Archive for the ‘ขอพรหลวงพ่อ วัดในภาคใต้’ Category

วัดพระทอง

จากตำนานพื้นบ้านเล่าต่อกันมาว่า เดิมบริเวณวัดเป็นทุ่งโล่งใช้เลี้ยงสัตว์
มีเด็กลูกชาวบ้านแถบนั้นนำควายมาเลี้ยงโดยผูกควายไว้กับหลักซึ่งโผล่
ขึ้นมาจากพื้นดิน หลังจากนั้นเด็กและควายตายโดยไม่ทราบสาเหตุ
ตกกลางคืนพ่อของเด็กฝันว่าเด็กตาย เพราะนำควายไปล่ามกับ
พระเกตุมาลาของพระพุทธรูปที่จมดินอยู่ รุ่งขึ้นจึงช่วยกันค้นหาและ
พบว่ามีพระพุทธรูปอยู่ที่บริเวณนั้นจริง จึงช่วยกันขุดเพื่อนำไปไว้ใน
สถานที่เหมาะสมแต่ก็ไม่สำเร็จ ต่อมาเมื่อ พ . ศ .2328 พระเจ้าปะดุง
กษัตริย์พม่ายกทัพมาโจมตีเมืองถลางได้ใช้ให้ทหารขุดพระผุดเพื่อนำ
กลับไปบูชาที่พม่า เมื่อขุดลงไป คราวใดจะมีฝูงแตนไล่ต่อยจนต้อง
เลิกขุดในที่สุด ชาวบ้านเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงนำทองคำมาหุ้ม
พระพุทธรูปที่ผุดขึ้นมาจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์ดังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน

ขอขอบคุณ http://61.19.27.150/~library/libra/watphatong.htm

วัดพระทอง (วัดพระผุด)

large-pic

อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 20 กม. จากตัวเมืองภูเก็ตเลย ที่ว่าการอำเภอถลาง ไปเล็กน้อยจะมีทางแยกขวามือเข้าวัดพระทอง วัดนี้มีพระพุทธรูปผุดขึ้นจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์ เมื่อคราวศึก พระเจ้าปะดุง ยกพลมาตีเมืองถลาง พ.ศ. 2328 ทหารพม่าพยายาม ขุดพระผุด เพื่อนำกลับไปพม่า แต่ขุดลงไปคราวใดก็มีฝูง แตนไล่ต่อยจนต้องละความพยายาม ต่อมาชาวบ้านได้นำทอง หุ้มพระพุทธรูป ที่ผุดจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์ ดังปรากฎ อยู่จนถึงปัจจุบัน

ขอขอบคุณ http://www.thai-tour.com

วัดพระทอง จ.ภูเก็ต

อุโบสถวัดพระทอง การเดินทางสู่วัดพระทองนั้นไม่ยากหากเดินทางเข้าภูเก็ตจะต้องผ่านอำเภอถลาง ทางแยกวัดพระทองอยู่ซ้ายมือก่อนเข้าตัวเมืองถลางไม่มาก หรือเข้าทางถนนนาในก็ได้ (เดือนตุลาคม 2553 จะต้องเข้าทางถนนนาในเนื่องจากทางหลักเข้าวัดพระทองปิดซ่อมอยู่ครับคาดว่าจะเสร็จสิ้นเดือนพฤศจิกายน) ถ้าเข้าทางถนนนาในก็จะเห็นสนามเด็กเล่นและลานจอดรถด้านหน้าพระอุโบสถ ปกติพระอุโบสถไม่ได้เปิดให้เข้าชม จะเปิดเฉพาะวิหารพระทองซึ่งอยู่ด้านทิศเหนือของอุโบสถ

อุโบสถวัดพระทอง วัดพระทอง ชาวบ้านเรียกว่าวัดพระผุดหรือวัดพระหล่อ เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปทองคำครึ่งพระองค์ที่โผล่เพียงพระเกตุมาลาขึ้นมาจากพื้นดินประมาณ 1 ศอก โดยมีตำนานเล่าว่า เดิมบริเวณวัดเป็นที่เลี้ยงสัตว์ในเช้าวันหนึ่งมีเด็กชายได้นำควายไปเลี้ยงที่ทุ่งนา หาที่ผูกเชือกควายไม่ได้ก็เลยนำไปผูกกับหลักที่โผล่ขึ้นมาจากพื้นดินหลังจากกลับมาถึงบ้านเด็กชายก็มีอาการเจ็บป่วยและตายลงในที่สุด และเมื่อไปดูควายที่ทุ่งนาก็เห็นควายนอนตายอยู่ ตอนกลางคืนพ่อของเด็กชายฝันเห็นถึงสาเหตุที่เด็กตายเพราะได้นำเชือกไปผูกไว้กับพระเกตุมาลาของพระพุทธรูป จึงชักชวนชาวบ้านให้ไปขุดขึ้นมาบูชา แต่เกิดมหัศจรรย์มีตัวต่อแตนขึ้นมากับดินที่ขุดเป็นจำนวนมากอาละวาดไล่ต่อยผู้ที่มาขุด และไม่ทำร้ายคนที่ไม่ขุด เจ้าเมืองทราบจึงให้สร้างหลังคาบังพระเกตุมาลาทองคำไว้

Read more »

วัดพระทอง

watpratong01

วัดพระทอง (วัดพระผุด) อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 21 กิโลเมตร ไปตามถนนเทพกษัตรีผ่านสี่แยกอำเภอถลาง ถึงที่ว่าการอำเภอถลางทางด้านขวาจะมีทาง แยกเข้าวัดพระทอง วัดนี้มีพระพุทธรูปผุดขึ้นจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์ เมื่อคราวศึกพระเจ้าปะดุง ยกพลมาตีเมืองถลาง พ.ศ. 2328 ทหารพม่าพยายามขุดพระผุดเพื่อนำกลับไปพม่า แต่ขุดลงไปคราวใดก็มีฝูงแตนไล่ต่อยจนต้องละความพยายาม ต่อมาชาวบ้านได้นำทองหุ้มพระพุทธรูปที่ผุดจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์ ดังปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของ พิพิธภัณฑสถานวัดพระทอง” เป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุข้าวของเครื่องใช้ของชาวภูเก็ต เช่น จังซุ่ย เสื้อกันฝนชาวเหมืองแร่ดีบุก รองเท้าตีนตุกของสตรีเชื้อสายจีนที่ต้องมัดเท้าให้เล็กตามค่านิยมของสังคมสมัยนั้น

ขอขอบคุณ http://www.touronthai.com/

วัดพระทอง ชื่อวัดตำนานเก่าแก่ของ จ.ภูเก็ต

เกาะภูเก็ตมีวัดพระทองหรือพระผุดที่ตั้งอยู่ ณ อำเภอถลางเป็นดินแดนประวัติศาสตร์ที่เล่าต่อ ๆ ถ่ายทอดต่อกันมาหลายชั่วอายุคน
เป็นเรื่องประวัติของ “พระที่ผุดขึ้น”หรือ “พระทอง” เอง โดยมิได้มีใครไปสร้างพระเลย แต่สำหรับคนในต่างจังหวัดนั้นตำนานอันศักดิ์สิทธิ์
เรื่องนี้ บางคนก็เคยได้ยิน แต่ส่วนมากแล้วก็ไม่มีใครเคยได้อ่านได้ฟังกันมา จึงขอนำมาเล่าขานเพื่อเปิดตำนานอันศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูป
องค์ขนาดใหญ่ ที่ผุดขึ้นมาจากพื้นดิน ณ วัดพระทอง ในอำเภอถลาง วัดเก่าเเก่ประจำจังหวัดภูเก็ต “พระผุด” เรื่องมีอยู่ว่ามีเด็กชายลูกชาวนา
คนหนึ่งจูงควายไปเลี้ยงกลางทุ่งนา แต่หากิ่งไม้ไม่เจอ เพราะอยากหาที่ผูกเชือกสำหรับเลี้ยงควาย กิ่งไม้เล็กขนาดเล็กมาก ที่เคยผูกเป็น
ประจำ ถูกน้ำฝนตกลงมาพัดหายไป พักหนึ่งเด็กคนนี้เห็นของประหลาดสิ่งหนึ่ง…มีโคลนตมพอกอยู่ มีลักษณะเหมือนตอไม้ขนาดใหญ่…
ผุดขึ้นมาเลยนำเชือกคล้องควายไปผูกไว้แล้วก็กลับมาบ้าน พอเด็กถึงบ้าน เด็กชายคนนั้นก็เกิดอาการเป็นลมเสียชีวิต พ่อแม่ก็จัดการกับ
ศพเด็กแล้วออกไปดูควายที่ผูกไว้ พอไปถึงที่ที่เด็กผูกควายไว้ สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนมากทั้งสองตาเลย คือ เห็นควายนอนตายอยู่ ใกล้กับวัตถุ
อย่างหนึ่ง พวกเขาเกิดความรู้สึกกลัวรีบตัดเชือกผูกควายออกแล้วช่วยกันนำควายไปฝัง ตอนกลางคืนเมื่อสามีภรรยาง่วงและหลับไปนั้น..
พ่อของเด็กชายที่ตายก็ฝัน ว่ามีคนมาบอกว่า ที่เด็กและควายต้องตายนั้นเป็นเพราะเด็กได้นำเชือกควายไปผูกไว้กับเกศพระพุทธรูป รุ่งเช้า
พ่อกับแม่ของเด็กคนที่ตายไปนี้ก็ชวน เพื่อนบ้านให้ไปยังที่ริมคลองที่เด็กนำควายไปผูกไว้ เมื่อเห็นวัตถุแปลก ๆ ต่างคนต่างก็เอาน้ำมาล้าง
ก็จะ เห็นเป็นลักษณะเหมือนเกศพระพุทธรูปเหลืองอร่ามเป็นทองคำ ชาวบ้านจึงแตกตื่นพากันมา กราบไหว้บูชา แล้วได้ไปบอกกล่าวกับ
เจ้าเมืองถลาง

Read more »

เที่ยวเมืองนครฯ ชมวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

22

“เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสาม กษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู”

บางจาก ขอนำท่านสู่เมืองนครศรีธรรมราช ที่โด่งดังเรื่องประวัติศาสตร์ ศิลป์ และสถาปัตยกรรมมากมาย โดยเฉพาะวัดวาอารามที่มีเอกลักษณ์งดงาม มากมายให้เลือกสักการะ ซึ่งในโอกาสนี้บางจากขอแนะนำตัวอย่างวัดที่น่าสนใจให้ทุกท่านลองแวะกราบไว้เที่ยวชม…นั่นก็คือ “วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร” พร้อมแล้วไปกันเลย

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือ ที่ชาวนครเรียกว่า วัดพระธาตุ โบราณสถานสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็น มิ่งขวัญชาวเมืองนครศรีธรรมราชตลอดจนพุทธศานิกชน ทั้งหลาย สัญลักษณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่รู้จัก กันแพร่หลายก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เนื่องจากเป็นที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศจดทะเบียนวัดพระมหาธาตุเป็นโบราณสถาน นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้

Read more »

ศรัทธาวัดพระมหาธาตุฯ ประวัติศาสตร์มรดกโลก

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช เข้าสู่บัญชีเบื้องต้นตามที่ประเทศไทยเสนอ เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเป็นมรดกโลก ซึ่งจะจัดประชุมอีกครั้งในปี 2558

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เข้ารอบพิจารณาเป็นมรดกโลกด้วยหลักเกณฑ์ 3 ข้อ…

หลักเกณฑ์ข้อที่ 1 เป็นตัวแทนผลงานที่เป็นเลิศของการสร้างจากอัจฉริยะของมนุษย์ เนื่องจากวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นตัวแทนของระบบความเชื่อทางศาสนาพุทธ ผ่านทางแผนผังและการออกแบบสถาปัตยกรรม โดยการแบ่งขอบเขตพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน มีพระบรมธาตุเจดีย์เป็นประธานสถาปัตยกรรมและการประดับอาคารสื่อความหมายปรัชญาทางพุทธศาสนาและพุทธประวัติ

หลักเกณฑ์ข้อที่ 2 แสดงให้เห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงคุณค่าของมนุษย์ตามกาลเวลา หรือในวัฒนธรรมด้านใดด้านหนึ่งของโลกในการพัฒนาด้านสถาปัตยกรรมหรือทางเทคโนโลยี ศิลปะสถาปัตยกรรมโบราณ การออกแบบผังเมืองหรือการออกแบบภูมิทัศน์ โดยพระบรมธาตุเจดีย์ยังคงรักษาความครบถ้วนสมบูรณ์ของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมในสมัยแรกสร้างราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18 รูปแบบทางสถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลจากศิลปะลังกา ตามแบบอย่างคติของพุทธศิลป์ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

หลักเกณฑ์ข้อที่ 3 มีความสัมพันธ์โดยตรงและแสดงเห็นได้ชัดเจนกับเหตุการณ์หรือประเพณีที่ยังคงอยู่หรือความคิด ความเชื่อ งานศิลปกรรมและวรรณกรรม ที่มีความโดดเด่นเป็นสากล ความเชื่อของผู้คนเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของพระบรมสารีริกธาตุของพุทธศาสนิกชน ที่จะสั่งสมสร้างบุญกุศลตามประเพณีในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งด้านวรรณกรรม คติกรรม และนาฏกรรม ตลอดจนการประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา อาทิ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ วันมาฆบูชาและวันวิสาขบูชา

Read more »

วัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก

t5mahathat09

ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง วัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้และประเทศไทย ตามตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช กล่าวว่า เจ้าชายธนกุมารและพระนางเหมชาลา เป็นผู้นำเสด็จพระบรมธาตุมาประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้วและสร้างเจดีย์องค์เล็ก ๆ เป็นที่หมายไว้ ต่อมาในปีมหาศักราช 1098 (พ.ศ.1719) พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นพร้อมการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ พระบรมธาตุเจดีย์มีลักษณะรูปแบบศิลปกรรมเป็นเจดีย์ทรงลังกาสูง 55.78 เมตร (กรมศิลปากรวัดเมื่อการบูรณะปลียอดทองคำเมื่อ พ.ศ. 2538) จากฐานบัวคว่ำบัวหงายถึงปลียอด 6.80 เมตร ใช้ทองคำเนื้อสิบหุ้มโดยรอบ ภายในวัดพระมหาธาตุฯ มีวิหารที่มีความสำคัญหลายหลังประดิษฐานอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระวิหารหลวง มีความงามตามแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา นอกจากนั้นยังมี วิหารสามจอม วิหารที่มีพระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ชื่อว่า “พระศรีธรรมาโศกราช” ประดิษฐานอยู่ วิหารพระมหาภิเนษกรมน์ (วิหารพระทรงม้า) วิหารทับเกษตร ส่วน วิหารเขียน และวิหารโพธิ์ลังกานั้นเป็นสถานที่จัดแสดงโบราณวัตถุที่พุทธศาสนิกชนถวายเป็นพุทธบูชา

พระแม่เจ้าเหมชาลา เริ่มต้นการเดินทางเข้าสู่วัดพระมหาธาตุ จากตัวเมืองนครศรีธรรมราชใช้ถนนราชดำเนิน ตรงอย่างเดียว มาจอดรถที่หน้าวัดแล้วเดินเข้ามา สิ่งแรกๆ ที่จะได้เห็นนอกจากยอดพระธาตุแล้วก็มีรูปปั้น พระแม่เจ้าเหมชาลา พระทนทกุมาร ซึ่งเป็นพระราชธิดาและพระราชโอรสของพระเจ้าโคสีหราชและพระนางมหาเทวีแห่งเมืองทันทบุรี ประเทศอินเดียเป็นผู้อัญเชิญพระบรมสารีริธาตุมาฝังไว้ ณ หาดทรายแก้ว เมื่อปี พ.ศ. 854 จากนั้นพระเจ้าศรีธรรมโสกราช ได้สร้างพระมหาเจดีย์ และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุดังได้ปรากฎอยู่จนทุกวันนี้

Read more »

วัดพระพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ นครศรีธรรมราช

p-pt1

พระมหาธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชศูนย์รวมแห่งศรัทธาของชาวพุทธทั้งคาบสมุทรภาคใต้
ตามตำนานกล่าวว่าเจดีย์พระบรมธาตสร้างโดย”พระเจ้าศรีธรรมโศกราช”พร้อมกับการสร้าง
เมืองนครศรีธรรมราชในพุทธศตวรรษที่๑๘นับแต่นั้นมาเมืองนครศรีธรรมราชเจริญรุ่งเรือง
ขึ้นเป็นลำดับ เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเมือง ศิลปวัฒนธรรม ตราบจนทุกวันนี้

เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง
จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่ภายในเขตกำแพงเมืองโบราณมีเนื้อที่ ทั้งหมดจำนวน
25 ไร่ 2 งาน
ประวัติความเป็นมา
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช สันนิษฐาน จากตำนาน
เมืองนครศรีธรรมราชว่า สร้างโดยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ใน พ.ศ. 1098 เพื่อเป็นที่
ประดิษฐานองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ในสมัยโบราณถือว่าเป็นเขตพุทธาวาสจึงไม่มีพระสงฆ์
จำ พรรษา ต่อมาได้มีการบูรณะและสร้างเสริมโบราณวัตถุ โบราณสถานภายในวัดอีกหลายครั้ง
ในสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชโปรดเกล้าฯให้นำทองแดงหล่อปิดทอง ยอดพระบรม
ธาตุ และสร้างพระระเบียงโดยรอบทั้งหมด 165 ห้อง พระพุทธรูป 165 องค์ สร้าง กำแพง
4 ด้าน สร้างวิหารสามจอม และพระรูปพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช
สมัยธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราชได้บูรณะวิหารทับเกษตร วิหารหลวง และศาลากุ ฎิ
ในพระอาราม ถมทรายเทปูนรอบพระบรมธาตุเจดีย์ ยกพื้นสูง 75 ซม. กว้าง 1 เมตร
เรียกกัน ว่า ทางเดินพระเจ้าตากสิน Read more »

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง วัดพระมหาธาตุเป็น พระอารามหลวงชั้นเอก ชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของ ภาคใต้และประเทศไทย ตามตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช กล่าวว่า เจ้าชายธนกุมารและพระนางเหมชาลา เป็นผู้นำเสด็จพระบรมธาตุมาประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้วและสร้างเจดีย์องค์เล็ก ๆ เป็นที่หมายไว้ ต่อมาในปีมหาศักราช 1098 (พ.ศ.1719) พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นพร้อมการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ พระบรมธาตุเจดีย์มีลักษณะรูปแบบศิลปกรรมเป็นเจดีย์ทรงลังกาสูง 55.78 เมตร (กรมศิลปากรวัดเมื่อการบูรณะปลียอดทองคำเมื่อ พ.ศ. 2538) จากฐานบัวคว่ำบัวหงายถึงปลียอด 6.80 เมตร ใช้ทองคำเนื้อสิบหุ้มโดยรอบ ภายในวัดพระมหาธาตุฯ มีวิหารที่มีความสำคัญหลายหลังประดิษฐานอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระวิหารหลวงมีความงามตามแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา วิหารสามจอม วิหารที่มีพระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ชื่อว่า “พระศรีธรรมาโศกราช” ประดิษฐานอยู่ วิหารพระมหาภิเนษกรมน์ (วิหารพระทรงม้า) วิหารทับเกษตร ส่วนวิหารเขียน และวิหารโพธิ์ลังกานั้นเป็นสถานที่จัดแสดงโบราณวัตถุที่พุทธศาสนิกชนถวายเป็นพุทธบูชา Read more »

พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ณ วัดพระธาตุมหาวรวิหาร

6248520fa

ตามตำนานกล่าวว่า พระบรมธาตุเมืองนคร สร้างขึ้นครั้งแรกประมาณ ปี พ.ศ. 854
ภายในบรรจุพระทันตธาตุ (ส่วนฟันของพระพุทธเจ้า) ณ บริเวณหาดทรายแก้ว
ด้วยศิลปะการก่อสร้างแบบศรีวิชัย (หลายคนเชื่อว่ามีลักษณะคล้ายพระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี)

ต่อมาในปี พ.ศ. 1093 พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ได้ทำการสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้น
พร้อมกับสร้างเจดีย์องค์ใหม่ทรงศาญจิครอบพระบรมธาตุองค์เดิม จากนั้นในปี พ.ศ. 1770
ได้มีพระภิกษุจากลังกามาทำการบูรณะพระบรมธาตุเมืองนครให้เป็นไปตามรูปแบบสถาปัตยกรรมทรงลังกา
หรือทรงโอคว่ำ ดังที่เห็นในปัจจุบัน โดยหาดทรายแก้วสถานที่สร้างพระบรมธาตุนั้น
เป็นสันดอนทรายชายฝั่งที่เกิดจากการตกตะกอนสะสมในทะเลจนเกิดเป็นผืนแผ่นดินขึ้น
ซึ่งก็คือที่ตั้งของ “เมืองนครศรีธรรมราช” ในปัจจุบันนั่นเอง

Read more »

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

DCF 1.0

ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง วัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้และประเทศไทย เปรียบเสมือนศูนย์รวมใจของพุทธศาสนิกชนชาวใต้ มีพระบรมธาตุเจดีย์อันยิ่งใหญ่ที่มีส่วนยอดเจดีย์เป็นทองคำเป็นภาพสะท้อนแห่งความศรัทธาของชาวพุทธที่มีต่อการสร้างพระบรมธาตุเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (พระทันตธาตุหรือพระเขี้ยวแก้วเบื้องซ้าย) ตามตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช กล่าวว่า เจ้าชายธนกุมารและพระนางเหมชาลา เป็นผู้นำเสด็จพระบรมธาตุมาประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้วและสร้างเจดีย์องค์เล็ก ๆ เป็นที่หมายไว้ ต่อมาในปีมหาศักราช 1098 (พ.ศ.1719) พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นพร้อมการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ พระบรมธาตุเจดีย์มีลักษณะรูปแบบศิลปกรรมเป็นเจดีย์ทรงลังกาสูง 55.78 เมตร (กรมศิลปากรวัดเมื่อการบูรณะปลียอดทองคำเมื่อ พ.ศ. 2538) จากฐานบัวคว่ำบัวหงายถึงปลียอด 6.80 เมตร ใช้ทองคำเนื้อสิบหุ้มโดยรอบ ภายในวัดพระมหาธาตุฯ มีวิหารที่มีความสำคัญหลายหลังประดิษฐานอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระวิหารหลวง มีความงามตามแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา นอกจากนั้นยังมี วิหารสามจอม วิหารที่มีพระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ชื่อว่า “พระศรีธรรมาโศกราช” ประดิษฐานอยู่ วิหารพระมหาภิเนษกรมน์ (วิหารพระทรงม้า) ส่วนวิหารเขียนและวิหารโพธิ์ลังกานั้นเป็นสถานที่จัดแสดงโบราณวัตถุที่พุทธศาสนิกชนถวายเป็นพุทธบูชา ส่วนฐานขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ (วิหารทับเกษตร) มีซุ้มถึง 22 ซุ้ม แต่ละซุ้มมีหัวช้างยื่นออกมารองรับพระบรมธาตุเจดีย์ ประหนึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งการค้ำจุ้นพระพุทธศาสนาให้มั่นคง นอกจากนี้ยังมีปริศนาธรรมให้ค้นหา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกมากมาย ภายในวัดมีแหล่งจำหน่ายสินค้าที่ระลึกขึ้นชื่อของเมืองนคร อาทิเช่น เครื่องเงิน เครื่องถม ตัวหนังตะลุง เป็นต้น ผู้มาเยือนที่นี่นิยมนำผ้าขึ้นห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

Read more »

พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช

chedi8

ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง วัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของ ภาคใต้และประเทศไทย ตามตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช
ตามตำนานกล่าวว่า พระบรมสารีริกธาตุเสด็จมาสู่หาดทรายแก้ว โดยนางเหมชาลาฒ และพระธนกุมาร เมื่อประมาณปี พ.ศ.๘๓๔ จึงได้สร้างพระบรมธาตุ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ผู้ปกครองเมืองนครศรีธรรมราช จะก่อสร้างตกแต่งเพิ่มเติมอยู่เสมอ เพื่อสร้างสมความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อองค์พระบรมธาตุเช่น สมัยศรีวิชัยได้สร้างเป็นเจดีย์ทรงศรีวิชัย ต่อมาในรัชสมัยพระเจ้าจันทรภาณุ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๗๙๐ ได้ทรงสร้างเป็นเจดีย์ทรงลังกาครอบองค์เจดีย์เดิมแบบศรีวิชัยไว้ภายใน

พระบรมธาตุเจดีย์ ประดิษฐานอยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นปูชนียสถานอันเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงสุดของชาวนครศรีธรรมราช และชาวใต้ทั้งปวง ไม่ปรากฎหลักฐานที่แน่นอนเกี่ยวกับประวัติการสร้างตามตำนานกล่าวว่า พระเจดีย์องค์เดิมสร้างตามความเชื่อของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๓๐๐ สมัยอาณาจักรตามพรลิงค์ ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัย ต่อมาเมื่อได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับพระภิกษุลังกา โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช ได้นิมนต์พระภิกษุลังกามาตั้งคณะสงฆ์ในเมืองนครศรีธรรมราชเป็นการสถาปนาพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในระยะนั้นพระบรมธาตุองค์เดิมชำรุดทรุดโทรมมาก พระภิกษุลังกาจึงได้ช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์ให้เป็นสถาปัตยกรรมแบบลังกา โดยสร้างพระสถูปแบบลังกาครอบองค์พระเจดีย์เดิม เป็นพระสถูปทรงโอคว่ำปากระฆังติดกับพื้นกำแพงแก้ว ที่มุมกำแพงแก้วมีพระบรมธาตุจำลองประดิษฐานอยู่ทั้งสี่มุม

Read more »

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

โบราณวัตถุที่สำคัญในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารดังนี้

1.พระบรมธาตุเจดีย์

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระบรมธาตุเจดีย์ เป็นทรงระฆังคว่ำ(โอคว่ำ) ปากระฆังติดกับพื้นกำแพงแก้ว ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆดังนี้

ส่วนประกอบของพระบรมธาตุเจดีย์

ความสูงของพื้นถึงยอด สูง 37 วา ฐานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง กว้าง 3 ศอก ฐานยาวด้านละ ยาว18 วา 1 ศอก 15 นิ้ว ยอดหุ้มด้วยทองคำหนัก 800 ชั่ง (600 กิโลกรัม) ส่วนที่หุ้มทองคำ สูง 6 วา 2 ศอก 1 คืบ ปล้องไฉน 52 ปล้อง หน้ากระดานปล้องไฉนมีพระเวียน 8 องค์ บัวคว่ำ บัวหงาย หุ้มด้วยทองคำแผ่น สูง6 วา 2 ศอก 1 คืบ ทองรูปพรรณหลายชนิด เช่น แหวน จำนวนมากกำไล ต่างหู ผูกแขวนบนปลียอดทองคำ บนยอดสุดมีบาตรน้ำมนต์ 1 ใบ รอบองค์เจดีย์ระฆังคว่ำ มีกำแพงแก้ว 4 ด้าน เท่ากัน กว้าง/ยาว 12 วา 2 ศอก รอบกำแพงแก้วมีใบเสมา และรั้วเหล็กรอบกำแพงแก้ว ฉัตร บังสูรย์ และกระดิ่งเป็นระฆัง ห้อย ฐานพระบรมธาตุเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีหัวช้างยื่นออกจากฐาน 22 หัว
Read more »

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช –ความสำคัญต่อชุมชน

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักดีทั้งในเมืองนครศรีธรรมราช และ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย เพราะมีความสำคัญดังนี้

เป็นที่ตั้งขององค์พระบรมธาตุเจดีย์อันเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พุทธศาสนิกชนทั้งใกล้และไกลจะหลั่งไหลมามนัสการพระ บรมธาตุเจดีย์อยู่มิได้ขาดสาย มีโบราณสถานโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก อยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหา วิหารซึ่งล้วนแล้วแต่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรมทั้งสิ้น เช่น พระวิหารหลวง วิหารพระม้า วิหารเขียน วิหารโพธิ์ลังกา วิหารสามจอม วิหารพระแอด วิหารทับเกษตร วิหารคดหรือพระระเบียง วิหารธรรมศาลา วิหารโพธิ์พระเดิม เจดีย์รอยองค์พระบรมธาตุเจดีย์ พระพุทธบาทจำลอง พระศรีมหาโพธิ์ พระพวย พระบรมราชา พระบุญมาก พระพุทธรูปปาง ประทานอภัย พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช โดยเฉพาะพระวิหารหลวงนั้นเป็นอาคารที่มีความใหญ่ โตและงดงามมากนับเป็นพระอุโบสถที่กว้างใหญ่ที่สุดในภาคใต้ เป็นแหล่งเริ่มต้นของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่อง ด้วยองค์พระบรมธาตุเจดีย์เป็นที่รวมแห่งความเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชน จึงได้มีการนำ ทรัพย์สินเงินทองมาถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งทางวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารก็ได้ใช้วิหารเขียน เป็นที่เก็บรักษาสิ่งของขนาดเล็กที่ทำด้วยทอง เงิน นาก สำริด เช่น พระพุทธรูป ต้นไม้เงิน ต้น ไม้ทอง ถ้วยชาม และใช้วิหารโพธิ์ลังกาเก็บโบราณวัตถุ เช่นศิลาจารึก เครื่องปั้นดินเผา พระ พุทธรูป หีบศพเจ้าพระยานคร พระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นต้น จึงได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ ของวัดไป เมื่อ พ.ศ. 2480 กรมศิลปากรได้ประกาศรับพิพิธภัณฑสถานของวัดพระมหาธาตุวร- มหาวิหารเป็นสาขาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ชื่อว่า ?ศรีธรรมราช พิพิธภัณฑสถาน? ซึ่งต่อมากรมศิลปากรก็ได้จัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัด นครศรีธรรมราชขึ้นใหม่ที่หน้าวัดสวนหลวง ตำบลศาลามีชัย อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เป็นแหล่งเริ่มต้นของหอสมุดแห่งชาติสาขาจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2480 กรมศิลปากรได้มาตั้งหอสมุดแห่งชาติสาขาจังหวัดนครศรีธรรมราชในวัด พระมหาธาตุวรมหาวิหาร โดยใช้สถานที่ที่วิหารสามจอม เมื่อมีหนังสือเพิ่มจึงได้ย้ายไปที่วิหาร ธรรมศาลา วิหารทับเกษตรและวิหารคด ตามลำดับ ต่อมากรมศิลปากรได้ไปจัดสร้างหอสมุด แห่งชาติสาขาจังหวัดนครศรีธรรมราช ขึ้นที่หน้าวัดสวนหลวง ตำบลศาลามีชัย อำเภอเมือง นครศรีธรรมราช เป็นแหล่งกำเนิดประเพณีสำคัญ ๆ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ ประเพณี แห่ผ้าขึ้นธาตุ ประเพณีตักบาตรธูปเทียน ส่วนประเพณีสวดด้านในปัจจุบันได้สูญหายไป ในวัน สำคัญทางพุทธศาสนาจะมีพุทธศาสนิกชนพร้อมใจกันมาทำบุญในวัดพระมหาธาตุเป็นจำนวน มาก ใช้เป็นสถานที่ประกอบราชพิธีและพิธีที่สำคัญในอดีต เช่น การแต่งตั้งเจ้าเมือง การถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พิธีแรกนาขวัญ พิธีโล้ชิงช้า

ขอขอบคุณ http://www.m-culture.in.th/

. . . . . . .
. . . . . . .