ลำดับเจ้าอาวาสจากอดีต-ปัจจุบัน วัดโพธาราม

รูปที่ ๑ พระสมุห์อิ่ม พ.ศ. ๒๔๓๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๓๖
รูปที่ ๒ พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขต (ตั้ว) .ศ. ๒๔๓๖ ถึง พ.ศ. ๒๔๕๕
รูปที่ ๓ พระครูต่วน พ.ศ. ๒๔๕๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๕๗
รูปที่ ๔ พระครูสวรรค์นคราจารย์ (ช่วง ติสสเถระ) พ.ศ. ๒๔๕๗ ถึง พ.ศ. ๒๔๙๘
รูปที่ ๕ พระธรรมคุณาภรณ์ (เช้า ฐิตปญฺโญ ป.ธ.๙) พ.ศ. ๒๔๙๘ ถึง พ.ศ. ๒๕๑๓
รูปที่ ๖ พระเทพคุณาภรณ์ (พุฒ วุฑฒิทัตตเถระ) พ.ศ. ๒๕๑๔ ถึง พ.ศ. ๒๕๓๖
รูปที่ ๗ พระสุนทรธรรมเวที (ประเทือง ธมฺมกาโม ป.ธ.๖) พ.ศ. ๒๕๓๖ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๑
รูปที่ ๘ พระเกศีวิกรม (กอง ติกฺขวีโร ป.ธ.๖) พ.ศ.๒๕๔๑ ถึง ปัจจุบัน

ประวัติย่อของเจ้าอาวาส

เจ้าอาวาสวัดโพธาราม ตั้งแต่องค์แรกเป็นต้นมา ไม่ทราบว่ามีท่านผู้ใดบ้าง เท่าที่ทราบแน่ชัด ๘ รูปคือ

๑. พระสมุห์อิ่ม ภูมิลำเนาเดิมอยู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นผู้สร้างพระอุโบสถหลังเดิม และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕

๒. พระครูธรรมฐิติวงศ์ (ตั้ว) ภูมิลำเนาเดิมอยู่บ้านแสนตอ จังหวัดกำแพงเพชร ได้จัดตั้งโรงเรียนภาษาไทยขึ้นที่ศาลาการเปรียญวัดโพธาราม เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๘ ชื่อโรงเรียน “ธรรมฐิติวงศ์วิทยาคาร” โรงเรียนนี้ต่อมาเป็นโรงเรียนรัฐบาลมีชื่อในปัจจุบันว่า “โรงเรียนนครสวรรค์”

๓. พระครูต่วน ภูมิลำเนาเดิมอยู่บ้านพันลาน อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

ท่านได้ลาสิกขา พ.ศ. ๒๔๕๗

๔. พระครูสวรรค์นคราจารย์

พระครูสวรรค์นคราจารย์ มีประวัติย่อดังนี้

พระครูสวรรค์นคราจารย์ นามเดิม ช่วง ฉายา ติสฺสเถโร นามสกุล อาภาศรี เกิดเมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๑๗ ณ บ้านโพทูน อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง เป็นบุตรนายแสง นางแข อาภาศรี

เมื่อยังเยาว์ได้เรียนหนังสือไทยกับพระอาจารย์ไพ วัดกลาง อำเภอเมืองฯ จังหวัดอ่างทอง และเรียนกับ

พระอาจารย์โฉม วัดโคกดอกไม้ จังหวัดสิงห์บุรี บรรพชาสามเณรที่วัดโคกดอกไม้ ต่อมาลาสิกขาจากสามาเณร

ย้ายตามมารดาบิดามาอยู่ที่บ้านบางพระหลวง อำเภอเมือง ฯ จังหวัดนครสวรรค์

อายุ ๒๒ ปี อุปสมบทที่วัดเกรียงไกรกลาง อำเภอเมืองนครสวรรค์ พระอาจารย์ภู่ วัดทับกฤชใต้ เป็นพระอุปัชฌายะ พระอาจารย์กัน วัดเกรียงไกรกลาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ถม วัดทองธรรมชาติ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้ว เป็นเวลา ๕ พรรษา แล้วย้ายไปอยู่วัดบางมะฝ่อ ตำบลบางมะฝ่อ อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อศึกษาวิปัสสนาในสำนักพระอาจารย์สวน และเป็นครูสอนวิชาภาษาไทยในโรงเรียนวัดบางมะฝ่อ ต่อมาพระครูสวรรค์วิถีวิสุทธิอุตตมคณาจารย์ สังฆปาโมกข์ (ครุธ) เจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ ได้สั่งย้ายมาอยู่ประจำวัดโพธาราม เพื่อเป็นครูสอนภาษาไทยในโรงเรียนธรรมฐิติวงศ์วิทยาคาร และเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑

ต่อมา ได้เป็นพระสมุห์ ฐานานุกรมในพระครูสวรรค์วิถีวิสุทธิอุตตมคณาจารย์ สังฆปาโมกข์ ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร ผู้บัญชาการมณฑลนครสวรรค์ครั้งเป็นพระพิมลธรรม และต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร มีราชทินนามว่า พระครูสวรรค์นคราจารย์ เมื่อพระครูต่วน ลาสิกขาแล้ว ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธาราม และเป็นผู้รั้งตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ เป็นพระอุปัชฌายะ และเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๕ ถึงมรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘

เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๗ พระครูธรรมฐิติวงศ์วิทยาคาร ได้จัดตั้งโรงเรียนสอนชั้นมูลขึ้นที่ศาลาการเปรียญวัดโพธารามชื่อ “โรงเรียนธรรมฐิติวงศ์วิทยาคาร” และได้ขยายชั้นเรียนถึงชั้นประถมปีที่ ๑-๒-๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ เมื่อพระครูธรรมฐิติวงศ์ ลาสิกขาแล้ว พระครูสวรรค์นคราจารย์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่

พ.ศ. ๒๔๕๖ ทางราชการได้สร้างอาคารเรียนภาษาไทยขึ้นโดยเอกเทศ แยกจากศาลาการเปรียญได้เปิดเรียนที่อาคารไม้หลังใหม่เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๔๕๖ ขุนบรรเจิด วิชาชาญ เป็นครูใหญ่ พระครูสวรรค์นคราจารย์ ได้มีส่วนร่วมในการสร้างอาคารเรียนหลังนี้ด้วย เปิดเรียนได้ ๙ เดือน ตัวโรงเรียนถูกไฟไหม้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส รับสั่งกับพระครูสวรรค์นคราจารย์ว่า วัดก็ต้องการสถานที่กว้างขวางพอสมควร และโรงเรียนภาษาไทยก็ต้องการสถานที่กว้างขวางพอสมควร เมื่อโรงเรียนภาษาไทยถูกไฟไหม้และจำต้องสร้างขึ้นอีก ควรจัดหาสถานที่เหมาะสมนอกวัดให้ใหม่ พระครูสวรรค์นคราจารย์ ได้ร่วมกับทางราชการ ย้ายโรงเรียนธรรมฐิติวงศ์วิทยาคาร ออกไปตั้ง ณ สถานที่แห่งใหม่ ใกล้กับวัดนครสวรรค์ และโรงเรียนได้อยู่สถานที่นี้มานาน เพิ่งย้ายไปอยู่อาคารตึก ๓ ชั้น เมื่อปีการศึกษา ๒๕๐๕

พระครูสวรรค์นคราจารย์ ได้จัดตั้งโรงเรียนนักธรรมและจัดการสอนขึ้นในจังหวัดนครสวรรค์ ได้ขอตัว

พระมหาสิริ วัดมหาธาตุ พระนครมาเป็นครู และได้จัดการเปิดสอนประโยคนักธรรมขึ้นเป็นครั้งแรกในจังหวัดนี้ ทรง

พระกรุณาโปรดเกล้าให้สมเด็จพระวันรัต เขมจารี วัดมหาธาตุ ครั้งดำรงตำแหน่งพระธรรมไตรโลกาจารย์ เป็นแม่กองสอบไล่ ท่านได้กราบทูลขอประทานนามโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโพธาราม ต่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมชินวรสิริวัฒน์ วัดราชบพิธ จังหวัดพระนคร สมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์นั้น ประทานนามโรงเรียนพระปริยัติธรรมว่า “โรงเรียนมนุษยนาคประสิทธิ์”
มรณภาพเมื่อ ๑๓ มิถุนายน ๒๔๙๘ รวมสิริอายุ ได้ ๘๑ พรรษา ๕๙

๕. พระธรรมคุณาภรณ์
พระธรรมคุณาภรณ์ มีประวัติย่อดังนี้

พระธรรมคุณาภรณ์ นามเดิม เช้า ฉายา ฐิตปญฺโญ นามสกุล ยศสมบัติ เกิดวันพุธ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๘ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๔๕๒ ที่บ้านพยุหะ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นบุตรนายโฉม นางน้อย ยศสมบัติ

วิชาพิเศษ

พ.ศ. ๒๕๗๔ เรียนภาษาอังกฤษที่วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนคร

หน้าที่การงาน
๑.เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ประจำสำนักเรียนวัดเขาแก้ว อำเภอพยุหะคีรี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๒ ถึง พ.ศ. ๒๔๙๔ ต่อจากนี้ย้ายไปประจำอยู่ที่วัดโพธาราม อำเภอเมืองนครสวรรค์ เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๔๙๕

๒. เป็นกรรมการตรวจสอบบาลีสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๗๘

๓. เป็นกรรมการตรวจสอบนักธรรมสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๘๖

๔. เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนพยุหะวิทยา และเป็นผู้จัดการโรงเรียนพยุหะวิทยา วัดเขาแก้ว ใบอนุญาต ร. ๔ เลขที่ ๑๓ / ๒๔๙๐ ลงวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๙๐

๕. เป็นกรรมการสภามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ.๒๔๙๐

๖. เป็นกรรมการที่ปรึกษาสภามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๕

๗. เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการ ดำเนินการจัดทำพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๐๖

 

ตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์

๑. เป็นสมาชิกสังฆสภา

๒. เป็นเผยแผ่จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. ๒๔๘๕

๓. เป็นเจ้าคณะตรวจการผู้ช่วยภาค ๖ วันที่ ๕ ตุลาคม ๒๔๙๔

๔. เป็นรองเจ้าอาวาสวัดโพธาราม ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๙๕

๔. เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธาราม ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๙๓

การศึกษาในหลักสูตร
๑. มีการศึกษานักธรรมครบ ๓ ชั้น คือ ชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก

๒. มีการศึกษาบาลีไวยากรณ์ครบทั้ง ๖ ชั้น ตั้งแต่ชั้นมูล ๑ ถึง ชั้นมูล ๖

๓. มีการศึกษาบาลีคัมภีร์ ๗ ชั้น คือ เปรียญตรี ๓ ชั้น เปรียญโท ๓ ชั้น

เปรียญเอก ๓ ชั้นดังนี้

ชั้นที่ ๑ เปรียญตรี คือชั้นเปรียญ ๓ ประโยค

ชั้นที่ ๒ เปรียญโท คือชั้นเปรียญ ๔ ประโยค

ชั้นที่ ๓ เปรียญโท คือชั้นเปรียญ ๕ ประโยค

ชั้นที่ ๔ เปรียญโท คือชั้นเปรียญ ๖ ประโยค

ชั้นที่ ๕ เปรียญเอกชั้นสามัญ เรียกย่อว่า เอก ส.

คือ ชั้นเปรียญ ๘ ประโยค

ชั้นที่ ๖ เปรียญเอกชั้นมัฌชิมะ เรียกย่อว่า เอก ม.

คือ ชั้นเปรียญ ๘ ประโยค

ชั้นที่ ๗ เปรียญเอกชั้นอุดม เรียกย่อว่า เอก อุ.

คือ ชั้นเปรียญ ๙ ประโยค

การศึกษานอกหลักสูตร
๑. มีการศึกษาพระไตรปิฎก ๓ ภาค เป็นวิชาบังคับ บทเรียนเป็นภาษาอังกฤษทั้ง ๓ ปิฎกเปิดสอนตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๒ พระสงฆ์พม่าซึ่งวัดได้ขอต่อสภาพุทธศาสนาแห่งสหภาพพม่า

เป็นอาจารย์สอนประจำตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๒ จนถึงปัจจุบัน

๒. มีการสอนภาษาอังกฤษ แก่พระภิกษุสามเณร เป็นวิชาบังคับไม่เก็บค่าเล่าเรียน

ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้าพระพุทธศาสนาชั้นสูง

๓. มีการสอนภาษาไทยชั้น ป. ๗ และชั้น ม.ศ. ๓ ไม่บังคบโรงเรียนภาษาไทยนี้เป็นโรงเรียน

ผู้ใหญ่ภาคมัธยมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ ถวายให้มาตั้งในวัดโพธาราม ทางวัดรู้สึกทราบซึ้ง

ในความอุปการะของกระทรวงศึกษาธิการเป็นอย่างยิ่ง

๔. มีโรงเรียนสอนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์แก่เด็กชาย-หญิง โดยไม่เก็บเงินค่าเล่าเรียนใด ๆ

ตั้งเมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๐๑

การอุปการะการศึกษา
๑. ทางวัด จัดตั้งงบประมาณจากเงินศาสนสมบัติของวัด เป็นค่าภัตตาหารถวายแด่พระภิกษุสามเณรเป็น

ประจำเดือน เดือนหนึ่งจ่ายเงินค่าภัตตาหารเป็นจำนวนหลายหมื่นบาท พระภิกษุสามเณรจำนวนมาก ไม่ลำบากด้วย

เรื่องภัตตาหาร

๒. ทางวัด จัดตั้งงบประมาณจากเงินศาสนสมบัติของวัดเป็นนิตยภัตรครูสอนพระปริยัติธรรม ประจำเดือน เป็นอัตราประจำ เพื่อให้การศึกษาของวัดประกอบด้วยฐิติ และสัณฐิติ คือ ความตั้งอยู่ได้และความตั้งมั่นได้ด้วยดี

๓. ทางวัด จัดตั้งงบประมาณจากเงินศาสนสมบัติของวัดเป็นค่าน้ำและค่าไฟฟ้า พระภิกษุสามเณร ไม่ต้อง

เสียค่าน้ำและค่าไฟฟ้า

พระธรรมคุณาภรณ์ มรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๑๓

๖. พระเทพคุณาภรณ์ (พุฒ วุฑฺฒิทตฺตเถโร)
พระเทพคุณาภรณ์ มีประวัติย่อดังนี้

นามเดิม พุฒ นามสกุล เจริญศิลป์ เกิดวันพุธ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ ๒๑ มิถุนายน

พุทธศักราช ๒๔๓๖ เป็นบุตรของนายดั๊ดย่วน แซ่ผู่ และนางแป้งหอม หมู่ที่ ๕ ตำบลหัวดง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๙ คน ดังนี้

๑. นางชุ่ม
๒. นางยียวน
๓. นางสายหยุด
๔. พระเทพคุณาภรณ์
๕. นายมนุษยเทพ
๖. นายซ่าย
๗. นายต่อ
๘. นายสำราญ สินาคม
๙. นายบุญแทน

อุปสมบท

เมื่อวันพุธ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ ปีกุน ตรงกับวันที่ ๙ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๕๖ ณ พัทธสีมาวัดหัวดงเหนือ ตำบลหัวดง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ พระครูสวรรค์นคราจารย์ วัดชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการพรหม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสมุห์โต๊ะ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

งานปกครอง
พ.ศ.๒๔๖๐ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดหูกวาง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์

พ.ศ.๒๔๖๑ เป็นเจ้าอาวาสและเจ้าคณะตำบลหูกวาง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์

พ.ศ.๒๔๖๙ เป็นเจ้าอาวาสวัดพรหมจริยาวาสและรักษาการเจ้าคณะแขวงปากน้ำโพ

พ.ศ.๒๔๗๐ เป็นเจ้าคณะแขวงปากน้ำโพ และเป็นพระอุปัชฌาย์แขวงปากน้ำโพ

พ.ศ.๒๔๙๙ เป็นเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์

พ.ศ.๒๕๑๔ เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธาราม พระอารามหลวง อำเภอเมือง ฯ จังหวัดนครสวรรค์

งานสาธารณูปการ

พ.ศ.๒๕๑๔ ได้สร้างกำแพงแบ่งเขตภายในวัดออกเป็นเขตสังฆาวาส และเขตพุทธาธิวาสเพิ่มขึ้นอีกชั้นหนึ่ง
สร้างหอระฆัง ๑ หลัง สร้างกุฏิตึกสำหรับเจ้าอาวาส เป็นตึกทรงไทย ๒ ชั้น ๑ หลัง

พ.ศ.๒๕๑๕ ได้สร้างอาคารเรียน โรงเรียนปริยัติธรรม “ธรรมคุณาภรณ์ประสาธน์” เป็นตึกทรงไทย ๓ ชั้น ๆ ละ ๕ ห้องเรียน ๑ หลัง ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่เรียนบาลีนักธรรม และพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

พ.ศ.๒๕๑๘ ได้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ และแท่นพระประธานในพระอุโบสถหลังใหม่ พร้อมทั้งปิดทองพระประธานและพระอัครสาวกใหม่

พ.ศ.๒๕๒๐ ได้สร้างสภาบริหารคณะสงฆ์ มนุษยนาคประสิทธิ์ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นอาคารทรงไทย เป็นอาคารตึก ๓ ชั้น มุงด้วยกระเบื้องเคลือบ มีช่อฟ้าใบเทศ สิ้นค่าก่อสร้างเป็นเงิน ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สี่ล้านบาทถ้วน)
พระเทพคุณาภรณ์ มรณภาพ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖

๗. พระสุนทรธรรมเวที (ประเทือง ธมฺมกาโม ป.ธ.๖)

พระสุนทรธรรมเวที มีประวัติย่อดังนี้

นามเดิม ประเทือง นามสกุล แก้วโชติ เกิดวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๐ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๕ ค่ำ

เดือน ๓ ปีเถาะ ณ บ้านเลขที่ ๑๖๐ หมู่ที่ ๗ ตำบลบางไผ่ อำเภอบางมูลนาค จังหวัดพิจิต เป็นบุตรของนายน้อย นางทองม้วน แก้วโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๗ คน คือ

๑. นางกิมลี้ กล่ำโภชน์

๒. นางกิมยุ้ย วงศ์คล้าย

๓. พระสุนทรธรรมเวที

๔. นางประทุม จันทบาล

๕. ร.อ.ปรีชา แก้วโชติ

๖. นางประทม หาภา

๗. นางประทีบ แก้วโชติ

บรรพชา

เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๖ ณ วัดบางมูลนาก ตำบลหอไกร อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร

อุปสมบท

เมื่อวันอังคาร แรม ๖ ค่ำ เดือน ๖ ปีกุน ตรงกับวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ ณ วัดห้วยคต

ตำบลบ้านไผ่ อำเภอยบางมูลนาค จังหวัดพิจิตร มีพระทีฆทัสสีมุนีวงศ์ วัดท่าหลวง ตำบลท่าหลวงปากทาง

อำเภอเมือง ฯ จังหวัดพิจิตร เป็นพระอุปัชฌาย์

วิทยฐานะ

พ.ศ.๒๔๘๔ จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนประชาบาลวัดห้วยคต ตำบลบางไผ่ อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร

พ.ศ.๒๔๘๙ สอบได้ น.ธ.เอก สำนักเรียนวัดนครสวรรค์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

พ.ศ.๒๕๐๒ สอบได้ ป.ธ. ๖ สำนักเรียนวัดนครสวรรค์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

งานปกครอง

พ.ศ.๒๕๐๔ เป็นเจ้าอาวาสวัดแสงสวรรค์ อำเภอชุมแสง และเป็นผู้รักษาการเจ้าคณะอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

พ.ศ.๒๕๐๘ เป็นเจ้าคณะอำเภอชุมแสง

พ.ศ.๒๕๐๙ เป็น พระอุปัชฌาย์

พ.ศ.๒๕๒๗ เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ , เป็นรองเจ้าอาวาสวัดโพธาราม พระอารามหลวง

พ.ศ.๒๕๓๖ เป็นเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ ,เป็นผู้รัษาการแทนเจ้าอาวาสวัดโพธาราม พระอารามหลวง

พ.ศ.๒๕๓๘ เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธาราม พระอารามหลวง จังหวัดนคสรวรรค์

สมณศักดิ์

พ.ศ.๒๕๐๓ รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นโท ที่ พระครูนิทัศนสารโกวิท

พ.ศ.๒๕๑๒ รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

พ.ศ.๒๕๑๙ รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม

พ.ศ.๒๕๓๑ รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ พระสุนทรธรรมเวที

พระสุนทรธรรมเวที มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๐ เวลา ๐๔.๐๐ น. รวมสิริอายุ ๗๐ ปี

๗ เดือน ๒๖ วัน

ขอขอบคุณ http://watphotharam.net/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .