Archive for the ‘วัดในสมุทรปราการ’ Category

ทริปไหว้พระ 9 วัด ในจังหวัดสมุทรปราการ

วัดที่จะไปไหว้มีดังนี้
1)วัดบางพลีใหญ่กลาง (วัดพระนอนใหญ่)
2) วัดบางพลีใหญ่ใน (วัดหลวงพ่อโต)
3) วัดน้อยสุวรรณาราม
4) วัดตำหรุ
5) วัดหงษ์ทอง
6) วัดสว่างอารมณ์
7) วัดมงคลโคธาวาส (หลวงพ่อปานคลองด่าน)
8) วัดราษฎร์บำรุง
9) วัดอโศการาม (หลวงพ่อลี)
4. เวลาและเส้นทางที่จะใช้มีดังนี้
7.30 น. ออกสต๊าทที่โรงเรียนอรรถวิทย์ ถนนสรรพาวุธ บางนา ผ่านสี่แยกบางนาไปตามถนนบางนา-ตราด ยูเทรินกลับรถที่ อ.บางพลี เลี้ยวซ้ายเข้าเส้น บางพลี-กิ่งแก้ว เลี้ยวซ้ายเข้าทาง วัดบางพลีใหญ่กลาง
8.00 น. ถึงวัดบางพลีใหญ่กลาง
8.30 น. ถึงวัดบางพลีใหญ่ใน (วัดหลวงพ่อโต) ให้เวลาสักการะ ทานอาหารเช้าตามอัธยาศัยและเดินเที่ยวซื้อของที่ตลาด โบราณ 110 ปี ประมาณ 2 ชั่วโมง
10.30 น. ออกจากวัดบางพลีใหญ่ ใช้เส้นทางออกหน้าวัดเลี้ยวขวาเข้าถนนเทพารักษ์ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนคลองขุด
11.00 น. ถึงวัดน้อยสุวรรณาราม (กราบสักการะพระและแม่นางกวักองค์ใหญ่ และถ่ายรูปรถ)
11.30 น. ถึงวัดตำหรุ
11.45 น. ออกจากวัดตำหรุ เลี้ยวซ้ายเข้าเส้นสุขุมวิทสายเก่า มุ่งหน้าไปทางคลองด่าน ผ่านคลองด่าน ผ่านแยกบางบ่อ เลี้ยวขวาเข้าวัดหงษ์ทอง
12.00 น. ถึงวัดหงษ์ทอง (ก่อนเข้าวัดจอดถ่ายรูปรถบริเวณคันดินรอบบ่อเลี้ยงกุ ้ง) สักการะพระบรมสารีริกธาตุ , พระแก้วมรกต , ร.5 , กรมหลวงชุมพร , แม่พระคงคา, พระสีวรี , เจ้าแม่กวนอิม ฯลฯ และรับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย
Read more »

ไหว้พระ 9 วัด จังหวัดสมุทรปราการ

1. วัดไพชยนต์พลเสพย์ราชวรวิหาร

1210478436

ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์เจ้านายและขุนนางนิยมสร้างวัดกันมาก หลายวัดได้กลายเป็นพระอารามหลวงในเวลาต่อมา วันนี้ก็สร้างขึ้นในยุคนี้เช่นกัน พระอุโบสถและวิหารได้รับอิทธิพลศิลปะจีนซึ่งเป็นศิลปะแบบพระราชนิยมในช่วงปลายรัชกาลที่ 3 คือ ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ประดับตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นและเครือ่งถ้วยชามลายครามอย่างจีน ฝีมือประณีตงดงามมาก
ตามความเห็นของผม ..คือที่วัดนี้ ที่อุโบสถและวิหาร ไม่มี ขี้นกพิราบ สะอาดน่านั่งพักสงบจิตใจร่มเย็นดีเหลือเกินเลยครับ..

ประวัติของวัดนี้มีเรื่องราวปรากฏอยู่ในพระ ราชพงศาวดารัชกาลที่ ๒
สมเด็จกรมพระยา ดำรงทรงพระนิพนธ์กล่าวถึงวัดนี้ว่า

“ในคราวเมื่อสร้างป้อมเมืองสมุทรปราการนั้น ทรงพระ ราชดำริว่าป้อมที่ได้สร้างขึ้นที่เมืองนคร เขื่อนขันธ์แต่ก่อน ยังคงค้างอยู่ไม่สำเร็จบริบูรณ์
จึงโปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นศักดิ พลเสพเป็นแม่กองทำการสร้างเมืองนครเขื่อน ขันธ์ที่ยังค้างอยู่
นอกจากนี้ยังได้สร้างป้อมขึ้นอีกป้อม หนึ่ง ชื่อ ป้อมเพชรหึง
และให้ขุดคลองลัดหลังเมือง นครเขื่อนขันธ์คลองหนึ่ง มาทะลุออกคลองตาลาว คลองลัดที่ขุดใหม่นี้เมื่อขุดนั้น กว้าง ๖ วา ลึก ๕ ศอกยาว ๕๐ เส้น
กรมหมื่นศักดิพล เสพ ทรงสร้างวัดขึ้นในคลองที่ขุดใหม่วัด หนึ่ง
พระราชทานนามว่า “วัดไพชยนต์พลเสพ ”
พระยาเพชรพิไชย (เกษ) ซึ่งเป็น นายงานสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ สร้างวัดขึ้นอีก วัดหนึ่งตรงข้ามวัดไพชยนต์ฯ ชื่อ วัดโปรดเกศ เชษฐาราม
ยังเป็นอารามหลวงอยู่จนทุกวันนี้ ทั้ง ๒ วัด
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานเกี่ยว กับการตั้งชื่อวัดนี้ว่า ในรัชกาลที่ ๒ เห็นจะเรียกว่า “วัดกรมศักดิ์” หรือ “วัดปากลัด”

Read more »

วัยชัยมงคล จ.สมุทรปราการ

วัดชัยมงคล ตั้งอยู่เลขที่ 324 ถนนเทศบาล 18 หมู่ที่ 2 ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 24ไร่ 1 งาน 2 ตารางวา
วัดชัยมงคล ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 1893 ไม่ปรากฏนามผู้สร้างและผู้บริจาคที่ดินให้สร้างวัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2513
วัดชัยมงคล จัดเป็นวัดแห่งแรกในชุมชนคลองปากน้ำ เดิมชาวเมืองเรียก “วัดมอญ” วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่มีอายุประมาณ 800 ปี สร้างในปี พ.ศ. 1893 สังเกตการณ์เป็นวัดมอญได้ที่โบสถ์ ซึ่งไม่ได้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกอย่างวัดไทยทั่วไป แต่จะหันโบสถ์ไปทางทิศเหนือ อันเป็นที่ตั้งของเมืองหงสาวดี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของชนชาวมอญในอดีต วัดแห่งนี้ในบางสมัยเคยกลายเป็นวัดร้างเป็นเวลานาน จึงขาดการบันทึกประวัติความเป็นมาที่ต่อเนื่อง วัดมอญยังมีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ ดังนี้
– ฐานบัญชาการญี่ปุ่น ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากที่กองทหารญี่ปุ่นขึ้นที่ บางปู วัดชัยมงคล ถูกจัดให้เป็นสถานที่ตั้งกองบัญชาการของกองทัพญี่ปุ่น มีการสร้าศาลานาวิกโยธินไว้เป็นที่ระลึก ต่อมาได้ถูกย้ายไปสร้างเป็นศาลาพักร้อนมุงสักะสี
– ลานประหารชีวิต สมัยที่ยังคงมีการลงโทษประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะ เพื่อสะดวกในการปลงศพ และการลงโทษให้ห่างไกลชุมชนออกไปไม่ให้เป็นภาพอุดจาด จึงมักจะทำพิธีกันตามวันที่อยู่นอกตลาดข้ามไปอีกฝั่งของคลองปากน้ำลานบริเวณวัดชัยมงคล (ในช่วงที่ยังเป็นวัดร้าง) ได้เคยเป็นสถานที่ทำพิธีประหารชีวิตนักโทษ
วัดมอญ ได้รับการพัฒนาเป็นอย่างมากในสมัยที่พระมงคลสุนทร (ผล) เป็นเจ้าอาวาส ท่านเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทางสมถะวิปัสสนา มีวัตถุมงคลที่มีเมตตามหานิยมสูง คือ พระกริ่งชัยมงคล และเหรียญพระชัยมงคล ในปี พ.ศ. 2477 มีการเปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่จาก “วัดมอญ” เป็น “วัดชัยมงคล” ที่เรียกกันในปัจจุบัน
Read more »

Wat Chai Mongkon วัดชัยมงคล วัดพัฒนาตัวอย่างที่น่าสนใจในสมุทรปราการ

03-chaim-1

วัดชัยมงคล ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 1893 ไม่ปรากฏนามผู้สร้างและผู้บริจาคที่ดินให้สร้างวัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2513

วัดชัยมงคล จัดเป็นวัดแห่งแรกในชุมชนคลองปากน้ำ เดิมชาวเมืองเรียก “วัดมอญ” วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่มีอายุประมาณ 800 ปี สร้างในปี พ.ศ. 1893 สังเกตการณ์เป็นวัดมอญได้ที่โบสถ์ ซึ่งไม่ได้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกอย่างวัดไทยทั่วไป แต่จะหันโบสถ์ไปทางทิศเหนือ อันเป็นที่ตั้งของเมืองหงสาวดี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของชนชาวมอญในอดีต วัดแห่งนี้ในบางสมัยเคยกลายเป็นวัดร้างเป็นเวลานาน จึงขาดการบันทึกประวัติความเป็นมาที่ต่อเนื่อง วัดมอญยังมีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ ดังนี้

– ฐานบัญชาการญี่ปุ่น ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากที่กองทหารญี่ปุ่นขึ้นที่บางปู วัดชัยมงคล ถูกจัดให้เป็นสถานที่ตั้งกองบัญชาการของกองทัพญี่ปุ่น มีการสร้าศาลานาวิกโยธินไว้เป็นที่ระลึก ต่อมาได้ถูกย้ายไปสร้างเป็นศาลาพักร้อนมุงสักะสี

– ลานประหารชีวิต สมัยที่ยังคงมีการลงโทษประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะ เพื่อสะดวกในการปลงศพ และการลงโทษให้ห่างไกลชุมชนออกไปไม่ให้เป็นภาพอุดจาด จึงมักจะทำพิธีกันตามวันที่อยู่นอกตลาดข้ามไปอีกฝั่งของคลองปากน้ำลานบริเวณวัดชัยมงคล (ในช่วงที่ยังเป็นวัดร้าง) ได้เคยเป็นสถานที่ทำพิธีประหารชีวิตนักโทษ

Read more »

ประวัติความเป็นมาของวัดชัยมงคล

วัดชัยมงคลเดิมเขียนว่า“วัดไชยมงคล“ ปรากฏตามหนังสือที่อ้างถึงของวัดนี้ เช่นโฉนดที่ดิน เป็นต้นปัจจุบันเขียนว่า “ชัยมงคล“ ทั้งในส่วนราชการและทั่วๆไปที่ได้นามเช่นนั้น ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเหตุการณ์เล่าว่าในระยะเริ่มแรกของการก่อสร้าง มีอุปสรรคหลายประการ เช่น มีผู้ยับยั้งไม่ให้สร้าง เพราะตั้งอยู่ใกล้กับวัดบางมูลนาก ซึ่งเป็นวัดเก่าคู่บ้านคู่เมือง หากมีการอนุญาตให้สร้างขึ้นใหม่อีกวัดหนึ่งแล้ว จะเป็นเหตุให้วัดเก่าร่วงโรยทรุดโทรม ไม่ได้รับการบำรุงเท่าที่ควร เพราะวัดใหม่ตั้งอยู่ใกล้ชุมชนกว่า เป็นต้น แต่คณะผู้ริเริ่มเห็นว่าเมื่อมีผู้ให้ที่ดินและสร้างเสนาสนะไปบ้างแล้ว ก็ควรจะสร้างต่อไปจนกว่าจะสำเร็จ ตามความมุ่งหมายเดิม จึงส่งคนไปติดต่อกรมการศาสนา เพื่อชี้แจงเหตุผล และขออนุญาตสร้างวัด ในช่วงนั้นท่านเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี ( นวม พุทธสร ) วัดอนงคาราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเจ้าคณะมณฑลพิษณุโลก ได้มาที่วัดบางมูลนากด้วยกิจพระศาสนาบางประการ ( บางท่านว่ามาตั้งเจ้าคณะอำเภอบางมูลนาก ) คณะผู้ริเริ่มจึงถือโอกาสอาราธนาท่าน มาที่วัดสร้างใหม่ แล้วพร้อมกันถวายที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างใหม่ทั้งหมด สุดแล้วแต่อัธยาศัยของท่านจะจัดการอย่างใด เพราะได้ถวายให้เป็นของท่านแล้ว เมื่อเห็นความปรารถนาดีของผู้ถวาย ท่านก็รับและยกให้เป็นศาสนสมบัติโดยให้สร้างเป็นวัดต่อไป เนื่องจากท่านมีความเห็นว่า วัดที่จะสร้างขึ้นจะไม่กระทบกระเทือนต่อวัดเก่ามากนัก เพราะอยู่ห่างกันพอสมควร ไม่ใกล้ชิดกันดังที่ได้รับรายงาน ทั้งตั้งอยู่คนละฝั่งแม่น้ำด้วย พร้อมกับให้นามวัดใหม่นี้ว่า “วัดชัยมงคล“ ซึ่งคล้ายกับราชทินนามของท่าน และเพราะชนะอุปสรรคจนสร้างเป็นวัดได้ เมื่อท่านเจ้าคณะมณฑลรับที่ดินสิ่งปลูกสร้างและ อุทิศให้เป็นวัดดังนี้แล้ว อุปสรรคในการขออนุญาตสร้างก็เป็นอันหมดไป
ปูชนียวัตถุและโบราณวัตถุ
วัดชัยมงคลเป็นวัดที่สร้างขึ้นมาใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๗ จึงไม่มีปูชนียวัตถุ และโบราณวัตถุอันสำคัญทางประวัติศาสตร์

Read more »

วัดชัยมงคล

82838

ที่อยู่ เลขที่ 321 บ้านวัดชัยมงคล
ถนนสุขุมวิท ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองฯ
จังหวัดสมุทรปราการ โทรศัพท์ 02-7025740
วัดชัยมงคล จัดเป็นวัดแห่งแรกในชุมชนคลองปากน้ำ
เดิมชาวเมืองเรียก “วัดมอญ” วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่มีอายุประมาณ
800 ปี สร้างในปี พ.ศ. 1893 สังเกตเป็นวัดมอญได้ที่โบสถ์
ซึ่งไม่ได้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกอย่างวัดไทยทั่วไป
แต่จะหันโบสถ์ไปทางทิศเหนือ อันเป็นที่ตั้งของเมืองหงสาวดี
ซึ่งเป็นเมืองหลวงของชนชาวมอญในอดีต วัดแห่งนี้ในบางสมัย
เคยกลายเป็นวัดร้างเป็นเวลานาน จึงขาดการบันทึกประวัติ
ความเป็นมาที่ต่อเนื่อง

ขอขอบคุณ http://www.m-culture.in.th/

ความสำคัญของแหล่งศิลปกรรม :วัดชัยมงคล

วัดชัยมงคล ตั้งอยู่เลขที่ ๓๒๔ ถนนเทศบาล ๑๘ หมู่ที่ ๒ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๒๔ ไร่ ๑ งาน ๒ ตารางวา
พื้นที่ตั้งวัด เป็นที่ราบลุ่มท่วมถึง ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะต่าง ๆ ดังนี้ อุโบสถกว้าง ๗.๕๐ เมตร ยาว ๒๕.๑๕ เมตร ศาลาการเปรียญกว้าง ๑๕.๒๐ เมตร ยาว ๓๖.๕๐ เมตร กุฎีสงฆ์จำนวน ๓ หลัง เป็นอาคารไม้ มณฑป อาคารเรียนพระปริยัติธรรม หอระฆัง ฌาปนสถานสุสาน สำหรับปูชนียวัตถุพระประธานในอุโบสถ พระพุทธบาทจำลองประดิษฐานในมณฑปและเจดีย์ด้านหน้าอุโบสถมี ๓ องค์
วัดชัยมงคล สร้างขึ้นสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย ต่อกับสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นประมาณ พ.ศ. ๑๘๙๓ จากหลักฐานที่กรมศิลปากรสำรวจและขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุของวัดไว้พระราชทานวิสุงคามสีมาถือว่าได้รับพระราชทานมาแต่เดิมประมาณ พ.ศ. ๑๘๙๓ ในด้านการศึกษาวัดชัยมงคลสนับสนุนให้พระภิกษุสามเณรได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมมีอาคารเรียน ๑ หลัง

ขอขอบคุณ http://www.onep.go.th/

วัดทรงธรรมวรวิหาร อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ

800px-Wat_Song_Tham_Woraviharn_2

ตั้งอยู่ถนนทรงธรรม เลยจากวัดโปรดเกศเชษฐาราม ประมาณ 200 เมตร เป็นวัดเก่าแก่ในพุทธศาสนารามัญนิกาย สร้างขึ้นพร้อมกับเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในสมัยรัชกาลที่ 2 มีกุฏิและพระอุโบสถเป็นเครื่องไม้ฝากระดาน ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ทรงเห็นว่าวัดชำรุดทรุดโทรมมากจึงโปรดฯ ให้พระยาดำรงค์ราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) รื้อกุฏิมาสร้างเป็นหมู่เดียวกัน ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นโท มีพระรามัญเจดีย์องค์ใหญ่ ศิลปะรามัญ พระวิหารก่ออิฐถือปูน มีช่อฟ้าใบระกาทำด้วยไม้สัก ภายในประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง

ขอขอบคุณ http://www.annaontour.com/

วัดทรงธรรมวรวิหาร

download

วัดทรงธรรมวรวิหาร เป็นวัดรามัญแห่งแรกของพระประแดง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 2 และได้รับการบูรณะอย่างต่อเนื่อง เป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์แทบทุกรัชกาลได้เสร็จพระราชดำเนินมาทอดผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง

วัดแห่งนี้จัดเป็นวัดรามัญเก่าแก่ที่สร้างขึ้นพร้อมเมืองนครเขื่อนขันธ์ เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวมอญ นับแต่อดีตกระทั่งถึงปัจจุบัน ภายในวัดยังคงรูปแบบศิลปกรรมมอญอย่างชัดเจน โดยเฉพาะพระเจดีย์ รามัญเจดีย์องค์ใหญ่ ยอดฉัตรทอง ภายในบรรจุพระพุทธรูปปางสุโขทัย ฐานทั้งสี่มุมล้อมรอบด้วยเจดีย์องค์เล็กแบบรามัญ

พระวิหารประดับลวดลายปูนปั้น มีช่อฟ้า ใบระกา พระประจำวิหารคือพระพุทธทรงธรรมพระพุทธรูปสมันสุโขทัยทำจากไม้ ซึ่งทางวัดได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 2 นอกจากนี้ ภายในยังประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง พัดรัตนาภรณ์ประจำ รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7

พระอุโบสถสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นพระอุโบสถ ก่ออิฐถือปูด ช่อฟ้าและใบระกาทำด้วยไม่สัก ลักษณะเด่น คือ มีเสากลมคู่ขนาดใหญ่รอบพระอุโบสถ ถึง 56 ต้น หน้าบันประดับลายปูนปั้น ที่นี่เคยเป็นสถานที่ถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการในพระประแดง พระประธานเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ซึ่งรัชกาลที่ 5 โปรดให้อัญเชิญจากกรุงเทพ ฯ มาประดิษฐานเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินมาทอดผ้าพระกฐิน

Read more »

วัดทรงธรรมวรวิหาร

180

วัดทรงธรรมวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงสร้างพร้อมกับสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ ระหว่าง พ.ศ. 2357-2358 พระอุโบสถเป็นเครื่องไม้ฝากระดาน และได้รับการปฏิสังขรณ์ในรัชกาลที่ 4

สถานที่ตั้งวัดเดิมอยู่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ประมาณ 12 เส้น เมื่อกรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดให้ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นศักดิพลเสพ เป็นแม่กองมาสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์เพิ่มเติมใน พ.ศ. 2363 และได้สร้างป้อมขึ้นใหม่อีกป้อมหนึ่ง คือ “ป้อมเพชรหึง” ในที่ดินซึ่งเป็นอาณาเขตของวัดทรงธรรม และโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายวัดเข้ามาอยู่ด้านในกำแพงป้อม การย้ายครั้งนี้ได้สร้างศาลาการเปรียญและกุฏิขึ้น 3 คณะ กล่าวกันว่า ศาลาการเปรียญหลังนี้เคยเป็นศาลาทรงธรรม ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 2 และ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

ในรัชกาลที่ 3 เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาถวายผ้าพระกฐินได้ทอดพระเนตรเห็นวัดชำรุดทรุดโทรมมาก จึงโปรดให้พระยาดำรงราชพลขันธ์ (จั้ว คชเสนีย์) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองในขณะนั้น จัดการบูรณะปฏิสังขรณ์ โดยรื้อกุฏิทั้ง 3 คณะ มาสร้างรวมกันเป็นหมู่เดียว

Read more »

วัดทรงธรรมวรวิหาร สมุทรปราการ

วัดทรงธรรมวรวิหาร สมุทรปราการ

1297316958

สถานที่ตั้งวัดเดิมอยู่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ประมาณ ๑๒ เส้น เมื่อกรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดให้ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นศักดิพลเสพ เป็นแม่กองมาสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์เพิ่มเติมใน พ.ศ. ๒๓๖๓ และได้สร้างป้อมขึ้นใหม่อีกป้อมหนึ่ง คือ “ป้อมเพชรหึง” ในที่ดินซึ่งเป็นอาณาเขตของวัดทรงธรรม และโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายวัดเข้ามาอยู่ด้านในกำแพงป้อม การย้ายครั้งนี้ได้สร้างศาลาการเปรียญและกุฏิขึ้น ๓ คณะ กล่าวกันว่า ศาลาการเปรียญหลังนี้เคยเป็นศาลาทรงธรรม ของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ ๒ และ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

ในรัชกาลที่ ๓ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาถวายผ้าพระกฐินได้ทอดพระเนตรเห็นวัดชำรุดทรุดโทรมมาก จึงโปรดให้พระยาดำรงราชพลขันธ์ (จั้ว คชเสนีย์) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองในขณะนั้นจัดการบูรณะปฏิสังขรณ์ โดยรื้อกุฏิทั้ง ๓ คณะ มาสร้างรวมกันเป็นหมู่เดียว

Read more »

พระประแดง … เที่ยวชมวัดมอญ .. วัดทรงธรรมวรวิหาร

Soongtham01

วัดทรงธรรมวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชั้นวรวิหาร เป็นวัดรามัญมาตั้งแต่เดิม สร้างขึ้นในสมันรัชกาลที่ 2 โดยสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์) ทรงสร้างพร้อมกับการสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ มีกุฎิ และพระอุโบสถเป็นเครื่องไม้ฝายกกระดาน เมื่อปี พ.ศ. 2357 – 2358 อยู่ห่างจากฝั่งเจ้าพระยาประมาณ 2 เส้น
หลังจากกรมพระยาบวรสถานมงคล เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. 2360 สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพย์ เป็นแม่กองสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์เพิ่มเติม ได้สร้างป้อมขึ้นใหม่ คือ “ป้อมเพชรหึงษ์” โดยใช้บริเวณวัดทรงธรรม จึงโปรดเกล้าให้ย้ายวัดทรงธรรมมมาอยู่ในกำแพงป้อม ทำให้ได้กุฎิเป็น 3 คณะ
ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงเห็นว่าวัดชำรุดทรุดโทรมมาก จึงโปรดเกล้าให้พระยาดำรงด์ราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) รื้อกุฎิทั้ง 3 คณะ มาสร้างรวมเป็นหมู่เดียวกัน
ครั้นขึ้นปีมะเส็ง พ.ศ. 2400 (จ.ศ. 1217) เป็นปีที่ 7 ในรัชสมัยของพระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนชื่อวัดทรงธรรม เมืองนครเขื่อนขันธ์ว่า “วัดดำรงด์ราชธรรม” ต่อมาภายหลังกลับมาใช้ชื่อ “วัดทรงธรรม” เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน

เจดีย์ตามแบบรามัญ เป็นแบบ 3 ชั้น ชั้นบนห้าวงสตรีขึ้นไปศักการะ ไม่ได้ถามไถ่ถึงเหตุผล แต่เห็นได้ในหลายๆวัดที่เคร่งครัด
แต่ละชั้นมีพระพุทธรูบปางต่างๆประดับประดาอยู่ ไม่ทราบถึงความเชื่อว่าแต่ละชั้นมีความหมายอย่างไร
Read more »

วัดทรงธรรมวรวิหาร อ.พระปะแดง จ.สมุทรปราการ

viharn

ตั้งอยู่ที่อำเภอพระประแดง เป็นวัดเก่าแก่ในพุทธศาสนารามัญนิกาย สร้างขึ้นพร้อมกับเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นโท มีพระรามัญเจดีย์องค์ใหญ่ ศิลปะรามัญ พระวิหารก่ออิฐถือปูน มีช่อฟ้าใบระกาทำด้วยไม้สัก ภายในประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง

ขอขอบคุณ http://www.thai-tour.com/

วัดทรงธรรมวรวิหาร อำเภอพระประแดง

วัดทรงธรรมวรวิหาร_1410503292

ตั้งอยู่ถนนทรงธรรม เลยจากวัดโปรดเกศเชษฐาราม ประมาณ 500 เมตร เป็นวัดเก่าแก่ในพุทธศาสนารามัญนิกาย สร้างขึ้นพร้อมกับเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในสมัยรัชกาลที่ 2 มีกุฏิและพระอุโบสถเป็นเครื่องไม้ฝากระดาน ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ทรงเห็นว่าวัดชำรุดทรุดโทรมมากจึงโปรดฯ ให้พระยาดำรงค์ราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) รื้อกุฏิมาสร้างเป็นหมู่เดียวกัน ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นโท
มีพระรามัญเจดีย์องค์ใหญ่ ศิลปะรามัญ พระวิหารก่ออิฐถือปูน มีช่อฟ้าใบระกาทำด้วยไม้สัก ภายในประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองประดับมุก

ขอขอบคุณ http://thai.tourismthailand.org/

พิพิธภัณฑ์วัดทรงธรรมวรวิหาร | พระประแดง สมุทรปราการ

579270_434037203287672_1170595538_n

วัดทรงธรรมวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท และเป็นวัดเก่าแก่ ในพุทธศาสนานิกายรามัญ สร้างขึ้นพร้อมกับเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โดยทรงโปรดเกล้าให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

ประวัติความเป็นมา
วัดทรงธรรมวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท และเป็นวัดเก่าแก่ ในพุทธศาสนานิกายรามัญ สร้างขึ้นพร้อมกับเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โดยทรงโปรดเกล้าให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้า เป็นแม่กองในการก่อสร้าง ราวปี พ.ศ. 2358 เพื่อเป็นศิริมงคลแก่บ้านเมืองตามโบราณราชประเพณี โดยอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณโรงเรียนอำนวยวิทย์ในปัจจุบัน ซึ่งต่อมาเมื่อมีการบูรณะปฏิสังขรค่ายคูประตูเมือง ซึ่งได้มีการสร้างป้อมเพชรหึง ซึ่งปัจจุบันคือบริเวณหน้าบ้านแซ่ โรงเรียนอำนวยวิทย์ และสถานสังเคราะห์คนทุพพลภาพ เมื่อสร้างเสร็จจึงได้โปรดเกล้าให้รื้อวัดทรงธรรมที่สร้างไว้เดิม ไปปลูกสร้างไว้ภายในป้อม และได้ทำการก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ เพิ่มเติม
สภาพปัจจุบันของวัดทรงธรรมวรวิหาร มีอาณาเขตค่อนข้างกว้างขวาง เนื่องจากในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าให้ยุบวัดกลางนา ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงรวมเข้ากับวัดทรงธรรม

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .