Archive for the ‘วัดในนนทบุรี’ Category

ประเพณีบุญวัดบัวขวัญ

วัดบัวขวัญ พระอารามหลวง ได้จัดให้คณะอุบาสก อุบาสิกา พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป ได้มีการทำบุญต่างๆ ตามประเพณีที่เคยทำสืบกันมา ดังมีรายละเอียดดังนี้
ปฏิทินงานวัด2557

ปฏิทินงานวัฒนธรรมลงเวป
การทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารเช้า แก่พระภิกษุ สามเณร และฟังพระธรรมเทศนา ในทุกวันพระ ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐ น. ถึง เวลาประมาณ ๐๙.๐๐ น.
การทำบุญถวายสังฆทาน ทำบุญโลงศพเพื่อผู้ยากไร้ ตั้งแต่ เวลา ๐๖.๐๐ น. ถึง เวลา ๑๖.๐๐ น. ของทุกๆ วัน ตลอดปี
การทำบุญไถ่ชีวิตโค-กระบือ ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐ น. ถึงเวลา ๐๗.๐๐ น. ของทุกๆ วันตลอดปี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และมอบให้กับเกษตรกรผู้ยากไร้
Read more »

ประวัติวัดบัวขวัญ

จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาในอดีตนั้นว่า มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งในสมัยนั้นเป้นเพียงสำนักสงฆ์กลางท้องนาเท่านั้น เมื่อมีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา ก็เริ่มพัฒนาเป็นวัด โดยสมัยแรก พระครูปรีชาเฉลิม หรือหลวงปู่แฉ่ง วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหารเป็นผู้ริเริ่มสร้างวัดชึ้น โดยมีผู้มีจิตศรัทธาหลายคนร่วมบริจาคที่ดิน โดยได้รับอนุญาตให้สร้างขึ้น เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๕ ต่อมาก็มีหลวงปู่ฉ่ำมาเป็นเจ้าอาวาส ปกครองวัด หลังจากหลวงปู่ฉ่ำมรณภาพ วัดก็ว่างเว้นจากพระสงฆ์ ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงวัด กลัววัดจะร้าง จึงได้ไปนิมนต์พระอธิการพยุง จตฺตมโล จากวัดกำแพงมาเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ และได้บูรณะปฏิสังขนณ์ถาวรวัตถุ พัฒนาวัดเจริญเรื่อยมาจนมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดินสร้างวัดเพิ่ม คือ นายบัว ฉุนเฉียว เป็นผู้บริจาคที่ดิน

เดิมทีนั้นวัดชื่อว่า “วัดสะแก” ได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อวัดบัวขวัญ เพื่อให้เป็นเกียรติแก่นายบัว ฉุนเฉียว และวัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๐๖ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๖๐ เมตร พระอธิการพยุง จตฺตมโล เป็นเจ้าอาวาสจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๐

ต่อจากนั้นพระอธิการบุญช่วย ปุญฺญคุตฺโต ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ต่อจากนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ พระมหาไสว สุขวโร (ป.ธ.๔) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบางแพรก (เหนือ) ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส จนถึงปัจจุบัน เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระโสภณสุตาลังการ ซึ่งได้พัฒนาวัดทั้งด้านถาวรวัตถุ ทางด้านการศึกษาจนเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดนนทบุรี แห่งที่ ๑ และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดราษฎร์ ขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ในวันที่ ๒๙ เดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงปัจจุบัน

Read more »

ประเพณีแห่เรือชักพระหลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดเวตวันธรรมาวาส

29_02_04

วัดเวตวันธรรมาวาสเป็นวัดเก่าแก่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นไม่ปรากฏนามผู้สร้าง เดิมชื่อวัดเชิงหวาย วัดนี้มีพระพุทธรูปเก่าแก่สมัยสุโขทัยคือ หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 7 นิ้ว เดิมองค์พระถูกฝังอยู่ใต้พื้นดินด้านทิศเหนือของอุโบสถ เมื่อประมาณ 100 ปี มีตำนานเล่าว่าท่านได้เข้าฝันชาวบ้านและกล่าวว่าหากมีความประสงค์จะให้บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บให้นำ ท่านขึ้นบชู า จึงมีการค้นหาและนำองค์ท่านขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่วัดประเพณีแห่เรือชักพระหลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นงานประเพณีที่จัดมานานนับ 100 ปี เป็นการจัดร่วมกันระหว่างวัดเวตวันธรรมาวาสกับวัดโพธิ์ทองล่าง แต่ละปีจะจัดประมาณ 5 วัน การแห่พระมีเฉพาะวันแรม 4 ค่ำเดือน 12 ส่วนกิจกรรมภายในวัดทั้ง 5 วันเป็นการจัดงานมหรสพภายในวัด วันแห่เรือชักพระเริ่มต้นจากการอัญเชิญหลวงพ่อสัมฤทธิ์ออกจากวิหาร นำไปขึ้นรถที่ตกแต่งอย่างสวยงาม แห่ไปตามถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ลงเรือที่ท่าน้ำตรงข้ามศูนย์สาธารณสุข 3บางซื่อ แล้วแห่ไปตามท่าเรือต่าง ๆ ในคลองเปรมประชากร ท่าเรือที่จอด ได้แก่ ท่าโรงเรียนสามเสน 2 ท่าวัดเสมียนนารี ท่าวัดเทวสุนทร เข้าสู่คลองบางเขน จอดที่ท่าวัดโพธิ์ทองล่าง ท่าเรือวัดมัชฌันติการาม แล้วแห่กลับวัดเวตวันธรรมาวาสตามถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี เพื่อทำการปิดทองระหว่างทางจะมีประชาชนมาคอยสักการะและถวายเครื่องบูชาต่าง ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล
ที่อยู่ : วัดเวตวันธรรมาวาส ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800 โทร. 0 2587 8567
รถโดยสารประจำทาง : สาย 16, 30, 32, 50, 51, 65, 97, ปอ.505

ขอขอบคุณ http://www.bmccculture.com/

วัดเวตวันธรรมาวาส

102901-A89

เดิมชื่อ “วัดเชิงหวาย”สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณปี พ.ศ.2326 โดยราษฎรที่อพยพหลบภัยสงครามมาจากกรุงศรีอยุธยา เพราะปรากฎว่า มีพระพุทธรูปศิลาทรายฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาอยู่ที่วัดหลายองค์ สภาพวัดเดิมเป็นแบบชนบทอยู่กลางสวน ต่อมาเมื่อมี ถนนตัดผ่าน จึงมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป และได้เปลี่ยนนามใหม่เป็น “วัดเวตวันธรรมาวาส” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2508 สังกัด คณะสงฆ์มหานิกาย

ขอขอบคุณ http://www.thaitambon.com/

แหล่งวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เขตบางซื่อ : ประเพณีแห่เรือชักพระหลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดเวตวันธรรมาวาส

29_02_07

วัดเวตวันธรรมาวาสเป็นวัดเก่าแก่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นไม่ปรากฏนามผู้สร้าง เดิมชื่อวัดเชิงหวาย วัดนี้มีพระพุทธรูปเก่าแก่สมัยสุโขทัยคือ หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 7 นิ้ว เดิมองค์พระถูกฝังอยู่ใต้พื้นดินด้านทิศเหนือของอุโบสถ เมื่อประมาณ 100 ปี มีตำนานเล่าว่าท่านได้เข้าฝันชาวบ้านและกล่าวว่าหากมีความประสงค์จะให้บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บให้นำ ท่านขึ้นบชู า จึงมีการค้นหาและนำองค์ท่านขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่วัดประเพณีแห่เรือชักพระหลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นงานประเพณีที่จัดมานานนับ 100 ปี เป็นการจัดร่วมกันระหว่างวัดเวตวันธรรมาวาสกับวัดโพธิ์ทองล่าง แต่ละปีจะจัดประมาณ 5 วัน การแห่พระมีเฉพาะวันแรม 4 ค่ำเดือน 12 ส่วนกิจกรรมภายในวัดทั้ง 5 วันเป็นการจัดงานมหรสพภายในวัด วันแห่เรือชักพระเริ่มต้นจากการอัญเชิญหลวงพ่อสัมฤทธิ์ออกจากวิหาร นำไปขึ้นรถที่ตกแต่งอย่างสวยงาม แห่ไปตามถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ลงเรือที่ท่าน้ำตรงข้ามศูนย์สาธารณสุข 3บางซื่อ แล้วแห่ไปตามท่าเรือต่าง ๆ ในคลองเปรมประชากร ท่าเรือที่จอด ได้แก่ ท่าโรงเรียนสามเสน 2 ท่าวัดเสมียนนารี ท่าวัดเทวสุนทร เข้าสู่คลองบางเขน จอดที่ท่าวัดโพธิ์ทองล่าง ท่าเรือวัดมัชฌันติการาม แล้วแห่กลับวัดเวตวันธรรมาวาสตามถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี เพื่อทำการปิดทองระหว่างทางจะมีประชาชนมาคอยสักการะและถวายเครื่องบูชาต่าง ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล

ขอขอบคุณ http://livingculturalsites.com/

เผา “หลวงพ่อผล” วุ่น ศึกแย่งศพสนั่น “วัดเซิงหวาย”

ฮือแย่งศพ “หลวงพ่อผล” อดีตเจ้าอาวาสวัดเซิงหวาย บางซื่อกทม. ขวางไม่ให้สลายร่าง อ้างสังขารไม่เน่าเปื่อยจะนำไปใส่ไว้ในโลงแก้วเพื่อบูชา เผยมรณภาพมาครบ 2 ปี เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันขอพระราชทานหีบทองทึบ-ไฟพระราชทาน พร้อมเชิญแขกผู้ใหญ่ร่วมงานเพียบ ถ้ายกเลิกเกรงว่าจะเป็นการมิบังควร ชาวบ้านบีบให้ลงชื่อขอยกเลิก ขณะที่สำนักพระราชวังระบุว่าสามารถขอเลื่อนได้ ด้านตร.เจรจาทั้งสองฝ่ายถ้าอีก 7 วัน คือวันที่ 3 ธ.ค. เก้าโมงเช้าจะเปิดดูศพอีกครั้งหนึ่ง ถ้าไม่เน่าเปื่อยก็จะยินยอมให้นำศพไว้ในโลงแก้ว แต่หากเน่าเปื่อยก็จะให้มีการเผาศพต่อไป

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 26 พ.ย. ที่วัดเวตวันธรรมาวาส หรือวัดเซิงหวาย ซอยกรุงเทพ-นนทบุรี 21 ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี แขวงและเขตบางซื่อ กทม. มีพิธีพระราชทานเพลิงศพพระราชนันทาจารย์ หรือหลวงพ่อผล อดีตเจ้าอาวาสวัดเซิงหวาย ซึ่งมรณภาพเมื่อวันที่ 25 พ.ย.2547 ที่ผ่านมา แต่ปรากฏว่าในบริเวณวัดดังกล่าว ได้มีกลุ่มชาวบ้านประมาณ 200 คน พากันมาชุมนุมภายในวัดเพื่อคัดค้านการเผาศพของหลวงพ่อผล

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากหลวงพ่อผลมรณภาพ และมีการทำบุญครบรอบ 100 วัน จึงได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการของวัดว่าจะเผาศพหลวงพ่อผล แต่ลูกศิษย์ที่เคารพนับถือและเลื่อมใสศรัทธาหลวงพ่อผลบางส่วน ขอให้เก็บไว้เป็นเวลา 2 ปี เพื่อให้ผู้เคารพนับถือเลื่อมใสได้สักการะ ทางคณะกรรมการจึงได้ตกลงเก็บศพไว้เป็นเวลา 2 ปี และเมื่อครบกำหนดทางคณะกรรมการได้ตกลงขอพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อผล ในวันที่ 26 พ.ย.2549 โดยมีพระครูปลัดแก้ว กิตติสาโร เจ้าอาวาส วัดเซิงหวายในปัจจุบัน เป็นผู้ดำเนินการ

Read more »

วัดปรางค์หลวง รวมสถานที่ท่องเที่ยวอำเภอบางใหญ่ นนทบุรี

วัดสวนแก้ว หมู่ ๑ ตำบลบางเลน เป็นสถานที่เผยแพร่ธรรมโดยพระพิศาล ธรรมพาที (พระพยอม กัลยาโณ) เป็นพระนักพัฒนา ท่านได้ริเริ่มโครงการต่างๆของมูลนิธิสวนแก้วเพื่อพัฒนาสังคม และคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาสในสังคมจนประสบความสำเร็จ เช่น โครงการร่มโพธิ์แก้ว โครงการที่พักคนชรา โครงการซุปเปอร์มาร์เก็ตผู้ยากไร้ โครงการสวนแก้วเนอร์สเซอรี่ และอีกหลายโครงการ โครงการซุปเปอร์มาร์เก็ตผู้ยากไร้จำหน่ายสินค้าที่มีผู้นำมาบริจาคให้และซ่อมแซม เปิดวันจันทร์-ศุกร์ ๑๐.๐๐-๑๖.๓๐ น. วันเสาร์-อาทิตย์เปิดเวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๓๐ น. วันพุธปิด โทร. ๐ ๒๕๙๕ ๑๙๔๕-๗, ๐ ๒๕๙๕ ๑๔๔๔ โทรสาร ๐ ๒๕๙๕ ๑๒๒๒ หรือ www.suankaew.or.th

การเดินทาง จากสะพานพระนั่งเกล้า ตรงไปสี่แยกไฟแดงที่ ๒ เลี้ยวซ้ายเข้าบางกรวย ประมาณ ๒ กิโลเมตรจะถึงวัด หรือ จากท่าน้ำนนทบุรี ข้ามไปฝั่งท่าน้ำบางศรีเมือง แล้วต่อรถสองแถวไปถึงวัดสวนแก้ว ค่าโดยสาร คนละ ๘ บาท

วัดอัมพวัน สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย เดิมชื่อ วัดบางม่วง สิ่งที่น่าสนใจของวัดนี้คือ หอไตรกลางน้ำ เป็นสถาปัตยกรรมไทยที่สมบูรณ์ที่สุด ลักษณะเป็นเรือนไม้ยกใต้ถุนสูง ตัวหอมีขนาด ๒ ห้อง ช่วงล่างเป็นลูกฟักกระดานดุน ตอนบนเป็นซี่ลูกกรงไม้ กลึงเสา กรอบประตูเป็นเสาหัวเม็ด ประตูหูช้าง เครื่องลำยองเป็นไม้จำหลัก หลังคาซ้อน ๒ ชั้น มีปีกนก ๑ ชั้น มุงกระเบื้องดินเผาใต้เชิงชาย หน้าบันประดับไม้สลักลายรดน้ำหน้าบานประตูทางเข้าหอไตรเป็นบานไม้ลงรักปิดทอง ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ อกเลาเป็นไม้จำหลักลายดอกพุดตาน ลูกฟัก เหนือประตูเป็นภาพนกข้างละตัว เหนือขึ้นไปเป็นภาพพระอาทิตย์ พระจันทร์ และในห้องสะกัดท้าย หอไตรเป็นที่เก็บพาน ตะลุ่มและฐานพระพุทธรูปไม้จำหลักจำนวนมาก

Read more »

วัดปรางค์หลวง เที่ยวชมโบราณสถาน พระปรางค์ 7 ชั้น สมัยอยุธยา

5165684379_8938f84635
วัดปรางค์หลวง มีพระปรางค์หลวงเป็นจุดน่าสนใจ และถือว่าเป้นสถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนาที่สำคัญของชานเมืองนนทบุรี อิเฎลเคยเดินทางมาวัดปรางค์หลวงก่อนหน้านี้ และพบกับชาวต่างชาติที่ท่องเที่ยวทางน้ำ เยี่ยมชทวัด 9 วัด เพราะแทบทุกวัดในแถบนี้ติดคลองยกเว้นวัดดอนสะแก อิเฎลเดินทางไปชมวัดปรางค์หลวงในฤดูฝน และพบว่าวัดนี้ประสบปัญหาน้ำท่วม ถ้าใครใช้รถกระบะ หรือจักรยาน จะสามารถขับเข้าไปได้ หรือถ้าเป็นรถยนต์ และไม่ต้องการล้างรถ ให้จอดบริเวรหน้าวัดซึ่งเป็นถนนสูง และเดินเข้าไป

ด้วยความที่วัดปรางค์หลวงเป็นสถานที่ท่องเที่ยว อิเฎลพบป้ายเขียนเรื่องราวของวัด อิเฎลจึงคัดลอกข้อความส่วนนั้นมาเพื่อเป็นความรู้แก่สาธุชนที่ต้องการเดินทางมาวัดปรางค์หลวงแห่งนี้

“พระปรางค์หลวง เป็นโบราณสถานที่สำคัญของวัดปรางค์หลวง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมกับ วัดเป็นศิลปกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น องค์พระปรางค์ก่อด้วยอิฐสอดินยอดเจ็ดชั้น ย่อมุมไม้ยี่สิบ ประดับลวดลายปูนปั้น แนวฐานหน้ากระดาน เรือนธาตุ มีซุ้มจระนำทั้ง 4 ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปูนปั้น ลงรักปิดทอง ผนังเรือนธาตุทึบไม่มีประตู”
Read more »

วัดปรางค์หลวง

16092008012521

วัดปรางค์หลวง ตั้งอยู่เลขที่ ๓๒ คลองบางกอกน้อย หมู่ ๑ ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี สร้างในสมัยของพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ประมาณปี พ.ศ.๑๘๙๐(ประวัติจากวัฒนธรรมจังหวัดนนทบุรี) เดิมชื่อ “วัดหลวง” ต่อมาในสมัย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เห็นองค์พระปรางค์ที่ได้สร้างขึ้นไว้พร้อมกับการสร้างวัด จึงได้เปลี่ยนนามวัดนี้ว่า “วัดปรางค์หลวง” อันมีสัญลักษณ์ของพระปรางค์นั่นเอง ปัจจุบันองค์พระปรางค์ซึ่งมีสภาพเก่าแก่ผุพังมาก ฐานเป็นอิฐ ส่วนที่เป็นเรือนธาตุทั้งสี่ด้าน แต่ละด้านมีพระปูนปั้นนูนสูง นักโบราณคดีได้ค้นหาหลักฐานอันเป็นจุดเด่นของโครงสร้าง เป็นฝีมือของช่างในสมัยอยุธยาตอนต้น

ขอขอบคุณhttp://www.dhammajak.net/

วัดปรางค์หลวง จ.นนทบุรี

พระนิพนธ์บทพรรณนาในนิราศพระประธม ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ต้นราชสกุล “สนิทวงศ์” พรรณนาถึง “วัดหลวง” หรือ “วัดปรางค์หลวง” ในปัจจุบัน

“วัดปรางค์หลวง” เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่เลขที่ 32 คลองบางกอกน้อย หมู่ 1 ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี สร้างในสมัยของพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ประมาณ ปีพ.ศ.1890

เดิมชื่อ “วัดหลวง”

บางหลักฐานกล่าวว่า วัดปรางค์หลวง สร้างเมื่อปีพ.ศ.1904 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้อพยพผู้คนหนีโรคระบาดมาประทับอยู่ที่บริเวณนี้ ก่อนที่จะทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้น เดิมชื่อว่า วัดหลวง

ต่อมาในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า พระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เห็นองค์พระปรางค์ที่ได้สร้างขึ้นไว้พร้อมกับการสร้างวัด จึงได้เปลี่ยนนามวัดนี้ว่า “วัดปรางค์หลวง” อันมีสัญลักษณ์ของพระปรางค์นั่นเอง

Read more »

มรดกทางพระพุทธศาสนา- วัดปรางค์หลวง

mb54173_r_p0_8616273703-620x466

อยู่ที่บ้านบางใหญ่ ตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๙๐ แต่บางหลักฐานกล่าวว่าสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๐๔ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ได้อพยพผู้คนหนีโรคระบาดมาประทับอยู่ที่บริเวณนี้ ก่อนที่จะทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างวัดขึ้น เดิมชื่อว่า วัดหลวง
พระปรางค์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมกับวัด เป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น ก่ออิฐสอดิน ยอดเจ็ดชั้นย่อมุมไม้ยี่สิบ ประดับลายปูนปั้น เรือนธาตุมีซุ้มจรนำทั้ง ๔ ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปูนปั้นลงรักปิดทอง สภาพองค์ปรางค์ชำรุดมาก กลางเรือนธาตุมีกรุอยู่ภายในแต่ไม่มีช่องทางขึ้นสู่ยอดปรางค์ ผนังเรือนธาตุเป็นผนังทึบไม่มีประตู
หลวงพ่ออู่ทอง เป็นพระประธานในพระอุโบสถหลังเก่าที่ถูกทุบทำลายไปเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ศิลปกรรมแบบอู่ทอง พุทธลักษณะงดงาม เป็นที่เคารพสัการะของคนในชุมชนมาก มีการจัดงานนมัสการ และปิดทองประจำปี ในเดือนมิถุนายน
ใบเสมา ทำจากหินชนวนชาวบ้านเรียกหินกาบ มีขนาดใหญ่ไม่มีลวดลาย ปักลงบนดินรายรอบพระอุโบสถหลังเก่า เป็นใบเสมาสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง ๑ ใบเท่านั้น
Read more »

วัดปรางค์หลวง ตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

14012014172626-49

วัดปรางค์หลวง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1890 (แต่หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 2 ของกรมศาสนา ระบุว่าสร้างขึ้น พ.ศ. 1908) สร้างในสมัยของพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนต้น โดยกษัตริย์หรือผู้มีบรรดาศักดิ์ในสมัยนั้นสร้างขึ้น เดิมชื่อ “วัดหลวง” ต่อมาในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้มาเห็นองค์พระปรางค์ ที่สร้างขึ้นไว้พร้อมกับการสร้างวัด จึงได้เปลี่ยนนามวัดเป็น “วัดปรางค์หลวง” มีโบราณสถานสำคัญเป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น ดังนี้ พระปรางค์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมกับวัด รูปแบบศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น ตั้งอยู่ระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหารน้อย ลักษณะองคก่ออิฐสอดินยอดเจ็ดชั้น ย่อมุมไม้สิบ ประดับลายปูนปั้น เรือนธาตุมีซุ้มจรนำทั้ง 4 ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปยืน เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองมีร่องรอยการบูรณะในสมัยหลัง สภาพองค์ปรางค์ชำรุดมาก มีการขุดเจาะกลางเรือนธาตุเห็นเป็นกรุอยู่ภายในแต่ไม่มีช่องทางขึ้นสู่ยอด ปรางค์ ผนังเรือนธาตุเป็นผนังทึบไม่มีประตู ส่วนฐานชำรุดลงเกือบทั้งหมดจนมองไม่เห็นลักษณะเดิม หลวงพ่ออู่ทอง พระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถหลังเก่าที่ถูกทุบทำลายไปโดยไม่รู้จักคุณค่า เมื่อ พ.ศ. 2536 เป็นนพระพุทธรูปปูนปั้นศิลปกรรมแบบอู่ทอง พุทธลักษณะงดงามเป็นที่เคารพนับถือของคนในชุมชนมาก มีการจัดงานนมัสการและปิดทองประจำปีในเดือนมิถุนายน Read more »

ชุมชนเก่าของบางกอก อยู่ในสวน จ. นนทบุรี-วัดปรางค์หลวง

ชุมชนเก่าแก่กว่า 500 ปีมาแล้ว ของกรุงเทพฯ กรุงธนฯ อยู่สองฝั่งคลองบางกอกน้อย ตั้งแต่เขต กทม. ต่อเนื่องลึกเข้าไปถึง จ. นนทบุรี

มีถนนเล็กๆผ่านเรือกสวนร่มรื่นและร่มเย็น นับเป็นเส้นทางท่องเที่ยวทางเลือก ไม่ต้องยื้อแย่งแข่งขันกับใครให้เหนื่อยและหนัก

วัดปรางค์หลวง อยู่ริมคลองบางกอกน้อย (ช่วงบางม่วง-บางใหญ่) ต. บางม่วง อ. บางใหญ่ จ. นนทบุรี

มีพระปรางค์ยุคต้นอยุธยาเป็นหลักฐานสำคัญ แล้วยังมีซากวิหารหน้าพระปรางค์กับใบเสมาหินชนวน เหลืออยู่แผ่นเดียว แต่ความเก่าแก่สอดคล้องกัน เท่ากับยืนยันว่ามีชุมชนและมีวัดมาแล้วตั้งแต่ ก่อน พ.ศ. 2000 ยุคเดียวกับชุมชนที่มีชื่ออยู่ในโคลงกำสรวลสมุทร (กำสรวลศรีปราชญ์)ว่าบางระมาดและบางเชือกหนัง ทางคลองบางกอกน้อย เข้าคลองชักพระ ย่านตลิ่งชัน

ผมเคยเข้าไปวัดปรางค์หลวงหลายครั้งตั้งแต่ 20 กว่าปีมาแล้ว ตามคำบอกเล่าชักชวนของนักสำรวจสมัครเล่น ครั้งนั้นยังเป็นทางลูกรัง และพระปรางค์ยังปรักหักพังอยู่ในสุมทุมพุ่มไม้ริมทาง ซึ่งคนต่างถิ่นไม่มีใครรู้จัก และไม่มีใครสนใจ นอกจากนักสำรวจสมัครเล่นไม่กี่คนที่ผมก็พึ่งพาอาศัยได้ความรู้จากพวกเขาเหล่านั้น

คนในท้องถิ่นรู้จักปรางค์หลวง แต่ไม่รู้ว่าจะมีประโยชน์อะไร นอกจากเป็นของเก่าศักดิ์สิทธิ์

ไม่กี่วันมานี้ผมเพิ่งผ่านเข้าไปดูพระปรางค์หลวง เห็นแล้วชื่นใจ เพราะกรมศิลปากรไปดูแลบูรณะไว้นานมาแล้วอย่างงดงามโดยไม่เสียหายหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดี

Read more »

วัดปรางค์หลวง จ.นนทบุรี

วัดปรางค์หลวง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยของพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนต้นประมาณ พ.ศ. 1904 เดิมชื่อ “วัดหลวง” ต่อมาในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้มาเห็นองค์พระปรางค์ ที่สร้างขึ้นไว้พร้อมกับการสร้างวัด จึงได้เปลี่ยนนามวัดเป็น “วัดปรางค์หลวง” สำหรับปูชนียวัตถุ มีประธานในอุโบสถ นามว่า หลวงพ่ออู่ทอง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง ปางมารวิชัย หน้าตัก 9 คืบ มีความศักดิ์สิทธิ์ชาวบ้านมาสักระบูชา

ขอขอบคุณ http://www.touronthai.com/

บูรณะพระปรางค์เก่าแก่ วัดปรางค์หลวง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี

budd2430

“วัดปรางค์หลวง” เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ใกล้เมืองหลวง เลขที่ 32 คลองบางกอกน้อย หมู่ 1 ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี

สร้างในสมัยของพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ประมาณปีพ.ศ.1890 (ประวัติจากวัฒนธรรมจังหวัดนนทบุรี) เดิมชื่อ “วัดหลวง”

บางหลักฐานกล่าวว่า วัดปรางค์หลวง สร้างเมื่อปีพ.ศ.1904 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้อพยพผู้คนหนีโรคระบาดมาประทับอยู่ที่บริเวณนี้ ก่อนที่จะทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้น เดิมชื่อว่า วัดหลวง

ต่อมาในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เห็นองค์พระปรางค์ที่ได้สร้างขึ้นไว้พร้อมกับการสร้างวัด จึงได้เปลี่ยนนามวัดนี้ว่า “วัดปรางค์หลวง” อันมีสัญลักษณ์ของพระปรางค์นั่นเอง

ปัจจุบัน องค์พระปรางค์ มีสภาพเก่าแก่ผุพังมาก ฐานเป็นอิฐ ส่วนที่เป็นเรือนธาตุทั้งสี่ด้าน แต่ละด้านมีพระปูนปั้นนูนสูง นักโบราณคดีได้ค้นหาหลักฐานอันเป็นจุดเด่นของโครงสร้าง เป็นฝีมือของช่างในสมัยอยุธยาตอนต้น

วัดแห่งนี้ มีพระครูนนทเขมาราม (สายหยุด เขมาราโม) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปรางค์หลวงรูปปัจจุบัน

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .