Archive for the ‘วัดในนครราชสีมา’ Category

ถ้ำหินงอก หินย้อย วัดพายัพ

2010_11_05_130403_rhct6j35

ถ้ำหินงอก หินย้อย แห่งนี้ พระราชวิมลโมลี เจ้าอาวาสวัดพายัพได้ไปนำหินที่ใช้ทำลูกนิมิต หินปะดับสวน และ หินอ่อนอุโบสถซึ่งไปพบหินงอกหินย้อยที่ชาวบ้านเขาวง ต.หน้าพระลาน อ. พระพุทธบาท จ.
สระบุรี นำมาตั้งขายโดยหินเหล่านี้ได้มาจากการระเบิดหินภูเขาซึ่งรัฐบาลให้สัมปทาน แก่บริษัทโรงงานโม่หินผลิตปูน ซึ่งภายในมีหินงอกหินย้อยสีสันสวยงามจำนวนมาก
หลวงพ่อเจ้าคุณวัดพายัพ จึงคิดหาวิธีเก็บรักษาหินงอกหินย้อยเหล่านี้ ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดูโดยสร้างกุฏิวายุภักษ์สำนักงานเจ้าอาวาสขึ้น ทำชั้นล่างให้เป็นถ้ำหินงอก หินย้อย ซึ่งได้ออกแบบเขียนแปลนและควบคุมการก่อสร้างเองทุกขั้นตอน

ต่อมาในปี 2533 – 2536 จึงได้นำหินมาคัดแยกกลุ่ม ประเภทสีล้างทำความสะอาด ใช้สว่างเจาะหินทุกก้อนใส่กาว ฝังเหล็ก รองรับตามขนาดน้ำหนักหิน ใช้คนงานและพระเณรช่วยกันติดตั้งเกาะแขวนห้อย
เชื่อมด้วยไฟฟ้า อัดปูนชีเมนต์ เสริมตกแต่งรอยต่อหินก้อนเล็ก ๆ จนเต็มพื้นที่ ทั้งเสา เพดาน ฝาพนัง แต่งฐานแท่นที่ตั้งองค์พระพุทธรูปโบราณต่าง ๆ และได้คัดเลือกหินที่เป็นแก้วสีใสสวยงามส่วนหนึ่งใส่ไว้ในตู้กระจก

ขนาดพื้นที่ถ้ำมีความกว้าง 12 เมตร ยาว 16 เมตร สูง 3 เมตร เป็นกุฏิทรงไทย 2 ชั้นครึ่ง ชั้นบนเป็นที่ทำงานของเจ้าอาวาส สร้างปี 2533 เสร็จปี 2536 รวมมูลค่าหินงอก หินย้อย
และอุปกรณ์ก่อสร้างทั้งหลัง ประมาณ 4,730,000 บาท และเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2536 สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศนฯ เสด็จเยี่ยมชม

Read more »

ประวัติวัดพายัพ พระอารามหลวง

สถานที่ตั้งวัด ตั้งอยู่เลขที่ ๓๐๘ ถนนชุมพล ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ภาค ๑๑ สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๒๒๐ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๒๔๐ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๒๑ เมตร ยาว ๒๙ เมตร และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙ กว้าง ๔๒ เมตร ยาว ๖๖ เมตร

วัดพายัพ (พระอารามหลวง) เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงเมืองเก่าอยู่ทางด้านทิศพายัพของเสาหลักเมืองจึงตั้ง ชื่อว่า “วัดพายัพ” โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองนครราชสีมา ซึ่งในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงครองราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ได้ทรงเลือกสถานที่ในการสร้างเมืองนครราชสีมา ทรงโปรดฯให้ช่างชาวฝรั่งเศสเขียนแปลนก่อสร้างเป็นรูปเหลี่ยม พื้นที่เมืองเก่าของนครราชสีมามีเนื้อที่ ๑,๐๐๐ ไร่ โดยการออกแบบให้มีคูคลองน้ำล้อมรอบเพื่อป้องกันข้าศึก มีกำแพงและประตูเมือง ๔ ประตู คือ ประตูชุมพล ประตูพลแสน ประตูพลล้าน และประตูไชยณรงค์ (หรือประตูผี) ภายในกำแพงเมืองเก่าได้ทรงให้สร้างวัดขึ้นจำนวน ๖ วัด คือ วัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลางนคร), วัดบึง, วัดพายัพ, วัดอิสาน, วัดบูรพ์, และวัดสระแก้ว

Read more »

วัดพายัพ จ.นครราชสีมา

ถ้ำหินงอก หินย้อย สร้างเมื่อปี ๒๕๓๓ โดย พระราชวิมลโมลี เจ้าอาวาสวัดพายัพ ได้ไปหาหินลูกนิมิตขนาดใหญ่ หินประดับสวน และหินอ่อนปูพระอุโบสถ ไปพบหินงอกหินย้อยที่คนงานระเบิดภูเขานำมาตั้งโชว์ไว้หน้าบ้าน เพื่อเก็บรักษาหินงอกหินย้อยเหล่านี้ไว้ให้ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ผู้แสวงบุญ ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ได้มาเที่ยวชม มาทัศนศึกษา ดังนั้น วัดพายัพจึงคิดสร้างถ้ำขึ้นเป็นแห่งแรกของโลก
พระราชวิมลโมลี จึงได้สร้างกุฏิวายุภักษ์ที่ทำงานของเจ้าอาวาสขึ้น และออกแบบชั้นล่างให้เป็นถ้ำหินงอกหินย้อย โดยออกแบบเขียนแปลนคำนวณให้สามารถรับน้ำหนักหินได้ และควบคุมการก่อสร้างเองทุกขั้นตอน

ขอขอบคุณ http://www.sawasdeevr.com/

ทัศนาพระถ้ำหินย้อยวัดพายัพ อลังการงานสร้าง-โบสถ์หินอ่อน

วัดพายัพ” ถ.ชุมพล ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางเมืองนครราชสีมา ทางทิศพายัพของเสาหลักเมือง จึงตั้งชื่อวัดตามทิศว่า “วัดพายัพ”

ภายในวัดแบ่งเป็นเขตพุทธาวาส 2 ไร่, เขตธรรมาวาส 2 ไร่ เขตสังฆาวาส ถนน สนามหญ้า 3 ไร่ เขตที่จัดประโยชน์ให้เช่าอยู่อาศัย 5 ไร่ และปลูกต้นไม้ 3 ไร่ รวมเนื้อที่วัดพายัพ 15 ไร่ 69 ตารางวา

วัดพายัพ เป็นวัดเก่าแก่ของเมืองนครราชสีมา สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อครั้งพระองค์ทรงครองราชย์อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ได้ทรงเลือกสถานที่ในการสร้างเมืองนครราชสีมา จึงให้ช่างฝรั่งเศสเขียนแบบแปลนก่อสร้าง เป็นรูปเหลี่ยม มีคูคลองน้ำรอบกั้นข้าศึก มีกำแพงประตูเมือง 4 มุมเมือง

และได้ทรงสร้างวัดขึ้นภายในกำแพงเมืองจำนวน 6 วัด คือ วัดพระนารายณ์ (วัดกลาง) วัดบึง วัดบูรพ์ วัดอิสาน วัดสระแก้ว และวัดพายัพ

สิ่งก่อสร้างภายในวัดพายัพ มีอุโบสถทรงเรือสำเภา สมัยอยุธยาตอนปลาย 1 หลัง หอไตรทรงไทยไม้สองชั้น 1 หลัง กุฏิทรงไทยไม้ชั้นเดียว 1 หลัง

ยังมีอุโบสถหินอ่อน อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง งบประมาณ 40 ล้านบาท ลักษณะศิลปะทรงเรือสำเภาสมัยอยุธยาที่มุ่งสร้างขึ้น เพื่อให้เป็นปริศนาธรรมดุจเรือสำเภาขนส่งสรรพสัตว์ข้ามห้วงทะเล คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไปให้ถึงฝั่งพระนิพพาน

Read more »

ท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา วัดป่าสาลวัน

“แผนที่ท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา ที่ตั้งวัดป่าสาลวัน”

E12604969-1

“แผนที่ตั้งวัดป่าสาลวัน”

E12604969-2

Read more »

วัดป่าสาละวิน

20120108093356

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๗๔ หลวงชาญนิคมพร้อมด้วยบุตรภรรยา ได้สร้างวัดให้เป็นสำนักสงฆ์วัดหนึ่งท่านเจ้าคุณพระพรหมมุนี(ติสสเถระ) เจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา ให้นามว่า “วัดป่าสาลวัน” เพราะบริเวณสร้างวัดนี้โดยมากเป็นป่าไม้เต็งรัง และที่อันนี้เป็นที่ดินสวนของหลวงชาญนิคม พื้นดินเป็นทราย ภูมิฐานสูงกลาง ห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๓๐-๔๐ เส้น ห่างสถานีรถไฟโคราช ๓๐ เส้นเศษ

รายละเอียด :
เมื่อสมัยย้อนหลังไปประมาณ ๓๐ กว่าปี วัดป่ายังเป็นป่าอยู่ ส่วนมากป่าไม้ไผ่ก็มากแต่เดี๋ยวนี้มีน้อยมาก บริเวณรอบวัด ภายนอกกำแพงเป็นทางเกวียนรอบวัด ทางศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน(ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัด)เมื่อก่อนเป็นป่าช้าทั้งหมด ทางด้านอนามัย(ทิศใต้ของวัด)เป็นทุ่งนา ซึ่งชาวบ้านเขาเอาดินเหนียวมาปั้นเป็นอิฐมอญเผาขายกัน เดี๋ยวนี้ เป็นหมู่บ้านโฮมแลน ส่วนด้านข้างเมรุหรือเมรุเผาศพ(ทุบทิ้งแล้ว) ปัจจุบันเป็นหนองน้ำเมื่อก่อนเขาเรียกหนองน้ำนี้ว่าหนองแก้ช้าง เดี๋ยวนี้ยังเป็นหนองอยู่ เมื่อก่อนบริเวณนี้เป็นป่าไผ่มากและเป็นหนองน้ำ อยู่ตรงกลางเป็นหนองเล็กๆ เท่านั้น แต่ปัจจุบันเป็นหนองใหญ่อยู่นอกกำแพงข้างเมรุ เมื่อก่อนจะมีกองเกวียนผ่านบริเวณแห่งนี้และควาญช้างนำช้างผ่านมาทางนี้เป็นประจำ จะมาพักอยู่บริเวณหนองน้ำนี้ ชาวบ้านจึงเรียกหนองนี้ว่าหนองแก้ช้างอยู่ทุกวันนี้ และรอบวัดก็จะผ่านเป็นประจำเหมือนกัน เมื่อก่อนบริเวณนี้เป็นป่าเปลี่ยวมาก

ขอขอบคุณ http://www.xn--l3cjf8d8bveb.com/

วัดป่าสาละวัน

วัดป่าสาละวัน ตั้งอยู่ในตัวเมือง หลังสถานีรถไฟนครราชสีมา เป็นวัดหนึ่งที่ได้เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุ อัฐิธาตุของเกจิอาจารย์ที่เป็นที่เคารพบูชาของศาสนิกชนโดยทั่วไป คืออาจารย์เสา อาจารย์มั่น รวมทั้งอัฐิของอาจารย์ทิม อดีตเจ้าอาวาสที่ได้บุกเบิกสร้างวัดแห่งนี้

watpasalawan

ขอขอบคุณ http://www.sadoodta.com

วัดป่าสาลวัน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา

วัดป่าสาลวัน ตั้งอยู่ในใจกลางตัวเมืองหลังสถานีรถไฟนครราชสีมา ภายในวัดมี บูรพาจารย์เจดีย์ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และอัฐิธาตุของพ่อแม่ครูบาอาจารย์สายพระป่ากรรมฐาน คือ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล, หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าสาลวันที่ได้บุกเบิกสร้างวัดแห่งนี้ รวมทั้ง อัฐิธาตุของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย

ธรรมจักร ข้อวัตรปฏิบัติ

วัดป่าสาลวันมีข้อวัตรปฏิบัติอันถือเป็นส่วนหนึ่งของกติกาสงฆ์ที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ดังนี้

ภาคเช้าก่อนรุ่งอรุณ
๐๓.๐๐ น. พระภิกษุสามเณรตื่นขึ้นทำกิจของตน นุ่งห่มให้เรียบร้อยและเริ่มปฏิบัติทำความเพียรภาวนา คือเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิ
๐๓.๔๕ น. ระฆังสัญญาณ พระภิกษุ สามเณรและผู้ถือศีลภาวนาทั้งหมด พร้อมกันที่ศาลาเพื่อรอทำวัตรเช้า
๐๔.๐๐ น. พระเถระเป็นผู้จุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัยแล้วเริ่มสวดมนต์ทำวัตรเช้า
๐๔.๓๐ น. นั่งสมาธิ
๐๕.๐๐ น. ช่วยกันปัดกวาดเช็ดถูศาลา จัดอาสนะฉัน เตรียมบาตร ผ้าปู ขาบาตร ช้อน กระติกน้ำดื่ม ขึ้นมาบนศาลาก่อน ๖ โมง

Read more »

วัดป่าสาละวัน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา

20120306204856_img_7221

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๗๔ หลวงชาญนิคมพร้อมด้วยบุตรภรรยา ได้สร้างวัดให้เป็นสำนักสงฆ์วัดหนึ่งท่านเจ้าคุณพระพรหมมุนี(ติสสเถระ) เจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา ให้นามว่า “วัดป่าสาลวัน” เพราะบริเวณสร้างวัดนี้โดยมากเป็นป่าไม้เต็งรัง และที่อันนี้เป็นที่ดินสวนของหลวงชาญนิคม พื้นดินเป็นทราย ภูมิฐานสูงกลาง ห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๓๐-๔๐ เส้น ห่างสถานีรถไฟโคราช ๓๐ เส้นเศษ

ทิศตะวันออก จดหนองแก้ช้าง
ทิศตะวันตก จดทางหลวง
ทิศเหนือ ติดทางเกวียน
ทิศใต้ จดนาหนองรี

เมื่อสมัยย้อนหลังไปประมาณ ๓๐ กว่าปี วัดป่ายังเป็นป่าอยู่ ส่วนมากป่าไม้ไผ่ก็มากแต่เดี๋ยวนี้มีน้อยมาก บริเวณรอบวัด ภายนอกกำแพงเป็นทางเกวียนรอบวัด ทางศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน(ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัด)เมื่อก่อนเป็นป่าช้า ทั้งหมด ทางด้านอนามัย(ทิศใต้ของวัด)เป็นทุ่งนา ซึ่งชาวบ้านเขาเอาดินเหนียวมาปั้นเป็นอิฐมอญเผาขายกัน เดี๋ยวนี้ เป็นหมู่บ้านโฮมแลน ส่วนด้านข้างเมรุหรือเมรุเผาศพ(ทุบทิ้งแล้ว) ปัจจุบันเป็นหนองน้ำเมื่อก่อนเขาเรียกหนองน้ำนี้ว่าหนองแก้ช้าง เดี๋ยวนี้ยังเป็นหนองอยู่ เมื่อก่อนบริเวณนี้เป็นป่าไผ่มากและเป็นหนองน้ำ อยู่ตรงกลางเป็นหนองเล็กๆ เท่านั้น แต่ปัจจุบันเป็นหนองใหญ่อยู่นอกกำแพงข้างเมรุ เมื่อก่อนจะมีกองเกวียนผ่านบริเวณแห่งนี้และควาญช้างนำช้างผ่านมาทางนี้เป็น ประจำ จะมาพักอยู่บริเวณหนองน้ำนี้ ชาวบ้านจึงเรียกหนองนี้ว่าหนองแก้ช้างอยู่ทุกวันนี้ และรอบวัดก็จะผ่านเป็นประจำเหมือนกัน เมื่อก่อนบริเวณนี้เป็นป่าเปลี่ยวมาก
เมื่อก่อนไม่ค่อยมีคนมาทำบุญมากเหมือนปัจจุบัน พระก็ไม่มากเท่าไหร่ และประมาณ ๓ โมงเย็นก็ไม่มีใครกล้าเข้าวัดกันแล้ว รอบบริเวณวัดก็ไม่มีคนผ่าน รถก็ไม่ค่อยมี สิ่งที่เหลือภายในวัดตอนนี้ ศาลาไม้ หลังเก่าคือศาลาที่ใช้ทำวัตรเช้าเย็นเป็นประจำ หอระฆังเก่าและกุฏิอยู่ข้างหอระฆังเหลือประมาณ ๖ หลังด้วยกัน ส่วนศาลาเล็กนั้นลื้อไปหมดแล้วเหลือบันไดปูนและแท็งก์น้ำปูนเก่าข้างกุฏิห้า แสนหลังใหม่ ส่วนกุฏิหลวงปู่อ่อนหลังเก่าก็ลื้อไปหมดแล้วเหลือแต่หลังใหม่อยู่ ส่วนเสาธงเมื่อก่อนยังมีเสาและธงแต่ตอนนี้เหลืออยู่แต่ฐานเท่านั้น และที่เผาศพของหลวงปู่สิงห์ยังเหลืออยู่ข้างวิหารใหม่

Read more »

วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา

วัดป่าสาลวัน ตั้งอยู่ในตัวเมือง หลังสถานีรถไฟนครราชสีมา
เป็นวัดหนึ่งที่ได้เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุ
อัฐิธาตุของเกจิอาจารย์ที่เป็นที่เคารพบูชาของศาสนิกชนโดยทั่วไป
คือ อาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่น
รวมทั้งอัฐิของอาจารย์สิงห์ อดีตเจ้าอาวาสที่ได้บุกเบิกสร้างวัดแห่งนี้

index

แผนที่เดินทางไปวัด

index

 

ขอขอบคุณ http://www.koratnana.com/

วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา

dscn2485_128

 

dscn2454_118

 

dscn2453_206

 

ขอขอบคุณ http://www.dhammajak.net/f

อนุสรณ์สถานบูรพาจารย์เจดีย์ วัดป่าสาละวัน

2010_11_05_130157_ygfl6uj5

ตั้งอยู่ภายในวัดป่าสาละวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เป็นเจดีย์แห่งพระกัมมัฏฐาน ยอดเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และอัฐิธาตุบูรพาจารย์ของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย
ภายในมีรูปแหมือน หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงพ่อพุธ ฐานิโย หลวงปู่เสาร์ กนตสีโล หลวงปู่สิงห์ ขนตยาคโม และพระอาจารย์พร พระอริยสงฆ์ของประเทศ
เป็นอนุสรณ์สถานที่สร้างถวายครูบาอาจารย์ เป็นถาวรวัตถุทางพุทธศาสนาที่จะทำให้ระลึกถึง หลวงพ่อพุธ ฐานิโย พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทางวิปัสสนากิมมัฏฐาน
เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ และเป็นสิริมงคลของเมืองนครราชสีมาอีกแห่งหนึ่ง

ขอขอบคุณ http://www.rakkorat.com/

วัดป่าสาละวัน อำเภอเมือง, นครราชสีมา

gp504b2b12ba91b

อยู่หลังสถานีรถไฟนครราชสีมา เป็นวัดที่เก็บพระอัฐิธาตุของอาจารย์เสา อาจารย์มั่น และอาจารย์ทิม นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางโดยใช้รถประจำทางสาย นครราชสีมา-ด่านขุนทด จากสถานีขนส่งแห่งที่ 1 รถออกทุง 30 นาที ตั้งแต่เวลา 07.00-20.00 น. แล้วต่อรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างเข้าไปถึงวัด

ขอขอบคุณ http://www.thai-tour.com/

วัดป่าสาละวิน จ.นครราชสีมา

สำหรับมนุษย์สิ่งที่มองเห็นมีทั้งรูปธรรมและนามธรรม อนุสรณ์สถานบูรพาจารย์เจดีย์และโบสถ์สีสันสวยงามของวัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา คือรูปธรรมของผู้ที่ชื่นชอบและชื่นชมสถาปัตยกรรมที่มีอยู่ในวัด ลึกลงไปกว่ารูปธรรมอันงดงามคือ จริยวัตรของพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรม หลวงพ่อพุธ ฐานิโย พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี มีความเชี่ยวชาญในการอบรมสั่งสอนการทำสมาธิและเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน

ตามประวัติของวัดป่าสาลวันมีอยู่ว่า เดิมเป็นวัดประเภทอรัญญวาสี ตามประวัติได้เริ่มสร้างเป็นสำนักสงฆ์เมื่อปี พ.ศ.2474 หลวงชาญนิคม(ทอง จันทรศร) เป็นผู้ถวายที่ดินเริ่มแรก เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) ขณะดำรงสมณศักดิ์พระพรหมมุนี เป็นผู้ตั้งนามให้ตามสถานที่ว่า “วัดป่าสาลวัน” เนื่องจากเห็นว่าบริเวณที่สร้างวัดเป็นป่าไม้เต็งรัง เพราะคำว่า สาละ แปลว่า ต้นรัง วนะ แปลว่า ป่า

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ได้เข้ามาปฏิบัติธรรมและจำพรรษาเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดป่าสาลวันตั้งแต่ปีพ.ศ. 2513 ระยะกว่า 30 ปีท่านได้พัฒนาวัดทั้งด้านสถานที่ได้แก่ การปฏิสังขรณ์โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ รวมไปถึงการพัฒนาสาธารณูปโภคให้มีความสะดวกสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมที่เข้ามาถวายตัวเป็นลูกศิษย์ หลวงพ่อพุธท่านได้อบรมสั่งสอนทั้งพระสงฆ์และฆารวาส เป็นจำนวนมากนับแสนคน ได้แก่ ครูอาจารย์ นักเรียนนักศึกษา นักวิชาการ พลเรือน ตำรวจทหาร เป็นต้น

Read more »

สิ่งที่น่าสนใจในวัดบ้านไร่

watbaanrai23

วิหารเทพวิทยาคม วัดบ้านไร่ อยู่ในอำเภอด่านขุนทด แต่ก็ไม่ได้อยู่ในตัวเมืองเสียทีเดียว มีเส้นทางหลักๆ เข้ามาที่วัดได้ 2 ทาง ทางแรกมาจากถนนมิตรภาพใกล้ๆ อำเภอสีคิ้ว มีทางแยกเข้ามาอำเภอด่านขุนทด ส่วนอีกทางมาจากแก้งค้อ บำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ ปกติถ้ามาจากกรุงเทพฯ ใช้ถนนมิตรภาพเลี้ยวเข้าด่านขุนทดอาจจะไม่ได้เห็นมุมนี้ที่ผมเห็นระหว่างเดินทางเข้าวัด เราเห็นรูปช้างใหญ่ๆ สูงพ้นยอดไม้ขึ้นมาหันหน้าไปทางโบสถ์ ยังไม่รู้ว่าคืออะไร แต่สิ่งนี้แหละที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทุกสารทิศให้เดินทางมาที่วัดบ้านไร่ เดี๋ยวเข้าไปในวัดแล้วคงรู้ว่ามีอะไรอยู่ในนั้น

โบสถ์กระเบื้องเคลือบ หลังจากที่เข้ามาในประตูวัด ก็เห็นแล้วแหละว่าช้างใหญ่ๆ นั้นน่าจะเป็นวิหารสร้างใหม่ ปกติคนมาถึงวัดก็คงตรงดิ่งไปที่นั่น แต่ระหว่างที่เดินจากลานจอดรถไปด้านหน้าของวิหารรูปช้าง เห็นโบสถ์หลังใหญ่ตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบสวยงาม โบสถ์ยกพื้นสูงด้านล่างใช้เป็นศาลาขนาดใหญ่ แม้ว่าจะสร้างวิหารรูปช้างขึ้นมา โบสถ์ก็ยังคงความสวยสง่าไม่แพ้กัน ก็เลยเดินขึ้นมาที่โบสถ์ ไหว้พระเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ค่อยไปชมวิหารเทพวิทยาคม กับพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณ

วิหารเทพวิทยาคม หรืออีกชื่อหนึ่งคือ วิหารปริสุทปัญญา วิหารรูปวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 30 เมตร มีลานรอบวิหารเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 เมตร สูง 40 เมตร ตั้งอยู่กลางบึงเนื้อที่ 30 ไร่ มองด้านข้างเหมือนเป็นรูปช้างยืน แต่พอได้มาเห็นใกล้ๆ จึงได้รู้ว่า เศียรช้างเป็นช้างเอราวัณพาหนะของพระอินทร์ที่ประจำซุ้มด้านตะวันออก แล้วยังมีอีก 3 ซุ้ม แล้วจะพาไปดูใกล้ๆ

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .