Archive for the ‘ขอพรหลวงพ่อ วัดในภาคเหนือ’ Category

ประวัติของวัดพระธาตุลำปางหลวง

wp_dsc53691

ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ได้เสด็จจาริกไปตามบ้านเมืองต่าง ๆ จนถึงบ้านลัมภะการีวัน (บ้านลำปางหลวง) พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือดอยม่อนน้อย มีชาวลัวะคนหนึ่งชื่อ ลัวะอ้ายกอน เกิดความเลื่อมใส ได้นำน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้างมะพร้าว และมะตูมมาถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ฉันน้ำผึ้งแล้วทิ้งกระบอกไม้ป้างไปทางทิศเหนือ แล้วทรงพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะมีชื่อว่า ลัมพกัปปะนคร แล้วได้ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศามาหนึ่งเส้น มอบให้แก่ลัวะอ้ายกอนผู้นั้น ลัวะอ้ายกอนได้นำพระเกศานั้น บรรจุในผอบทองคำ และใส่ลงในอุโมงค์พร้อมกับถวาย แก้ว แหวน เงิน ทอง เป็นเครื่องบูชา แล้วแต่งยนต์ผัด (ยนต์หมุน) รักษาไว้ และถมดินให้เรียบเสมอกัน แล้วก่อเป็นพระเจดีย์สูงเจ็ดศอกเหนืออุโมงค์นั้น ในสมัยต่อมาก็ได้มีกษัตริย์เจ้าผู้ครองนครลำปางอีกหลายพระองค์ มาก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซม จนกระทั่งเป็นวัดที่มีความงามอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน Read more »

ไหว้พระธาตุปีฉลูดูเงาพระธาตุที่วัดพระธาตุลำปางหลวง

wp_dsc53171

นักท่องเที่ยวทุกคนที่มีโอกาสมาเยือนลำปาง สถานที่แรกที่มักจะนึกถึงก็คือวัดพระธาตุลำปางหลวง เนื่องจากวัดพระธาตุลำปางหลวงเป็นวัดที่เก่าแก่ มีประวัติความเป็นมายาวนาน มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แสดงความเป็นล้านนาอย่างเด่นชัดที่สุดวัดหนึ่ง องค์พระธาตุ(ที่ชาวภาคกลางเรียกเจดีย์)ก็ยังเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนที่เกิดปีฉลู และนอกจากนั้น ยังมีเงาพระธาตุในซุ้มพระบาท เป็นหนึ่งใน Unseen Thailand ให้ได้ชมกันอีกด้วย

เมื่อมาถึงทางเข้าก็จะพบกับบันไดนาคที่มีรูปแบบทางศิลปะเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว ทอดยาวลงมาจากซุ้มโขงประตูที่อยู่สูงขึ้นไป เหมือนเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกการขึ้นสู่แดนศักดิ์สิทธิ์ที่แยกตัวออกจากโลกมนุษย์

มกรคายนาค วัดพระธาตุลำปางหลวง
บันได “มกรคายนาค” เป็นรูปแบบศิลปะที่นิยมและพบเห็นมากในถิ่นล้านนา บันไดหรือทางเข้าวัดนิยมทำเป็นรูปนาคโดยมีมกรหรือเหรากำลังทำท่าคายนาคออกมาจากปาก แต่บางคนก็ตั้งข้อสังเกตุว่ากำลังจะกลืนนาคเข้าไป
สำหรับความหมายของมกรคายนาคนั้น เท่าที่ทราบมามีการตีความไปสองทาง Read more »

วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง

ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองลำปางมาแต่โบราณ ตามตำนานกล่าวว่ามีมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นวัดไม้ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย งดงามด้วยสถาปัตยกรรมเก่าแก่มากมายได้แก่
– พระธาตุลำปางหลวง เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนปีฉลู ด้วยเริ่มสร้างในปีฉลูและเสร็จในปีฉลูเช่นกัน ฐานเป็นบัวลูกแก้ว ส่วนองค์เป็นทรงกลมแบบล้านนาภายนอกบุด้วยทองจังโก ยอดฉัตรทำด้วยทองคำ มีลายสลักดุนเป็นลวดลายประจำยามแบบต่าง ๆ ลักษณะเจดีย์แบบนี้ได้ส่งอิทธิพลต่อพระธาตุหริภุญไชย และพระบรมธาตุจอมทอง ภายในองค์พระเจดีย์บรรจุพระเกศา และพระอัฐิธาตุจากพระนลาฎข้างขวา พระศอด้านหน้าและด้านหลัง ที่รั้วทองเหลืองรอบองค์พระธาตุมีรูกระสุนปืนที่หนานทิพย์ช้างยิงท้าวมหายศปรากฏอยู่
– วิหารหลวง วิหารขนาดใหญ่ที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2019 โดยเจ้าหมื่นคำเป๊ก ภายในมีซุ้มปราสาททองเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าล้านทอง ด้านหลังเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทันใจ บนแผงไม้คอสองมีภาพจิตรกรรมเก่าแก่งดงามเรื่องทศชาติและพรหมจักร
– วิหารพระพุทธ ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้าง แต่ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า 700 ปี เดิมเป็นวิหารเปิดโล่งหน้าบันเป็นลายดอกไม้ติดกระจกสี ภายในประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่เต็มอาคารก่ออิฐถือปูน ศิลปะเชียงแสน และยังปรากฏเงาพระธาตุภายในวิหารอีกด้วย Read more »

พระธาตุลําปางหลวง มนต์เสน่ห์ความงามล้านนา

l7

ลำปาง…เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งจังหวัดในประเทศไทย ที่ยังคงอารยธรรมล้านนาไทยไว้ไม่เสื่อมคลาย ทั้งวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัดวาอาราม และสถาปัตยกรรมท้องถิ่น ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดมาแต่โบราณ รวมถึง “รถม้า” และ “ถ้วยชามตราไก่” อันเลื่องชื่อ เอกลักษณ์ที่สำคัญของจังหวัด

แต่สถานที่ท่องเที่ยวหนึ่งที่ไม่ควรพลาดเด็ดขาด! เมื่อไปเยือนเขลางค์นคร นั่นก็คือ “วัดพระธาตุลำปางหลวง” วัดคู่บ้านคู่เมืองลำปางมาแต่โบราณ และเป็นวัดไม้ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย อีกทั้ง พระธาตุลำปางหลวง ยังเป็น พระธาตุประจำปีเกิดของคนปีฉลู ด้วยเริ่มสร้างในปีฉลูและเสร็จในปีฉลูเช่นกัน

วัดพระธาตุลำปางหลวง ตั้งอยู่ที่ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา ตามตำนานกล่าวว่ามีมาตั้งแต่สมัย พระนางจามเทวี ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 ตอนปลาย มีความสวยงามและอลังการด้วยศิลปะสถาปัตยกรรม ที่สร้างขึ้นในแนวกำแพงใหญ่ ซึ่งทอดยาวกั้นทุกอย่างไว้ในบริเวณวัด ส่วนบันไดด้านหน้าเป็นนาคสองชั้น หัวนาคชั้นแรกเป็นมังกรคล้ายนาค ตามคตินิยมทางเหนือ ชั้นที่สองเป็นหัวนาคหัวเดียว Read more »

วัดพระธาตุลำปางหลวง นมัสการพระธาตุ อลังการความงามแห่งศิลปะล้านนา

มาถึงจังหวัดลำปางทั้งทีก็ต้องมากราบไว้วัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองกันหน่อย “วัดพระธาตุลำปางหลวง”วัด สำคัญประจำจังหวัดลำปางจัดว่าเป็นวัดที่มีการวางผังไว้อย่างสวยงามและเป็น วัดที่มีส่วนประกอบต่างๆ สมบูรณ์แบบที่สุดวัดหนึ่งของไทย โดยวัดพระธาตุลำปางหลวงสร้างขึ้นโดยจำลองตามคติไตรภูมิจักรวาล โดยมีองค์พระธาตุเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นแกนกลางของจักรวาล ส่วนวิหารทั้ง 4 แทนทวีปทั้ง 4 ทิศที่ตั้งอยู่รายล้อมเขาพระสุเมรุ และลานทรายในวัดก็แทนห้วงมหานทีศรีทันดรอันกว้างใหญ่ไพศาล


เมื่อเราเดินขึ้นบันไดนาคขึ้นไปถึงซุ้มประตูใหญ่ ที่เรียกว่า “ซุ้มประตูโขง” หรือ “มณฑป” แล้ว ผ่านกำแพงแก้วเข้าไป สิ่งแรกที่เราจะเห็นก็คือ “วิหารหลวง” เป็นวิหารโถงเครื่องไม้สักขนาดใหญ่ ภายในประดิษฐ์ฐาน “พระเจ้าล้านทอง” องค์พระประธานประจำวิหารหลวงซึ่งอยู่ภายใน “กู่ปราสาท” รอบวิหารจะมี “ไม้คอสอง” ไม้ที่อยู่ด้านบนของแต่ละช่วงเสาที่มีภาพเขียนพุทธประวัติอันเก่าแก่ ทั้ง 24 แผ่นซึ่งยังคงความสวยงามและสมบูรณ์อยู่มาก ถัดจากวิหารหลวงก็จะเป็น “องค์พระธาตุลำปางหลวง” ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำทรงกลมแบบล้านนา ภายนอกบุด้วยทองจังโก ที่บริเวณยอดฉัตรทำด้วยทองคำ ภายในองค์พระเจดีย์บรรจุพระเกศาและพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ตามความเชื่อของการไหว้พระธาตุประจำปีเกิด พระธาตุลำปางหลวงถือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีฉลู ด้วยเพราะเริ่มสร้างในปีฉลูและแล้วเสร็จในปีฉลูเช่นกัน Read more »

วัดพระธาตุลำปางหลวง

untitled

วัดพระธาตุลำปางหลวง ตั้งอยู่ในเขตตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากตัวเมืองลำปาง ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 18 กิโลเมตร วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองลำปางมาแต่โบราณ ตามตำนานกล่าวว่ามีมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 ตอนปลายเป็นวัดไม้ที่สมบูรณ์ที่สุด แห่งหนึ่งของไทย งดงามด้วยสถาปัตยกรรมเก่าแก่มากมายพระธาตุลำปางหลวง เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของ คนปีฉลู ด้วยเริ่มสร้างในปีฉลูและเสร็จในปีฉลู เช่นกัน ฐานเป็นบัวลูกแก้ว ส่วนองค์เป็นทรงกลมแบบล้านนาภาย นอกบุด้วยทองจังโก ยอดฉัตรทำด้วยทองคำ มีลายสลักดุนเป็นลวดลายประจำยามแบบต่างๆ ลักษณะเจดีย์ แบบนี้ได้ส่งอิทธิพลให้พระธาตุหริภุญไชย และพระบรมธาตุจอมทอง ภายในองค์พระเจดีย์บรรจุพระเกศาและ พระอัฐิธาตุ จากพระนลาฎข้างขวา พระศอด้านหน้าและด้านหลัง ที่รั้วทองเหลืองรอบองค์พระธาตุมีรูกระสุนปืนที่ หนานทิพย์ ช้างยิงท้าวมหายศปรากฏอยู่ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ได้เสด็จจาริกไปตามบ้านเมืองต่างๆ จนถึงบ้านลัมภะการีวัน (บ้านลำปางหลวง) พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือดอยม่อนน้อย มีชาวลัวะคนหนึ่งชื่อลัวะ อ้ายกอนเกิดความเลื่อมใส Read more »

พระธาตุประจำปีเกิด

นมัสการพระธาตุประจำปีชวด พระธาตุศรีจอมทอง เชียงใหม่
นมัสการพระธาตุประจำปีฉลู พระธาตุลำปางหลวง ลำปาง
นมัสการพระธาตุประจำปีขาล พระธาตุช่อแฮ แพร่
นมัสการพระธาตุประจำปีเถาะ พระธาตุแช่แห้ง น่าน
นมัสการพระธาตุประจำปีมะโรง พระพุทธสิหิงค์ เชียงใหม่
นมัสการพระธาตุประจำปีมะเส็ง พระศรีมหาโพธิหรือต้นโพธิ์ เชียงใหม่
นมัสการพระธาตุประจำปีมะเมีย พระธาตุชเวดากอง พม่า
นมัสการพระธาตุประจำปีมะแม พระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่
นมัสการพระธาตุประจำปีวอก พระธาตุพนม นครพนม
นมัสการพระธาตุประจำปีระกา พระธาตุหริภุญชัย ลำพูน
นมัสการพระธาตุประจำปีจอ พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หรือพระเจดีย์วัดเกตการาม เชียงใหม่
นมัสการพระธาตุประจำปีกุน พระธาตุดอยตุง เชียงราย

ขอขอบคุณ http://www.lampang.go.th

สถาณการณ์สร้างวีรบุรุษ ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง

วัดลำปางหลวงเป็นสถาปัตยกรรมล้านนาที่หาดูได้ยาก แตกต่างจากวัดทางภาคเหนือโดยทั่วไป พร้อมกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของวัด ที่มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย เป็นจุดเริ่มต้นของตระกูล ทิพย์ช้าง หรือตระกูล “ เชื้อเจ็ดตน ” อันเป็นต้นตระกูลของเชื้อเจ้า่ปกครองภาคเหนือ

” เหตุการณ์สร้างวีระบุรุษ ” คำกล่าวที่มักใช้กันอยู่บ่อยๆในปัจจุบัน แต่ในอดีตนั้นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาก็ได้ สร้างวีระบุรุษมากมายมาแล้วเช่นกัน

” เจ้าทิพย์ช้าง “ เจ้าผู้ครองเขลางค์นคร หรือนครลำปาง อดีตนั้นเป็นเพียงแค่พรานป่าหรือพรานหนุ่ม ผู้ถูกร้องขอจากขุนนางเมืองในสมัยนั้น ให้ช่วยกอบกู้เมืองลำปางที่ตกอยู่ในการครอบครองของพม่า และพรานป่าผู้กล้านี้ก็ได้ทำสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2275 โดยปลอมตัวเข้าไปในเขตชั้นในที่พม่าใช้วัดพระธาตุลำปางหลวงเป็นที่ตั้งมั่น แล้วลอบฆ่าแม่ทัพพม่าจนเสียชีวิต ซึ่งรอยกระสุนจากการสู้รบ และร่องรอยการหลบหนี ยังปรากฏอยู่ที่วัดพระธาตุลำปางหลวงมาจนถึงทุกวันนี้ Read more »

วัดพระธาตุลำปางหลวง

ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ได้เสด็จจาริกไปตามบ้านเมืองต่าง ๆ จนถึงบ้านลัมภะการีวัน หรือ บ้านลำปางหลวงในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือดอยม่อนน้อย มีชาวลัวะคนหนึ่งชื่อ ลัวะอ้ายกอน เกิดความเลื่อมใส ได้นำน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้างมะพร้าว และมะตูมมาถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ฉันน้ำผึ้งแล้วทิ้งกระบอกไม้ป้างไปทางทิศเหนือ แล้วทรงพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะมีชื่อว่า ลัมพกัปปะนคร แล้วได้ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศามาหนึ่งเส้น มอบให้แก่ลัวะอ้ายกอนผู้นั้น ลัวะอ้ายกอนได้นำพระเกศานั้น บรรจุในผอบทองคำ และใส่ลงในอุโมงค์พร้อมกับถวายแก้วแหวนเงินทองเป็นเครื่องบูชา แล้วแต่งยนต์ผัด(ยนต์หมุน) รักษาไว้ และถมดินให้เรียบเสมอกัน แล้วก่อเป็นพระเจดีย์สูงเจ็ดศอกเหนืออุโมงค์นั้น ในสมัยต่อมาก็ได้มีกษัตริย์เจ้าผู้ครองนครลำปางอีกหลายพระองค์ มาก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซม จนกระทั่งเป็นวัดที่มีความงามอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน Read more »

วัดพระธาตุลำปางหลวง

ศิลปกรรม
บันไดทางขึ้นวัดวัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นโบราณสถานสำคัญ ที่ตั้งอยู่ในบริเวณซากเมืองโบราณลัมพกัปปะนคร ตามประวัติพระนางจามเทวีเคยเสด็จมานมัสการ และทำการบูรณะซ่อมแซมอยู่เสมอ นับว่าเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณกาล มีความสวยงาม และมีความยอดเยี่ยมทั้งสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม เป็นที่ประดิษฐาน พระแก้วดอนเต้า ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวลำปาง และชาวพุทธทั่วไป

ประตูโขง
ประตูโขง เป็นฝีมือช่างหลวงโบราณที่สวยงามก่ออิฐถือปูนทำเป็นซุ้มยอดแหลมเป็นชั้น ๆ มีสี่ทิศ ประดับตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น รูปดอกไม้ และสัตว์ในหิมพานต์ ประตูโขงแห่งนี้ใช้เป็นสัญลักษณ์เมืองลำปางในตราจังหวัดลำปาง

มณฑปพระเจ้าล้านทอง[แก้]วิหารหลวง เป็นวิหารประธานของวัด ตั้งอยู่บนแนวเดียวกับประตูโขง และองค์พระธาตุเจดีย์ เป็นวิหารจั่วรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทรงวิหารโล่งตามแบบล้านนายุคแรก หลังคาจั่วซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ภายในวิหารบรรจุมณฑปพระเจ้าล้านทอง ด้านในของแนวคอสอง มีภาพเขียนสีโบราณเรื่องชาดก Read more »

ประวัติวัดพระธาตุลำปางหลวง

วัดตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ได้เสด็จจาริกไปตามบ้านเมืองต่าง ๆ จนถึงบ้านลัมภะการีวัน (บ้านลำปางหลวง) พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือดอยม่อนน้อย มีชาวลัวะคนหนึ่งชื่อ ลัวะอ้ายกอน เกิดความเลื่อมใส ได้นำน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้างมะพร้าว และมะตูมมาถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ฉันน้ำผึ้งแล้วทิ้งกระบอกไม้ป้างไปทางทิศเหนือ แล้วทรงพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะมีชื่อว่า ลัมพกัปปะนคร แล้วได้ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศามาหนึ่งเส้น มอบให้แก่ลัวะอ้ายกอนผู้นั้น ลัวะอ้ายกอนได้นำพระเกศานั้น บรรจุในผอบทองคำ และใส่ลงในอุโมงค์พร้อมกับถวาย แก้ว แหวน เงิน ทอง เป็นเครื่องบูชา แล้วแต่งยนต์ผัด (ยนต์หมุน) รักษาไว้ และถมดินให้เรียบเสมอกัน แล้วก่อเป็นพระเจดีย์สูงเจ็ดศอกเหนืออุโมงค์นั้น ในสมัยต่อมาก็ได้มีกษัตริย์เจ้าผู้ครองนครลำปางอีกหลายพระองค์ มาก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซม จนกระทั่งเป็นวัดที่มีความงามอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน Read more »

วัดพระธาตุลำปางหลวง

วัดพระธาตุลำปางหลวง (คำเมือง: ) ตั้งอยู่ในเขตตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากตัวเมืองลำปางไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 18 กิโลเมตร วัดตั้งอยู่บนเนินสูง มีการจัดวางผังและส่วนประกอบของวัดสมบูรณ์แบบที่สุด มีสิ่งก่อสร้าง และสถาปัตยกรรมต่าง ๆ บริเวณพุทธาวาสประกอบด้วย องค์พระธาตุลำปางหลวง เป็นประธาน มีบันไดนาคนำขึ้นไปสู่ซุ้มประตูโขง ถัดซุ้มประตูโขงขึ้นไปเป็น วิหารหลวง บริเวณทิศเหนือขององค์พระธาตุมีวิหารบริวารตั้งอยู่คือ วิหารน้ำแต้ม และ วิหารต้นแก้ว ด้านตะวันตกขององค์พระธาตุประกอบด้วย วิหารละโว้ และ หอพระพุทธบาท ด้านใต้มี วิหารพระพุทธ และอุโบสถ ทั้งหมดนี้จะแวดล้อมด้วยแนวกำแพงแก้วทั้งสี่ด้าน นอกกำแพงแก้วด้านใต้มีประตูที่จะนำไปสู่เขตสังฆาวาส ซึ่งประกอบด้วยอาคาร หอพระไตรปิฎก กุฏิประดิษฐาน พระแก้วดอนเต้า อาคารพิพิธภัณฑ์และกุฏิสงฆ์

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org/

วัดแสงแก้วโพธิญาณ

441982315

ที่…วัดแสงแก้วโพธิญาณ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
“หน้าตักกว้าง ๙ เมตร สูง ๑๒ เมตร” เป็นขนาดของรูปหล่อครูบาศรีวิชัย
เนื้อโลหะองค์ใหญ่ที่สุดในโลก โดยจะประดิษฐานอยู่ที่วัดแสงแก้วโพธิญาณ
ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

ขนาดหน้าตักกว้าง ๙ เมตร เป็นเลขเลขมงคล ส่วนสูง ๑๒ เมตร
ปล่อยไปตามสัดส่วนที่สมดุล
การหล่อนั้นหล่อเป็นชิ้นส่วนทั้งหมด ๔๕ ชิ้น
ทั้งหมดหล่อที่โรงหล่อประติมากรรมประทานพร อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
๔๔ ชิ้น ควบคุมการสร้างปั้นและการหล่อโดย อ.สุรินทร์ เลิศภูมิปัญญา
เมื่อหล่อเสร็จแล้วจะนำขึ้นมาประกอบไว้ที่วัดแสงแก้วโพธิญาณ จ.เชียงราย
มีกำหนดเสร็จเป็นองค์พระ ส่วนที่เหลืออีกจำนวน ๑ ชิ้น
ซึ่งเป็นส่วนของเศียรพระพักตร์ขององค์พระ
มีกำหนดหล่อในวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณ วัดแสงแก้วโพธิญาณ
“เพื่อเป็นการน้อมรำลึกนึกถึงคุณงามความดีของครูบาศรีวิชัย
ที่ท่านอุทิศให้พระพุทธศาสนา การสร้างรูปหล่อเหมือนขององค์ท่าน
เพื่อเป็นอาจาริยบูชาให้ศรัทธาประชาชนจากทั่วสารทิศ
ทั้งด้านภาคเหนือก็ดี ภาคอื่นๆ ก็ดี และแม้กระทั่งศรัทธาจากต่างประเทศ
ได้มากราบไหว้เคารพบูชาเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว

เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในวโรกาสครบ ๗ รอบ ๘๔ พรรษาที่จะถึงในปี ๒๕๕๔ นี้”
นี่คือ วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างครูบาศรีวิชัยองค์ใหญ่ที่สุดในโลก
จากคำบอกเล่าของครูบาอริยชาติ Read more »

วัดแสงแก้วโพธิญาณ ประจำปี ๒๕๕๗(ขอเชิญร่วมงานกฐินสามัคคีประจำปี 18-19 ต.ค. 2557)

ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมเป็นเจ้าภาพกฐินสามัคคี

วัดแสงแก้วโพธิญาณ ประจำปี ๒๕๕๗
เพื่อหาทุนสร้างอาคารปฏิบัติธรรม , หอพระแก้วไม้สัก , พระวิหารหลวง ,โรงทาน
กุฏิพระครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต , กุฎิพระสงฆ์ , ตกแต่งและปรับปรุงภูมิทัศน์รอบองค์พระครูบาเจ้าศรีวิชัย
ณ วัดแสงแก้วโพธิญาณ ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
ระหว่างวันที่ ๑๘-๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๗ ตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ น. เป็นต้นไป

ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ท่านได้เป็นผู้ริเริ่มคิดสร้างวัดใหม่ขึ้นมา คือ “วัดแสงแก้วโพธิญาณ” ตั้งอยู่ ณ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เพื่อเป็นพุทธสถาน เป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชนของชนชาวไทย ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ได้ร่วมกับคณะศรัทธาบ้านป่าตึงงามใน พ.ศ. 2549 ช่วยกันปรับปรุงพื้นที่ พร้อมระบบสาธารณูปโภค เมื่อศิษยานุศิษย์ คณะศรัทธาและผู้ที่นับถือท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ทราบข่าวการสร้างวัดได้แสดงความจำนงในการร่วมสมทบทุนในการสร้างวัดเป็นจำนวนมาก

และขณะนี้ทางวัดแสงแก้วโพธิญาณได้มีการจัดสร้างศาสนวัตถุในวัดต่าง ๆ เพิ่มเติมอีกมากมาย จึงได้กำหนดการจัดงานบุญกฐินสามัคคี ประจำปี ๒๕๕๗ ขึ้น ภายในวันที่ ๑๘-๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๗ ตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ น. เป็นต้นไป เพื่อหาทุนสร้างอาคารปฏิบัติธรรม ,
หอพระแก้วไม้สัก,พระวิหารหลวง,โรงทาน,กุฎิพระสงฆ์,ตกแต่งและปรับปรุงภูมิทัศน์รอบองค์พระครูบาเจ้าศรีวิชัย

กำหนดการ

วันเสาร์ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๗ (วันแรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๑)
ช่วงเช้า
07.00 น. ทำบุญตักบาตรภิกษุสามเณร กรวดน้ำรับพร
09.00 น. ตกแต่งดาองค์กฐินและเครื่องไทยทาน
ช่วงบ่าย
13.00 น. ร่วมบุญพิธีต่างๆของวัด สมโภชน์องค์กฐิน
ช่วงเย็น
19.00 น. ไหว้พระสวดมนต์ ปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนาตลอดคืน
ช่วงกลางคืน
พบกับ มินิคอนเสิร์ต คณะตลกและนักร้อง
วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๗ (วันแรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๑) Read more »

วัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร

watphrathatdoisuthep1

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เป็นวัดที่มีความสำคัญในแง่ประวัติศาสตร์และเป็นวัดท่องเที่ยว ซึ่งเป็นที่รู้จักของประชาชนชาวไทยโดยทั่วไป ในฐานะที่เป็นวัดที่มีความศักดิ์สิทธิ์มากวัดหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่บนยอดดอยสุเทพห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 14 กิโลเมตร อยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,053 เมตร อยู่ในเขตตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

องค์พระเจดีย์ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาแห่งหนึ่ง มีชื่อว่า ดอยสุเทพ แต่เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของฤาษี มีนามว่า สุเทวะ เป็นภาษาบาลี มีความหมายว่า เทพเจ้าที่ดี ซึ่งตรงกับความหมายของคำว่า สุเทพ นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงได้ ชื่อว่า ดอยสุเทพ ซึ่งมาจากชื่อของฤๅษี คือสุเทวะฤาษี

ตามประวัติได้แจ้งว่า เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 19 พระเจ้ากือนา ได้ทรงสร้างวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารไว้บนยอด เขาดอยสุเทพ โดยได้นำเอาพระบรมธาตุ ของพระพุทธเจ้า ที่พระมหาสวามี นำมาจากเมืองปางจา จังหวัดสุโขทัย บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์พระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร นอกจากจะเป็นวัดที่มีความสำคัญมากแล้ว ยังเป็นพระอารามหลวง 1 ใน 4 ของจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย (พระอารามหลวงหมายถึง วัดที่อยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเจาอยู่หัวฯ) ชาวเชียงใหม่เคารพนับถือพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารมาก เสมือนหนึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่มาแต่โบราณกาล

 

ในสมัยก่อน การขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพนั้น เป็นเรื่องที่ยากลำบากเหลือเกิน เพราะไม่มีถนนสะดวกสบายเหมือนปัจจุบัน ทางเดินก็แคบๆ และ ไม่ราบเรียบ ต้องผ่านป่าเขาลำเนาไพร และปีนเขาต้องใช้เวลายาวนานถึง 5ชั่วโมงกว่า จนมีคำกล่าวขานกันทั่วไปในสมัยนั้นว่า ถ้าไม่มีพลังบุญและศรัทธาเลื่อมใสจริงๆ ก็จะไม่มีโอกาสได้กราบไหว้พระธาตุดอยสุเทพ

ในปี พ.ศ.2477 (ค.ศ.1934) ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย มาจากวัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน เป็นผู้เริ่มดำเนินการสร้างถนนขึ้นสู่พระธาตุดอยสุเทพ โดยมีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่สมัยนั้น เป็นผู้เริ่มขุดดินด้วยจอบเป็นปฐมฤกษ์ ตรงที่หน้าสวนสัตว์เชียงใหม่ปัจจุบัน ใกล้ๆ กับบริเวณน้ำตกห้วยแก้ว โดยเริ่มสร้างวันที่ 9 พฤศจิกายน 2477

บันใดนาค เป็นสัญลักษณ์สำคัญแห่งหนึ่งของวัดพระธาตุดอยสุเทพ มีความงดงามทางด้านศิลปะที่ทรงคุณค่า และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ นักท่องเที่ยวผู้มานมัสการพระบรมธาตุ มักจะต้องถ่ายภาพเป็นที่ระลึกที่ด้านของบันใดนาค ซึ่งมีทัศนียภาพงดงามและมีเสน่ห์เมื่อมองขึ้นไปตามขั้นใด นักท่องเที่ยวที่มาเยือนครั้งแรก มักจะเดิน ขึ้นหรือเดินลงบันใดนาคเสมอ แต่ส่วนใหญ่มักจะเดินลง ส่วนตอนขึ้นนั้นมักจะขึ้นทางลิฟท์หรือรถรางไฟฟ้า

รถรางไฟฟัาได้นำมาใช้บริการประชาชนผู้สูงอายุมานานกว่า 10 ปี ตอนแรกๆ ก็ใช้เพียงขนของสัมภาระขึ้น-ลงพระธาตุเท่านั้น ต่อมาภายหลังได้ทำการปรับปรุงระบบความปลอดภัยให้ดีขึ้น จึงให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยวได้มีอายุการใช้งานรถรางไฟฟ้านานมากแล้ว ทางวัดจึงได้ทำการปรับปรุงและพัฒนาครั้งใหญ่เพื่อจะนำมาเสริมสร้างบริการที่ดี และปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวด้วยความมั่นใจยิ่ง

ขอบพระคุณ http://www.dhammathai.org/watthai/north/watphrathatdoisuthep.php

. . . . . . .
. . . . . . .