Archive for the ‘วัดในกำแพงเพชร’ Category

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มีพื้นที่ทั้งสิ้น ๓.๔ ตารางกิโลเมตร มีโบราณสถานกว่า ๖๐ แห่ง โดยแบ่งออกเป็น ๒ พื้นที่ มีโบราณสถานที่สำคัญ ดังนี้

_Oa3Pa3aA

โบราณสถานภายในกำแพงเมือง

วัดพระแก้ว
ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองกำแพงเพชร มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตอนหน้าสุดเป็นอุโบสถตั้งอยู่บนฐานไพทีขนาดสูงใหญ่ ถัดจากฐานไพทีใหญ่ ไปทางทิศตะวันตกเป็นเจดีย์ประธานทรงระฆังขนาดใหญ่ ฐานล่างประดับสิงห์ปูนปั้นอยู่ภายในซุ้มรายรอบจำนวน ๓๒ ซุ้ม ถัดขึ้นมาทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นจำนวน ๑๖ ซุ้ม

วิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ ปางมารวิชัย ๒ องค์ และปางไสยาสน์ ๑ องค์ ลักษณะพระพักตร์ของพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ ค่อนข้างเป็นเหลี่ยม พระขนงต่อกันคล้ายกับรูปปีกกา พระเนตรเรียวเล็กปลายแหลมขึ้น มีผู้เสนอว่าพระพุทธรูปดังกล่าวเป็นแบบศิลปะอู่ทองหรืออยุธยาตอนต้น

ตอนหลังสุดของวัดมีเจดีย์ทรงระฆังฐานสี่เหลี่ยม ประดับช้างปูนปั้นโดยรอบจำนวน ๓๒ เชือก และด้านหน้าของเจดีย์ทรงระฆังช้างล้อม มีร่องรอยพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่ภายในซุ้ม ปัจจุบันเหลือเฉพาะส่วนพระบาททั้ง ๒ ข้าง สันนิษฐานว่าคือ พระอัฏฐารศ ที่นิยมสร้างในสมัยสุโขทัย

วัดพระแก้วน่าจะเป็นสถานที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต เมื่อครั้งอัญเชิญมาประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชร ตามที่ตำนานพระพุทธสิหิงค์และชินกาลมาลีปกรณ์ได้กล่าวถึง

วัดพระธาตุสิ่งก่อสร้างสำคัญคือ เจดีย์ประธานทรงระฆังก่ออิฐสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ มีระเบียงคดรูปสี่เหลี่ยม-ผืนผ้าล้อมรอบเจดีย์ประธานระเบียง คดจะเชื่อมต่อกับฐานวิหาร ส่วนท้ายหรือหลังของวิหารล้ำเข้ามาอยู่ในระเบียงคด ด้านหน้าฐานวิหารมีเจดีย์รายทรงระฆังก่อด้วยอิฐ ๒ องค์

Read more »

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

l29-118

๑. ที่ตั้ง

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองฯ จังหวัดกำแพงเพชร ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง แบ่งออก เป็น ๒ เขต คือ เขตภายในกำแพงเมืองมีพื้นที่ ๕๐๓ ไร่ และเขตนอกกำแพงเมืองหรือที่เรียกกันว่า เขตอรัญญิก ตั้งอยู่บนเขาลูกรังขนาดย่อม มีพื้นที่ ๑,๖๑๑ ไร่ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ ๓๕๘ กิโลเมตร

กรมศิลปากรได้กำหนดเขตพื้นที่โบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรไว้ ๒,๑๑๔ ไร่ หรือประมาณ ๓.๔ ตารางกิโลเมตร

๒. ความสำคัญทางประวัติศาสตร์

บริเวณที่ตั้งของจังหวัดกำแพงเพชรในปัจจุบัน ได้ค้นพบหลักฐานเมืองโบราณหลายเมือง คือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองนครชุม และเมืองชากังราว ความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ำปิง ได้ก่อให้เกิดการตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน โดยแต่ละเมืองอยู่ไม่ห่างกันมากนัก เมืองที่ตั้งขึ้นในตอนแรก น่าจะเป็นเมืองแปบ ซึ่งมีตำนานเล่าว่า เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ฝั่งเดียวกันกับเมืองนครชุม บริเวณตรงกันข้ามกับเมืองกำแพงเพชรในปัจจุบัน

จากหลักฐานจารึกหลักที่ ๓ (ศิลาจารึกนครชุม) พ.ศ. ๑๙๐๐ ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) เสด็จไปนมัสการพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ว่า “หากเอาพระศรีรัตนมหาธาตุอันนี้มาสถาปนาในเมืองนครชุม” เมืองนครชุมจึงน่าจะเป็นเมืองใหญ่ และมีความสำคัญในสมัยสุโขทัย แต่มาหมดอำนาจ และเป็นเมืองขนาดเล็ก ในสมัยอยุธยา ส่วนเมืองชากังราวยังคงมีอำนาจอยู่ในฝั่งตะวันออก และเรียกชื่อเมืองว่า เมืองกำแพงเพชร ในสมัยอยุธยา ภายหลังจากพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) สวรรคต (ประมาณ พ.ศ. ๑๙๑๑ – ๑๙๑๖) เมืองต่างๆ ในอาณาจักรสุโขทัยได้แตกแยกกัน บางเมืองหันมาเป็นพันธมิตรกับกรุงศรีอยุธยา ชื่อเมืองกำแพงเพชร ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๓๘ หรือจารึกกฎหมายลักษณะโจร กล่าวพระนามจักรพรรดิราชได้ขึ้นเสวยราชสมบัติ ที่เมืองกำแพงเพชรเมื่อ พ.ศ. ๑๙๔๐ เชื่อกันว่า กษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยาทรงต้องการให้ศูนย์กลางของอำนาจ ย้ายจากเมืองนครชุมเดิมมาอยู่ที่เมืองชากังราว หรือเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง ภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ เมืองกำแพงเพชรได้ถูกลดบทบาทลง และคงจะทิ้งร้างไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง
Read more »

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ( อ.ส.ท.)

050809_3_1

กำแพงเพชรเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในสมัยสุโขทัย สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 19-20 ปรากฏชื่อครั้งแรกในจารึกวัดมหาธาตุและจารึกวัดพระศรีสรรเพชญ์ ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเรียกเมืองกำแพงเพชรนี้ว่า “เมืองชากังราว” หรือ “ชาดงราวกำแพงเพชร” มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงและเมืองพญามหานครของสุโขทัย

โบราณสถานที่น่าสนใจ

ฝั่งตะวันออก ในเขตกำแพงเมือง

วัดพระแก้ว อยู่กลางเมืองกำแพงเพชรเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มโบราณสถานมรดกโลกบริเวณวัดประกอบด้วยเจดีย์ประธานที่ฐานมีสิงห์ล้อม เจดีย์ทรงกลมที่ฐานมีช้างรอบ วิหารมณฑป อุโบสถ และเจดีย์ราย ทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง

วัดพระธาตุ ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของวัดพระแก้ว มีเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมเป็นประธานล้อมรอบด้วยระเบียงคดที่เชื่ยมต่อกับวิหารด้านทิศตะวันออก ข้างวิหารทั้ง 2 ด้าน มีเจดีย์รายอยู่ข้างละ 1 องค์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบ

กำแพงเมืองกำแพงเพชร เป็นกำแพงชั้นเดียวสร้างเป็นเชิงเทิน มี 2 ตอน ตอนล่างเป็นเนินดินสูงประมาณ 4 เมตร ตอนบนก่อด้วยศิลาแลงเป็นเชิงเทิน มีใบเสมาและเจาะตรงกลางไว้สำหรับมองข้าศึก

Read more »

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มรดกวัฒนธรรม

กำแพงเพชร เป็นเมืองผ่านในเส้นทางขึ้นสู่ภาคเหนือตอนบน หลายคนขับรถผ่านไปไม่คิดจะแวะเข้าเมืองกำแพง ทั้งที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ และสมบูรณ์สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของไทย นั่นคือโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

โบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร นับเป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นแห่งหนึ่งของเมืองไทย มีหลักฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท แห่งอาณาจักรสุโขทัย ร่วมสมัยกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและอุทยานศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

กรมศิลปากรได้ดำเนินการเปิดอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรอย่างเป็นทางการ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ.2534 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ เป็นประธาน

อุทยานประวัติศาสตร์แห่งกำแพงเพชร เป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ ทั้งในด้านการใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุก่อสร้าง รูปแบบทางศิลปกรรมเป็นของแท้ดั้งเดิมที่แสดงถึงฝีมือและความเชื่อของบรรพชน ในอดีต ตลอดจนโบราณสถานรวมกลุ่มหนาแน่นในบริเวณป่าธรรมชาติ ซึ่งยังคงบรรยากาศพุทธสถานเขตอรัญวาสีดังเช่นในอดีต

ทั้งนี้มีโครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ซึ่งมุ่งเน้นการอนุรักษ์และพัฒนากลุ่มโบราณสถานทั้งภายในเมืองเนื้อที่ 503 ไร่และเขตอรัญญิก เนื้อที่ 1,611 ไร่ เพื่อป้องกันมิให้ถูกทำลายหรือทำให้เสื่อมค่า พัฒนาโบราณสถานและบริเวณเพื่อให้เป็นแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม เกิดความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ของชาติ

มิใช่เพียงความภูมิใจของคนไทยเท่านั้น คณะกรรมการมรดกโลก แห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก ยังได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานของจังหวัดกำแพงเพชร เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่เมืองคาร์เธจ ประเทศตูนีเซีย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2534 นับเป็นมรดกโลกตามบัญชีในลำดับที่ 574 ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและอุทยานศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

Read more »

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

01

สถานที่ตั้ง ตำบลในเมือง และตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

สิ่งดึงดูดใจ
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ให้เป็น เมืองมรดกโลก ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและศรีสัชนาลัย สิ่งที่น่าสนใจแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือ
บริเวณภายในกำแพงเมืองเก่า มีโบราณสถานและสิ่งที่น่าสนใจคือ วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ กำแพงเมืองและป้อม ศาลพระอิศวร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์เมืองกำแพงเพชร
บริเวณนอกกำแพงเมืองเก่า เรียกกันว่าเขตอรัญญิก มีโบราณสถานทางศาสนาขนาดใหญ่และสวยงามน่าสนใจจำนวนมาก ที่สำคัญได้แก่ วัดช้างรอบ วัดพระสี่อิริยาบถ วัดอาวาสใหญ่ วัดนาคเจ็ดเศียร วัดพระนอนซึ่งมีเสาพระวิหารเป็นเสาศิลาแลงที่ใหญ่ที่สุดในโลก บ่อศิลาแลง เป็นต้น

สิ่งอำนวยความสะดวกในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
๑. ศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่บริเวณหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
๒. ศาลาพักผ่อนอิริยาบถ
๓. เส้นทางคมนาคมเชื่อมระหว่างสถานที่สำคัญ และหนทางเข้า-ออก อุทยานประวัติศาสตร์เป็นถนนลาดยางทั้งหมด

Read more »

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

ประวัติ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานเปิดอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2534 โบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเป็นงามสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นด้านการใช้วัสดุศิลาแลงเป็นวัสดุก่อสร้าง รูปแบบทางศิลปกรรมแสดงถึงฝีมือและความเชื่อของบรรพชนในอดีต คณะกรรมการมรดกโลกได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปี พ.ศ. 2534

รายละเอียดการให้บริการ
กลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ ส่วนมากเป็นศาสนสถาน เช่น วัดพระแก้ว วัดพระสี่อิริยาบถ วัดช้างล้อม ซึ่งพบเทคโนโลยีการสร้างสมัยโบราณ เช่น การใช้เสาศิลาแลงเป็นเสาค้ำอาคาร โดยเสาแต่ละต้นถูกสกัดขึ้นมาจากศิลาแลงใต้ดิน มีน้ำหนักต้นละไม่ต่ำกว่า 30 ตัน

เวลาทำการ
ทุกวัน เสียค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 40 บาท

Read more »

เที่ยววัดพระสี่อิริยาบถ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

e0b894e0b8b2e0b8a7e0b899e0b98ce0b982e0b8abe0b8a5e0b894-11

วัดพระสี่อิริยาบถเป็นวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่งตั้งอยู่ในบริเวณอรัญญิก แผนผังของวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก สิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ภายในบริเวณวัดก่อด้วยศิลาแลง มีอิฐปนอยู่บ้างเล็กน้อย รอบ ๆ บริเวณวัดมีคูน้ำซึ่งเกิดจากการขุดตัดศิลาแลงไปใช้ในการก่อสร้าง ภายในวัดแบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตพุทธาวาสและสังฆาวาส สิ่งก่อสร้างที่สำคัญของวัดนี้นั้นอยู่ในเขตพุทธาวาสคือ วิหาร เจดีย์รายประจำมุมและมณฑป ซึ่งการวางโครงสร้างของวัดก็ยังคงมีผังที่เรียบง่ายซึ่งเป็นผังวัดที่พบได้ในศิลปะสุโขทัย

วิหารของวัดนี้ตั้งอยู่ด้านหน้าของมณฑป หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ก่อด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่บนฐานทักษิณขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นฐานที่ประดับด้วยบัวลูกแก้วอกไก่และมีการย่อมุม ผนังด้านข้างฐานทักษิณทำเป็นลูกกรงเตี้ย ๆ เลียนแบบเครื่องไม้ บนลานประทักษิณมีวิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งมีขนาด 7 ห้อง ภายในมีแท่นอาสนะสงฆ์และฐานชุกชี ซึ่งมีร่องรอยพระพุทธรูปประธานปูนปั้นประทับนั่ง

เจดีย์รายประจำมุมตั้งอยู่ประจำมุมกำแพงแก้ว สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นพร้อมกับมณฑปและวิหาร เพราะอยู่ในตำแหน่งที่สมมาตรกัน เจดีย์ราย 2 องค์หน้าเป็นเจดีย์ทรงปราสาท ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากสายวิวัฒนาการจากศิลปะพุกาม กล่าวคือส่วนเรือนธาตุมีคูหาประดิษฐานพระพุทธรูป ส่วนยอดเป็นเจดีย์ทรงระฆัง นอกจากนี้ยังมีลักษณะสำคัญคือ มีบัวปากระฆังเป็นบัวคว่ำบัวหงาย มีลายกลีบบัวขนาดใหญ่ที่มีอิทธิพลของศิลปะปาละ ส่วนเจดีย์ 2 องค์หลังเป็นเจดีย์แปดเหลี่ยม

Read more »

ประวัติความเป็นมาของ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

e0b894e0b8b2e0b8a7e0b899e0b98ce0b982e0b8abe0b8a5e0b894-11

กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการคุ้มครองและดูแลโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรและเมือนครชุม และได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อ พ.ศ. 2478 และ พ.ศ. 2480 โดยในปี พ.ศ. 2508 ได้เริ่มดำเนินการในส่วนของการขุดแต่ง บูรณะ และพัฒนาโบราณสถาน เป็นครั้งแรก และในปี พ.ศ. 2511 ได้ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งหนึ่ง

จนปี พ.ศ. 2525 กรมศิลปากรได้บรรจุงานปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (2525 – 2529) ภายใต้ชื่อโครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มุ่งเน้นการอนุรักษ์และพัฒนากลุ่มโบราณสถานทั้งภายในเมืองเนื้อที่ 503 ไร่ และเขตอรัญญิก เนื้อที่ 1,611 ไร่ เพื่อป้องกันมิให้ถูกทำลายหรือเสื่อมค่า พัฒนาโบราณสถาน และบริเวณเพื่อให้เป็นแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม เกิดความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ของชาติ
เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2524 กรมศิลปากรได้ดำเนินการเปิดอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรอย่างเป็นทางการ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จเป็นองค์ประธาน

Read more »

อุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร อำเภอเมือง จ.กำแพงเพชร

32_533

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรได้รับการประกาศให้เป็น “มรดกโลก” ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ต่รูปแบบศิลปะที่ปรากฏมีลักษณะร่วมสมัยระหว่างสุโขทัยและอยุธยา นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานนอกเมืองกำแพงเพชร หรือเขตอรัญญิก ซึ่งเป็นที่อยู่ของสงฆ์ที่มุ่งในการปฎิบัติวิปัสสนาธรรม

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรแบ่งออกเป็น โบราณสถานฝั่งตะวันออก และฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง ซึ่งใช้วัสดุก่อสร้างที่แตกต่างกัน ด้านตะวันออกของแม่น้ำปิง เป็นที่ตั้งเมืองกำแพงเพชร โบราณสถานจะสร้างด้วยศิลาแลงและมีขนาดใหญ่ ส่วนโบราณสถานฝั่งตะวันตกคือเมืองนครชุมก่อสร้างด้วยอิฐและมีขนาดเล็ก แต่รูปแบบศิลปะที่ปรากฏมีลักษณะร่วมสมัยระหว่างสุโขทัยและอยุธยา นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานนอกเมืองกำแพงเพชร หรือเขตอรัญญิก ซึ่งเป็นที่อยู่ของสงฆ์ที่มุ่งในการปฎิบัติวิปัสสนาธรรม อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะทาง 2 กิโลเมตร

Read more »

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

1. ที่ตั้ง
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง มีพื้นที่ประมาณ 3.4 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 เขต คือ เขตภายในกำแพงเมือง พื้นที่ 503 ไร่ และเขตนอกกำแพงเมืองหรือที่เรียกกันว่าเขตอรัญญิก พื้นที่ 1,611 ไร่ ตั้งอยู่บนเขาลูกรังขนาดย่อม โบราณสถานทั้ง 2 กลุ่ม ตั้งอยู่ในพื้นที่ตั้งของตัวจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ ประมาณ 358 กิโลเมตร
กรมศิลปากรได้กำหนดเขตที่ดินโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ประมาณ 2,114 ไร่

2. ความสำคัญทางประวัติศาสตร์
ในบริเวณที่ตั้งจังหวัดกำแพงเพชรปัจจุบันได้ค้นพบหลักฐานเมืองโบราณในลุ่มแม่น้ำปิง คือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมือง
ไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองนครชุม และเมืองชากังราว เพราะความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ำปิง ทำให้เกิดการตั้งบ้านเมืองทำมาหากิน
ซึ่งแต่ละเมืองอยู่ไม่ห่างกันมากนัก เมืองที่ตั้งในยุคแรก ๆ น่าจะเป็นเมืองแปบที่มีตำนานเล่าว่าเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ฝั่งนครชุม บริเวณ
ตรงกันข้ามกับเมืองกำแพงเพชรในปัจจุบัน

จากหลักฐานจารึกหลักที่ 3 (ศิลาจารึกนครชุม) พ.ศ. 1900 กล่าวถึงเหตุการณ์ที่ พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) เสด็จไป
พระบรมธาตุ เมืองนครชุมว่า “หากเอาพระศรีรัตนมหาธาตุอันนี้มาสถาปนาในเมืองนครชุม” เมืองนครชุมน่าจะเป็นเมืองใหญ่และมี
ความสำคัญในสมัยสุโขทัย แต่มาหมดอำนาจและเป็นเมืองเล็กๆ ในสมัยอยุธยา ส่วนเมืองชากังราวยังคงมีอำนาจอยู่ในฝั่งตะวันออก
และเรียกชื่อเมืองว่า กำแพงเพชรในสมัยอยุธยา เพราะหลังจากพระมหาธรรมราชาลิไทสวรรคต (พ.ศ. 1913 – 1914) เมืองต่าง ๆ
Read more »

จังหวัดกำแพงเพชร (Kamphaengphet) อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร (Kamphaeng Phet Historical Park)

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ประวัติความเป็นมา :
จังหวัดกำแพงเพชร เป็นที่ตั้งของเมืองเก่าที่ปรากฏหลักฐานอยู่ในประวัติศาสตร์ไทยไม่น้อยกว่า 700 ปี เคยเป็นเมืองเก่าที่นับว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมือง เช่น เมืองชากังราว นครชุม ไตรตรึงษ์ เทพนคร และ เมืองคณฑี นอกจากนี้เมืองกำแพงเพชรยังเป็นเมืองที่สองที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ครองเมือง มีบรรดา ศักดิ์เป็น ” พระยาวชิรปราการ” ต่อมาในปี พ.ศ. 2459 ได้เปลี่ยนเมืองกำแพงเพชรเป็นจังหวัดกำแพง เพชร

ตามประวัติศาสตร์ กล่าวว่า กำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านของสุโขทัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง เดิมเรียกชื่อว่า “เมืองชากังราว” และมีเมืองบริวารรายล้อมอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ไตรตรึงษ์ เทพนคร ฯลฯ การที่กำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านรับศึกสงครามในอดีตอยู่เสมอ จึงเป็นเมืองยุทธ
ศาสตร์มีหลักฐานที่แสดงให้เห็น ว่าเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย เช่น กำแพงเมือง คูเมือง ป้อมปราการ วัดโบราณ มีหลักฐานให้สันนิษฐานว่าเดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมือง 2 เมือง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ว่าเมืองหนึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตก มีพระมหาธาตุอยู่ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นเมืองเดิมที่เรียกชื่อว่า “ชากังราว” พระเจ้าเลอไท กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์สุโขทัย เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.1890 ต่อมามีการสร้างอีกเมืองหนึ่งทางฝั่งตะวันตกเช่นกัน เมืองนี้ปรากฏชื่อในจารึกของพระมหาธรรมราชาลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นว่า เมืองนครชุม เป็นเมืองที่มีวัดวาอารามใหญ่โตหลายวัด เป็นฝีมือสร้างครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีอยู่หลายวัด ต่อมาเกิดเกาะขึ้นตรงกลางหน้าเมืองนครชุม สายน้ำเปลี่ยนทางเดินไปทางทิศตะวันตก ทำให้เมืองนครชุมเป็นเมืองดอน จึงได้ย้ามมาสร้างเมืองใหม่ทางฝั่งตะวันออกตรงข้ามกัน เมืองที่สร้างใหม่นี้มีป้อมกำแพงมั่นคงแข็งแรงไว้ต่อสู้ข้าศึก มีลำน้ำทั้งเก่าและใหม่เป็นคูเมือง คงเห็นว่าเป็นเขื่อนขันธ์ที่มั่นคง จึงให้ชื่อว่า เมืองกำแพงเพชร

Read more »

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

k_histrical01

ทางเข้าตั้งอยู่นอกเมืองกำแพงเพชรไปประมาณ 5 กิโลเมตร ตามถนนสายกำแพงเพชร – พรานกระต่าย แล้วเลี้ยวซ้ายตรงกิโลเมตรที่ 360 อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรแบ่งออกเป็นโบราณสถานฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง ซึ่งใช้วัสดุก่อสร้างที่แตกต่างกัน ด้านตะวันออกของแม่น้ำปิงเป็นที่ตั้งเมืองกำแพงเพชร โบราณสถานจะสร้างด้วยศิลาแลงและมีขนาดใหญ่ ส่วนโบราณสถานฝั่งตะวันตกคือเมืองนครชุมก่อสร้างด้วยอิฐและมีขนาดเล็ก แต่รูปแบบศิลปะที่ปรากฏมีลักษณะร่วมสมัยระหว่างสุโขทัยและอยุธยา นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานนอกเมืองกำแพงเพชร หรือเขตอรัญญิก ซึ่งเป็นที่อยู่ของสงฆ์ที่มุ่งในการปฎิบัติวิปัสสนาธรรม อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะทาง 2 กิโลเมตร

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรได้รับการประกาศให้เป็น “มรดกโลก” ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2534 ผู้สนใจเข้าชมได้ทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น ค่าเข้าชมชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 40 บาท สำหรับผู้ที่จะนำรถเข้าชมในบริเวณอุทยานจะต้องเสียค่าผ่านประตูคันละ 50 บาท รายละเอียดติดต่อ โทร. 0 5571 1921, 0 5571 2528

Read more »

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ได้รับการประกาศให้เป็น “มรดกโลก” ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๓๔

ผู้สนใจเข้าชมได้ทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น ค่าเข้าชมชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๔๐ บาท สำหรับผู้ที่จะนำรถเข้าชมในบริเวณอุทยานจะต้องเสียค่าผ่านประตูคันละ ๕๐ บาท รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ โทร ๐ ๕๕๗๑ ๑๙๒๑ สถานที่น่าสนใจภายในเขตอุทยานฯ

วัดพระแก้ว
ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกำแพงเพชร เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มโบราณสถาน มรดกโลก ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เป็นวัดที่สำคัญ อยู่ติดกับบริเวณวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือวัดมหาธาตุกลางเมืองสุโขทัย ภายในบริเวณวัดประกอบด้วย เจดีย์ประธานที่ฐานมีสิงห์ล้อม เจดีย์ทรงกลมที่ฐานมีช้างรอบ วิหาร มณฑป อุโบสถ และเจดีย์ราย ทั้งหมดล้อมรอบด้วย กำแพงศิลาแลงเป็นแท่ง ๆ โดยรอบ

วัดพระธาตุ
ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของวัดพระแก้ว มีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมเป็นประธาน ล้อมรอบด้วยระเบียบคด ที่เชื่อมต่อกับวิหารด้านทิศตะวันออก ที่สองข้างวิหารมีเจดีย์รายอยู่ข้างละ ๑ องค์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบ

Read more »

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

300px-Kamphaeng_Phet04

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ไม่ไกลจากจังหวัดสุโขทัยเท่าใดนัก ลักษณะของศิลปะและสถาปัตยกรรมในอุทยานแห่งนี้เป็นศิลปะแบบเดียวกับที่ปรากฏในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มีโบราณสถานที่สวยงามและขนาดใหญ่มากมาย หลายแห่งในอดีตเมืองกำแพงเพชรถือเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัย

สระมน
สระมน หรือบริเวณวังโบราณ ด้านเหนือวัดพระแก้วมีกำแพงดินสี่เหลี่ยมอยู่เกือบติดกำแพงเมืองด้านเหนือ ภายในกำแพงมีคูล้อม 3 ด้าน ตรงกลางขุดสระมน เป็นที่เข้าใจว่าบริเวณสระมนนี้เป็นวัง ส่วนปราสาทราชฐานไม่มีเหลืออยู่เลย เมื่อขุดลอกสระแล้วตกแต่งบริเวณ พบฐานศิลาแลงบางตอนและได้พบกระเบื้องมุงหลังคาตกหล่นอยู่ทั่วไป

พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ
พิพิธภัณฑสถานจังกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ เป็นสถานที่แสดงผลงานของศูนย์บริรักษ์ไทยและศูนย์จริยศึกษา จำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมพื้นเมืองของจังหวัด ผลิตภัณฑ์ชาวเขาและกลุ่มแม่บ้าน ภายในตัวอาคารจัดเป็นห้องโสตทัศนูปกรณ์ที่ทันสมัยประกอบด้วยระบบภาพแสงและเสียง ในระบบมัลติมีเดีย การแสดงนิทรรศการด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

Read more »

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

uthai-257

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
เมืองกำแพงเพชรตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงและเป็นบริเวณที่ตั้งของตัวจังหวัดกำแพงเพชรปัจจุบัน ลักษณะเมืองมีรูปแบบคล้ายกับสี่เหลี่ยมคางหมูวางยาวขนานไปกับแม่น้ำ ความยาวของกำแพงเมืองด้านเหนือประมาณ 2,400 เมตร ด้านใต้ประมาณ 2,160 เมตร ความกว้างด้านตะวันออกประมาณ 540 เมตร และความกว้างด้านตะวันตกประมาณ 220 เมตร กำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลงทำเป็นชั้นเชิงเทิน ตอนบนสุดก่อเป็นรูปใบเสมา มีประตูเมืองโดยรอบรวม 10 ประตู กำแพงเมืองยังมีป้อมปราการที่มั่นคงแข็งแรงทั้งที่บริเวณมุมเมืองทั้ง 4 มุมและในแนวกำแพงเมือง รวมทั้งยังมีป้อมรูปสี่เหลี่ยมตั้งอยู่ด้านหน้าประตูเมืองด้วย ถัดจากกำแพงเมืองศิลาแลงเป็นคูเมืองกว้างประมาณ 30 เมตร จากการที่เมืองกำแพงเพชรตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำปิง จึงพบหลักฐานเกี่ยวกับการทดน้ำจากแม่น้ำปิง เพื่อนำน้ำเข้าสู่คูเมืองบริเวณมุมหัวเมือง และเมื่อน้ำล้นคูเมืองเกินความจำเป็นแล้วก็จะระบายออกที่ด้านมุมท้ายเมืองลงสู่ลำคลองธรรมชาติ
Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .