Archive for the ‘วัดในนครพนม’ Category

จารึกวัดพระธาตุพนม

ชื่อจารึก จารึกวัดพระธาตุพนม
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ –
อักษรที่มีในจารึก ไทยน้อย
ศักราช พุทธศักราช ๒๑๕๗
ภาษา ไทย
ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๑๘ บรรทัด
วัตถุจารึก หินทราย
ลักษณะวัตถุ รูปใบเสมา
ขนาดวัตถุ กว้าง ๔๘ ซม. สูง ๖๓ ซม.
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นพ. ๑”
๒) ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย – ลาว กำหนดเป็น “จารึกวัดพระธาตุพนม ๒”
๓) ในหนังสือ อุรังคนิทาน กำหนดเป็น “ศิลาจารึกของเจ้าพระยานคร” Read more »

ตะลึง!รูปคล้ายพญานาคงานธาตุพนม

วันทำพิธีนั้นทางวัดจะทำพานพญานาคขนาดใหญ่ตั้งโต๊ะบรวงสรวงหน้าองค์พระธาตุพนมลานชั้นในและตั้งแท่นประทับพญานาคทั้ง 7 องค์ ในขณะประชาชนตลอดจนร่างทรงโอรสธิดาพญานาคจากทั่วประเทศไทยจะเดินทางมาพบกันโดยมิได้นัดหมายโดยจะช่วยกันทำพานพญานาคตั้งโต๊ะบูชารอบองค์พระธาตุพนมเพื่อประกอบพิธีบรวงสรวง โดยเวลาตี 2 เป็นเวลาพิธีสำคัญคือการประทับร่างทรงของหลวงพ่อพญานาค ทั้ง 7 องค์ ที่ดูแลรักษาองค์พระธาตุพนม

ขณะเดียวกันในช่วงพิธีประทับร่างทรง ได้มีเหตุการณ์ประหลาดเกิดขึ้น เหมือนทุกปี เนื่องจากจะมีบรรดาร่างทรง รวมถือผู้ที่อ้างตนว่าเป็นร่างทรงลูกพญานาค บางรายมีเกิดอาการคลุ้มคลั่ง หรือแสดงกริยาท่าทางแปลก สร้างความสนใจให้กับพุทธศาสนิกชนที่มาร่วมงานเป็นอย่างมาก ใช้เวลาทำพิธีประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนตร์ จนถึงรุ่งเช้า Read more »

ไหว้พระธาตุประจำปีเกิด วัดพระธาตุพนมเป็นพระธาตุประจำปีวอก

wat_pra_that_phanom001

พระธาตุพนมวรมหาวิหาร เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นเอก ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนชยางกูร บ้านธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม มีลักษณะเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก่อด้วยอิฐ กว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.6 เมตร มีกำแพงล้อมองค์พระธาตุ 4 ชั้น องค์พระธาตุตั้งอยู่บนภูกำพร้า ภายในบริเวณมีบึงขนาดใหญ่เรียกว่าบึงธาตุพนม ในวันเพ็ญเดือน 3 ถึง แรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีจะมีงานประจำปีเพื่อเป็นการนมัสการพระธาตุพนม ตามตำนานอุรังคธาตุ กล่าวว่า ท้าวพญาทั้งห้าผู้เป็นใหญ่ ได้แก่พญาสุวรรณภิงคาร เจ้าเมืองหนองหานหลวง พญาคำแดง เจ้าเมืองหนองหานน้อย พญาจุลณีพรหมทัต เจ้าเมืองจุลนีพรหมทัต พญาอินทรปัตถ์ เจ้าเมืองอินทปัตถนคร และพญานันทเสน เจ้านครศรีโคตรบูรณ์อันเป็นที่ตั้งของพระธาตุ ได้สร้างอูบมูงขึ้นเพื่อประดิษฐานพระอุรังคธาตุ ตามพุทธพยากรณ์ โดยก่อสร้างด้วยดินดิบ (อิฐดิบ) ฐานพระธาตุพนมได้ขุดลงไปจนเป็นอูบมุง (อุโมง) เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ กระดูกส่วนหน้าอก เมื่อก่อด้วยดินดิบเสร็จแล้ว Read more »

พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม

pratatphanom200

พระธาตุพนม
ตั้งอยู่ที่ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
อำเภอธาตุพนม ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมสูง สถาปัตยกรรมมีแหล่งที่มาเดียวกับปราสาทขอม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1200-1400 ภายในบรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2518 เวลา 19.30 น. มีเหตุการณ์ที่น่าสลดคือ พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงทั้งองค์ เนื่องจากความเก่าแก่ขององค์พระ ประจวบกับเกิดพายุฝนตกติดต่อกันหลายวัน ชาวไทยจึงได้ร่วมกันบริจาคทุนทรัพย์ก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่ ตามแบบเดิมและได้บรรจุของมีค่ามากมาย โดยเฉพาะฉัตรทองคำบนยอดพระธาตุ มีน้ำหนัก 110 กิโลกรัม

ขอขอบคุณ http://www.hamanan.com

สักการะพระธาตุประจำวันเกิดที่นครพนม

1

นครพนม เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน นับเป็นเมืองชายแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ความสวยงามของทิวทัศน์และมีความหลากหลายของวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ รวมทั้งประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดนครพนมจะมีทั้งวัดวาอารามและสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่น่าสนใจ
ทริปนี้บ้านแสนสุขจะพานักท่องเที่ยวไปกราบขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์จากองค์พระธาตุประจำวันเกิดและสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในจังหวัดนครพนม Read more »

วัดพระธาตุพนมวรวิหาร

untitled

วัดพระธาตุพนมวรวิหาร คือ พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร ของ ปีวอก (ลิง) และยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ของชาวเมืองจังหวัดนครพนม ในทุก ๆ ปี จะมีงานนมัสการพระธาตุพนมประจำปี โดยเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 12 ค่ำ ถึงวันแรม 1 ค่ำเดือน 3 จะมีนักท่องเที่ยวแวะมานมัสการองค์พระธาตุพนมในทุก ๆ ปี เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง

ขอขอบคุณ http://www.painaidii.com

พระธาตุพนม สถาปัตยกรรมที่สวยงาม

พระธาตุพนม สถาปัตยกรรมที่สวยงามที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาตินิยมไปเที่ยวกันมากมาย ใครๆ ที่ยังไม่เคยไปเที่ยวห้ามพลาดเด็ดขาด มีเวลาว่างควรหาโอกาศเหมาะๆ ไปเที่ยวรับรองว่าจะต้องอยากไปอีกเป็นหนที่สองแน่

พระธาตุพนม

พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นเจดีย์สำคัญของภาคอีสาน แต่ชาวไทยในภาคอีสานตลอดจนบริเวณฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงตอนใกล้เคียงเรียก พระเจดีย์ ว่าพระธาตุ เช่นพระธาตเชิงชุม จังหวัดสกลนคร พระธาตุศรีสองรัก จังหวัดเลย และพระธาตุเรณูที่อยู่ไม่ไกลจากพระธาตุพนมนัก พระธาตุพนมมีอายุเก่าแก่และงดงามกว่าพระธาตุองค์อื่นๆ Read more »

ลักษณะสถาปัตยกรรม วัดพระธาตุพนม

รูปลักษณะพระธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมก่อด้วยอิฐ มีลวดลายสลักลงบนแผ่นอิฐสวย งามมาก มีซุ้มกั้นด้านและซุ้มซ้อนกันสามชั้น ลดหลั่นกันลงมา แล้วจึงถึงองค์พระสถูป เบื้องบนยอดพระธาตุหุ้มทองคำประดับพลอยสวยงามมาก สมเด็จพระกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ทรงกล่าวถึงพระธาตุพนมไว้ใน นิทานโบราณคดีเรื่องแม่น้ำโขง ตอนหนึ่งว่า

“..พระเจดีย์ธาตุพนมอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง สร้างเป็นสถูปทางพระพุทธ ศาสนาจะสร้างตามลัทธิมหายานหรือหินยาน ไม่มีที่สังเกตเหมือนอย่างที่พิมาย แต่ไม่ มีเค้าศาสนาพราหมณ์เจือปนอยู่เลย บรรดาเจดีย์สถานในพระพุทธศาสนาซึ่งสร้าง ใน สมัยของเขมรที่พบในเมืองไทย ที่สร้างสถูปเป็นประธานมีแต่พระธาตุพนมแห่งเดียว ทั้ง รูปสันฐานลวดลายก็เป็นอย่างอื่นต่างจากแบบช่างขอม ชวนให้เห็นว่าจะสร้างสมัยขอม คือ สร้างในสมัย เมื่อประเทศอันหนึ่งซึ่งเรียกในจดหมายจีนว่า “ฟูนัน” คล้าย “พนม “ เป็นใหญ่อยู่ต่างหาก รูปทรงพระเจดีย์ธาตุพนมเป็นสี่เหลี่ยมเหมือนมณฑป มีซุ้มต้น สามซุ้มซ้อนกันเป็นสามชั้น เล็กเป็นหลั่นกันขึ้นไป แล้วถึงองค์พระสถูปอยู่เบื้องบน มณฑปทั้ง ๓ ชั้น ยอดสถูปหุ้มแผ่นทองคำ เช่นเดียวกับพระธาตุเมืองมหาธาตุเมือง นครศรีธรรมราช ขนาดพระสถูปดูจะเท่า ๆ กัน

ขอขอบคุณ http://www.thatphanomriverviewhotel.com

วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อ.ธาตุพนม จ.นครพนม

ประวัติความเป็นมา

พระธาตุพนมประดิษฐาน ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ตามตำนานกล่าวว่าสร้างมานานไม่น้อยกว่า ๒,๓๐๐ ปี ผู้ที่สร้าง คือ พระ มหากัสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ได้นำพระอุรังคธาตุหรือกระดูกหน้าอก ของสมเด็จพระสัมมนาพุทธเจ้ามาเพื่อบรรจุไว้ในพระธาตุผู้ที่ร่วมช่วยในการสร้างพระ ธาตุนี้คือ ท้ายพระยาเมืองต่าง ๆ พญานันทเสน เมืองศรีโคตรบูรณ์ (เมืองนครพนม เดิม) พญาจุลนีพรหมทัด พระยาอินทรปัตนคร และพญาดำแดง เมืองหนองหารน้อย พากันยกโยธามาช่วยสร้างพระธาตุพนมจนเสร็จและบรรจุอุรังคธาตุพร้อมของมีค่าไว้ ภายในเป็นจำนวนมาก

ในปี พ.ศ. 2485 ได้รับการยกฐานะเป็น พระอารามหลวงชั้นเอกขึ้นเป็น “วรมหาวิหาร” ต่อมาในวันที่ 11 สิงหาคม 2518 เวลา 19.38 น. พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงทั้งองค์ เนื่องจากความเก่าแก่ขององค์พระธาตุพนม และประจวบกับระหว่างนั้นฝนตกพายุพัดแรงติดต่อมาหลายวัน ประชาชนทั้ง ประเทศได้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์และรัฐบาลได้ก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่ตามแบบเดิม การก่อสร้างนี้เสร็จ สิ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2522 นอกจากพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุในองค์พระธาตุแล้ว ยังมีของมีค่ามาก มายนับหมื่นชิ้น โดยเฉพาะฉัตรทองคำบนยอดพระธาตุ มีน้ำหนักถึง 110 กิโลกรัม ปัจจุบันองค์พระธาตุ มีฐานกว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.60 เมตร เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมสูงแลดูสง่างาม
ความสำคัญต่อชุมชน
พระธาตุพนมนี้เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป โดย เฉพาะอย่างยิ่งชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงประชาชนลาวด้วย ในฤดูเทศกาล เพ็ญเดือน ๓ ของทุกปี พุทธศาสนิกชนหลั่งไหลมาจากทุกสารทิศ มาสมโภชและนมัสการพระธาตุพนม Read more »

ประวัติพระธาตุพนม

พระธาตุพนม ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรวิหาร ริมฝั่งแม่น้ำโขง ตำบล และอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม สถานที่ประดิษฐานองค์พระธาตุ อยู่บนภูกำพร้า หรือดอยกำพร้า ภาษาบาลีว่า กปณบรรพตหรือ กปณคีรี ริมฝั่งแม่น้ำขลนที อันเป็นเขตแขวงนครศรีโคตบูรโบราณ
ตามตำนานพระธาตุพนม ในอุรังคนิทานกล่าวว่า สมัยหนึ่งในปัจฉิมโพธิกาล พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระอานนท์ ได้เสด็จมาทางทิศตะวันออก โดยทางอากาศ ได้มาลงที่ดอนกอนเนา แล้วเสด็จไปหนองคันแทเสื้อน้ำ (เวียงจันทน์) ได้พยากรณ์ไว้ว่า ในอนาคตจะเกิดบ้านเมืองใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา จากนั้นได้เสด็จไปตามลำดับ ได้ทรงประทานรอยพระพุทธบาทไว้ที่ โพนฉัน (พระบาทโพนฉัน) อยู่ตรงข้ามอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย แล้วเสด็จมาที่ พระบาทเวินปลา ซึ่งอยู่เหนือเมืองนครพนมปัจจุบัน ได้ทรงพยากรณ์ที่ตั้งเมืองมรุกขนคร (นครพนม) และได้ประทับพักแรมที่ภูกำพร้าหนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นเสด็จข้ามแม่น้ำโขง ไปบิณฑบาตที่เมืองศรีโคตบูร พักอยู่ที่ร่มต้นรังต้นหนึ่ง (พระธาตุอิงฮังเมืองสุวรรณเขต) แล้วกลับมาทำภัตกิจ (ฉันอาหาร) ที่ภูกำพร้าโดยทางอากาศ Read more »

ประวัติวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร

ตามตำนานพระธาตุพนม ในอุรังคนิทานกล่าวว่า สมัยหนึ่งในปัจฉิมโพธิกาล พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระอานนท์ ได้เสด็จมาทางทิศตะวันออก โดยทางอากาศ ได้มาลงที่ดอนกอนเนา แล้วเสด็จไปหนองคันแทเสื้อน้ำ (เวียงจันทน์) ได้พยากรณ์ไว้ว่า ในอนาคตจะเกิดบ้านเมืองใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา จากนั้นได้เสด็จไปตามลำดับ ได้ทรงประทานรอยพระพุทธบาทไว้ที่ โพนฉัน (พระบาทโพนฉัน) อยู่ตรงข้ามอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย แล้วเสด็จมาที่ พระบาทเวินปลา ซึ่งอยู่เหนือเมืองนครพนมปัจจุบัน ได้ทรงพยากรณ์ที่ตั้งเมืองมรุกขนคร (นครพนม) และได้ประทับพักแรมที่ภูกำพร้าหนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นเสด็จข้ามแม่น้ำโขง ไปบิณฑบาตที่เมืองศรีโคตรบูรณ์ พักอยู่ที่ร่มต้นรังต้นหนึ่ง (พระธาตุอิงฮังเมืองสุวรรณเขต) แล้วกลับมาทำภัตกิจ (ฉันอาหาร) ที่ภูกำพร้าโดยทางอากาศ พญาอินทร์ได้เสด็จมาเฝ้าและทูลถามพระพุทธองค์ ถึงเหตุที่มาประทับที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ ในภัททกัลป์ที่นิพพานไปแล้ว บรรดาสาวกจะนำพระบรมสารีริกธาตุ มาบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์เมื่อนิพพานแล้ว พระมหากัสสปะ ผู้เป็นสาวก ก็จะนำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ ณ ที่นี้เช่นกัน จากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ทรงปรารภถึงเมืองศรีโคตบูร และมรุกขนคร แล้วเสด็จไปหนองหารหลวง ได้ทรงเทศนาโปรดพญาสุวรรณพิงคาระ และพระเทวี ประทานรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ที่นั้น แล้วเสด็จกลับพระเชตวัน หลังจากนั้นก็เสด็จปรินิพพานที่เมืองกุสินารา Read more »

วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร

paragraph__1_418

วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ปัจจุบันมี พระเทพวรมุนี เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน ประดิษฐาน ณ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนชยางกูร บ้านธาตุพนม ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีลักษณะเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก่อด้วยอิฐ กว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.6 เมตร มีกำแพงล้อมองค์พระธาตุ 4 ชั้น องค์พระธาตุตั้งอยู่บนภูกำพร้า (เนินดินสูงจากพื้นธรรมดาประมาณ 3 เมตร) ภายในบริเวณมีบึงขนาดใหญ่เรียกว่าบึงธาตุพนม ในวันเพ็ญเดือน 3 ถึง แรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีจะมีงานประจำปีเพื่อเป็นการนมัสการพระธาตุพนม

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org

. . . . . . .
. . . . . . .