สิมอีสาน วัดป่าแสงอรุณ

1251641754

สิมอีสาน (โบสถ์วัดป่าแสงอรุณ) “โบสถ์” ชาวอีสานเรียกว่า “สิม” ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดป่าแสงอรุณ เลขที่ ๔๔๙ บ้านเลิงเปือย (บ้านแอวมอง) หมู่ที่ ๙ ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต อยู่ห่างจากตัวศาลากลางเมืองขอนแก่นไปทางทิศตะวันออก ประมาณ ๓ กิโลเมตร วัดป่าแสงอรุณได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๒๘ สร้างวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓

โบสถ์วัดป่าแสงอรุณ มีลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบอีสานตอนบน ผสมกับสถาปัตยกรรมภาคกลาง ด้านหน้าสู่ทิศตะวันออก มีความกว้าง ๑๕ เมตร ความยาว ๓๔ เมตร ปลียอดบนทำด้วยโลหะทองคำบริสุทธิ์สูงจากพื้น ๖๐ เมตร จำนวนเสา ๕๒ ต้น หน้าต่าง ๑๔ ช่อง ประตู ๓ ช่อง หลังคามุงด้วยกระเบื้องเกล็ดปลาสีแดงส้มแบบโบราณ มีหอระฆัง ๔ หอที่มุมกำแพงแก้วทั้งสี่มุม ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง ๙ ปี ใช้งบประมาณ ๔๙ ล้านบาทถ้วน

ส่วนประกอบของสิมอีสานอันดับแรกคือบันได เพราะบันไดสิมเหมือนก้าวแรกของการประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมทางพุทธศาสนาเปรียบเหมือนมรรค 8 องค์ ข้อแรกคือสัมมาทิฐิหมายถึงการเดินถูกทางแล้ว บันไดสิมนั้นช่างพื้นบ้านอีสานนิยมสร้างรูป พญานาค เฝ้าบันไดทั้งสองข้าง และรูปสัตว์อีกชนิดหนึ่งคือ สิงห์ หรือ มอมอีสาน รูปปั้นสิงห์หรือมอมเป็นรูปปั้นเฝ้าบันไดทางขึ้น ซึ่งเป็นรูปแบบสิงห์ที่แตกต่างจากภาคอื่นๆ…

รูปสัตว์เฝ้าบันไดสิมอีสาน วัดป่าแสงอรุณส่วนชั้นฐานตอนล่างสุดของอาคาร ซึ่งเป็นลานประทักษิณรอบตัวสิมมีบันไดขึ้นลงสี่ทิศ เป็นรูปสัตว์ที่แกะสลัด้วยหินทรายซึ่งมีความทนทานแข็งแกร่งต่อสภาพดินฟ้าอากาศของภาคตะวันออกเฉียงเหนืเป้นอย่างดี ประกอบด้วย รูปคชสีห์ ราชสีห์ พญาช้าง และพญาเสือ

เสือ ปรากฏในคัมภีร์ทางพุทธศาสนามักจะถูกนำมาเปรียบเทียบ หรือปรากฏในชาดกซึ่งเป็นพระชาติของพระพุทธเจ้าที่ทรงเสวยพระพุทธชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ในสถาปัติยกรรมการก่อสร้างพุทธสถานสมัยก่อนมักไม่นิยมรูปเสือนัก แต่ในภาคอีสานรูปปั้นเสือ หรือรูปแกะสลักเสือมีปรากฏอยู่บ้าง เข้าใจว่าเพื่อความสวยงามและแปลกตากว่าที่อื่นๆ…

การทำช่อฟ้าหรือโหง่ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมทางอีสานเหนือ หรือตลอดลุ่มแม่น้ำโขง จุดประสงค์เพื่อบูชาพระรัตนตรัยเป้นหลักสำคัญ เช่น 3 ชั้น บูชา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์หรือบูชาพระพุทธเจ้าในกลาลทั้งสาม ได้แก่อดีตพุทธ ปัจจุบันพุทธ และอนาคตพุทธ เป็นต้น

ถ้า 5 ชั้นก็เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ หรือบูชาพลธรรม 5 ประการ เป็นต้น
ส่วน 7 ชั้น เพื่อบูชาอริยทรัพย์ 7 ประการเป็นต้น
หาก 9 ชั้น ก็เพื่อบูชาโลกุตตรธรรม 9 ประการเป็นต้น

มิได้หมายถึงการทำฉัตรตามฐานันดรศักดิ์ หรือตามยศ-ตำแหน่งหน้าที่ทางฝ่ายบ้านเมือง เช่นที่เห็นในปัจจุบันที่นิยมและเข้าใจกันในส่วนกลาง….

ช่อฟ้าหรือโหง่ อีกความเชื่อหนึ่ง หากจะมองในแง่แนวคิดที่เกิดมาจากศาสนาพราหมณ์และฮินดู บริเวณวัดๆหนึ่ง คือการจำลองเขาพระสุเมรุมาเช่นกัน (เป้นอันเดียวกับเขาไกรลาศในพุทธศาสนา) ความเชื่อนี้ถูกนำไปจัดป็นองค์ประกอบบนหลังคาของอาคาร เช่น โบถส์วิหาร จะมีกุฎาคาร 7 ยอด สัญญลักษณ์แทนเขาพระสุเมรุ และทะเลสีทันดร ซึ่งคั่นระหว่างกันไปมา พร้อมมีนาคพันรอบอยู่ในพิธีกวนเกษียณสมุทร ดูได้จากหลังคาวิหารหลวงวัดเชียงทอง เมืองหลวงพระบาง…

ทิศประจิมหรือทิศตะวันตก มีราชสีห์สองตัวนั่งเฝ้าบันไดด้านหลังสิมอีสาน ราชสีห์ คือพญาสิงห์โต หรือเรียกว่าสิงหราช หรือสีห…. เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “สีห” เป็นสรรพนามของพระพุทธเจ้า นั่นคือคำว่า พระชินสีห์ ซึ่งแปลว่าราชสีห์ผู้ชนะ การที่ชาวพุทธใช้คำว่า สีห เป็นพระนามของพระพุทธเจ้าก็เพราะต้องการเปรียบเทียบกำลังแห่งพระปัญญา อำนาจแห่งพระธรรมอันบริสุทธิ์ลึกซึ้ง และความเป็นใหญ่กว่ามนุษย์
ทั้งหลายของพระพุทธเจ้า..

ทิศอุดร หรือทิศเหนือ ประตูสิมอีสานด้านนี้มีรูปช้างสองเชือกหมอบถือดอกบัวเฝ้าบันไดดูสง่างามให้ความรู้สึกอ่อนโยนเมื่อพบเห็นรูปช้างดังกล่าวพอทำให้ทราบว่าเป็นพญาช้างปาริเลยยกะซึ่งมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับพระพุทธองค์…

ในพรรษาที่ 10 พระพุทธเจ้าได้ประทับจำพรรษา ณ โคนต้นไม้สาละ ป่าปาริเลยยกะ หรือป่ารักขิตวันอยู่ในแคว้นโกศลระหว่างกรุงโกสัมพีกับกรุงสาวัตถี พญาช้างปาริเลยยกะ ซึ่งปลีกตัวจากฝูงในป่า เห็นพระพุทธเจ้ามาประทับอยู่โคนต้นสาละจึงถวายอุปัฏฐาก ด้วยอาการต่างๆตลอพรรษามิได้ขาด..

ขอขอบคุณ http://www.bloggang.com/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .