Archive for the ‘วัดในกรุงเทพ’ Category

วัดราชบุรณราชวรวิหาร (วัดเลียบ)

01

ประวัติวัดราชบุรณราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ เดิมชื่อ “วัดเลียบ” ตั้งอยู่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วัดนี้เป็นวัดหนึ่งตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดราชประดิษฐ์พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางเธอในรัชกาลที่ 1 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดเลียบ เสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระราชทานนามว่า “วัดราชบุรณะ”ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากวัดตั้งอยู่ใกล้เคียงกับสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ คือ สะพานพระพุทธยอดฟ้า และ โรงไฟฟ้าวัดเลียบ สถานที่สำคัญ ๆ ของวัด รวมทั้งพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือขรัวอินโข่ง จึงถูกระเบิดทำลายจนหมด ปัจจุบันวัดราชบุรณะได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหมด

Read more »

วัดราชบูรณะ กรุงเทพฯ

วัดราชบูรณะ ตั้งอยู่เชิงสะพานพุทธฝั่งกรุงเทพฯ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัดเลียบ สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายโดยพ่อค้าชาวจีน วัดนี้เป็นหนึ่งในจำนวนวัดเอกประจำเมือง 3 วัด ได้แก่ วัดราชบูรณะ วัดราชประดิษฐ์ และวัดมหาธาตุ วัดนี้ได้รับการบูรณะมาตลอดตั้งแต่รัชกาลที่ 1-7 เว้นรัชกาลที่ 6 รัชกาลเดียว ในคราวสงครามมหาเอเซียบูรพา สถานที่สำคัญๆ ของวัดถูกระเบิดพังทลาย โดยเฉพาะพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือขรัวอินโข่งถูกระเบิดทำลายจนหมด ต่อมาได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ดังที่เห็นในปัจจุบัน

เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 05.00–20.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2221 3936, 0 2221 9544

ขอขอบคุณ http://www.touronthai.com/

วัดราชบูรณะหรือวัดเลียบ (กรุงเทพฯ)

ตั้งอยู่เชิงสะพานพุทธฝั่งกรุงเทพฯ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัดเลียบ สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายโดยพ่อค้าชาวจีน วัดนี้เป็นหนึ่งในจำนวนวัดเอกประจำเมือง 3 วัด ได้แก่ วัดราชบูรณะ วัดราชประดิษฐ์ และวัดมหาธาตุ วัดนี้ได้รับการบูรณะมาตลอดตั้งแต่รัชกาลที่ 1-7 เว้นรัชกาลที่ 6 รัชกาลเดียว ในคราวสงครามมหาเอเซียบูรพา สถานที่สำคัญ ๆ ของวัดถูกระเบิดพังทลาย โดยเฉพาะพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรม ฝาผนังฝีมือขรัวอินโข่งถูกระเบิดทำลายจนหมด ต่อมาจึงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ดังที่เห็นในปัจจุบัน

ขอขอบคุณ http://thai.tourismthailand.org/

วัดราชบูรณะราชวรวิหาร

1231644_388113454644490_243103925_n

ที่ตั้ง 119 อยู่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ระหว่างถนนจักรเพชรกับถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ประวัติความเป็นมาวัดราชบูรณะราชวรวิหาร เดิมชื่อ “วัดเลียบ” เป็นวัดราษฎรที่ตั้งมาก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระเจ้าหลานเธอในรัชกาลที่ 1 ขอพระบรมราชานึญาตสถาปนาวัดเลียบขึ้นเป็นพระอารามหลวง โดยพระราชทานนามว่า “วัดราชบูรณะราชวรวิหาร”

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงมีพระราชศรัทธาสร้างพระวิหารคดเป็นที่ประดิษฐานพระระเบียง 162 องค์ (นำมาจากหัวเมืองต่าง ๆ ในสมัยรัชกาลที่ 1) รอบพระอุโบสถ และทรงสร้างพระวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพร้อมด้วยอสีติมหาสาวกจำนวน 80 องค์ ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างพระพุทธปรางค์ ซึ่งไม่ได้รับอันตรายจากภัยสงคราม ได้แต่ชำรุดทรุดโทรม มาบูรณธเอาใน พ.ศ.2502 นอกจากนั้นยังได้รับการปฏิสังขรณ์อีกในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 พร้อมกันทั้งวัด
ใน พ.ศ.2488 วัดนี้ได้ประสบภัยจากสงครามเอเชียบูรพา พระอุโบสถและเสนาสนะสงฆ์ได้รับความเสียหายมาก เหลือปรางค์องค์ใหญ่หน้าพระอุโบสถเพียงองค์เดียว รูปร่างเหมือนพระปรางค์วัดสามปลื้ม ส่วนศิลปวัตถุสำคัญ ๆ อื่น ๆ เช่น พระพุทธรูปและภาพเขียนบนผนังอุโบสถถูกทำลายจนหมดสิ้น จนกระทั่งต้องประกาศยุบวัดเสีย ต่อมาใน พ.ศ.2491 พ่อค้า ประชาชน ผู้อุปการะวัดมีศรัทธาร่วมกันที่จะปฏิสังขรณ์ให้เป็นวัดตามเดิม

Read more »

วัดราชบุรณราชวรวิหาร

Bkkwrajburana0409a

วัดราชบุรณราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ เดิมชื่อ “วัดเลียบ” ตั้งอยู่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วัดนี้เป็นวัดหนึ่งตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดราชประดิษฐ์

พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางเธอในรัชกาลที่ 1 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดเลียบ เสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานนามว่า “วัดราชบุรณะ”

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากวัดตั้งอยู่ใกล้เคียงกับสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ คือ สะพานพระพุทธยอดฟ้า และ โรงไฟฟ้าวัดเลียบ สถานที่สำคัญ ๆ ของวัด รวมทั้งพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือขรัวอินโข่ง จึงถูกระเบิดทำลายจนหมด ปัจจุบันวัดราชบุรณะได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหมด

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org/wiki

วัดเบญจมบพิตร กทม.

watben_pic

วัดเบญจมบพิตร หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร ที่ไม่ว่าชาวไทยหรือชาวต่างชาติก็นิยมมานมัสการ ไหว้พระทำบุญ รวมถึงเที่ยวชมความงดงามทางด้านสถาปัตยกรรมของพระอุโบสถหินอ่อน เมื่อกล่าวถึงพระอุโบสถหินอ่อนสีขาวบริสุทธิ์สวยงามแน่นอนว่าพระอุโบสถแห่งนี้อยู่ในวัดเบญจมบพิตร เพราะเป็นวัดที่มีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ นอกจากนี้ภายในวัดยังมีสิ่งสวยงามอีกมากมายที่ควรรู้จักอีกด้วย

เรามาทราบประวัติความเป็นมาของวัดเบญจมบพิตรกันก่อน แต่เดิมเป็นเพียงวัดเล็ก ๆ มีชื่อว่า “ วัดแหลม ” หรืออีกชื่อหนึ่งว่า “ วัดไทรทอง ” ไม่มีหลักฐานปรากฏว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด วัดนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งอยู่ที่ถนนศรีอยุธยาเขตดุสิต เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้น โดยมีสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้ออกแบบ ก่อสร้างศิลปะสถาปัตยกรรมไทยโบราณที่มีความวิจิตรงดงามและเป็นระเบียบ ได้รับการยกย่องว่าเป็นวัดที่มีการวางแปลนแผนผังที่ดีที่สุดวัดหนึ่ง ทั้งยังประดับด้วยหินอ่อนที่ดีที่สุดจากประเทศอิตาลี เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในชื่อ “Marble Temple”

Read more »

วัดเบญจมบพิตรดุสิตนารามราชวรวิหาร

6

เมื่อรัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างพระราชวังสวนดุสิตได้ทรงใช้พื้นที่วัดดุสิตและวัดร้างอีกแห่งเป็นที่สร้างพลับพลาและตัดถนน ซึ่งตามประเพณีจะต้องสร้างวัดขึ้นทดแทน แต่ทรงมีพระราชดำริว่าการสร้างวัดใหม่หลายแห่งยากต่อการบำรุงรักษา แต่ถ้าทำวัดใหญ่เพียงแห่งเดียวด้วยฝีมือประเพณีนั้นจะดีกว่า จึงรงเลือกสถาปนาวัดเบญจบพิตรและโปรดเกล้าฯ ให้ “สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์” ออกแบบจากนั้นโปรดให้แก้ชื่อเป็น “วัดเบญจมบพิตร” ซึ่งแปลว่า “วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ ๕”
พระอุโบสถ ถือเป็น “สถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์แบบของศิลปะไทย” สร้างด้วยหินอ่อนจากประเทศอิตาลี เป็นทรงจัตุรมุข หลังคาซ้อน ๔ ชั้น มีพระระเบียงรอบด้านหลัง
พระพุทธชินราชจำลอง ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ใต้รัตนบัลลังก์บรรจุพระสรีรางคารรัชกาลที่ ๕

พระอุโบสถ ถือเป็น “สถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์แบบของศิลปะไทย” สร้างด้วยหินอ่อนจากประเทศอิตาลี เป็นทรงจัตุรมุข หลังคาซ้อน ๔ ชั้น มีพระระเบียงรอบด้านหลัง

พระพุทธชินราชจำลอง ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ใต้รัตนบัลลังก์บรรจุพระสรีรางคารรัชกาลที่ ๕

ขอขอบคุณ http://www.tripsthailand.com/

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร

Benja_31

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลกว่า “The Marble Temple” เพราะพระอุโบสถ พระระเบียง ประดับด้วยหินอ่อนที่ดีที่สุดจากประเทศอิตาลี ประกอบกับเป็นวัดที่มีความวิจิตรงดงามด้วยศิลปะสถาปัตยกรรมไทยโบราณ จึงมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศสนใจเข้าชมจำนวนมากทุกวัน

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เดิมเป็นวัดโบราณ มีชื่อว่า “วัดแหลม”หรือ “วัดไทรทอง”ปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดเบญจบพิตร” ซึ่งมีความหมายว่าเป็นวัดของเจ้านาย ๕ พระองค์ หรือวัดที่เจ้านาย ๕ พระองค์คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พร้อมด้วยพระเชษฐภคินี พระขนิษฐภคินี และพระกนิษฐภาดา ร่วมเจ้าจอมมารดาอีก ๔ พระองค์ ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้น

มุขตะวันออกมีเสากลมหินอ่อน ๔ ต้น ข้างบันไดหินอ่อนมีสิงห์สลักหินอ่อน ๒ ตัว ซึ่งโปรดเกล้าฯให้ ขุนสกลประดิษฐ์ ช่างในกรมช่างสิบหมู่ เป็นผู้ปั้นแบบ ตามภาพที่สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเขียน

Read more »

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

dsc_3763

เป็นอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรวิหาร เดิมเป็นวัดโบราณ ชื่อเดิมว่า “วัดแหลม” หรือ “วัดไทรทอง” สมัยรัชกาลที่ 5 กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 โปรดตั้งกองทัพรับขบถเจ้าอนุวงศ์ที่วัดนี้ หลังเสร็จจากการรบแล้วได้มีศรัทธาปฏิสังขรณ์วัดแหลม โดยร่วมกับพระเจ้าน้องยาเธอ รวม 4 พระองค์ คือ กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ พระองค์เจ้าหญิงอินทนิล และพระองค์เจ้าหญิงวงศ์ ในการปฏิสังขรณ์ครั้งนี้โปรดให้สร้างพระเจดีย์ไว้เป็นอนุสรณ์ 5 องค์ เรียงอยู่ด้านหน้าวัด สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดพระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดเบญจมบพิตร” หมายถึง วัดของเจ้านาย 5 องค์ ต่อมารัชกาลที่ 5 ทรงขยายพระนคร ซื้อที่ดินบริเวณคลองสามเสนและคลองผดุงกรุงเกษมตอนเหนือของวัดเบญจมบพิตรที่ทรุดโทรมทรงทำผาติกรรมขึ้นเป็นวัดใหม่ให้งดงามสมกับเป็นพระอารามหลวง โปรดให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ เป็นประธานในการก่อสร้างวัดใหม่ทั้งหมดแล้วพระองค์ทรงเป็นประธานในการผูกพัทธสีมาในปี 2442 ทรงพระราชทานนามเติมอักษร “ม” และเพิ่มสร้อยว่า “วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม” หมายถึงวัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5 ทรงแสดงพระราชประสงค์ให้นำพระสรีรังคารมาบรรจุไว้ภายใต้รัตนบัลลังก์ พระ-
พุทธชินราชพระประธานในพระอุโบสถ ปี 2444 รัชกาลที่ 5 ได้ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ โปรดให้สร้างด้วยหินอ่อนที่สั่งมาจากประเทศอิตาลี และในปี 2453 พระองค์ได้เสด็จสวรรคตก่อนการสร้างแล้วเสร็จ
สมัยรัชกาลที่ 6 โปรดให้ดำเนินการต่อ โปรดให้ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ประดับตกแต่งหินอ่อนฝาผนังและพื้นพร้อมรัตนบัลลังก์ ให้ช่างเขียนลายไทยที่ฝาผนัง และอัญเชิญพระสรีรังคารในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาบรรจุไว้ใต้รัตนบัลลังก์พระพุทธชินราชในพระอุโบสถ

Read more »

วัดเบญจมบพิตร

banner-benjama

ตั้งอยู่ที่ถนนศรีอยุธยาเขตดุสิต เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้น โดยมีสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้ออกแบบ ก่อสร้างศิลปะสถาปัตยกรรมไทยโบราณที่มีความวิจิตรงดงามและเป็นระเบียบ ได้รับการยกย่องว่าเป็นวัดที่มีการวางแปลนแผนผังที่ดีที่สุดวัดหนึ่ง ทั้งยังประดับด้วยหินอ่อนที่ดีที่สุดจากประเทศอิตาลี เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในชื่อ “Marble Temple”

พระประธานของวัดจำลองมาจากพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก บริเวณพระระเบียงด้านหลังพระอุโบสถเรียงรายด้วยพระพุทธรูปโบราณปางต่างๆ 52 องค์ ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงรวบรวมมาจากหัวเมืองต่าง ๆ และต่างประเทศ หรือ www.watbencha.com

ขอขอบคุณ http://suvarnabhumiairport.com/

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร

temple-07

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร เป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ทรงสร้างให้เป็นวัดประจำพระราชวังดุสิต วัดนี้มิใช่วัดสร้างใหม่ สันนิษฐานว่า สร้างตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และเมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากที่พระองค์ทรงดำริให้สร้างพระราชวังสวนดุสิตขึ้น พระองค์จึงโปรดให้บูรณะวัดนี้ ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับวังที่สุดไว้เป็นวัดประจำวัง พร้อมทั้งรับสั่งให้สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ได้ปรับแปลงวัดนี้เสียใหม่ให้ใหญ่โต และโอ่โถง โดยโปรดให้สั่งหินอ่อนจากประเทศอิตาลี มาสร้างเป็น
พระอุโบสถ จากนั้นก็พระราชทานนามเต็มว่า “วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม” พระประธานของวัดได้จำลองพระพุทธชินราช จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลกมาประดิษฐานไว้ พระอารามหลวงแห่งนี้ นอกจากจะวิจิตรงดงามตามหลักสถาปัตยกรรมแล้ว จิตรกรรมฝาผนังของวัดก็เป็นความแปลกใหม่ที่น่าสนใจ ที่มิใช่เขียนเรื่องราวตามพระไตรปิฏกเท่านั้น หากแต่เป็นจิตรกรรมที่เขียนถึงพระจริยวัตรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีต่อพสกนิกรของพระองค์เองด้วย
Read more »

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต จ.กรุงเทพฯ

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กล่าวได้ว่าเป็นวัดที่มีความสวยงามมากที่สุดวัดหนึ่งของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเป็นอีกหนึ่งวัดที่ทางทีมงานท่องเที่ยวดอทคอม (www.Thongteaw.com) ของเราไม่อาจมองข้ามไปได้ จึงได้เก็บรวบรวมภาพความประทับใจต่าง ๆ เพื่อมาเล่าต่อไป
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม หรือ บางท่านเรียกสั้น ๆ ว่า วัดเบญฯ ได้ถูกสร้างขึ้นจากพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ที่เป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก เพื่อให้เป็นการแสดงแบบอย่างของช่างฝีมือไทยโบราณ รวมถึงเป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมพระพุทธรูปโบราณในสมัยต่าง ๆ กันมากมาย และเป็นที่พัฒนาการศึกษาของเหล่าภิกษุสงฆ์ เป็นต้น สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดเบญจมบพิตรนั้น เริ่มตั้งแต่

พระอุโบสถ (ทำจากหินอ่อนอิตาลีที่เดียวในประเทศไทย) ที่สร้างเป็นแบบจตุรมุข ภายในเป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธชินราช” (พระประธานของพระอุโบสถ ที่จำลองมาจากพระพุทธชินราช ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุด) นอกจากนี้ด้านนอกพระอุโบสถมีพระระเบียงโอบรอบด้านหลัง ด้านหน้าพระอุโบสถเป็นกำแพงแก้ว เสามุมกำแพงเป็นรูปดอกบัวตูม ด้านหลังเป็นรูปเสมาธรรมจักร ภายในกำแพงแก้วพื้นปูด้วยหินแกรนิตสีชมพูอ่อน และสีเทา (กล่าวมาถึงตรงนี้ครั้งสมัยที่ยังเป็นเด็กได้เคยมาทัศนศึกษากับทางโรงเรียน มัคคุเทศก์ผู้นำทีมของเราบอกว่า หากใครเป็นคนดีเดินเท้าเปล่าบนพื้นหินอ่อนกลางแดดเปรี้ยงจะไม่ร้อนเท้า นักเรียนตอนนั้นลองกันใหญ่ แต่ไม่มีใครบอกว่าร้อนเท้าหรือเปล่า แต่ส่วนตัวคิดอยู่ในใจ ทำไมเราร้อนเท้า!!!) Read more »

วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร

wat_benchamabophit11

อยู่ที่ถนนศรีอยุธยา ด้านหน้าของวัดสุทัศน์ เดิมเป็นวัดร้าง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดเบญจมบพิตรขึ้นแทนวัดเก่า 2 วัด คือ วัดแหลม และวัดไทรทอง โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นนายช่างออกแบบ และพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นนายช่างก่อสร้าง สิ่งที่น่าชมภายในวัดได้แก่ พระอุโบสถ สร้างด้วยหินอ่อนจากประเทศอิตาลี ซึ่งเหลือมาจากการสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม ที่ระเบียงวัดเบญจมบพิตรสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงรวบรวมพระพุทธรูปปางต่างๆ ที่ได้นำมาจากหัวเมือง 25 องค์ ไว้โดยรอบ นอกจากนี้พระประธานของวัดได้จำลองพระพุทธชินราชจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลกมาประดิษฐานไว้ด้วย

ประวัติ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์ ชื่อ วัดแหลม เนื่องจากตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมที่สวนต่อกับทุ่งนา หรือ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดไทรทอง เนื่องจากอาจมีต้นไทรอยู่ภายในวัด ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด เมื่อ พ.ศ. 2369 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ขึ้น พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพนมวัน กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศิลา ทรงเป็นแม่ทัพรักษาพระนคร โดยทรงตั้งกองบัญชาการทัพที่วัดแหลม หลังจากปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์แล้ว กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พร้อมพระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก 4 พระองค์ คือ

Read more »

สิ่งสำคัญภายในวัด เบญจมบพิตร พระอุโบสถ

10020023_0_20130725-184750

ลักษณะทั่วไปของพระอุโบสถ เป็นแบบจตุรมุข มุขด้านตะวันออกขยายยาว ด้านเหนือและใต้มีมุขกระสันต่อกับพระระเบียง หลังคา ๔ ชั้น ด้านมุขกระสันทิศเหนือและทิศใต้ ๕ ชั้น มีพระระเบียงโอบรอบด้านหลัง
ด้านหน้าพระอุโบสถ มีกำแพงแก้ว บนมุมกำแพงแก้วซ้าย-ขวา มีเสาคอนกรีตหัวเสาเป็นศิลาสลักรูปดอกบัวตูม คือเครื่องหมาย “สีมา” สำหรับด้านหน้า ส่วนสีมาด้านหลังพระอุโบสถ สลักรูปเสมาธรรมจักรที่แผ่นหินแกรนิตปูพื้น
ภายในกำแพงแก้ว ปูหินแกรนิตสีชมพูอ่อนและสีเทา
มุขตะวันออกมีเสากลมหินอ่อน ๔ ต้น ข้างบันไดหินอ่อนมีสิงห์สลักหินอ่อน ๒ ตัว ซึ่งโปรดเกล้าฯให้ ขุนสกลประดิษฐ์ ช่างในกรมช่างสิบหมู่ เป็นผู้ปั้นแบบ ตามภาพที่สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเขียน
ผนังรอบพระอุโบสถด้านนอกประดับด้วยแผ่นหินอ่อน ๔ เหลี่ยมสีขาวบริสุทธิ์ หนา ๓ เซนติเมตร
มุขตะวันตกด้านนอก มีเสาและสิงห์เช่นเดียวกับด้านหน้า และที่ซุ้มจรนำ ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณ เป็นพระยืนทรงเครื่องสมัยลพบุรี ปางห้ามญาติ ถวายพระนามว่า “พระธรรมจักร” เพราะที่ฝ่าพระหัตถ์สลักเป็นรูปพระธรรมจักร กับโปรดเกล้าฯให้บรรจุพระอังคารสมเด็จพระเจ้ามไหยิกาเธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร (พระเจ้าราชวงศ์เธอ พระองค์เจ้าละม่อม ซึ่งทรงอภิบาลเลี้ยงดูพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่พระเยาว์มา ประหนึ่งสมเด็จพระราชชนนี) ใต้ฐานพระด้วย
Read more »

สิ่งสำคัญภายในวัด เบญจบพิตร พระที่นั่งทรงผนวช

10020023_0_20130725-185339

เมื่อเริ่มการสถาปนาวัดเบญจมบพิตร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้รื้อพระที่นั่งทรงผนวชองค์เดิม จากพุทธรัตนสถาน ที่สวนศิลาลัย ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเป็นที่ประทับของพระองค์ในคราวทรงผนวช เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๖ ออกไปปลูกที่วัดเบญจมบพิตร เพื่อเป็นกุฏิเจ้าอาวาส โดยรักษารูปแบบเดิมไว้ เป็นหมู่กุฏิประกอบด้วย “พระที่นั่งทรงผนวช” อยู่ด้านทิศเหนือ “พระกุฏิ” อยู่ด้านทิศใต้ กับกุฏิ ๒ ห้อง ๒ หลัง อยู่ด้านตะวันออกและตะวันตก มีหอเสวยกลาง มีลานหินอ่อนโดยรอบ
ทุกหลังมีช่อฟ้า ใบระกา ลำยอง ลงรักปิดทองทึบ
หลังด้านทิศใต้คือ “พระกุฏิ” หน้าบันจำหลักลายประกอบ “พัดยศ” ลงรักปิดทองประดับกระจก มีความหมายว่าเป็นที่ประทับของสมเด็จพระอุปัชฌาย์ เมื่อพระองค์ทรงผนวช
ส่วนหลังทิศเหนือคือ “พระที่นั่งทรงผนวช” เป็นตรีมุข ประตูหน้าต่างด้านนอกเขียนลายรดน้ำตรา “เครื่องราชอิสริยาภรณ์” ที่ทรงปรับปรุงขึ้นใหม่เป็น ๕ สาย ๕ ชั้น ด้านในเขียนภาพเทวดาถือดอกไม้เหนือคนแคระ
หน้าบันทั้ง ๓ ด้านจำหลักลายไทยประกอบตรา “พระเกี้ยว” ซึ่งเป็นตราประจำของพระองค์ ลงรักปิดทองประดับกระจก หมายถึงพระที่นั่งองค์นี้ เป็นที่ประทับเมื่อคราวพระองค์ทรงผนวช
Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .