Archive for the ‘วัดในนนทบุรี’ Category

วัดปรางค์หลวง

522488_485682844812274_68900719_n

วัดปรางค์หลวง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยของพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนต้นประมาณ พ.ศ. ๑๙๐๔ เดิมชื่อ “วัดหลวง” ต่อมาในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้มาเห็นองค์พระปรางค์ ที่สร้างขึ้นไว้พร้อมกับการสร้างวัด จึงได้เปลี่ยนนามวัดเป็น “วัดปรางค์หลวง” สำหรับปูชนียวัตถุ มีประธานในอุโบสถเดิม นามว่า “หลวงพ่ออู่ทอง” เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง ปางมารวิชัย หน้าตัก ๙ คืบ มีความศักดิ์สิทธิ์ชาวบ้านมาสักการะบูชา

พระปรางค์หลวง เป็นโบราณสถานที่สำคัญของวัดปรางค์หลวง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมกับ วัดเป็นศิลปกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น องค์พระปรางค์ก่อด้วยอิฐสอดินยอดเจ็ดชั้น ย่อมุมไม้ยี่สิบ ประดับลวดลายปูนปั้น แนวฐานหน้ากระดาน เรือนธาตุ มีซุ้มจระนำทั้ง ๔ ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปูนปั้น ลงรักปิดทอง ผนังเรือนธาตุทึบไม่มีประตู

Read more »

วัดปรางค์หลวง

195764
วัดปรางค์หลวง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1890 (แต่หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 2 ของกรมศาสนา ระบุว่าสร้างขึ้น พ.ศ. 1908) สร้างในสมัยของพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนต้น โดยกษัตริย์หรือผู้มีบรรดาศักดิ์ในสมัยนั้นสร้างขึ้น เดิมชื่อ “วัดหลวง” ต่อมาในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้มาเห็นองค์พระปรางค์ ที่สร้างขึ้นไว้พร้อมกับการสร้างวัด จึงได้เปลี่ยนนามวัดเป็น “วัดปรางค์หลวง” มีโบราณสถานสำคัญเป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น ดังนี้ พระปรางค์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมกับวัด รูปแบบศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น ตั้งอยู่ระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหารน้อย ลักษณะองคก่ออิฐสอดินยอดเจ็ดชั้น ย่อมุมไม้สิบ ประดับลายปูนปั้น เรือนธาตุมีซุ้มจรนำทั้ง 4 ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปยืน เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองมีร่องรอยการบูรณะในสมัยหลัง สภาพองค์ปรางค์ชำรุดมาก มีการขุดเจาะกลางเรือนธาตุเห็นเป็นกรุอยู่ภายในแต่ไม่มีช่องทางขึ้นสู่ยอดปรางค์ ผนังเรือนธาตุเป็นผนังทึบไม่มีประตู ส่วนฐานชำรุดลงเกือบทั้งหมดจนมองไม่เห็นลักษณะเดิม หลวงพ่ออู่ทอง พระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถหลังเก่าที่ถูกทุบทำลายไปโดยไม่รู้จักคุณค่าเมื่อ พ.ศ. 2536 เป็นนพระพุทธรูปปูนปั้นศิลปกรรมแบบอู่ทอง พุทธลักษณะงดงามเป็นที่เคารพนับถือของคนในชุมชนมาก มีการจัดงานนมัสการและปิดทองประจำปีในเดือนมิถุนายน ใบเสมา มีขนาดใหญ่ทำจากหินชนวน (คนในชุมชนเรีบกว่า หินกาบ) ไม่มีลวดลาย ปักลงบนดินเป็นลักษณะใบเสมา สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เดิมมีรายรอบพระอุโบสถหลังเก่าอยู่จำนวนหลายใบ แต่ถูกทุบทำลายไปพร้อมกับอุโบสถหลังเก่า ปัจจุบันเหลือเพียง 1 ใบเท่านั้น พระวิหารน้อย ตั้งอยู่ทางด้านหน้าพระปรางค์ Read more »

จิตรกรรมฝาผนัง วัดชมภูเวก

Y8517502-0

วัดชมภูเวกตั้งอยู่ใน ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี ชาวมอญในสมัยกรุงศรีอยุธยาสร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.๒๓๐๐ ภายในวัดมีเจดีย์ศิลปะมอญ หน้าบันซุ้มประตูหน้าต่างปิดทองปิดกระจก ภายในพระอุโบสถหลังเก่ามีภาพจิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติและทศชาติชาดก และมีภาพพระแม่ธรณีบีบมวยผมในซุ้มเรือนแก้วที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุดในโลก

ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม : จิตกรรมฝาผนังภาพแม่พระธรณีบิดมวยผมในซุ้มเรือนแก้ว เขียนขึ้นตามแบบศิลปะสกุลช่างนนทบุรีสมัยแรกซึ่งงามวิจิตร ได้รับการยกย่องให้เป็นภาพเขียนพระแม่ธรณีที่งดงามที่สุดในโลก

ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม : บุคลิกภาพของภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดภูเวกมีความอ่อนช้อย แสดงความอ่อนหวานและความงดงามของหญิงไทย

ขอขอบคุณ http://50.57.64.212/sme

วัดชมภูเวก

วัดชมภูเวก ทั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ บ.บางกระสอ ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2300 บริเวณเนินอิฐอันเป็นซากโบราณสถาน ที่มีอยู่เดิม โดยชาวมอญที่อพยพหนีพม่ามาตั้งรกรากอยู่ตรง บริเวณนี้ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เดิมมีชื่อว่า “วัดชมภูวิเวก” เนื่องจากเป็นสถานที่ที่เงียบสงบ และมีเนินดิน ที่ตั้งโบราณสถานเดิม ต่อมาคำว่า “วิ” หายไป คงเหลือแต่เพียงชมภูเวกมาจนถึงทุกวันนี้ เป็นวัดที่มีความสำคัญมากในสมัยก่อน เล่ากันว่าเป็นวัดศูนย์กลาง ของชาวไทยเชื้อสายมอญ เมื่อถึงฤดูเทศกาลต่างๆ จะมีชาวไทยเชื้อสายมอญจากหัวเมืองทั่วประเทศพากันรอนแรมมาทำบุญและสักการะพระมุเตา พระเจดีย์ทรงมอญ อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่นำมาจากเมืองมอญกันเป็นประจำ ในทางศิลปะ วัดชมภูเวกได้ชื่อว่าเป็นเพชรน้ำหนึ่งของชาวนนทบุรี และเป็นมรดกสำคัญอันน่าภาคภูมิใจของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุโบสถที่มีขนาดไม่ใหญ่โตนัก แต่สร้าง แบบมหาอุต คือ มีประตูเดียว ใช้ผนังรับน้ำหนัก ปลายผนังสอบเข้าหากันเล็กน้อย ไม่มีเสา มีแต่เสารับชายคาพาไล ซึ่งเป็นแบบที่หาดูได้ยากในสมัยนี้ ถือกันว่าอุโบสถแบบนี้ สามารถกระทำพิธีปลุกเสกของขลังได้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง นอกจากนี้ หน้าบันและซุ้มประตูยังมีลวดลายปูนปั้นแบบโรโคโค เป็นลายพรรณพฤกษาประดับด้วยเครื่องลายคราม และเบญจรงค์ ส่วนลวดลายตกแต่งบางส่วนได้รับอิทธิพลจากงานจำหลักไม้ ของจีน

Read more »

วัดชมภูเวก จ.นนทบุรี

P3240215

จิตรกรรมฝาผนังตามโบสถ์ต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นเรื้่องพุทธประวัติ นิทานชาดกและทศชาติเป็นหลัก ไฮไลท์สำคัญของเรื่อง คือ ภาพพิชิตมาร ตัวละครสำคัญ “พระแม่ธรณีบีบมวยผม” อันนี้ไม่เกี่ยวกับการเมืองนะครับ แต่เป็นการจับเหตุการณ์พญามารยกไพร่พลหมายทำร้ายพระพุทธเจ้า พระแม่ธรณี สักขีพยานสำคัญในการบำเพ็ญบุญบารมีของพระพุทธองค์ในแต่ละชาติภพ บีบน้ำจากมวยผมท่ี่รองรับน้ำที่พระพุทธองค์ทรงเคยกรวดไว้ กลายเป็นมหานทีพัดพาพญามารและเหล่าสมุนแตกพ่ายยอมสิโรราบ

วัดชมภูเวก นนทบุรี ก็มีภาพพิชิตมารรอยู่ที่ผนังหุ้มกลองด้านหน้าพระประธาน และพระแม่ธรณีที่นี่แหละครับ ที่ยกย่องกันว่างามที่สุดในประเทศไทย

วัดชมภูเวก ตั้งอยู่ในซอยนนทบุรี 33 ถนนสายสนามบินน้ำ-นนทบุรี ต.ท่าทราย อ.เมืองนนทบุรี หัวหน้ามอญ กลุ่มบ้านท่าทราย เรียกกันว่า “ท่านพ่อปู่” เป็นผู้สร้าง คาดว่าน่าจะสร้างมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่หลักฐานการขอตั้งวัดระบุว่าปี 2300 เพราะหลักฐานเก่าสูญหายไปหมดไม่สามารถกำหนดปีที่แน่ชัดได้

ที่ตั้งวัดคือจุดที่เนินอิฐโบราณสีแดงปรากฎขึ้น แสดงว่าน่าจะเป็นเมือง หรือสถานที่๋ศักดิ์สิทธิ์ในอดีต จึงสร้างพระมุเตา เจดีย์แบบมอญไว้สักการะบูชา พร้อมสร้างวัด สิ่งสำคัญที่แสดงถึงลักษณะเฉพาะของวัดมอญ นอกจากพระมุเตา ก็มีเสาหงส์

Read more »

จารึกรอยพระพุทธบาทวัดชมภูเวก

303_1

ชื่อจารึก จารึกรอยพระพุทธบาทวัดชมภูเวก
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ –
อักษรที่มีในจารึก ขอมอยุธยา
ศักราช พุทธศตวรรษ ๒๐
ภาษา บาลี
ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๔๒ บรรทัด (มีอักษรจารึกอยู่ที่ดุม กำ ระหว่างกำ กง ปลาย และข้างพระพุทธบาท)
วัตถุจารึก ศิลา ประเภทหินชนวน
ลักษณะวัตถุ รูปรอยพระพุทธบาท
ขนาดวัตถุ กว้าง ๕๒ ซม. ยาว ๑๓๐ ซม. หนา ๒๓ ซม.
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นบ. ๑”
๒) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๕ (มกราคม ๒๕๐๖) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกรอยพระพุทธบาท อักษรขอมโบราณ ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ ที่วัดชมภูเวก ต. ท่าทราย อ. เมือง จ. นนทบุรี”
๓) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๔ กำหนดเป็น “หลักที่ ๘๕ ศิลาจารึกรอยพระพุทธบาทวัดชมภูเวก”
๔) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ กำหนดเป็น “จารึกรอยพระพุทธบาทวัดชมภูเวก”
ปีที่พบจารึก วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๕
สถานที่พบ วัดชมภูเวก ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
ผู้พบ นายจำปา เยื้องเจริญ และนายประสาร บุญประคอง
ปัจจุบันอยู่ที่ วัดชมภูเวก ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
Read more »

ประวัติวัดชมภูเวก

ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ บ.บางกระสอ ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2300 เดิมมีชื่อว่า “วัดชมภูวิเวก” เนื่องจากเป็นสถานที่ที่เงียบสงบ และมีเนินดิน ที่ตั้งโบราณสถานเดิม ต่อมาคำว่า “วิ” หายไป คงเหลือแต่เพียงชมภูเวกมาจนถึงทุกวันนี้ เป็นวัดที่มีความสำคัญมากในสมัยก่อน ในทางศิลปะวัดชมภูเวกได้ชื่อว่าเป็นเพชรน้ำหนึ่งของชาวนนทบุรี และเป็นมรดกสำคัญอันน่าภาคภูมิใจของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุโบสถที่มีขนาดไม่ใหญ่โตนัก แต่สร้าง แบบมหาอุต คือ มีประตูเดียว ใช้ผนังรับน้ำหนัก ปลายผนังสอบเข้าหากันเล็กน้อย ไม่มีเสา มีแต่เสารับชายคาพาไล ซึ่งเป็นแบบที่หาดูได้ยากในสมัยนี้
สิ่งที่สำคัญที่สุดในอุโบสถหลังเก่า คือ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง โบราณสถานที่สำคัญภายในวัดที่น่าชมยังมีอีกหลายแห่ง เช่น พระมุเตา พระเจดีย์ทรงมอญ และยังมีมีวิหาร ด้านหลังอุโบสถอีกด้วยสัญลักษณ์ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง คือ เสาหงส์

ขอขอบคุณ http://bopit565.blogspot.com/

ออกพรรษา พาชมศิลปกรรมสกุลช่างนนทบุรี วัดชมภูเวก

nontaburi1

กลับมาอีกครั้งกับงานจิตรกรรมฝาผนัง สำหรับผู้ที่ชื่นชอบจิตรกรรมไทยประเพณี มีหลายท่านที่ให้ความสนใจและตั้งคำถามมามากมาย ซึ่งผู้เขียนเองยังไม่ได้ตอบและอาจตอบได้ไม่ทุกคำถาม

และขอออกตัวก่อนว่า ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านงานจิตกรรมฝาผนัง ทว่ามีความสนใจใคร่รู้ด้วยตระหนักถึง มรดกของชาติที่กำลังถูกลบเลือนหายไปทีละน้อย ด้วยความยากจนทางเศรษฐกิจของประเทศนี้ หรืออับจนทางความคิดเรื่องการจัดสรรงบประมาณเพื่อการอนุรักษ์ก็สุดจะรู้

วันนี้ จึงใคร่ขอแนะนำให้ท่านรู้จักกับจิตรกรรมฝาผนังวัดชมภูเวก จังหวัดนนทบุรี เป็นเบื้องต้นเท่านั้น หากท่านใดสนใจจะเข้าชมในช่วงวันหยุดออกพรรษา ที่ทางวัดแจ้งกับผู้เขียนว่าทางวัดได้จัดงานออกพรรษด้วย

วัดชมภูเวก ตั้งอยู่ ณ ต.ท่าทราย อ.เมือง ริมถนนสายสนามบินน้ำ-นนทบุรี จ.นนทบุรี สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2300 โดยชาวมอญที่อาศัยอยู่แขวงเมืองนนทบุรีสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นผู้สร้าง ภายในวัด มีเจดีย์ที่เป็นศิลปะแบบมอญ อุโบสถและวิหารหลังเก่า ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย หน้าบันซุ้มประตูหน้าต่างปิดทองปิดกระจก ในอุโบสถและวิหารมีจิตรกรรมฝาผนัง สกุลช่างนนทบุรี โครงร่างต้นแบบแต่ซ่อมสีเพิ่ม จิตรกรรมฝาผนังเขียนเรื่องพุทธประวัติและทศชาติชาดก

ขอขอบคุณ http://www.oknation.net/

ข้อมูลท่องเที่ยว จังหวัด นนทบุรี วัดชมภูเวก อำเภอเมือง

วัดชมภูเวก ตั้งอยู่ริมถนนสายสนามบินน้ำ-นนทบุรี ซอยนนทบุรี 33 ตำบลท่าทราย ชื่อวัดมาจากที่ตั้งที่อยู่บนเนินสูง มีความเงียบสงบ จึงเรียกว่า วัดชมภูวิเวก ต่อมาเหลือเพียงวัดชมภูเวก ชาวมอญในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นผู้สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.2300 หรืออาจจะก่อนจากนั้น เนื่องจากการอพยพของชาวมอญเข้ามาอาศัยอยู่ในบริเวณนี้เกิดขึ้นในสมัยสมสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ ที่ปรากฏคาดว่าวัดชมภูเวกน่าจะสร้างในช่วงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหรือสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์

สถานที่น่าสนใจภายในวัดชมภูเวก นนทบุรี

พระธาตุมุเตา วัดชมภูเวก

พระธาตุมุเตาองค์ที่เห็นในปัจจุบันนี้ ได้มีการบูรณะใหม่ในปี พ.ศ.2535 – 2539 เนื่องจากองค์พระธาตุเดิมที่บูรณะเมื่อปี พ.ศ.2460 มีการชำรุดทรุดโทรมลงเป็นอันมาก ตรงเอวเหนือปลองไฉนหัก ยอดและฉัตรชำรุดเสียหาย ผิวปูนเดิมกะเทาะหลุดร่อนเกือบหมด จนปี พ.ศ.2535 มีคณะศรัทธา คือ คุณพรชัย สิริวัฒนรัชต์ เจ้าของบริษัทพรชัย 1991 พร้อมครอบครัว เพื่อนสนิทมิตรสหาย นำผ้าป่าสามัคคีมาทอดร่วมกับคณะผู้ศรัทธาชาวท่าทราย ได้เงินทั้งหมดจำนวน 5 แสนเศษ จึงได้ทำการบูรณะครั้งใหญ่ ปรากฏเห็นสวยงามดั่งปัจจุบัน

Read more »

สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย วัดชมภูเวก

วัดชมภูเวก ตั้งอยู่ริมถนนสายสนามบินน้ำ-นนทบุรี ซอยนนทบุรี 33 ตำบลท่าทราย ชื่อวัดมาจากที่ตั้งที่อยู่บนเนินสูง มีความเงียบสงบ จึงเรียกว่า วัดชมภูวิเวก ต่อมาเหลือเพียงวัดชมภูเวก ชาวมอญในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นผู้สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2300 จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์หลังเก่าเป็นภาพพุทธประวัติและทศชาติ ประดิษฐานพระประธานสมัยสุโขทัยและพระพุทธรูปยืน 2 องค์ นอกจากนี้บริเวณวัด ยังมีพระเจดีย์รามัญ เรียกว่า”พระมุเตา”สร้างโดยพระสงฆ์จากเมืองมอญเมื่อ พ.ศ. 2460 สันนิษฐานว่าภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

การเดินทาง
รถโดยสารประจำทางที่ผ่าน ได้แก่ สาย 69 สอบถามเข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 184

เรือโดยสารรถสองแถวเล็กจากท่าสะพานพระนั่งเกล้า

ขอขอบคุณ http://www.touronthai.com/

ชมพระแม่ธรณีฯงามที่สุดในโลกที่ “วัดชมภูเวก”

Image

เคยได้ยินเกจิภาพจิตรกรรมไทยท่านหนึ่งบอกว่า มีภาพจิตกรรมฝาผนังรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผมที่สวยงามมากอยู่ที่วัดมอญ เมืองนนท์ ดังนั้นเมื่อมีเวลาและโอกาสได้ไปแถวๆนั้น ฉันจึงไม่พลาดที่จะแวะเวียนไปชื่นชมให้เห็นเป็นบุญตาที่ “วัดชมภูเวก” จังหวัดนนทบุรี

แน่นอนว่าก่อนที่จะได้ชมภาพจิตกรรมฝาผนังอันเลื่องชื่อ เราต้องทำความรู้จักกับวัดแห่งนี้กันเสียก่อน โดย “วัดชมภูเวก” นี้ เป็นวัดมอญ สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายระยะต้น ในสมัยพระนารายณ์มหาราช ราว พ.ศ. 2225

ในสมัยนั้นเกิดสงครามระหว่างพม่ากับจีนฮ่อ ชาวมอญจึงได้อพยพหนีเข้าเมืองไทยมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระนารายณ์ทรงทราบก็ทรงรับไว้ โปรดให้แม่ทัพนายกองอยู่ในกรุงศรีฯ ส่วนไพร่พลและครอบครัวโปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ตามหัวเมือง ได้แก่ บ้านสามโคก เมืองปทุมธานี บ้านปากเกร็ด บ้านบางตลาด บ้านตะนาวศรี เมืองนนทบุรี ที่บ้านท่าทราย(วัดชมภูเวก) มีท่านพ่อปู่(ฮาโหนก) เป็นหัวหน้ามอญอพยพ

เมื่อปักหลักอาศัยอยู่นานเข้าสัตว์เลี้ยงได้คุ้ยเขี่ยเหยียบย่ำพื้นดิน เมื่อฝนตกน้ำท่วม น้ำได้ไหลหลากพัดพาดินไปจึงทำให้อิฐก้อนใหญ่สีแดงโผล่ขึ้นมาเป็นบริเวณกว้าง ท่านพ่อปู่เห็นดังนั้นจึงถือเป็นนิมิตรหมายที่ดี สันนิษฐานว่าที่ตรงนี้คงเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์และเคยสร้างโบราณสถานมาก่อน

Read more »

วัดชมภูเวก

ตั้งอยู่ริมถนนสายสนามบินน้ำ-นนทบุรี ซอยนนทบุรี 33 ตำบลท่าทราย ชื่อวัดมาจากที่ตั้งที่อยู่บนเนินสูง มีความเงียบสงบ จึงเรียกว่า วัดชมภูวิเวก ต่อมาเหลือเพียงวัดชมภูเวก ชาวมอญในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นผู้สร้างขึ้นประมาณพ.ศ. 2300 จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์หลังเก่าเป็นภาพพุทธประวัติและทศชาติ ประดิษฐานพระประธานสมัยสุโขทัยและพระพุทธรูปยืน 2 องค์ นอกจากนี้บริเวณวัด ยังมีพระเจดีย์รามัญ เรียกว่า “พระมุเตา” สร้างโดยพระสงฆ์จากเมืองมอญเมื่อ พ.ศ.2460 สันนิษฐานว่าภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ การเดินทาง รถโดยสารประจำทางที่ผ่าน ได้แก่ สาย 69 สอบถามเพิ่มเติมโทร. 184 หรือโดยสารรถสองแถวเล็กจากท่าสะพานพระนั่งเกล้า

ขอขอบคุณ http://www.hotsia.com/

วัดชมภูเวก นนทบุรี

Y8517502-0
วัดชมภูเวกตั้งอยู่ในตำบลท่าทราย บริเวณเขตเชื่อมต่อระหว่างอำเภอเมืองฯกับ อำเภอปากเกร็ด วัดนี้สร้างขึ้นโดยชาวมอญในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อปี พ.ศ. 2300 แต่เดิม เงียบสงบมาก ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า “วัดชมภูวิเวก” ภายหลังเหลือเพียง “วัดชมภูเวก” เท่านั้น
ภายในวัดมีศาสนสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์แบบมอญ เรียกว่า “พระมุเตา” สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2460 โดยพระสงฆ์จากเมืองมอญ สันนิษฐานว่าภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

พระอุโบสถหลังใหม่ที่สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2520 เป็นลักษณะทรงไทยใต้ถุนสูง 2 ชั้น หลังคาลด 3 ชั้น ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบัน ซุ้มหน้าต่าง และประตูประดับด้วยกระจก ส่วนพระอุโบสถหลังเก่าและพระวิหาร มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นเรื่องพุทธประวัติและทศชาติ ซึ่งพระอุโบสถเก่ากับพระวิหารนี้หันหน้าไปปสู่ลำคลอง ท่าทราย ทางทิศตะวันตก คลองนี้ในสมัยก่อนเป็นคลองใหญ่ แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีความลึกและยาวมาก แต่ในปัจจุบันได้ตื้นเขินกลายเป็นคูน้ำเล็กๆให้เห็นอยู่ตรงหน้าวัดเท่านั้น ส่วนทางด้านทิศใต้ของวัดก็เคยมีคลองเล็กๆ แต่ถูกถมไปหมดแล้ว ทางด้านหลังวัดมี “ศาลท่านพ่อปู่ศรีชมภู” ผู้เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านแถบนั้นอีกด้วย

ขอขอบคุณ http://topicstock.pantip.com/

 

วัดชมภูเวก

ตั้งอยู่ริมถนนสายสนามบินน้ำ-นนทบุรี ซอยนนทบุรี 33 ตำบลท่าทราย ชื่อวัดมาจากที่ตั้งที่อยู่บนเนินสูง มีความเงียบสงบ จึงเรียกว่า วัดชมภูวิเวก ต่อมาเหลือเพียงวัดชมภูเวก ชาวมอญในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นผู้สร้างขึ้นประมาณพ.ศ. 2300 จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์หลังเก่าเป็นภาพพุทธประวัติและทศชาติ ประดิษฐานพระประธานสมัยสุโขทัยและพระพุทธรูปยืน 2 องค์ นอกจากนี้บริเวณวัด ยังมีพระเจดีย์รามัญ เรียกว่า “พระมุเตา” สร้างโดยพระสงฆ์จากเมืองมอญเมื่อ พ.ศ.2460 สันนิษฐานว่าภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
การเดินทาง รถโดยสารประจำทางที่ผ่าน ได้แก่ สาย 69 สอบถามเพิ่มเติมโทร. 184 หรือโดยสารรถสองแถวเล็กจากท่าสะพานพระนั่งเกล้า

ขอขอบคุณ http://thai.tourismthailand.org/

วัดชมภูเวก,นนทบุรี

chedi

ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่บ้านบางกะสอ ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง ฯ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๐ ครั้งชาวมอญ อพยพหนีพม่ามาอยู่ในบริเวณนี้ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ได้พบซากโบราณสถานที่มีมาอยู่ก่อน จึงได้ร่วมกันสร้าง พระมุเตา คือพระเจดีย์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปที่นำมาจากเมืองมอญ เป็นที่สักการบูชา ต่อมาจึงได้สร้างวัดชื่อ วัดชมภูเวก ซึ่งมีความหมายว่าขอสรรเสริญเนินสูงที่มีความวิเวก ต่อมาได้กร่อนเป็นวัดชมภูเวก

พระมุเตา (เจดีย์) ตั้งอยู่ตรงประตูทางเข้าวัดด้านหน้า รูปทรงของเจดีย์เป็นแบบเจดีย์ที่เมืองหงสาวดี สร้างขึ้นก่อนสร้างวัดบนเนินอิฐเก่า สันนิษฐานว่า อาจมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ด้วย

สถานที่ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว

ท่องเที่ยว
พระอุโบสถหลังเก่า ตั้งอยู่ด้านหลังพระมุเตา มีขนาดสามห้องไม่ยกพื้น รูปทรงแบบมหาอุด ใช้ผนังรับน้ำหนัก ปลายผนังสอบเข้าเล็กน้อยไม่มีเสา มีแต่เสารับชายคาพาไล ด้านหน้ามีพาไล หน้าบันปูนปั้นลายพันธุ์พฤกษาดอกพุดตาน ประดับกลางดอกด้วยเครื่องถ้วยลายคราม และเบญจรงค์ มีประตูเข้าด้านหน้าเพียงประตูเดียวอยู่ตรงกลาง มีหน้าต่างด้านละสามบาน ซุ้มประตูหน้าต่างปูนปั้นลายพันธุ์พฤกษา ผนังด้านหลังทึบ ฝาผนังด้านในทั้งสี่ด้าน มีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างสกุลนนทบุรี เขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาว ตามแบบอยุธยาตอนกลาง ผนังด้านหน้าพระประธานเป็นภาพมารผจญ มีรูปพระแม่ธรณีประทับนั่งบีบมวยผมอยู่ในซุ้มเรือนแก้วยอดแหลม ลวดลายอ่อนช้อยเหมือนลอยตัว เป็นที่ยกย่องกันว่าเป็นภาพแม่พระธรณีที่งามที่สุดในประเทศไทย ผนังด้านหลังเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้าสองพระองค์ ประทับนั่งสมาธิ ผนังด้านข้างทั้งสองด้าน ตอนบนเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้าประทับบนแท่นบัลลังก์ มีสาวกเฝ้าอยู่สองข้าง ผนังระหว่างช่องประตูกับหน้าต่างเป็นภาพทศชาติ พระประธาน เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .