วัดป่าแสงอรุณ

watpasangarun-konkaen17

ตั้งอยู่ตำบลพระลับ อำเภอเมือง ห่างจากศาลากลางจังหวัดขอนแก่นประมาณ 3 กิโลเมตร ตามเส้นทางขอนแก่น-กาฬสินธุ์ สิมอีสาน(อุโบสถ) ได้เน้นถึงรูปแบบ ทรวดทรง ความมั่นคงสามารถคุ้มแดดคุ้มฝน ตลอดจนความวิจิตรงดงามของภาพเขียนฝาผนังลายผ้าไหมมัดหมี่ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดขอนแก่น เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้และอนุรักษ์สถาปัตยกรรมท้องถิ่น อันเป็นการปลูกฝังแนวความคิดสร้างสรรค์ที่ดีต่อไป อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดขอนแก่นตลอดไป

โบสถ์วัดป่าแสงอรุณ มีลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบอีสานตอนบน ผสมกับสถาปัตยกรรมภาคกลาง ด้านหน้าสู่ทิศตะวันออก มีความกว้าง ๑๕ เมตร ความยาว ๓๔ เมตร ปลียอดบนทำด้วยโลหะทองคำบริสุทธิ์สูงจากพื้น 60 เมตร จำนวนเสา 52 ต้น หน้าต่าง 14 ช่อง ประตู 3 ช่อง หลังคามุงด้วยกระเบื้องเกล็ดปลาสีแดงส้มแบบโบราณ มีหอระฆัง 4 หอที่มุมกำแพงแก้วทั้งสี่มุม ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 9 ปี ใช้งบประมาณ 49 ล้านบาทถ้วน

ส่วนประกอบของสิมอีสาน(อุโบสถ) อันดับแรกคือบันได เพราะบันไดสิมเหมือนก้าวแรกของการประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมทางพุทธศาสนาเปรียบเหมือนมรรค 8 องค์ ข้อแรกคือสัมมาทิฐิหมายถึงการเดินถูกทางแล้ว บันไดสิมนั้นช่างพื้นบ้านอีสานนิยมสร้างรูป พญานาค เฝ้าบันไดทั้งสองข้าง และรูปสัตว์อีกชนิดหนึ่งคือ สิงห์ หรือ มอมอีสาน รูปปั้นสิงห์หรือมอมเป็นรูปปั้นเฝ้าบันไดทางขึ้น ซึ่งเป็นรูปแบบสิงห์ที่แตกต่างจากภาคอื่นๆ

รูปสัตว์เฝ้าบันไดสิมอีสาน วัดป่าแสงอรุณส่วนชั้นฐานตอนล่างสุดของอาคาร ซึ่งเป็นลานประทักษิณรอบตัวสิมมีบันไดขึ้นลงสี่ทิศ เป็นรูปสัตว์ที่แกะสลัก ด้วยหินทรายซึ่งมีความทนทานแข็งแกร่งต่อสภาพดินฟ้าอากาศของภาคตะวันออกเฉียงเหนืเป้นอย่างดี ประกอบด้วย รูปคชสีห์ ราชสีห์ พญาช้าง และพญาเสือ
ผนังด้านในสิม จะเขียนเป็นลายมัดหมีชนิดต่างๆ และรูปเทพเทวดาประทับนั่งในซุ้ม อย่างวิจิตรสวยงาม บานหน้าต่างแกะรูปเรื่องราวมหาเวสสันดรชาดกกันฑ์ต่างๆ

บันไดส่วนชั้นฐานสิมอีสานด้านทิศตะวันออก มีรูป คชสีห์สองตัว เฝ้าหน้าสิมอีสาน คชสีห์เป็นสัตว์ผสมระหว่างช้างและราชสีห์ มีงวง มีงา ตัวเป็นราชสีห์ มีกีปเท้า เป็นสัตว์ในนวนิยาย อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์..

คชสีห์ที่เฝ้าบันไดสิมอีสานแฝงคติธรรมที่เชื่อว่า คชสีห์มีกำลังมหาศาลรวมกันระหว่างกำลังแห่งช้างและกำลังแห่งราชสีหื คชสีห์เป็นสัญญลักษณ์แห่การมีอำนาจ มีตบะ มีเดชะ คชสีห์เฝ้าบันไดทางทิศบูรพาทิศเบื้องหน้าแห่งพุทธองค์ อันเสมือนกำลังอำนาจของพระอัญญาโกณฑัญญะที่คอยถวายอุปถากพระพุพธเจ้า หรือคอยปกป้องสิมอีสานอันประดุจหัวใจแห่งอารามแห่งพระพุทธศาสนา และแห่งพุทธศาสนิกชนนั่นเอง

ขอขอบคุณ http://www.sadoodta.com

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .