Archive for the ‘องค์พระพิฆเนศ ไหว้พระพิฆเณศ’ Category

ศาลพระคเณศ (เจ้าพ่อหลักเมือง) พระประแดง

IMG_0112

ศาลพระคเณศ หรือเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดง ตั้งอยู่ที่เทศบาลเมืองพระประแดง ต.ตลาด อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ มีหลักฐานปรากฏว่าสร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๕๘ โดยสร้างเป็นศาลประจำเมือง และได้ประกอบพิธีฝังอาถรรพ์เสาหลักเมือง เมื่อวันศุกร์ เดือน ๗ แรม ๑๐ ค่ำ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๕๘ นับว่าเป็นพระคเณศองค์เดียวที่มีฐานะเป็นหลักบ้านใจเมืองด้วย

ลักษณะของศาลในปัจุบัน (เนื่องจากศาลแห่งนี้มีการปรับปรุงและบูรณะหลายครั้ง) มีการผสมผสานศิลปะหลายวัฒนธรรม ทั้งไทย จีน และมอญ ที่สะท้อนให้เห็นจากลวดลายและสิ่งของที่ประดับตกแต่งศาล แต่ถ้าท่านที่เคยไปจะเห็นว่า ศาลแห่งนี้จะมีลักษณะที่ค่อนไปทางศาลเจ้าของจีน เพราะปัจจุบันผู้ดูแลศาลแห่งนี้เป็นชาวไทยเชื้อสายจีนนั่นเอง

พระคเณศประจำศาลหลักเมืองพระประแดงองค์นี้ ประดิษฐานอยู่ภายในบุษบกแบบไทย มีลักษณะเป็นพระคเณศศิลา มีสี่พระกร พระกรขวาบนถือตรีศูล พระกรซ้ายบนถือปาศะ (บ่วงบาศ) พระกรขวาล่างถืองา และพระกรซ้ายล่างถือถ้วยขนม ประทับนั่งบนฐานบัวหงาย โดยพระคเณศองค์นี้งดงามด้วยความเรียบง่าย เนื่องจากที่องค์เทวรูปแทบจะไม่มีลวดลายเครื่องประดับใดๆ แม้กระทั่งเครื่องศิราภรณ์.

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดง ได้รับยกย่องให้เป็นศาลพระคเณศที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย และหลายท่านอาจสงสัยว่า ทำไมพระคเณศองค์ดังกล่าวจึงมีฐานะและได้รับการนับถือให้เป็นเจ้าพ่อหลักเมือง ทั้งๆทีเวลาที่เราไปศาลแห่งนี้ จึงไม่เห็นเสาหลักเมืองเหมือนกับศาลหลักเมืองแห่งอื่นๆ เรื่องนี้ในความเป็นจริงแล้วองค์พระคเณศที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งของเสาหลักเมือง โดยตัวเสาจริงๆนั้นอยู่ลึกลงไปทางด้านล่างของศาล มีลักษณะเป็นเสาก่ออิฐถือปูนทรงสี่เหลี่มจตุรัส และทาด้วยสีแดง จึงอาจอนุมานได้ว่า พระคเณศองค์นี้ก็คือส่วนหนึ่งของเสาหลักเมืองพระประแดงนั่นเอง ซึ่งน้อยคนจะมีโอกาสได้ลงไปถึงด้านล่างอันเป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองของพระประแดงจริงๆ

Read more »

ศาลหลักเมืองพระประแดง ศาลพระพิฆเนศที่เก่าที่สุดในประเทศไทย

ประวัติความเป็นมา
ศาลหลักเมืองของอำเภอพระประแดง มีขึ้นตั้งแต่ครั้งที่ พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าให้สร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในปี พ.ศ. 2358 โดยสร้างเป็นศาลประจำเมือง พร้อมทั้งกระทำพิธีฝังอาถรรพ์เสาหลักเมือง เมื่อวันศุกร์ เดือน 7 แรม 10 ค่ำ ปีกุล พ.ศ. 2358 นั่นเอง

ปัจจุบันศาลประจำเมือง หรือศาลหลักเมืองนี้ อยู่ติดกับที่ว่าการอำเภอ พระประแดง ภายในมีรูปหล่อพระพิฆเนศร์ เป็นที่สักการะของประชาชนทั่วไป คนจีนได้เข้ามาดูแลศาลหลักเมืองแห่งนี้เมื่อใดไม่ปรากฏ ดังนั้น สภาพสิ่งก่อสร้างและบรรยากาศของศาลหลักเมืองจึงเป็นแบบจีน จนแทบไม่เหลือเค้าเดิม

สิ่งที่น่าสนใจศึกษาและเรียนรู้
ตามโบราณราชประเพณี ในการสร้างเมืองมักจะมีการสร้างศาลหลักเมืองไว้เป็นศาลกลางของบ้านเมือง ดังนั้นศาลหลักเมืองจะถือเป็นศูนย์กลางทางจิตใจของบ้านของเมือง ซึ่งเมืองที่จะมีศาลหลักเมือง มักจะเป็นเมืองที่มีอายุเก่าแก่ และจัดตั้งตามโบราณราชประเพณี ดังนั้นศาลหลักเมืองของเมืองนครเขื่อนขันธ์ หรืออำเภอพระประแดง จึงสะท้อนให้เห็นว่าเมืองนี้ เป็นเมืองที่เก่าแก่ และได้จัดตั้งตามโบราณราชประเพณี

ขอขอบคุณ http://www.hindumeeting.com/

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สมุทรปราการ

อยู่ที่ตำบลตลาด อำเภอพระประแดง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2356 เป็นหลักเมืองเก่าของอำเภอพระประแดง ในสมัยเมื่ออำเภอนี้มีฐานะเป็นเมือง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งซึ่งชาวเมืองเคารพนับถือมาก

gp51f55f62020e4

พระพิฆเนศวร
ลักษณะของศาลในปัจุบัน (เนื่องจากศาลแห่งนี้มีการปรับปรุงและบูรณะหลายครั้ง) มีการผสมผสานศิลปะหลายวัฒนธรรม ทั้งไทย จีน และมอญ ที่สะท้อนให้เห็นจากลวดลายและสิ่งของที่ประดับตกแต่งศาล แต่ถ้าท่านที่เคยไปจะเห็นว่า ศาลแห่งนี้จะมีลักษณะที่ค่อนไปทางศาลเจ้าของจีน เพราะปัจจุบันผู้ดูแลศาลแห่งนี้เป็นชาวไทยเชื้อสายจีนนั่นเอง

ขอขอบคุณ http://www.thai-tour.com/

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นหลักเมืองเก่าของอำเภอพระประแดง ในสมัยเมื่ออำเภอนี้มีฐานะเป็นเมือง ชาวบ้านถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญแห่งหนึ่ง ซึ่งชาวเมืองเคารพนับถือมาก หลักเมืองนี้มีลักษณะพิเศษ คือ มีรูปของพระพิฆเนศวร์สถิตอยู่เหนือเสา

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สมุทรปราการ

Phra-Pradaeng-City-pillar-shrine3

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง อยู่ที่ตำบลตลาด สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2356 เป็นหลักเมืองเก่าของอำเภอพระประแดง ในสมัยเมื่ออำเภอนี้มีฐานะเป็นเมือง ชาวบ้านถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญแห่งหนึ่ง ซึ่งชาวเมืองเคารพนับถือมาก หลักเมืองนี้มีลักษณะพิเศษ คือ มีรูปของพระพิฆเนศวร์สถิตอยู่เหนือเสา

ขอขอบคุณ http://www.hoteldirect.in.th/

ศาลพระพิฆเนศที่เก่าที่สุดในประเทศไทย ยุคสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์

The-City-Pillar-Shrine-at-Phra-Pradaeng-City-01

ศาลหลักเมืองพระประแดงสร้างขึ้นหลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 สร้างป้อมปราการเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในปี พ.ศ.2358 ต่อมามีลักษณะเป็นศาลเจ้าแบบจีนผสมกับไทยและมอญ ตามหลักฐานไม่ปรากฏว่าคนจีนได้เข้ามาดูแลศาลหลักเมืองนี้เมื่อใด ภายในมีรูปหล่อพระพิฆเนศ นับว่าเป็นพระพิฆเนศองค์เดียวที่เป็นส่วนหนึ่งของเสาหลักเมือง โดยตัวเสาจริงๆนั้นอยู่ลึกลงไปทางด้านล่างของศาล บุคคลทั่วไปไม่มีโอกาสได้ลงไปถึงด้านล่างอันเป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองของพระประแดงจริงๆ ด้วยโบราณราชประเพณีแล้วเมืองที่จะมีศาลหลักเมืองมักจะเป็นเมืองที่มีอายุเก่าแก่ และศาลหลักเมืองจะถือเป็นศูนย์กลางทางจิตใจของบ้านของเมือง ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดงจึงได้รับยกย่องให้เป็นศาลพระพิฆเนศที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

พระพิฆเนศประจำศาลหลักเมืองพระประแดงองค์นี้ ประดิษฐานอยู่ภายในบุษบกแบบไทย มีลักษณะเป็นพระพิฆเนศศิลา มีสี่พระกร พระกรขวาบนถือตรีศูล พระกรซ้ายบนถือปาศะ (บ่วงบาศ) พระกรขวาล่างถืองา และพระกรซ้ายล่างถือถ้วยขนม ประทับนั่งบนฐานบัวหงาย โดยพระคเณศองค์นี้งดงามด้วยความเรียบง่าย เนื่องจากที่องค์เทวรูปแทบจะไม่มีลวดลายเครื่องประดับใดๆ แม้กระทั่งเครื่องศิราภรณ์

ขอขอบคุณ http://www.zthailand.com/

วัดแสงแก้วโพธิญาณ จ.เชียงราย ครูบาอริยชาติ เจ้าแม่กวนอิม

25561207-205758.jpg

พระแม่กวนอิม ครูบาอริยชาติ วัดแสงแก้วโพิธิญาณ จ.เชียงราย
ตามตำนานกล่าวไว้ว่า พระโพธิสัตว์กวนอิม ประสูติเมื่อวันที่ ๑๙ เดือนยี่ (จีน) ชาติสุดท้ายเป็นราชธิดาของกษัตริย์ เมี่ยวจวง นามว่า เมี่ยวซ่าน

วันเสาร์ 7 ธันวาคม 2556 เวลา 00:01 น.
พระโพธิสัตว์กวนอิม หรือ เจ้าแม่กวนอิม เป็นพระโพธิสัตว์ในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นองค์เดียวกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ สามารถแบ่งภาคเพื่อโปรดสรรพสัตว์ไว้มากมาย ซึ่งคนไทยเชื้อสายจีนให้ความเคารพนับถือมายาวนาน

ตามตำนานกล่าวไว้ว่า พระโพธิสัตว์กวนอิม ประสูติเมื่อวันที่ ๑๙ เดือนยี่ (จีน) ชาติสุดท้ายเป็นราชธิดาของกษัตริย์ เมี่ยวจวง นามว่า เมี่ยวซ่าน ภพภูมิเดิมนั้นเป็นเทพธิดาลงมายังโลกเพื่อช่วยปลดเปลื้องทุกข์ภัยแก่มวลมนุษย์ เป็นพระราชธิดาองค์สุดท้ายในบรรดา ๓ พี่น้อง โดยองค์โตชื่อ เมี่ยวอิม องค์รองชื่อ เมี่ยวหยวน เยาว์วัยศรัทธาพระพุทธศาสนา รู้แจ้งในหลักธรรมลึกซึ้ง ตั้งพระทัยแน่วแน่จะบำเพ็ญเพียรภาวนา เพื่อหลุดพ้นสังสารวัฏ แม้ว่าพระบิดาไม่เห็นด้วย ต้องการให้เลือกคู่ครองสืบทอดราชบัลลังก์ก็ตาม ก็มิอาจขวางกั้นเจตนารมณ์อันแน่วแน่ได้เลย

ต่อมาองค์หญิงสามถูกลงโทษให้ไปทำงานหนักตรากตรำในสวนดอกไม้ เช่น หาบน้ำ ปลูกดอกไม้ เพื่อหวังให้เปลี่ยนพระทัย ด้วยบุญบารมีเหล่ารุกขเทวดามาช่วยเหลือ ครั้นพระบิดาเมื่อเห็นว่าไม่ได้ผล จึงรับสั่งให้หัวหน้าแม่ชีนำองค์หญิงสามไปอยู่ที่วัดนกยูงขาว ให้ทำงานหนักทั้งวัด แต่องค์หญิงมีพระทัยเด็ดเดี่ยว ไม่เกี่ยงงานการต่าง ๆ เลยพระเจ้า เมี่ยวจวง ทรงกริ้วมาก เข้าใจว่าเหล่าแม่ชีคอยปกป้อง สั่งให้ทหารเผาวัดนกยูงขาวจนวอดเป็นจุณ พร้อมกับแม่ชีทั้งวัด มีเพียงเจ้าหญิง เมี่ยวซ่าน เท่านั้นที่รอดชีวิตราวปาฏิหาริย์ Read more »

วัดท่าไม้ จ.สมุทรสาคร หลวงพี่อุเทนวัดท่าไม้ แผนที่วัดท่าไม้ สมุทรสาคร

25560704-140822.jpg

โดย…ชมดาว ภาพ พงษ์ไทย วัฒนาวณิชย์วุฒิ

จั่วหัวไว้ไม่เกินจริง ถ้าถามวัดไหนที่ฮอตเกินกว่าอากาศที่ร้อนระอุก็ต้องที่วัดท่าไม้นี่ละ 1-2 ปีมานี้ดังมากๆ ทั้งสติกเกอร์ชื่อวัดที่ติดตามรถต่างๆ ไหนจะเป็นวัดที่ดาราและผู้จัดละครค่ายดัง หรือแม้กระทั่งเจ้าของช่องต่างๆ ก็พาเหรดกันมาให้อุ่นหนาฝาคั่ง เรื่องดาราน่ะมาทีหลัง ตั้งแต่ 6-7 ปีที่แล้วทั้งนักธุรกิจใหญ่ระดับร้อยล้านพันล้าน นายทหาร นายตำรวจ เขาขึ้นกันมานานแล้ว แต่กระแสไม่ฮือฮาเท่าซุป’ตาร์เขาไปกัน ข่าวเลยดังเป็นพลุแตกกันก็ตอนนี้

ไปดูซิวัดนี้มีอะไรดีระดับคนดังถึงไปกันไม่ขาดสาย คงต้องให้เวลาทัวร์วัดสัก 3 ชั่วโมง
Read more »

การจัดพิธีเพื่อบูชาในวันคเณศจตุรถี

การจัดพิธีเพื่อบูชาในวันคเณศจตุรถี

จาก – พิทักษ์ โค้ววันชัย (สยามคเณศ)

มอบแด่ กลุ่มผู้ศรัทธาทุกท่าน

เนื่องในวันคเณศจตุรถี ปี พ.ศ.2555

*****เข้าเป็นสมาชิกของพวกเราได้ที่ www.siamganesh.com

Read more »

วัดพระธาตุผาเงา หลวงพ่อผาเงา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

วัดพระธาตุผาเงา หลวงพ่อผาเงา
อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

วัดพระธาตุผาเงา เดิมชื่อวัดสบคำ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขง ต่อมาเกิดพังทลายลง จึงต้องย้ายวัดไปอยู่ที่ใหม่บนเนินเขาในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อยืนอยู่บนพระบรมธาตุพุทธนิมิตเจดีย์สีขาว ด้านบนสุดจะมองเห็นทัศนยภาพสองฝั่งแม่น้ำโขงแนวพรมแดนไทย-ลาวได้ชัดเจนนับเป็นจุดชมวิวสวยงาม

ชื่อของวัดพระธาตุผาเงา มาจากชื่อของพระธาตุผาเงาที่ตั้งอยู่บนหินก้อนใหญ่ ภายในอุโบสถเป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อผาเงา” พระพุทธรูปโบราณที่จมอยู่ในดิน สันนิษฐานว่าบริเวณนี้น่าจะเคยเป็นวัดโบราณเก่าแก่มาก่อน
Read more »

วัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ สักการะพระธาตุดอยสุเทพ แผนที่ การเดินทาง แหล่งท่องเที่ยวในเชียงใหม่

วัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ การเดินทางไปวัดพระธาตุดอยสุเทพ วัดพระธาตุประจำคนเกิดปีมะแม
สักการะพระธาตุดอยสุเทพ แหล่งท่องเที่ยวในเชียงใหม่ ขอพรพระธาตุพระเจดีย์ประจำปีมะแม

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์เม็งราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการะบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำทักษิณาวัตรสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้ทรงโปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .