Archive for the ‘วัดในสมุทรปราการ’ Category

ความสำคัญของแหล่งศิลปกรรม : วัดป่าเกด

วัดป่าเกด ตั้งอยู่เลขที่ ๒๔ บ้านป่าเกด หมูที่ ๓ ตำบลทรงคะนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๘ ไร่ ๑ งาน ๑๐ ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือยาว ๑๑๕ เมตร ติดต่อกับที่ดินเอกชน ทิศตะวันออกยาว ๑๕๐ เมตร ติดต่อกับที่ดินเอกชน ที่ธรณีสงฆ์ จำนวน ๖ แปลง เนื้อที่ ๒๒ ไร่ ๒ งาน ๙๙ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๑๒๕ , ๑๓๑ , ๗๙๗ , ๘๐๓ , ๕๑๕๕ , ๕๕๘๖
พื้นที่ตั้งวัด เป็นที่ราบลุ่มมีซอยเข้าวัดแยกมาจากถนนสายพระประแดง – บางกอบัว ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะต่าง ๆ ดังนี้ อุโบสถกว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๓๖ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ สร้างขึ้นแทนหลังเก่า สำหรับอุโบสถหลังเก่าใช้เป็นวิหารทรงโบราณ หน้าบันเป็นนารายณ์ทรงครุฑ มีภาพจิตรกรรมเรื่อง มารผจญ พระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์และทศชาติ กุฎีสงฆ์ จำนวน ๙ หลัง เป็นอาคารเรือนไม้สักทรงโบราณ หอสวดมนต์ทรงโบราณมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ศาลาการเปรียญสร้าง พ.ศ. ๒๕๒๕ ศาลาทีพัก ๓ หลัง ศาลาบำเพ็ญกุศล ๒ หลัง ฌาปนสถาน หอไตร สุสาน สำหรับปูชนียวัตถุมี พระประธานในอุโบสถองค์ใหญ่สวยงาม หน้าตักกว้าง ๑.๕๐ เมตร ปางมารวิชัย สร้างด้วยปูนและพระอัครสาวก เจดีย์ ๒ องค์อยู่ที่ด้านตะวันออกของวัด
วัดป่าเกด เดิมชื่อ ” วัดถนนเกด ” ตาเกดเป็นคนขุดถนนเข้าวัดเป็นคนแรก และบริเวณวัดมีต้นเกดขึ้นมากมาย ต่อมาจึงเรียกว่า ” วัดป่าเกด ” สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒ เมื่อคราวฟื้นฟูพระพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร ประมาณ พ.ศ. ๒๓๖๐ ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เป็นประธานร่วมกันกับกรมหมื่นเจษดาบดินทร์ วังหน้าในรัชกาลที่ ๒ ได้มาสร้างอุโบสถวัดป่าเกด หน้าบันเป็นรูปครุฑลวดลายวิจิตรตระการตา สันนิษฐานว่าหลังจากได้สร้างพระสมุทรเจดีย์กลางน้ำแล้วจึงได้มาสร้างอุโบสถนี้ขึ้น สำหรับภาพจิตรกรรมฝาผนังนั้นเป็นฝีมือช่างหลวงเรียกว่า ” ช่างสิบหมู่ ” ขณะนี้ทรุดโทรม วัดป่าเกดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังเมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ ในด้านการศึกษา ทางวัดสนับสนุนให้พระภิกษุสามเณรได้ศึกษาเปิดสอนพระปริยัติธรรมอย่างกว้างขวางตลอดมา ขณะนี้มีนักธรรมที่เป็นพระภิกษุ ๑๐ รูป สามเณร ๓ รูป นอกจากนี้ยังได้ให้ทางราชการสร้างโรงเรียนประชาบาลสอนระดับประถมศึกษาและสถานีอนามัยขึ้นในที่วัดอีกด้วย
Read more »

วัดป่าเกด

191243

วัดป่าเกด ตั้งอยู่ที่บ้านป่าเกด ตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง

สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เดิมชื่อ “วัดถนนเกด” ตาเกดเป็นคนขุดถนนเข้าวัด

เป็นคนแรก บริเวณวัดมีต้นเกดขึ้นมากมาย ต่อมาจึงเรียกว่า “วัดป่าเกด”

สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒ ประมาณ พ.ศ.๒๓๖๐ ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๓

สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เป็นประธานร่วมกับกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์

วังหน้าในรัชกาลที่ ๒ ได้มาสร้างอุโบสถวัดป่าเกด หน้าบันเป็นรูปครุฑ

ลวดลายวิจิตรตระการตา สำหรับภาพจิตรกรรมฝาผนังนั้นเป็นฝีมือ

ช่างหลวง เรียกว่า “ช่างสิบหมู่” ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะ ดังนี้

อุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๓ สร้างขึ้นแทนหลังเก่า

สำหรับอุโบสถหลังเก่าใช้เป็นวิหารทรงโบราณ

หน้าบันเป็นนารายณ์ ทรงครุฑ มีจิตรกรรมเรื่องมารผจญ

พระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์และทศชาติ

กุฎีสงฆ์ เป็นอาคารเรือนไม้สักทรงโบราณ หอสวดมนต์

ศาลาการเปรียญ สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถปางมารวิชัย

และพระอัครสาวกเจดีย์ ๒ องค์ อยู่ที่ด้านตะวันออกของวัด

ขอขอบคุณ http://www.m-culture.in.th/

วัดป่าเกด จ.สมุทรปราการ

ดาวน์โหลด

วัดป่าเกด สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ความงดงามและความโด่ดเด่น ที่สุดของพระอุโบสถหลังเก่า คือ หน้าบันไม่แกะสลักรูปนารายณ์ทรงครุฑและลายเครือเถา ส่วนด้นหน้าและด้านหลังมีเสาเหลี่ยมปลายสอบขนาดใหญ่ ภายในมีภาพจิตกรรมฝาผนังฝีมือช่างหลวง สมัยรัชกาลที่ 3

ต่อมาในสมัย พ.ศ. 2510 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวัดแห่งนี้เป็นโบราณสถานของชาติ และกำลังอยู่ในระหว่างการบูรณะให้กลับมางดงาม เป็นศาสนสถานที่ชาวชุมชนภาคภูมิใจ

Wat Pa Ket

Wat Pa Ket was built during the reign of King Rama III. The most beautiful and outstanding feature of the old assembly hall is the wood carving on its gable. The carving depicts Hindu god narayana mounting a Garuda who is seizing Naga, surounded by liana patterns. There are tapering square pillars both in front of and behind the building . Murals inside the hall were painted by royal artisans of the King Rama III’s court.

The Fine Arts Department declared the temple a historic site in 1967 and its dilapidated assembly hall is now under renovation.

ขอขอบคุณ http://samutprakan.mots.go.th/

วัดป่าเกด

23002_fd96062519708267245acf7c07d420ee-620x392

ตั้งอยู่เลขที่ 24 หมู่ 3 ถนนเพชรหึงษ์ ตำบลทรงคนอง มีพระอุโบสถเก่าแก่ที่สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ในสมัยรัชกาลที่ 3 หน้าบันพระอุโบสถทำด้วยไม้แกะสลักรูปพระนารายณ์ทรงครุฑยุดนาค ล้อมรอบด้วยลายเครือเถาอันอ่อนช้อยงดงาม

การเดินทาง จากวัดทรงธรรมไปตามถนนเพชรหึงษ์ประมาณ 3 กิโลเมตร วัดป่าเกดจะอยู่ริมถนนด้านขวามือ

ขอขอบคุณ http://www.hotsia.com/

วัดป่าเกด สมุทรปราการ

วัดป่าเกด ตั้งอยู่เลขที่ 24 หมู่ที่ 3 ถนนเพชรหึงษ์ ตำบลทรงคะนอง มีพระอุโบสถเก่าแก่ที่สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ในสมัยรัชการที่ 3 หน้าบันพระอุโบสถทำด้วยไม้แกะสลักรูปพระนารายณ์ทรงครุฑยุดนาค ล้อมรอบด้วยลายเครือเถาอันอ่อนช้อยงดงาม ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร 0 2461 0733, 0 2461 0094

การเดินทางจากวัดทรงธรรมวรวิหาร ไปตามถนนเพชรหิงษ์ประมาณ 3 กิโลเมตร จะพบวัดป่าเกดอยู่ริมถนนด้านขวามือ การเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทางปรับอากาศและธรรมดา ขสมก. สาย 82, 138 และรถร่วมบริการ สาย 6 ไปลงตลาดพระประแดงแล้วต่อรถประจำทางสายพระประแดง-บางกอบัว

ขอขอบคุณ http://www.touronthai.com/

สิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรปราการ

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรปราการ ได้มีพิธีฝังหลักเมือง เมื่อปี พงศ.๒๓๖๒ ศาลหลักเมืองเดิม เป็นอาคารทรงไทย ต่อมาได้ชำรุดทรุดโทรม จึงได้มีการเปลี่ยนรูปแบบจากเดิม มาเป็นแบบศาลเจ้าพ่อของจีน เจ้าพ่อในศาลหลักเมืองเป็นรูปปั้น ขุนนางจีนโบราณในเครื่องแต่งกายเต็มยศ
เสาหลักเมือง อยู่ทางเบื้องซ้ายของเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นไม้กลึงกลมสูงประมาณ หกศอกเศษ ยอดเสากลึงเป็นดุม ลดหลั่น ยอดเป็นพุ่มแหลมเป็นอย่างไทย แต่มีการแกะสลักเป็นมังกรพันเสาหลักเมืองขึ้นไป

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดง ทำพิธีฝังอาถรรพ์หลักเมือง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๘ ปัจจุบันศาลนี้มีผู้ดูแลเป็นชาวจีน บรรยากาศจึงเป็นแบบจีน ไม่มีความเป็นมอญเหลืออยู่ มีแต่เพียงรูปบูชา เป็นรูปพระพิฆเนศ ซึ่งคงจะให้สอดคล้องกับนามของพระยาเจ่ง ที่แปลว่า ช้าง

ศาลพระเสื้อเมือง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของทางเข้าตลาดสดพระประแดง ภายในศาลมีพระพุทธรูปปางห้ามญาติประดิษฐานอยู่ เดิมศาลแห่งนี้เคยใช้เป็นที่สาบานตน และปฏิญาณตนของทหารในกองทัพเรือที่ ๓ ต่อมามีการรื้อป้อมที่อยู่รอบ ๆ ออกไป
ต่อมาศาลพระเสื้อเมืองชำรุดไปมากจึงได้มีการเรี่ยไรเงินทางงภาคเอกชนร่วมกับทางราชการ สร้างศาลขึ้นมาใหม่ตามแบบของกรมศิลปากร

Read more »

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง อำเภอพระประแดง สมุทรปราการ

gp51f55e6e7742e

เป็นหลักเมืองเก่าของอำเภอพระประแดง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่ง ซึ่งชาวเมืองเคารพนับถือมาก

รายละเอียด :
ศาลหลักเมืองของอำเภอพระประแดง มีขึ้นตั้งแต่ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าให้สร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในปี พ.ศ. 2358 โดยสร้างเป็นศาลประจำเมือง พร้อมทั้งกระทำพิธีฝังอาถรรพ์เสาหลักเมือง เมื่อวันศุกร์ เดือน 7 แรม 10 ค่ำ ปีกุล พ.ศ. 2358

ตั้งอยู่ที่ตำบลตลาด อำเภอพระประแดง สมุทรปราการ เป็นหลักเมืองเก่าของอำเภอพระประแดง ในสมัยเมื่ออำเภอนี้มีฐานะเป็นเมือง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งซึ่งชาวเมืองเคารพนับถือมาก

ปัจจุบันศาลหลักเมืองนี้ อยู่ติดกับที่ว่าการอำเภอ พระประแดง ภายในมีรูปหล่อพระพิฆเนศวร เป็นที่สักการะของประชาชนทั่วไป คนจีนได้เข้ามาดูแลศาลหลักเมืองแห่งนี้เมื่อใดไม่ปรากฏ ดังนั้นสภาพสิ่งก่อสร้างและบรรยากาศของศาลหลักเมืองจึงเป็นแบบจีน จนแทบไม่เหลือเค้าเดิม

Read more »

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ศาลพระเสื้อเมือง ศาลพระเสื้อเมือง

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง  อำเภอพระประแดง จ.สมุทรปราการ

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
อยู่ที่ตำบลตลาด สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2356 เป็นหลักเมืองเก่าของอำเภอพระประแดง ในสมัยเมื่ออำเภอนี้มีฐานะเป็นเมือง ชาวบ้านถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญแห่งหนึ่งซึ่งชาวเมืองเคารพนับถือมาก หลักเมืองนี้มีลักษณะพิเศษ คือ มีรูปของพระพิฆเนศวร์สถิตอยู่เหนือเสา

smp05

ศาลพระเสื้อเมือง  อำเภอพระประแดง จ.สมุทรปราการ

ศาลพระเสื้อเมือง อยู่ที่ตำบลตลาด สร้างขึ้นพร้อมกับเมืองพระประแดง ชาวบ้านนับถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เคารพบูชากันมาก

ศาลเจ้ามูลนิธิธรรมกตัญญู (เสียนหลอไต้เทียนกง) อำเภอเมือง จ.สมุทรปราการ

ศาลเจ้ามูลนิธิธรรมกตัญญู (เสียนหลอไต้เทียนกง) ตั้งอยู่เลขที่ 5 หมู่ 7 ถนนสุขุมวิท ต.บางปูใหม่ อ.เมือง เป็นศาลเจ้าที่สวยงาม สถาปัตยกรรมเพียบพร้อมไปด้วย ศิลปะ วัฒนธรรมของชาวจีนโบราณ ฝีมือแกะสลักหินอันปราณ๊ต เป็นที่ประดิษฐานเทพเจ้าขุนศึกที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวไต้หวัน 5 องค์ คือ เทพเจ้าตระกูลหลี่ เทพเจ้าตระกูลฉือ เทพเจ้าตระกูลอู่ เทพเจ้าตระกูลจู และเทพเจ้าตระกูลฟ่าน ซึ่งเรียกชื่อรวมกันว่า “อู๋ฟุ่เซียนส้วย” (โหวงหวังเอี้ย) ภายในบริเวณศาลเจ้าสามารถชมภาพแกะสลักหินเขียว เกี่ยวกับเทพนิยายจีน และตะเกียงไม้ชุบทองคำซึ่งตกแต่งอยุ่บนฝ้าเพดาน นอกจากนี้ยังมีศาลเจ้าแม่กวนอิมและเทพเจ้าองค์อื่นๆ เพื่อให้ประชาชนสักการะ เทพเจ้าตระกูลทั้ง 5 หรือ โหวงหวังเอี้ย เป็นยอดขุนพลที่มีความสุจริตมาก เป็นขุนนางที่จงรักภักดีสมัยราชวงศ์หมิงได้เสด็จเดินทางลงใต้จากมณฑลฮกเกี้ยน ถึงเกาะหนานคุนเซินประเทศไต้หวัน เป็นที่เลื่อมใสในหมู่ประฃาชน

Read more »

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง พระประแดง

เป็นหลักเมืองเก่าของอำเภอพระประแดง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่ง ซึ่งชาวเมืองเคารพนับถือมาก ”

gp51f558f809249

ศาลหลักเมืองของอำเภอพระประแดง มีขึ้นตั้งแต่ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าให้สร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในปี พ.ศ. 2358 โดยสร้างเป็นศาลประจำเมือง พร้อมทั้งกระทำพิธีฝังอาถรรพ์เสาหลักเมือง เมื่อวันศุกร์ เดือน 7 แรม 10 ค่ำ ปีกุล พ.ศ. 2358

ตั้งอยู่ที่ตำบลตลาด อำเภอพระประแดง สมุทรปราการ เป็นหลักเมืองเก่าของอำเภอพระประแดง ในสมัยเมื่ออำเภอนี้มีฐานะเป็นเมือง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งซึ่งชาวเมืองเคารพนับถือมาก

ปัจจุบันศาลหลักเมืองนี้ อยู่ติดกับที่ว่าการอำเภอ พระประแดง ภายในมีรูปหล่อพระพิฆเนศวร เป็นที่สักการะของประชาชนทั่วไป คนจีนได้เข้ามาดูแลศาลหลักเมืองแห่งนี้เมื่อใดไม่ปรากฏ ดังนั้นสภาพสิ่งก่อสร้างและบรรยากาศของศาลหลักเมืองจึงเป็นแบบจีน จนแทบไม่เหลือเค้าเดิม

Read more »

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง (The City Pillar Shrine at Phra Pradaeng City)-พระประแดง สมุทรปราการ Thailand

74332314

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง (The City Pillar Shrine at Phra Pradaeng City)-พระประแดง สมุทรปราการ Thailand)-เป็นหลักเมืองเก่าของอำเภอพระประแดง ในสมัยเมื่ออำเภอนี้ยังมีฐานะเป็นเมืองอยู่ ศาลหลักเมืองพระประแดงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองพระประแดงมาตั้งแต่เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ขึ้นเมื่อ วันศุกร์ เดือน 7 แรม 10 ค่ำ ปีกุล สัปตศก จุลศักราช 1177 ซึ่งตรงกับวันที่ ๒ มิถุนายน พุทธศักราช 2358 โดยทำพิธีฝังอาถรรพ์เสาหลักเมือง และอัญเชิญองค์พระพิฆเนศมาประดิษฐานบนเสาหลักเมือง พร้อมทั้งสร้างศาลประจำเมืองขึ้นตามโบราณราชประเพณี โดยมีลักษณะเป็นศาลเจ้าจีน..ในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดงนั้น มีขึ้นเมื่อในอดีต ตอนยามที่บ้านเมืองเกิดวิกฤตต่างๆ พวกชาวบ้าน พ่อค้าแม่ค้า ก็มักจะไปกราบไหว้ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเพื่อที่จะขอพรอยู่เสมอ ในบริเวณตลาดพระประแดงนั้น จะมีคนจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

ขอขอบคุณ http://www.panoramio.com/

ศาลพระคเณศ (เจ้าพ่อหลักเมือง) พระประแดง

IMG_0112

ศาลพระคเณศ หรือเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดง ตั้งอยู่ที่เทศบาลเมืองพระประแดง ต.ตลาด อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ มีหลักฐานปรากฏว่าสร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๕๘ โดยสร้างเป็นศาลประจำเมือง และได้ประกอบพิธีฝังอาถรรพ์เสาหลักเมือง เมื่อวันศุกร์ เดือน ๗ แรม ๑๐ ค่ำ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๕๘ นับว่าเป็นพระคเณศองค์เดียวที่มีฐานะเป็นหลักบ้านใจเมืองด้วย

ลักษณะของศาลในปัจุบัน (เนื่องจากศาลแห่งนี้มีการปรับปรุงและบูรณะหลายครั้ง) มีการผสมผสานศิลปะหลายวัฒนธรรม ทั้งไทย จีน และมอญ ที่สะท้อนให้เห็นจากลวดลายและสิ่งของที่ประดับตกแต่งศาล แต่ถ้าท่านที่เคยไปจะเห็นว่า ศาลแห่งนี้จะมีลักษณะที่ค่อนไปทางศาลเจ้าของจีน เพราะปัจจุบันผู้ดูแลศาลแห่งนี้เป็นชาวไทยเชื้อสายจีนนั่นเอง

พระคเณศประจำศาลหลักเมืองพระประแดงองค์นี้ ประดิษฐานอยู่ภายในบุษบกแบบไทย มีลักษณะเป็นพระคเณศศิลา มีสี่พระกร พระกรขวาบนถือตรีศูล พระกรซ้ายบนถือปาศะ (บ่วงบาศ) พระกรขวาล่างถืองา และพระกรซ้ายล่างถือถ้วยขนม ประทับนั่งบนฐานบัวหงาย โดยพระคเณศองค์นี้งดงามด้วยความเรียบง่าย เนื่องจากที่องค์เทวรูปแทบจะไม่มีลวดลายเครื่องประดับใดๆ แม้กระทั่งเครื่องศิราภรณ์.

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดง ได้รับยกย่องให้เป็นศาลพระคเณศที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย และหลายท่านอาจสงสัยว่า ทำไมพระคเณศองค์ดังกล่าวจึงมีฐานะและได้รับการนับถือให้เป็นเจ้าพ่อหลักเมือง ทั้งๆทีเวลาที่เราไปศาลแห่งนี้ จึงไม่เห็นเสาหลักเมืองเหมือนกับศาลหลักเมืองแห่งอื่นๆ เรื่องนี้ในความเป็นจริงแล้วองค์พระคเณศที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งของเสาหลักเมือง โดยตัวเสาจริงๆนั้นอยู่ลึกลงไปทางด้านล่างของศาล มีลักษณะเป็นเสาก่ออิฐถือปูนทรงสี่เหลี่มจตุรัส และทาด้วยสีแดง จึงอาจอนุมานได้ว่า พระคเณศองค์นี้ก็คือส่วนหนึ่งของเสาหลักเมืองพระประแดงนั่นเอง ซึ่งน้อยคนจะมีโอกาสได้ลงไปถึงด้านล่างอันเป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองของพระประแดงจริงๆ

Read more »

ศาลหลักเมืองพระประแดง ศาลพระพิฆเนศที่เก่าที่สุดในประเทศไทย

ประวัติความเป็นมา
ศาลหลักเมืองของอำเภอพระประแดง มีขึ้นตั้งแต่ครั้งที่ พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าให้สร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในปี พ.ศ. 2358 โดยสร้างเป็นศาลประจำเมือง พร้อมทั้งกระทำพิธีฝังอาถรรพ์เสาหลักเมือง เมื่อวันศุกร์ เดือน 7 แรม 10 ค่ำ ปีกุล พ.ศ. 2358 นั่นเอง

ปัจจุบันศาลประจำเมือง หรือศาลหลักเมืองนี้ อยู่ติดกับที่ว่าการอำเภอ พระประแดง ภายในมีรูปหล่อพระพิฆเนศร์ เป็นที่สักการะของประชาชนทั่วไป คนจีนได้เข้ามาดูแลศาลหลักเมืองแห่งนี้เมื่อใดไม่ปรากฏ ดังนั้น สภาพสิ่งก่อสร้างและบรรยากาศของศาลหลักเมืองจึงเป็นแบบจีน จนแทบไม่เหลือเค้าเดิม

สิ่งที่น่าสนใจศึกษาและเรียนรู้
ตามโบราณราชประเพณี ในการสร้างเมืองมักจะมีการสร้างศาลหลักเมืองไว้เป็นศาลกลางของบ้านเมือง ดังนั้นศาลหลักเมืองจะถือเป็นศูนย์กลางทางจิตใจของบ้านของเมือง ซึ่งเมืองที่จะมีศาลหลักเมือง มักจะเป็นเมืองที่มีอายุเก่าแก่ และจัดตั้งตามโบราณราชประเพณี ดังนั้นศาลหลักเมืองของเมืองนครเขื่อนขันธ์ หรืออำเภอพระประแดง จึงสะท้อนให้เห็นว่าเมืองนี้ เป็นเมืองที่เก่าแก่ และได้จัดตั้งตามโบราณราชประเพณี

ขอขอบคุณ http://www.hindumeeting.com/

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สมุทรปราการ

อยู่ที่ตำบลตลาด อำเภอพระประแดง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2356 เป็นหลักเมืองเก่าของอำเภอพระประแดง ในสมัยเมื่ออำเภอนี้มีฐานะเป็นเมือง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งซึ่งชาวเมืองเคารพนับถือมาก

gp51f55f62020e4

พระพิฆเนศวร
ลักษณะของศาลในปัจุบัน (เนื่องจากศาลแห่งนี้มีการปรับปรุงและบูรณะหลายครั้ง) มีการผสมผสานศิลปะหลายวัฒนธรรม ทั้งไทย จีน และมอญ ที่สะท้อนให้เห็นจากลวดลายและสิ่งของที่ประดับตกแต่งศาล แต่ถ้าท่านที่เคยไปจะเห็นว่า ศาลแห่งนี้จะมีลักษณะที่ค่อนไปทางศาลเจ้าของจีน เพราะปัจจุบันผู้ดูแลศาลแห่งนี้เป็นชาวไทยเชื้อสายจีนนั่นเอง

ขอขอบคุณ http://www.thai-tour.com/

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นหลักเมืองเก่าของอำเภอพระประแดง ในสมัยเมื่ออำเภอนี้มีฐานะเป็นเมือง ชาวบ้านถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญแห่งหนึ่ง ซึ่งชาวเมืองเคารพนับถือมาก หลักเมืองนี้มีลักษณะพิเศษ คือ มีรูปของพระพิฆเนศวร์สถิตอยู่เหนือเสา

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สมุทรปราการ

Phra-Pradaeng-City-pillar-shrine3

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง อยู่ที่ตำบลตลาด สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2356 เป็นหลักเมืองเก่าของอำเภอพระประแดง ในสมัยเมื่ออำเภอนี้มีฐานะเป็นเมือง ชาวบ้านถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญแห่งหนึ่ง ซึ่งชาวเมืองเคารพนับถือมาก หลักเมืองนี้มีลักษณะพิเศษ คือ มีรูปของพระพิฆเนศวร์สถิตอยู่เหนือเสา

ขอขอบคุณ http://www.hoteldirect.in.th/

ศาลพระพิฆเนศที่เก่าที่สุดในประเทศไทย ยุคสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์

The-City-Pillar-Shrine-at-Phra-Pradaeng-City-01

ศาลหลักเมืองพระประแดงสร้างขึ้นหลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 สร้างป้อมปราการเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในปี พ.ศ.2358 ต่อมามีลักษณะเป็นศาลเจ้าแบบจีนผสมกับไทยและมอญ ตามหลักฐานไม่ปรากฏว่าคนจีนได้เข้ามาดูแลศาลหลักเมืองนี้เมื่อใด ภายในมีรูปหล่อพระพิฆเนศ นับว่าเป็นพระพิฆเนศองค์เดียวที่เป็นส่วนหนึ่งของเสาหลักเมือง โดยตัวเสาจริงๆนั้นอยู่ลึกลงไปทางด้านล่างของศาล บุคคลทั่วไปไม่มีโอกาสได้ลงไปถึงด้านล่างอันเป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองของพระประแดงจริงๆ ด้วยโบราณราชประเพณีแล้วเมืองที่จะมีศาลหลักเมืองมักจะเป็นเมืองที่มีอายุเก่าแก่ และศาลหลักเมืองจะถือเป็นศูนย์กลางทางจิตใจของบ้านของเมือง ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดงจึงได้รับยกย่องให้เป็นศาลพระพิฆเนศที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

พระพิฆเนศประจำศาลหลักเมืองพระประแดงองค์นี้ ประดิษฐานอยู่ภายในบุษบกแบบไทย มีลักษณะเป็นพระพิฆเนศศิลา มีสี่พระกร พระกรขวาบนถือตรีศูล พระกรซ้ายบนถือปาศะ (บ่วงบาศ) พระกรขวาล่างถืองา และพระกรซ้ายล่างถือถ้วยขนม ประทับนั่งบนฐานบัวหงาย โดยพระคเณศองค์นี้งดงามด้วยความเรียบง่าย เนื่องจากที่องค์เทวรูปแทบจะไม่มีลวดลายเครื่องประดับใดๆ แม้กระทั่งเครื่องศิราภรณ์

ขอขอบคุณ http://www.zthailand.com/

. . . . . . .
. . . . . . .