วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ เชียงใหม่ WAT UMONGMAHATHERACHAN

IMG_1653

วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ ถูกค้นพบในต้นฤดูหนาว ปี พ.ศ.2461 พบว่าเป็นวัดร้าง มีอาณาบริเวณไม่กว้างมากนักและมีซากอุโมงค์สำหรับเป็นที่เดินจงกรม มีความยาวประมาณ 6 เมตร กว้าง 1.1 เมตร ลึกประมาณ 2.1 เมตร มีป้ายติดอยู่กับหลักบอกชื่อว่า “วัดอุโมงค์ (เถรจันทร์)” เรียกอีกอย่างว่า “วัดโพธิ์น้อย”

มีเนื้อที่ทั้งหมด 2 ไร่ 2 งาน 43 ตารางวา เป็นวัดที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตั้งแต่ปีพ.ศ.2522
this temple has found at began of winter in 2461BE. It’s abandon temple not too big land and contain a tunnel for walk Jongkrom (the walk style for concentrate of Buddhist there are 3 step or more) about 6 m. wild1.1 m dept 2.1 m.
Silapakorn bureau account this temple to be ancient remains since 2522 BE.
ในตำนานใบลานได้จารึกไว้ว่า พระภืกษุรูปหนึ่งชื่อ “พระมหาเถรจันทร์” ซึ่งเป็นพระเถรผู้ใหญ่ในยุคนั้นมีความแตกฉานในทางคดีโลกและคดีธรรม เป็นที่เคารพของคนทั้งหลาย พระเจ้ากือนา กษัตริย์อันดับที่7 ของ เมืองล้านนาไทยก็ได้ให้ความเคารพนับถือพระเถรจันทร์องค์นี้อย่างสูง เมื่อพระองค์มีข้อสงสัยประการใดก็ทรงให้อำมาตย์ ราชบุรุษนำราชยานไปรับ เพื่อเข้าเฝ้าชี้แจงข้อสงสัย
manuscript on Lan leaf said Mahaderajan is an important monk in Buddha words and good for teaching people. So he be respected from people and Guena King if the king has some trouble he always ordered his man to brought the monk for explain.
บางครั้งพระมหาเถรจันทร์ไปพำนักที่วัดไผ่ 11 กอ เชิงดอยสุเทพเพื่อความสงบ เมื่อพระเจ้ากือนาทรงทราบจึงให้อำมาตย์ราชบุรุษไปสร้างวัดอุโมงค์ไว้อีกที่หนึ่ง ในปี พ.ศ.1921 พระมหาเถรจันทร์จึงได้เป็นเจ้าอาวาสทั้งสองวัด เมื่อท่านอายุได้ 77 ปี มีพรรษาได้ 56 พรรษา ท่านก็ได้มรณะภาพลงที่วัดอุโมงค์แห่งนี้ในปี พ.ศ.1945
The abbot or Mahaderajan sometimes went to 11 clump of bamboos temple or in thai call wat pai sib ed kor. At the base of Suthep temple for concentrate. Guena king known and built the tunnel for him another one now we call the temple name as Umong temple he was die in 1945 BE. Here.

ประวัติ

วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ (วัดโพธิ์น้อย)

ชาวบ้านเรียกว่า วัดอุโมงค์เถรจันทร์ เดิมชื่อว่า “วัดโพธิ์น้อย”
People call WAT UMONGMAHATHERACHAN but the old name is Po noi temple.

วัดนี้ก่อตั้งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.1839-1840 สร้าง โดยพระมหากษัตริย์ทั้งสามพระองค์ คือ พญามังราย หรือพระเจ้าเม็งราย ผู้ปกครองเมืองเชียงราย พญางำเมือง ผู้ปกครองเมืองพะเยา และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยอ้างหลักฐานจาก “คัมภีร์ธรรมปัญหาเถรจันทศรมณ์” กล่าวคือเมื่อครั้งที่สร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อกษัตริย์ทั้งสามได้วางผังเมืองเรียบร้อยแล้ว จึงได้จัดสร้าง “วัดโพธิ์น้อย” ขึ้นเป็นวัดแรกของเชียงใหม่ และได้สร้างไว้ที่ในจุดกลางเมือง
this temple sat around 1839-1840 BE. Built from 3 kings that settle down Chiangmai city Mangrai king of Chiangrai city, Ngam muang King of Payao city, Ramkamhang maharaj King of Sukhotai. There is manuscript name Panya dera jan tamanee said about the time when began built chiangmai realm. The kings set Ponoi temple to be first temple of Chiangmai at the centre of the city.
อุโบสถสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1839-1840 เป็น ลักษณะทรงไทยแบบล้านนา ก่อด้วยอิฐถือปูนขาว เสาและโครงหลังคาเป็นไม้สักทั้งหลัง ของเดิมมุงด้วยกระเบื้องดินเผา ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นกระเบื้องเคลือบ

วิหารสร้างเมื่อปี พ.ศ.1910-1914 มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบล้านนาเช่นกัน
Ubosot sat around 1839-1840 BE. It’s Lanna(classic north) shape style built by brick and white cement. The pillars and roof structure is teak woods.
Vihan built at 1910-1914 BE. By Lanna style.
พระเจดีย์มี 2 องค์ พระเจดีย์อุโมงค์ องค์ที่ 1 ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวิหารหลวง เมื่อปี พ.ศ.1910 พระเจ้ากือนา หรือ พญากือนา กษัตริย์ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ องค์ที่ 6 ได้ บูรณะถวายท่านมหาเถรจันทร์ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์น้อยในขณะนั้น เมื่อบูรณะเสร็จ จึงเปลี่ยนชื่อวัดโพธิ์น้อยเป็นวัดอุโมงมหาเถรจันทร์ ส่วนพระเจดีย์องค์ที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวิหารหลวง สร้างเมื่อปี พ.ศ. 1916
there are 2 pagoda
The first one set at the south of Vihan in 1910 BE. Geu na King no.6 of Mengrai dynasty restored this temple for Mahaderajan the abbot of this temple when it’s finished they turn this temple name to be Maha derajan temple the next pagoda sat at the west of Vihan

ขอขอบคุณ http://templetourchiangmai.blogspot.com/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .