวบ้านคิดหนีไปหลบซ่อนตัวในที่ปลอดภัย จึงไปแจ้งข่าวและนิมนต์หลวงพ่อแช่มให้หลบหนีไปด้วยกัน แต่หลวงพ่อ

Read more »

วัดฉลอง (วัดไชยธาราราม)

ชื่อเดิมว่า วัดฉลอง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2360 ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดไชยธาราราม วัดนี้มีมาตั้งแต่สมัยใด ม่ปรากฏหลักฐาน เดิมทีวัดนี้ตั้งอยู่บริเวณด้านทิศเหนือของวัด ซึ่งมีหลักฐานปรากฏคือ พระพุทธรูปเก่าแก่ที่ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อเจ้าวัด หรือพ่อท่านนอกนา การย้ายวัดมาตั้งในที่ปัจจุบันนั้นได้ย้ายมาในสมัยของพ่อท่านเฒ่า ซึ่งเป็นอาจารย์วิปัสสนาของ หลวงพ่อแช่ม (พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี) และได้เป็นเจ้าอาวาสจนถึง พ.ศ. 2451 พ่อท่านช่วง (พระครูกิจจานุการ) ได้เป็นเจ้าอาวาสจนถึง พ.ศ. 2488 ต่อมา พ่อท่านเกลื้อม (พระครูครุกิจจานุการ) ได้เป็นเจ้าอาวาสต่อมา จนถึง พ.ศ.2522 และเจ้าอาวาสวัดฉลององค์ปัจจุบัน คือพ่อท่านหลิม

วัดฉลองเป็นวัดที่มีชื่อเสียงในสมัยพ่อท่านแช่ม ในคราวกบฏอั้งยี่ซึ่งเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2419 ชาวบ้านได้รับกำลังใจจากท่าน โดยการได้รับผ้าประเจียดให้โพกศีรษะคนละผืน จนสามารถสู้กับพวกอั้งยี่ได้และยอมแพ้ไปในที่สุด จากเหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี ตำแหน่งสังฆปาโมกข์ มืองภูเก็ต และทรงพระราชทานนาม วัดฉลองเป็นวัดไชยธาราราม วัดฉลองเป็นวัดที่มีชื่อเสียงเพราะความเคารพศรัทธาในพ่อท่านแช่มและมักนิยมบนบานให้หายเจ็บไข้ได้ป่วย ท่านเป็นพระที่มีคนมาติดทองที่ตัวท่านตั้งแต่สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านยังรับรักษาผู้ป่วยเกี่ยวกับกระดูก เช่น กระดูกหัก กระดูกเคลื่อน โดยการต่อกระดูกจนเป็นที่เลื่องลือของชาวภูเก็ตและจังหวัดใกล้เคียง ส่วนไม้เท้าของท่านยังมีอานุภาพสามารถจี้ปาน ฝี ต่างๆ ทำให้อาการต่างๆ ไม่ลุกลามและหายไปในที่สุด ไม้เท้าของท่านยังได้ใช้รักษาผู้ป่วยจากทั่วสารทิศมาจนถึงทุกวันนี้

Read more »

วัดฉลอง – วัดไชยธาราราม

วัดฉลอง หรือ วัดไชยธาราราม เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป จากเรื่องราว ความศักดิ์สิทธิ์ และคุณความดี ของ หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง ในการเป็นที่พึ่ง ให้แก่ชาวบ้าน ในการต่อสู้กับพวกอั้งยี่ (พวกจีนที่ก่อการกบฏ) ทั้งนี้ขอเล่าย้อนให้ฟังกันเลยแล้วกันนะ คือหลวงพ่อท่านได้มอบ ผ้าประเจียดสีขาว ให้ชาวบ้านทุกคนโพกหัว เพื่อเป็นขวัญ และกำลังใจ ในการต่อสู้ จนชนะพวกอั้งยี่ได้ (ตอนนั้นพวกอั้งยี่เรียกชาวบ้านว่า “พวกหัวขาว”) ภายหลังรัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าพระราชทาน สมณะศักดิ์แก่หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง เป็น พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี ซึ่งท่านก็เป็นที่เคารพเลื่อมใส ของชาวภูเก็ต ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อมีเรื่องทุกข์ร้อนใด ก็พากันมาบนบาน ให้หลวงพ่อ ช่วยเหลือเสมอ อ้อ และอีกอย่างที่เราเคยได้ยินได้ฟังมาก็คือ ไม้เท้าของท่านศักดิ์สิทธิมาก ใครมีปาน หรือไฝในบริเวณที่ไม่พึงปรารถนา (ไม่สวย) ก็มาขอเอาไม้เท้าของท่านไปจิ้ม แล้วไฝ หรือปานนั้นก็จะไม่ใหญ่ขึ้น และค่อยๆ จางไปเอง (อันนี้ขึ้นอยู่กับ ความเชื่อส่วนบุคคล นะจ๊ะ)

นอกจากหลวงพ่อแช่มแล้ว ที่วัดฉลองยังมี หลวงพ่อช่วง และหลวงพ่อเกลื้อม ที่ชาวบ้านเคารพ ศรัทธาเลื่อมใสเช่นกัน โดยนอกจากความศักดิ์สิทธิแล้ว ท่านทั้งสองยังมีชื่อเสียงทางด้าน การปรุงสมุนไพร และรักษาโรคด้วย ดังนั้นแม้ท่านได้มรณภาพไปแล้ว ชาวบ้านที่มีเรื่องทุกร้อน ก็ยังคงมากราบไหว้ บนบานไม่ขาดสาย

Read more »

วัดฉลอง

watchalong01

วัดฉลอง หรือ วัดไชยธาราราม เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุมีพระมหาธาตุเจดีย์พระจอมไทยบารมีประกาศเป็นจุดเด่นของวัด อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 8 กิโลเมตร ออกจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 4021 ผ่านสามแยกบริเวณสนามกีฬาสุรกุล เลี้ยวซ้ายไปทางห้าแยกฉลอง วัดฉลองจะอยู่ทางซ้ายมือก่อนถึงห้าแยกฉลองประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นวัดที่มีชื่อเสียงของภูเก็ต มีรูปหล่อของหลวงพ่อแช่ม และหลวงพ่อช่วง ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวภูเก็ต

สมัยรัชกาลที่ 5 พระครูวิสุทธิวงศาจาริย์ญาณมุนี (หลวงพ่อแช่ม) เป็นเจ้าอาวาส มีชื่อเสียงการปรุงสมุนไพร และรักษาโรค เข้าเฝือกผู้ป่วยกระดูกหัก ปัจจุบันพระครูวิสุทธิวงศาจาริย์ญาณมุนี ได้มรณภาพแล้ว

เจ้าอาวาสวัดสัมโพธิหาร (วัดสัมโพธิหาร เดิมชื่อ วัดป่าอรัญนิรมล ประเทศศรีลังกา) ได้กล่าวว่า พระบรมสารีริกธาตุที่ได้มอบให้วัดไชยธาราราม เคยอยู่ในเจดีย์ของเมืองอนุราชปุระ เมืองหลวงเดิมของศรีลังกา มีอายุกว่า 2,200 ปี มาแล้ว

วโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ 72 พรรษา พระเถระชั้นผู้ใหญ่ของศรีลังกาคือ พระปิยะทัสสะ นายะกะเถโร และพระกุศลาธรรมา แห่งวัดสัมโพธิวิหาร ได้มีหนังสือกราบทูลสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เสด็จเยือนศรีลังกา เพื่อรับการถวายพระบรมสารีริกธาตุ

Read more »

วัดฉลอง (วัดไชยธาราราม) ภูเก็ต

wat-chalong7-600

วัดฉลอง หรือ วัดไชยธาราราม เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนาในจังหวัดภูเก็ต ที่ถูกบรรจุอยู่ในโปรแกรม Phuket city Day trip ของบริษัททัวร์ เป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน และมีความสวยงามที่สุดในภูเก็ต วัดแห่งนี้ตั้งอยู่อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ต 8 กิโลเมตร และห่างจากอ่าวฉลอง 3 กิโลเมตรเศษ วัดแห่งนี้มีชื่อเสียงจากความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อแช่ม อดีตเจ้าอาวาสวัดฉลอง ไม่เฉพาะชาวภูเก็ตเท่านั้นที่เคารพ และ นับถือในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อแช่ม ชื่อเสียงของหลวงพ่อแช่มไกลออกไปถึงประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ปีนัง

ประวัติหลวงพ่อแช่มและความศักดิ์สิทธิ์

หลวงพ่อแช่มเป็นคนพังงา เกิดใน พ.ศ. 2370 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 ท่านได้บวชเป็นสามเณร และ พระภิกษุ ได้เรียนรู้ศึกษาวิปัสนาธุระจากพ่อท่านเฒ่า (เจ้าอาวาสวัดฉลองในตอนนั้น) ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อแช่มเกิดขึ้นในตอนที่ภูเก็ตเต็มไปด้วยคนจีนที่มาทำเหมืองแร่ และชาวจีนได้รวมตัวกันเป็นอั้งยี่ ต้องการยึดและปกครองภูเก็ต ได้มีการทำร้าย ไล่ฆ่าชาวบ้าน ล้มตายเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านได้หนีเข้าป่า และส่วนหนึ่งหนีเข้ามาอาศัยที่วัดฉลอง

ชาวบ้านได้ขอให้หลวงพ่อแช่มทำเครื่องรางเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ ต่อหลวงพ่อแช่มได้ทำผ้าประเจียดแจกโผกศีรษะคนละผืน ชาวบ้านได้สู้รบกับอั้งยี่ ครั้งนี้อั้งยี่ไม่สามารถทำอะไรชาวบ้านได้เลย ซึ่งเป็นชัยชนะครั้งแรกของชาวบ้าน ชาวบ้านจึงนับถือในความศักดิ์สิทธ์และบารมีของหลวงพ่อแช่ม ต่อมาชาวบ้านได้รวบรวมตัวกันสู้กับอั้งยี่จนได้รับชัยชนะ

Read more »

ประวัติหลวงพ่อแช่มวัดฉลอง

“หลวงพ่อแช่ม” วัดฉลอง ท่านเกิดที่ตำบลบ่อแสน อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา เมื่อปีกุน พุทธศักราช 2370 ในรัชสมัยของ”พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว”(รัชกาลที่ 3) (นามโยมบิดา-มารดา) ไม่ปรากฏในประวัติแม้ แต่ “หลวงพ่อช่วง” วัดท่าฉลอง ศิษย์เอกของท่านก็ไม่สามารถให้รายละเอียดได้) พ่อแม่ส่งให้อยู่ ณ วัดฉลอง เป็นศิษย์ ของ พ่อท่านเฒ่าตั้งแต่เล็ก เมื่อมีอายุพอจะบวชได้ก็บวชเป็นสามเณร และ ต่อมาเมื่ออายุถึงที่จะ บวช เป็นพระภิกษุก็บวชเป็นพระภิกษุจำพรรษาอยู่ ณ วัดฉลองนี้หลวงพ่อแช่มได้ศึกษาวิปัสนาธุระ จากพ่อท่านเฒ่าจน เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญทางวิปัสนาธุระเป็นอย่างสูง ความมีชื่อเสียงของหลวงพ่อแช่มปรากฏชัด ในคราวที่หลวงพ่อแช่ม เป็นหัวหน้าปราบอั้งยี่ ซึ่งท่านจะได้ทราบต่อไปนี้
ปราบอั้งยี่
ในปีพุทธศักราช 2419 กรรมกรเหมืองแร่เป็นจำนวนหมื่น ในจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดใกล้เคียงได้ซ่องสุม ผู้คน ก่อตั้งเป็นคณะขึ้นเรียกว่า อั้งยี่ โดยเฉพาะพวกอั้งยี่ในจังหวัดภูเก็ตก่อเหตุวุ่นวายถึงขนาดจะเข้า ยึดการ ปกครอง ของจังหวัดเป็นของพวกตน ทางราชการในสมัยนั้นไม่อาจปราบให้สงบราบคาบได้ พวกอั้งยี่ถืออาวุธ รุกไล่ ยิง ฟันชาวบ้านล้มตายลงเป็นจำนวนมากชาวบ้านไม่อาจต่อสู้ป้องกันตนเองและทรัพย์สิน ที่รอดชีวิตก็หนี เข้าป่าไป เฉพาะในตำบลฉลองชาวบ้านได้หลบหนีเข้าป่า เข้าวัด ทิ้งบ้านเรือนปล่อยให้พวกอั้งยี่เผาบ้านเรือน หมู่บ้านซึ่งพวกอั้งยี่เผา ได้ชื่อว่า บ้านไฟไหม้ จนกระทั่งบัดนี้
Read more »

สิ่งที่น่าสนใจในวัดฉลอง

1. นมัสการหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง
เป็นที่รู้จักกันทั่วไป ซึ่งมีเรื่องรวมถึงความศักดิ์สิทธิ์ คุณงามความดีของหลวงพ่อแช่มแห่งวัดฉลอง เป็นที่พึ่งให้ แก่ชาวบ้าน ในครั้นการต่อสู้กับพวกอั้งยี่ และเรื่องเล่าเกี่ยวกับไม้เท้าของท่านที่จิ้มบริเวณที่เป็นไฝ หรือปาน จะทำ ให้จางไปเอง ( เป็นความเชื่อของแต่ละบุคคล ) นอกจากหลวงพ่อแช่มแล้วยังมีหลวงพ่อช่วง และหลวงพ่อเกลื้อม ซึ่งเป็นที่เคราพศรัทธาของชาวบ้านมาก ซึ่งท่านทั้งสองมีชื่อเสียงการปรุงสมุนไพร และรักษาโรค ถึงแม้ว่าปัจจุบัน ท่านจะมรณภาพไปแล้ว แต่ก็ยังมีชาวบ้านที่มีเรื่องทุกข์ร้อน ก็จะไปกราบไหว้ บนบานไม่ขาดสาย ปัจจุบันนี้ได้ ประดิษฐานองค์ท่านทั้งสามที่วิหารที่สร้างอย่างสวยงาม ซึ่งในแต่ละวันจะมีผู้คนทั้งชาวไทย และต่างชาติ ต่างมา กราบไหว้เป็นจำนวนมาก
วัดฉลอง ภูเก็ต วัดฉลอง ภูเก็ต
วัดฉลอง ภูเก็ต วัดฉลอง ภูเก็ต
2. พระมหาเจดีย์ พระจอมไท
พระมหาเจดีย์ พระจอมไท เป็นเจดีย์ที่สร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อไม่นาน ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านหลังของวัด ภายในเงียบสงบ บริเวณชั้นแรกจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปรางค์ต่าง ๆ มากมาย และบริเวณด้านข้างผนัง จะเป็นภาพวาดพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า ตอนประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพาน ที่งดงามมาก เมื่อขึ้นไปด้านบนสุดจะเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ และด้านนอกของเจดีย์ สามารถที่จะชมทิวทัศน์ของบริเวณในวัดทั้งหมดได้อย่างสวยงาม
วัดฉลอง ภูเก็ต วัดฉลอง ภูเก็ต
วัดฉลอง ภูเก็ต วัดฉลอง ภูเก็ต
Read more »

วัดฉลอง ภูเก็ต

watchalong1

วัดฉลอง หรือชื่อที่เรียกเป็นทางการ ก็คือ วัดไชยธาราม เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองที่มีชื่อเสียงของภูเก็ต ถ้าใครมา ภูเก็ตจะต้องมาแวะนมัสการ หลวงพ่อแช่ม แห่งวัดฉลอง เพื่อเป็นสิริมงคลแต่ตัวเอง เรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ กิตติศัพท์ในการรักษาโรค บุญญาบารมีและเมตตาธรรมที่สูงส่งของหลวงพ่อทำให้มีผู้เลื่อมใสศรัทธาเป็นอันมาก เล่ากันว่าในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่นั้นถึงกับมีผู้ที่รอปิดทองตามแขนและขาของท่านจนแลดูเหลืองอร่าม ไปทั่วราว กับปิดทองพระพุทธรูปและแม้ว่าหลวงพ่อแช่มจะมรณภาพเป็นเวลานับหนึ่งร้อยปีมาแล้วก็ตาม ชื่อเสียงเกียรติคุณ และบารมีของท่านก็อยู่ในความทรงจำของผู้คนสืบมา

อีกทั้งที่วัดฉลองแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของ พระมหาธาตุเจดีย์พระจอมไทยบารมี ประกาศเป็นที่ประดิษฐสถานของ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่นำมาจากศรีลังกา วัดฉลองแห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวใน ภูเก็ตอีกแห่งที่ ใครๆ ที่มาเที่ยวภูเก็ตจะต้องมาวัดแห่งนี้

ขอขอบคุณ http://www.paiduaykan.com/

วัดฉลอง จ.ภูเก็ต

Wat_chalong03

วัดไชยธาราราม เดิมชื่อ วัดฉลอง ตั้งอยู่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ห่างจากอำเภอเมืองภูเก็ต ระยะทาง 8 กิโลเมตร ทางหลวงหมายเลข 4021 ผ่านสนามกีฬาสุระกุล เลี้ยวซ้ายไปห้าแยกฉลอง

สมัยรัชกาลที่ 5 พระครูวิสุทธิวงศาจาริย์ญาณมุนี (หลวงพ่อแช่ม) เป็นเจ้าอาวาส มีชื่อเสียงการปรุงสมุนไพร และรักษาโรค เข้าเฝือกผู้ป่วยกระดูกหัก ปัจจุบันพระครูวิสุทธิวงศาจาริย์ญาณมุนี ได้มรณภาพแล้ว

เจ้าอาวาสวัดสัมโพธิหาร (วัดสัมโพธิหาร เดิมชื่อ วัดป่าอรัญนิรมล ประเทศศรีลังกา) ได้กล่าวว่า พระบรมสารีริกธาตุที่ได้มอบให้วัดไชยธาราราม เคยอยู่ในเจดีย์ของเมืองอนุราชปุระ เมืองหลวงเดิมของศรีลังกา มีอายุกว่า 2,200 ปี มาแล้ว

วโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ 72 พรรษา พระเถระชั้นผู้ใหญ่ของศรีลังกาคือ พระปิยะทัสสะ นายะกะเถโร และพระกุศลาธรรมา แห่งวัดสัมโพธิวิหาร ได้มีหนังสือกราบทูลสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เสด็จเยือนศรีลังกา เพื่อรับการถวายพระบรมสารีริกธาตุ

Read more »

วัดพระทอง

วัดพระทอง ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ระยะทางจากสะพานเทพกระษัตรี ประมาณ 23 กม. อยู่ระหว่างกิโลเมตรที่ 19-20 ทางฝั่งตะวันออก ของถนนเทพกระษัตรี วัดพระทอง หรือวัดพระผุด ประดิษฐานอยู่ในวิหาร โผล่เพียงพระเกตุมาลาจากพื้นดิน โดยมีรูปจำลอง ก่อสวมทับไว้แบบครึ่งองค์

สถานที่ตั้งของวัดในปัจจุบันนี้ เดิมเป็นทุ่งกว้างเป็นที่นา มีน้ำไหลผ่านลำคลอง มีทุ่งหญ้าสำหรับเลี้งโค กระบือ ของชาวเมืองถลาง ในสมัยนั้นชาวบ้านเรียกว่า “ทุ่งนาใน” น้ำในลำคลองไหลมาจาก น้ำตกโตนไทรจากเทือกเขาพระแทว ไหลผ่านหมู่บ้านสองข้าง คือ บ้านบ่อกรวด และบ้านนาใน ไหลลงสู่ทะเลพังผ่านทุ่งบ้านดอน อันเป็นที่ตั้งเมืองเก่าของเจ้าถลางสมัยนั้น ต่อมา “ทุ่งนาใน” ได้มีบ้านคนอยู่อาศัยมากขึ้น ชาวบ้านจึงเรียกว่า “บ้านนาใน” จนถึงทุกวันนี้

หลวงพ่อพระทอง (พระผุด) เป็นพระพุทธรูปทองคำ อยู่ใต้องค์พระพุทธรูปพระทองครึ่งองค์ ประวัติความเป็นมา ยังไม่มีหลักฐานที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร มีแต่คำบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่เป็นคนไทย และคนจีนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองไทยเป็นเวลานาน โดยท่านพระครูสุวรรณพุทธาภิบาล ได้บันทึกไว้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2516 ซึ่งมีหลักฐานดังนี้

Read more »

ประวัติวัดพระทองและหลวงพ่อพระทอง

วัดพระทอง ตั้งอยู่ในตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ระยะทางห่างจากสะพานสารสิน ประมาณ 25 กม. ประวัติของหลวงพ่อพระผุดและวัดพระทองได้มีการบันทึกและจัดพิมพ์โดยพระครูสุวรรณพุทธาภิบาล เจ้าอาวาสวัดพระทอง ไว้ดังนี้

ความเป็นมาของประวัติพระผุดและวัดพระทองนั้น เดิมทีสถานที่ที่ตั้งวัดอยู่ในปัจจุบันนี้ ไม่เป็นวัดมาก่อนเป็นทุ่งกว้าง มีนา มีลำคลอง มีหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ เช่น โค กระบือ ของชาวบ้านชาวเมืองถลางในสมัยนั้น ชาวบ้านเรียกทุ่งนานี้ว่า ทุ่งนาใน เพราะมีนา มีลำคลองเป็นทุ่งลงมาจากภูเขาน้ำตก ลงเรื่อยมาระหว่างบ้านทั้งสองบ้าน คือบ้านนาในกับบ้านบ่อกรวด เป็นทุ่งลงไปจนถึงทะเลพังบ้านดอน อันเป็นที่ตั้งเมืองเก่าของเจ้าเมืองถลางในสมัยนั้น และบัดนี้ชาวบ้านยังเรียกว่า ทุ่งนาใน อยู่จนทุกวันนี้

ในสมัยที่พบหลวงพ่อพระผุดนั้น เกิดมีพายุฝนตกมากน้ำท่วมทุ่งนา น้ำเข้าบ้าน เข้าป่า พัดพาต้นไม้หักพัง เหมือนกับพายุร้ายสมัยนี้ พอฝนหยุดน้ำไม่ท่วมแล้ว วันหนึ่งมีเด็กชายนำกระบือไปเลี้ยงยังทุ่งนานั้น หาที่ผูกเชือกกระบือสำหรับเลี้ยงข้างริมคลองนั้นไม่มี กิ่งไม้เล็กที่เคยผูกก็ถูกน้ำพัดพาไปหมด เด็กชายนั้นได้เห็นของสิ่งหนึ่งข้างริมคลองมีลักษณะเหมือนไม้แก่น มีโคลนตมติดอยู่ เลยนำเชือกกระบือไปผูกกับสิ่งเหล่านั้นแล้วเด็กก็กลับมาบ้าน พอเด็กถึงบ้านก็เกิดอาการเป็นลมล้มตายลงในเวลาเช้านั่นเอง พ่อแม่ของเด็กก็จัดการทำศพเด็กแล้วพอสาย ๆพ่อของเด็กก็ไปเลี้ยงกระบือ พอไปถึงที่ ๆ เด็กผูกกระบือไว้ก็เห็นกระบือตาย Read more »

วัดพระทอง จ.ภูเก็ต

phuket-wat-pratong

เมื่อเราเดินทางมาถึงเกาะภูเก็ตแล้ว สถานที่หนึ่งที่เราไม่ควรพลาดที่จะไปเยี่ยมชม สถานที่นั้นคือ วัดพระทองหรือวัดพระผุด สาเหตุที่เรีกว่าวัดพระผุด นั้นก็เพราะว่ามีพระที่พระผุดขึ้นมาจากพื้นดินเพียงแค่พระเกตุมาลา จึงเป็นสาเหตุที่เรียกวัดแห่งนี้ว่าวัดพระผุด ซึ่งวัดพระผุดก็มีตำนานที่เล่าขานกันมาช้านานว่า มีเด็กคนนึงนำควายไปเลี้ยงที่ท้องทุ่ง แต่หาที่ผูกไม่ได้ จึงหันไปเห็นหลักที่โผล่ออกมาจึงนำไปผูกไว้ แต่พอเด็กคนนั้นกลับมาถึงบ้านเด็กก็สิ้นชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ พอไปดูควายที่ผูกเอาไว้ก็พบว่าควายก็ตายแล้วเหมือนกัน หลังจากนั้นพ่อของเด็กคนนั้นก็กลับมาฝันถึงสาเหตุที่เด็กคนนั้นสิ้นชีวิต เพราะได้เอาเชือกไปผูกไว้กับพระเกตุมาลา หลังจากนั้นพ่อของเด็กคนนั้นจึงไปดูก็เห็นเป็นพระพุทธรูป จึงชวนชาวบ้านไปขุด แต่ก็มีตัวต่อ แตน ออกมากับดินที่ได้ขุด และได้ไล่ต่อยคนที่มาขุดแต่ก็ไม่ได้ทำร้ายคนที่ไม่ขุด ต่อมาได้มีชีปะขาวคนหนึ่งเข้ามาพักที่เมืองถลาง ท่านกลัวว่าจะมีคนมาตัดพระเกตุมาลาไปขาย ด้วยเหตุที่เป็นพระพุทธรูปทองคำ จึงได้นำชาวบ้านไปเก็บเปลือกหอยมาเผาทำเป็นปูนขาวมาโบกปิดพระพุทธรูปเอาไว้ นี้คือตำนานที่ดิฉันได้ฟังมา แต่ก็มีอีกหลายตำนานที่เกี่ยวข้องกับพระทองหรือพระผุด วัดพระทองหรือวัดพระผุดเป็นวัดที่มีความสำคัญต่อชาวภูเก็ตและมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ปัจจุบันนี้เป็นพิพิธภัณฑสถานวัดพระทอง” เป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุ ข้าวของเครื่องใช้ของชาวภูเก็ต ไว้มากมาย

Read more »

มหัศจรรย์ พระผุด ขึ้นจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์–วัดพระทอง

IMG-6731

หลวงพ่อพระทอง หรือ พระผุด ตั้งอยู่ภายใน วัดพระทอง หรือ วัดพระผุด ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เป็นหนึ่งใน Unseen Thailand ของจังหวัดภูเก็ต อีกทั้งยังเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย แต่เดิมที่ตั้งของ วัดพระทอง เป็นทุ่งนากว้าง มีน้ำไหลผ่านลำคลอง มีทุ่งหญ้าสำหรับเลี้ยงโค กระบือ ของชาวเมืองถลาง ในสมัยนั้นชาวบ้านเรียกว่า “ทุ่งนาใน” น้ำในลำคลองไหลมาจากน้ำตกโตนไทร ต่อมา “ทุ่งนาใน” ได้มีบ้านคนอยู่อาศัยมากขึ้น จึงถูกเรียกว่า “บ้านนาใน” ถึงทุกวันนี้

สำหรับความเป็นมาของ พระผุด ยังไม่มีหลักฐานที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร มีแต่คำบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่เป็นคนไทย และคนจีนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองไทยเป็นเวลานาน และมีนิทานเล่าต่อ ๆ กันมาว่า มีเด็กจูงควายไปกินหญ้ากลางทุ่งนา และเอาเชือกผูกล่ามไว้กับพระเกตุมาลา เพราะคิดว่าเป็นไม้ พอกลับถึงบ้านเด็กตาย ควายก็ตาย ต่อมาพ่อของเด็กฝันถึงเหตุที่เด็กและควายตาย เนื่องจากลูกชายเอาเชือกล่ามควายไปผูกกับพระเกตุมาลา รุ่งขึ้นไปดูจึงรู้ว่าเป็นพระพุทธรูป แต่ ท่านพระครูสุวรรณพุทธาภิบาล ได้บันทึกไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2516 ซึ่งมีหลักฐาน ดังนี้…

Read more »

พระผุด วัดพระทอง จังหวัดภูเก็ต

prapud_04

ประวัติหลวงพ่อพระทอง (พระผุด) – (โดยย่อ)
วัดพระผุด, วัดนาใน หรือวัดพระทอง เป็นวัดเก่าแก่ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

นิทาน เด็กจูงควายไปกินหญ้ากลางทุ่งนาเอาเชือกผูกล่ามไว้กับ พระเกตุมาลาคิดว่าเป็นไม้ กลับถึงบ้านเด็กตาย ควายก็ตาย พ่อของเด็กฝันถึงเหตุที่เด็กและควายตายเพราะลูกชายเอาเชือกล่ามควายไปผูกกับพระเกตุมาลา รุ่งขึ้นไปดูจึงรู้ว่าเป็นพระพุทธรูป

วิเคราะห์นิทาน บริเวณนี้เป็นทุ่งกว้างอยู่ใกล้ลำคลองใหญ่ มีช่วงใดช่วงหนึ่ง ฝนต้องตกหนัก ลำคลองก็เปลี่ยนสาย ทรายทับถมพระพุทธรูปเหลือเพียงพระเกตุมาลา กาลล่วงนานไปผู้คนก็มาอาศัยอยู่บริเวณนี้ จึงเกิดนิทานดังกล่าว

ความเชื่อ พี่น้องชาวจีนเชื่อว่าเป็นพระผุดมาจากเมืองจีนเรียกว่า พู่ฮุก เล่าว่าธิเบตไปรุกรานจีนในเมืองเซี่ยงไฮ้ของจีน มีพระพุทธรูปทองคำ ชื่อ กิ้มมิ่นจ้อ ชาวธิเบตนำลงเรือถูกมรสุมมาเกยตื้น พระพุทธรูปจมลงจนมีผู้คนมาพบเห็นสอดคล้องดังนิทาน

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .