ประวัติความเป็นมาวัดโพธาราม

วัดโพธาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๔๗๔ ถนนโกสีย์ ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ รหัสไปรษณีย์ ๖๐๐๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๕๖๓๑ ๔๒๐๑ โทรสาร ๐ ๕๖๓๑ ๔๐๗๖

บริเวณพื้นที่ตั้งวัด

เป็นพื้นที่ราบลุ่มท่ามกลางตลาดปากน้ำโพ โดยมีถนนคั่นบริเวณวัดไว้ทั้ง ๔ ด้าน ตรงข้ามฟากถนนเป็นอาคารพาณิชย์ของทางวัดบ้าง ของเอกชนบ้าง ทิวทัศน์ห่างออกด้านหลังวัดเป็นเทือกเขากบ ด้านหน้าวัดเป็นแม่น้ำ ๔ สาย คือ ปิง วัง ยม น่าน ไหลมาบรรจบเป็นต้นทางของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นย่านการค้าทั้งทางบกและทางน้ำ การคมนาคมติดต่อกับทุกภาคของประเทศไทยได้โดยสะดวก

วัดโพธาราม มีเนื้อที่เฉพาะที่เป็นเขตสังฆาวาส ๑๕ ไร่ ๒ งาน ๖๗ วา โฉนดเลขที่ ๒๑๘๑
อาณาเขต
ทิศเหนือ จดถนนสวรรค์วิถี
ทิศใต้ จดถนนโกสีย์
ทิศตะวันออก จดถนนอรรกวี
ทิศตะวันตก จดถนนจุฬามณี

ประวัติความเป็นมา

วัดนี้เป็นวัดโบราณ ไม่ปรากฏนามท่านผู้สร้างและไม่ปรากฏปีที่สร้าง ที่ตั้งวัดเดิมอยู่ริมปากแม่น้ำปิง ฝั้งขวา มีต้นมะขาม ๒ ต้น ต้นตะกู ๑ ต้น ศาลาท่าน้ำ ๒ หลัง ทางด้านที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขปัจจุบันนี้ มีต้นมะเดื่อ ๑ ต้น ต่อมาได้ย้ายที่ตั้งบริเวณกุฏิออกมาตั้งด้านหลังดังที่ปรากฏในปัจจุบันนี้ ส่วนที่ธรณีสงฆ์แปลงหลังวัด เดิมเป็นป่าไผ่เป็นบริเวณเผาอัฐิของนางเอม เรียกกันว่า ยายเอม เผาอัฐิ
พระอุโบสถหลังเดิม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ สมัยพระสมุห์อิ่ม เป็นเจ้าอาวาส และหมื่นนรา เป็นทายก นับตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๓๕ ถึง พ.ศ.๒๔๘๑ เป็นเวลา ๔๖ ปี พระอุโบสถหลังใหม่ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๑ และผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๒ สมัยพระครูสวรรค์นคราจารย์ (ช่วง ติสฺสเถโร) เป็นเจ้าอาวาส โดยมีสมเด็จพระวันรัต (เขมจารี) เจ้าคณะมลฑลอยุธยา วัดมหาธาตุ พระนคร
เป็นประธานผูกพัทธสีมา มีหลวงปู่สูข วัดปากคลองมขามเฒ่า เป็นประธาน นั่งอธิฐานจิตในงานด้วย

ผู้ปฏิสังขรณ์วัด

วัดนี้ได้รับการปฏิสังขรณ์มาโดยลำดับ จนถึงสมัยพระครูสวรรค์นคราจารย์ เป็นเจ้าอาวาส เมื่อท่านยังเป็นพระครูธรรมบาลนั้น วัดถูกอัคคีภัยพร้อมกับตลาดปากน้ำโพ วัดโพธาราม ถูกไฟไหม้ เหลือแต่ที่ดินเท่านั้น ท่านได้วางโครงการพัฒนาวัดขึ้นใหม่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส โปรดให้ท่านเข้าเฝ้าเพื่อทรงทราบโครงการนั้น เมื่อได้ทรงทราบตามที่ท่านกราบทูลและถวายให้ทอดพระเนตรแล้วทรงพอพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับรับสั่งว่า นักปราชญ์ ไม่ใช่มีแต่ทางหนังสือเท่านั้น ทางนวกรรมก็เป็นนักปราชญ์เหมือนกัน แล้วทรงหมอบ วัดโพธาราม ให้ท่านดำเนินการตามโครงการนั้น ต่อมาตลาดปากน้ำโพถูกไฟไหม้อีก แต่วัดโพธาราม ไม่ถูกไหม้เหมือนเดิม พระครูสวรรค์นคราจารย์ ได้จัดสรรที่ดินวัดและที่ธรณีสงฆ์ให้เกิดประโยชน์ทุกส่วน ทำของเก่าให้ได้ผลทวีขึ้นทั้งยกของใหม่ให้เพิ่มพูลมากขึ้น ที่ธรณีสงฆ์ที่ท่านจัดหามาด้วยกัปปิยภัณฑ์ส่วนตัวก็มี เป็นอันว่าท่านได้สร้างวัดโพธารามขึ้นใหม่และสร้างศาสนสมบัติไว้บำรุงวัดโพธารามมากที่สุด เป็นผู้รักษาวัดและผลประโยชน์ของวัดไว้ได้อย่างดีที่สุด จนปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้

ลำดับเจ้าอาวาสเท่าที่ได้ทราบนามมี ๘ รูปคือ
รูปที่ ๑ พระสมุห์อิ่ม พ.ศ. ๒๔๓๐-๒๔๓๖
รูปที่ ๒ พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขต (ตั้ว) พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๔๕๕
รูปที่ ๓ พระครูต่วน พ.ศ. ๒๔๕๕-๒๔๕๗
รูปที่ ๔ พระครูสวรรค์นคราจารย์ (ช่วง ติสฺสเถระ) พ.ศ. ๒๔๕๗-๒๔๙๘
รูปที่ ๕ พระธรรมคุณาภรณ์ (เช้า ฐิตปญฺโญ ป.ธ.๙) พ.ศ. ๒๔๙๘-๒๕๑๓
รูปที่ ๗ พระสุนทรธรรมเวที (ประเทือง ธมฺมราโม) พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๔๐
รูปที่ ๘ พระเกศีวิกรม (กอง ติกฺขวีโร ป.ธ.๖) พ.ศ. ๒๕๔๑ – ปัจจุบัน

ขอขอบคุณ http://watphotharam.net/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .