Archive for the ‘วัดในเชียงใหม่’ Category

สำนักปฏิบัติธรรมวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

DSC_6309

สำนักปฏิบัติธรรมวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหารก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔ โดย พระเดชพระคุณพระธรรมมังคลาจารย์ วิ. (พระอาจารย์ทอง สิริมงฺคโล) ซึ่งในขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสุพรหมายาน วิ. ซึ่งได้รับพระบัญชาจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
จึงได้ทำการฟื้นฟูและส่งเสริมการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในแนวสติปัฏฐาน ๔ โดยริเริ่มก่อตั้งเป็นสำนักปฏิบัติธรรมขึ้น มีการซื้อที่ดินขยายพื้นที่ในการก่อสร้างกุฏิ อาคาร และศาลาต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอาทิเช่น อาคารพระสัทธรรม เป็นอาคารสูง ๕ ชั้น,ศาลาราชพรหมานุสรณ์,ภัตตศาลาเทพสิทธาจารย์ ๘๔,ศาลาลานธรรมลานโพธิ์,ธรรมศาลา,ศาลาสอบอารมณ์,สำนักงานวิปัสสนาธุระ,กุฏิผู้ปฏิบัติทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ซึ่งมีผู้สนใจมาฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกันเป็นจำนวนมาก

สำนักปฏิบัติธรรม วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตสังฆาวาสของวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร มีพื้นที่เป็น ๒ ใน ๓ ส่วนของพื้นที่ทั้งหมดของวัด ปัจจุบันสำนักปฏิบัติธรรมวัดพระธาตุศรีจอมทอง สามารถรับรองผู้เข้าปฏิบัติธรรม หรือ กลุ่มคณะบุคคลผู้สนใจได้ พร้อมกันเป็นจำนวนมากอีกทั้งในยังเป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่สามารถผลิตบุคคลากรด้านวิปัสสนา ซึ่งเรียกว่า พระวิปัสสนาจารย์ ส่งออกไปเผยแผ่ได้เป็นจำนวนมาก
พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ ๑
พ.ศ.๒๕๕๒ เป็นสำนักปฎิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น
เป็นศูนย์ฝึกพระวิปัสสนาจารย์ ประจำหนเหนือ

ขอขอบคุณ http://www.watchomtong.org/

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหารเดิมชื่อ วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง ตั้งอยู่ถนนเชียงใหม่ – ฮอด หมู่ ๒ ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ ๕๘ กิโลเมตร    วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ บริเวณที่ตั้ง เป็นเนินดินสูง ประมาณ ๑๐ เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่า ดอยจอมทอง ตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัด ปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรมในสมัยหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่

พ.ศ. ๑๙๙๔ สร้างบนดอยจอมทอง ชื่อว่า วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง ทางทิศตะวันตกมีทิวเขา อินทนนท์ และลำน้ำแม่กลาง
พ.ศ. ๒๔๗๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้รับพระราชทานยกฐานะวัดขึ้นเป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิด วรวิหาร
พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ของกรมการศาสนา
พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ที่มีผลงานดีเด่น ของ กรมการศาสนา

วัดพระธาตุศรีจอมทองเป็นสถานที่ประดิษฐานของพระทักขิณโมลีธาตุ พระธาตุส่วนที่เป็นพระเศียรเบื้องขวาของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีขนาดโตประมาณ เมล็ดข้าวโพด สันฐานกลมเกลี้ยง สีขาวนวลเหมือน ดอกบวบ หรือ สีคล้ายดอกพิกุลแห้ง ตามประวัติเล่าว่า พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นผู้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ ดอยจอมทอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๑๘ ปัจจุบัน พระธาตุ ถูกบรรจุไว้ในพระโกศ ๕ ชั้น ซึ่งตั้งอยู่ภายใน พระวิหารจตุรมุข ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส คล้ายพระเจดีย์ กว้าง ๔ เมตร สูง ๘ เมตร ตามประวัติว่าสร้างขึ้นโดย พระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช หรือ พระเมืองแก้ว กษัตริย์ราชวงศ์มังราย เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๖๐

Read more »

เจ้าอาวาส วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร

AjarnTong08

พระธรรมมังคลาจารย์ วิ. ฉายา สิริมงฺคโล อายุ ๘๙ ปี พรรษา ๖๙ (พ.ศ.๒๕๕๕)

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
เจ้าอาวาส วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่
เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่แห่งที่ ๑
ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระวิปัสสนาจารย์ภาคเหนือ
ที่ปรึกษาสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ

สถานเดิม
ชื่อ ทอง นามสกุล พรหมเสน เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ เดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๖ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีกุน ณ ตำบลบ้านแอ่น อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ บิดาชื่อ นายทา นามสกุล พรหมเสน มารดาชื่อ นางแต้ม นามสกุล พรหมเสน

บรรพชาอุปสมบท
บรรพชาเมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๗ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๒ ณ วัดนาแก่ง ตำบลบ้านแอ่น อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี พระชัยวงศ์ เป็นพระ-อุปัชฌาย์
อุปสมบท เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๗ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ณ วัดบ้านแอ่น ตำบลบ้านแอ่น อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพระครูคัมภีรธรรม พฺรหฺมปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดพระชัยเกียรติ เป็นพระอุปัชฌาย์พระอธิการญาณรังษี วัดหัวยทราย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาจันทร์ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นพระอนุสาวนาจารย์

Read more »

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

watchomtong01_1

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เดิมชื่อ วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง ตั้งอยู่ถนนเชียงใหม่-ฮอด หมู่ 2 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 58 กิโลเมตร วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 บริเวณที่ตั้ง เป็นเนินดินสูง ประมาณ 10 เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่า ดอยจอมทอง ตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20 แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัด ปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรม ในสมัยหลังพุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่

ขอขอบคุณ http://www.watchomtong.org/

ตำนานและประวัติวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

พระธาตุศรีจอมทอง

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เดิมชื่อ วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง ตั้งอยู่ถนนเชียงใหม่-ฮอด หมู่ 2 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 58 กิโลเมตร วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 บริเวณที่ตั้ง เป็นเนินดินสูง ประมาณ 10 เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่า ดอยจอมทอง ตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20 แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัด ปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรม ในสมัยหลังพุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่

ประดิษฐานพระบรมธาตุ
ตามตำนานที่กล่าวถึงความเป็นมาของพระบรมธาตุศรีจอมทอง ดอยศรีจอมทองนั้น ได้แก่ที่ตั้งของวัดพระธาตุศรีจอมทองในปัจจุบันนี้ ซึ่งมีลักษณะเป็นภูเขาดินสูงจากระดับที่พื้นราบอื่น ๆ ในบริเวณนั้น ที่ตั้งพระวิหารอันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุเจ้าจอมทอง จะเป็นยอดของดอยลูกนี้ในสมัยพุทธกาล และมีเมืองอยู่เมืองหนึ่งชื่อว่า “เมืองอังครัฏฐะ” มีเจ้าผู้ครองเมืองนั้นนามว่า พระยาอังครัฎฐะ ซึ่งเมืองนี้ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับดอยจอมทองลูกนี้ ซึ่งพระยาอังครัฎฐะนั้นได้ทราบข่าวจากพ่อค้าที่มาจากอินเดียว่า “บัดนี้พระพุทธเจ้าได้บังเกิดในโลกแล้ว เวลานี้ประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์ในประเทศอินเดีย” จึงได้ตั้งจิตอธิษฐานขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรด เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณแล้ว จึงเสด็จสู่เมืองอังครัฏฐะพร้อมด้วยภิกษุสาวกทางอากาศ ได้มารับอาหารบิณฑบาตจาก พระยาอังครัฏฐะ และ ทรงแสดงธรรมโปรดพร้อมทั้งได้ตรัสพยากรณ์ไว้ว่า “เมื่อเรานิพพาน แล้วธาตุพระเศียรเบื้องขวา (พระทักษิณโมลี) ของเราจักมาประดิษฐานอยู่ ณ ที่ดอยจอมทองแห่งนี้” แล้วเสด็จกลับ ส่วนพระยาอังครัฏฐะเมื่อได้ทราบจากคำพยากรณ์นั้นแล้ว จึงได้สร้างสถูปไว้บนยอดดอยจอมทอง ด้วยหวังว่าจะให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุตามที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้นั้น พระยาอังครัฎฐะอยู่ครองราชย์จนสิ้นพระชนมายุของพระองค์

ต่อมาภายหลังเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว โทณพราหมณ์ได้จัดแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้แก่กษัตริย์ทั้งแปดนคร ซึ่งในครั้งนั้น มัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินารา ทรงได้พระทักษิณโมลีธาตุไว้ พระมหากัสสปะเถระเจ้าประธานฝ่ายสงฆ์ จึงได้กราบทูลมัลลกษัตริย์ถึงพุทธพยากรณ์ที่พุทธองค์เคยตรัสไว้ มัลลกษัตริย์ทราบ ดังนั้นจึงถวายพระบรมธาตุแด่พระมหากัสสปะเถระ ซึ่งท่านก็ได้อัญเชิญพระบรมธาตุวางไว้บนฝ่ามือ แล้วอธิษฐานอาราธนาพระบรมธาตุให้เสด็จไปยังดอยจอมทอง เพื่อประทับอยู่ในโกศแก้วอินทนิลภายในเจดีย์ทองคำ ที่พญาอังครัฎฐะได้สร้างถวายไว้ อยู่ที่ยอดดอยจอมทอง ตามที่พระพุทธองค์ได้พยากรณ์ไว้

Read more »

วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ เชียงใหม่ WAT UMONGMAHATHERACHAN

IMG_1653

วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ ถูกค้นพบในต้นฤดูหนาว ปี พ.ศ.2461 พบว่าเป็นวัดร้าง มีอาณาบริเวณไม่กว้างมากนักและมีซากอุโมงค์สำหรับเป็นที่เดินจงกรม มีความยาวประมาณ 6 เมตร กว้าง 1.1 เมตร ลึกประมาณ 2.1 เมตร มีป้ายติดอยู่กับหลักบอกชื่อว่า “วัดอุโมงค์ (เถรจันทร์)” เรียกอีกอย่างว่า “วัดโพธิ์น้อย”

มีเนื้อที่ทั้งหมด 2 ไร่ 2 งาน 43 ตารางวา เป็นวัดที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตั้งแต่ปีพ.ศ.2522
this temple has found at began of winter in 2461BE. It’s abandon temple not too big land and contain a tunnel for walk Jongkrom (the walk style for concentrate of Buddhist there are 3 step or more) about 6 m. wild1.1 m dept 2.1 m.
Silapakorn bureau account this temple to be ancient remains since 2522 BE.
ในตำนานใบลานได้จารึกไว้ว่า พระภืกษุรูปหนึ่งชื่อ “พระมหาเถรจันทร์” ซึ่งเป็นพระเถรผู้ใหญ่ในยุคนั้นมีความแตกฉานในทางคดีโลกและคดีธรรม เป็นที่เคารพของคนทั้งหลาย พระเจ้ากือนา กษัตริย์อันดับที่7 ของ เมืองล้านนาไทยก็ได้ให้ความเคารพนับถือพระเถรจันทร์องค์นี้อย่างสูง เมื่อพระองค์มีข้อสงสัยประการใดก็ทรงให้อำมาตย์ ราชบุรุษนำราชยานไปรับ เพื่อเข้าเฝ้าชี้แจงข้อสงสัย
manuscript on Lan leaf said Mahaderajan is an important monk in Buddha words and good for teaching people. So he be respected from people and Guena King if the king has some trouble he always ordered his man to brought the monk for explain.
Read more »

วัดอุโมงค์ “สวนพุทธธรรม” อุโมงค์พุทธสถานหนึ่งเดียวของไทย

yw14XQP

วัดอุโมงค์ตั้งอยู่ที่เชิงดอยสุเทพ ด้านหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทางเข้าวัดสามารถใช้ถนนสุเทพ หรือถนนเลียบคลองชลประทานก็ได้ แต่แนะนำถนนสุเทพด้านหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่สะดวกที่สุด จากสี่แยกหลังมอ มุ่งหน้าสู่ดอยสุเทพ สังเกตซ้ายมือจะเห็นป้ายวัดอุโมงค์สีฟ้า เข้าไปในซอยประมาณ 2 กิโลเมตร

ความเป็นมาของวัดนี้ต้องเท้าความกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 1839 หลังจากพญามังราย พ่อขุนรามคำแหง และพ่อขุนงำเมือง กษัตริย์สามสหายสร้างเมือง “นพบุรีศรีนครพิงค์” หรือเชียงใหม่ในปัจจุบันแล้วเสร็จ พญามังรายศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก จึงส่งคนไปนิมนต์พระลังกา 5 รูป โดยมีพระกัสสปะเถระเป็นหัวหน้า แล้วอาราธนาคณะสงฆ์ลังกาให้จำพรรษาที่วัดแห่งวัดเวฬุกัฏฐาราม หรือวัดอุโมงค์ในปัจจุบัน ซึ่งสร้างขึ้นใหม่เพื่อรับรองคณะสงฆ์นี้โดยเฉพาะ

Read more »

วัดอุโมงค์ เชียงใหม่ (สวนพุทธธรรม)

temple-aumong-gooloo-chiangmai-7

วัดอุโมงค์ เชียงใหม่ (สวนพุทธธรรม) เมื่อสองวันก่อนได้ไปเที่ยววัดนี้ ส่วนตัวแล้วไปมาหลายครั้งแล้วครับ การนี้ไปเที่ยวหาเพื่อนที่เค้าบวชอยู่ที่นี่ ผมก็เลยไปเก็บภาพบรรยากาศ ณ เวลาเมื่อสองวันที่แล้วฝากกัน โดยใช้กล้อง Fuji s100 โหมด ออโต้ นะครับ ผมก็ถ่ายภาพไม่ค่อยจะเป็นหรอกครับตามสภาพนั้นแหละนะ ที่นี่ก็มีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศมาเที่ยวกันเยอะครับพื้นที่ในวัดอุโมงค์ เชียงใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นป่าไม้ มีอุโมงค์ มีสระน้ำ นักเที่ยวชอบซื้อขนมปังให้กับปลา อาหารเม็ดให้กับนก ปล่อยปลา เป็นที่พักผ่อนจิตใจ ปฏิบัติธรรม ประวัติผมก็ไม่รู้มากหรอกครับ ผมหาข้อมูลมาให้แล้วด้านล่างเลยครับ

ขอขอบคุณ http://gooloochiangmai.com/

วิทยาศาสตร์กับโบราณคดีที่วัดอุโมงค์

news_img_36482_1

นักวิจัยเชียงใหม่ใช้โมเดลทางคณิตศาสตร์ ไขปริศนาจิตกรรมฝาผนังภายในวัดอุโมงค์ เผยชั้นขงอสีและลวดลายที่หลบซ่อนภายในภายใต้ความชำรุดลบเลือน

อาจารย์อติชาต เกตตะพันธุ์ บัณฑิตโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นผู้ประสานงาน หน่วยวิจัยคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โบราณคดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นำความรู้วิทยาศาสตร์มาใช้กับการศึกษาทางโบราณคดี
การใช้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาศึกษาโบราณคดี ทำให้งานวิจัยน่าสนใจและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ในส่วนของวิทยาศาสตร์นั้นคนทั่วไปคงพอจะทราบอยู่แล้ว ส่วนความรู้ทางคณิตศาสตร์ ทั้งเรขาคณิต พีชคณิต และการวัด ก็สามารถนำมาศึกษาทางโบราณคดีได้ ยกตัวอย่างเช่น

Read more »

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) โบราณสถาน วัดโบราณ จังหวัดเชียงใหม่

p18iqldijr1tsc91841e1rc2m155

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) เป็นสถานที่ส่งเสริมการปฏิบัติธรรม ของพุทธนิคม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดเก่าสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช ทรงสร้างอุโมงค์ขึ้นเพื่อถวายเพื่อให้พระมหาเถรจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฏกอาศัย วัดอุโมงค์นี้ มีบริเวณเป็นพื้นที่สามเหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งมีกำแพงอิฐปรากฏอยู่ทั้งสี่ด้าน

– ด้านตะวันออกจากขอบสระใหญ่
– ด้านเหนือตรงไปทางทิศเหนือโรงพิมพ์ปัจจุบันจรด กำแพงอิฐพอดี ยาวประมาณ 100 วา
– ด้านเหนือจากแนวกำแพงเหนือโรงพิมพ์ปัจจุบันทางทิศตะวันตก จนถึงขอบสระหลังวัดอุโมงค์ ยาวประมาณ 100 วา
– ด้านตะวันตกจากขอบ สระแนวกำแพงด้านเหนือ ถึงขอบสระใหญ่ใต้พระเจดีย์ ยาวประมาณ 100 วา
– ด้านใต้ จากขอบสระหลังพระเจดีย์ตรงไปทางตะวันตกออกจรดกำแพงทิศตะวันออกหน้าพระอุโบสถ ยาวประมาณ 100 วา
– มีพระอุโบสถขนาดย่อมตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีพระเจดีย์ใหญ่แบบลังกาวงศ์ และอุโมงค์(ถ้ำ) 1 อุโมงค์ มีทางเข้า 3 ทาง ตั้งอยู่ตลอด
แนววัดด้านตะวันตก
– มีศาลาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจากหน้าอุโมงค์ไปประมาณ 1 เส้น คิดเป็นเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 25 ไร่

Read more »

เจดีย์อุโมงค์ วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

BS-CM-TP031b

วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ ตั้งอยู่เลขที่ 29 ถ.ราชภาคินัย ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ด้านในของกำแพงเมืองเชียงใหม่ ซึ่งบริเวณใกล้เคียงวัดจะมีวัดบ้านปิง วัดสำเภา วัดหมื่นล้าน ซึ่งอยู่กลางใจเมืองเชียงใหม่ ถึงแม้ว่าจะเป็นวัดที่ไม่ใหญ่มากนัก
ในต้นฤดูหนาว ปี พ.ศ.2461 พบว่าเป็นวัดร้าง มีอาณาบริเวณไม่กว้างมากนักและมีซากอุโมงค์สำหรับเป็นที่เดินจงกรม มีความยาวประมาณ 6 เมตร กว้าง 1.1 เมตร ลึกประมาณ 2.1 เมตร มีป้ายติดอยู่กับหลักบอกชื่อว่า “วัดอุโมงค์ (เถรจันทร์)” เรียกอีกอย่างว่า “วัดโพธิ์น้อย” มีเนื้อที่ทั้งหมด 2 ไร่ 2 งาน 43 ตารางวา เป็นวัดที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2522 สิ่งสำคัญภายในวัดก็จะมี วิหารเป็นสถาปัตยกรรมล้านนา สร้างขึ้นระหว่างปีพุทธศตวรรษ 24-25 เจดีย์องค์ใหญ่ที่อยู่หลังวิหาร

สำหรับเจดีย์ด้านทิศใต้ของวิหารนี้ เป็นโบราณสถานที่สำคัญของวัดอุโมงค์เถรจันทร์เพราะมีศิลปกรรมที่ผิดแผกไปจากเจดีย์ทั่วๆไปของจังหวัดเชียงใหม่ ตามลักษณะของเจดีย์แล้ว คาดการณ์กันว่าอาจจะสร้างเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้จริง เจดีย์องค์นี้น่าจะเป็นแบบอย่างของโบราณสถานที่มีอายุเก่าแก่ของแคว้นล้านนาไทย ที่เริ่มสร้างขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 19 ทั้งนี้เพราะยากที่จะหาโบราณสถานใดๆในศิลปะแบบล้านนาที่จะมีอายุเก่าแก่ราวพุทธศตวรรษที่ 21 ได้

Read more »

วัดอุโมงค์ เชียงใหม่

wat_umong1

วัดอุโมงค์ เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ปฎิบัติธรรม เป็นวัดสายป่า วัดอุโมงค์สร้างขึ้นในสมัยพญามังรายราว พ.ศ. 1839 เพื่อให้ฝ่ายอรัญวาสีจำพรรษา ต่อมาพญากือนา ทรงสร้างอุโมงค์ขึ้นเพื่อให้พระมหาเถระจันทร์ใช้เป็นที่วิปัสสนากรรมฐาน อุโมงค์นี้มีลักษณะเป็นกำแพงภายในเป็นทางเดินหลายช่องทะลุกันได้ ภายในอุโมงค์เคยมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง สันนิษฐานว่าวาดในระหว่าง พ.ศ.1900-2000 แต่เดิมคงเป็นภาพจิตรกรรมเต็มบริเวณของทุกห้อง ส่วนใหญ่เป็นภาพดอกบัว ดอกโบตั๋น และ นกต่าง ๆ เช่น นกยูง นกกระสา นกแก้ว และนกเป็ดน้ำ

ด้านบนอุโมงค์เป็นเจดีย์ที่มีอายุเก่าแก่ของล้านนา นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าสร้างประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นเจดีย์ทรงระฆัง มีชั้นทรงกลมประมาณ 3 ชั้นเหมือนกลีบบัวซ้อนกันอยู่ ด้านบนมีปลียอด ด้านหน้าอุโมงค์มีเศียรพระพุทธรูปหินสลักสกุลช่างพะเยา พ.ศ.1950-2100 บริเวณวัดเป็นสวนพุทธธรรม ร่มรื่นด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ เป็นสวนป่าที่เหมาะกับการนั่งวิปัสสนา ด้านหลังเป็นสวนป่าและสวนสัตว์ซึ่งเป็นเขตอภัยทาน เดินเล่นได้ และเป็นสถานที่ดูนกที่ดีอีกแห่งหนึ่ง

Read more »

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม)

1255184248

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม)

: ป้ายชื่อวัดใหม่มีความสวยงามมากเลยครับ และ จะงดงามมากกว่านี้ ถ้าถ้าป้ายวัดอุโมงค์ใหม่จะไม่ไปบังป้ายวัดอุโมงค์เก่า ด้วยการย้าย หรือ ทำให้เสาป้ายใหม่อยู่เบื้องหลังกำแพงและให้ป้ายใหม่อยู่สูงกว่ากำแพงสักเล็กน้อย ก็จะได้เห็นป้ายใหม่อันสวยงามเด่นเป็นสง่ามาแต่ไกล และ ป้ายเก่าก็จะไม่ได้น้อยใจที่ถูกบังจากสายตาแห่งสาธุชน. Read more »

วัดอุโมงค์เถรจันทร์ เป็นชื่อเรียกวัดเก่าแก่ที่พระเจ้ากือนาธรรมิกราชทรงสร้าง

ประวัติวัดอุโมงค์

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) หรือ วัดอุโมงค์เถรจันทร์ หรือวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) เป็นวัดที่ตั้ง อยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพ ทางทิศใต้ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ตั้งอยู่ในซอยหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวัดที่ปัจจุบันตั้งอยู่ในชุมชนที่มีประชาชนอาศัยอย่างหนาแน่น และมีหอพักนักศึกษาอยู่บริเวณใกล้เคียงวัดจำนวนมาก บางท่านอาจรู้จักในนาม วัดอุโมงค์สวนพุทธธรรม ชื่อนี้เป็นการนำชื่อสองชื่อมารวมกัน ชื่อแรก คือ

“วัดอุโมงค์” หรือ “วัดอุโมงค์เถรจันทร์” เป็นชื่อเรียกวัดเก่าแก่ที่พระเจ้ากือนา ธรรมิกราชทรงสร้างขึ้น เพื่อถวายพระมหาเถรจันทร์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกพำนักจำพรรษาในวัดแห่งนี้ ส่วนชื่อที่ 2 คือ “วัดอุโมงค์สวนพุทธธรรม” เป็นชื่อใหม่ที่ภิกขุปัญญานันทะ ประธานสงฆ์วัดอุโมงค์ ในช่วง พ.ศ. 2492 ? พ.ศ. 2509 ตั้งขึ้นเพื่อเรียกสถาปนาป่าผืนใหญ่ที่ปกคลุมวัดร้างโบราณ ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่ เป็นที่อยู่ของภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา และผู้แสวงหาความสงบ รวมเอาวัดไผ่ 11 กอ (วัดเวฬุกัฏฐาราม) และวัดอีก 4 วัด ที่อยู่ใกล้ ๆเอาไว้ ด้วย ซึ่งก็คืออาณาบริเวณวัดอุโมงค์ที่รู้จักกันทุกวันนี้เอง

Read more »

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) รำลึก ภิกขุ ปัญญานันทะ

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดอุโมงค์ – พระเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ ที่พระเจ้ากือนาทรงโปรดให้บูรณะขึ้น นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปสักการะได้ หลักศิลาจารึกการบูรณะซ่อมแซมวัดอุโมงค์ ที่คณะพุทธนิคมได้จัดทำขึ้นตั้งอยู่บริเวณหน้าอุโมงค์ เสาหินอโศกจำลอง ตั้งอยู่บริเวณหน้าอุโมงค์ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง อยู่บริเวณหน้าอุโมงค์แสดงเศียรพระพุทธรูปที่ชำรุด โรงภาพปริศนาธรรมเป็นสถานที่แสดงภาพที่แฝกคำสอนทางพุทธศาสนา มีประชาชนให้ความสนใจเข้าชมจำนวนมาก หอสมุดธรรมโฆษ ชั้นบนเป็นพิพิธภัณฑ์และให้บริการยืมเทปธรรมะ ชั้นล่างทำเป็นห้องสมุดบริการแก่ประชาชนทั่วไป เปิดทุกวันยกเว้นวันพระ และวันหยุดประจำปี สระน้ำภายในวัดอุโมงค์มีสัตว์ เช่น ปลา เต๋า นก และสิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดคือ ภาพจิตรกรรมในอุโมงค์ ซึ่งมีความเก่าแก่และมีคุณค่าทางด้านศิลปะประวัติศาสตร์มาก

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .