วัดสุทัศน์

224-2476_IMG

การสร้างวัดสุทัศน์ฯ ให้มีสัญลักษณ์เปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ ไม่ว่าจะเป็นหน้าบันรูปพระอินทร์ ชื่อวัดที่ตั้งตามชื่อเมือง ” สุทัสสนะนคร ” อันเป็นเมืองที่พระอินทร์ปกครอง รวมไปถึงทำเลที่ตั้งวัดสุทัศน์นี้ก็ถูกเลือกมาสร้างในตำแหน่งกึ่งกลางของอาณาบริเวณกรุงเทพในยุคนั้น ล้วนแต่จะสื่อให้เห็นความยิ่งใหญ่ของราชธานีแห่งนี้
ไม่ได้เกี่ยวอะไรกันกับที่้คนมาไหว้พระวัดนี้ แล้้วจะกลายเป็น “ผู้มีวิสัยทัศน์” ไปได้
ส่วนมุขเด็จหรือมุขที่ยื่นออกมา มีหน้าบันเป็นรูปพระนารายณ์ทรงสุบรรณ เป็นส่วนที่สร้างเพิ่มเติมขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งก็เป็นไปตามคติทั่วไปที่วัดของพระเจ้าแผ่นดินที่ถือเสมือนว่าเป็นองค์นารายณ์อวตาร มักจะมีหน้าบันลักษณะนี้

ภายในพระวิหารนั้นมี พระศรีศากยมุนี ประดิษฐานเป็นประธานอยู่
พระศรีศากยมุนีนี้นั้นรัชกาลที่ 1 โปรดให้เชิญลงมาจากวิหารหลวง วัดมหาธาตุ สุโขทัย ซึ่งได้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระมหาธรรมราชาลิไทยหรือราวหกร้อยกว่าปีมาแล้ว ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้มีวัดใหญ่เช่นวัดพนัญเชิงที่อยุธยาไว้ในพระนคร
เมื่อเชิญองค์พระลงมาถึงที่ริมท่าช้างวังหลวงแล้ว ไม่สามารถเชิญเข้าเมืองมาได้เพราะองค์พระใหญ่คับประตู รัชกาลที่ 1 ต้องโปรดให้รื้อประตูเมืองลง ท่าที่เชิญพระขึ้นมานี้ในสมัยนั้นเรียกว่าท่าพระ แต่ต่อมาก็เรียกเป็นท่าช้างวังหลวงอย่างเดิม เพราะผู้คนต่อ ๆ มาไม่เห็นองค์พระ เห็นแต่ช้างในวังหลวงลงมาอาบน้ำที่ท่านี้
บริเวณใต้ฐานของพระประธานประดิษฐานพระบรมสรีรางคารของรัชกาลที่ 8 อยู่ด้วย

เมื่อแรกสร้างวัดนั้นเพียงเชิญพระมาตั้งขึ้นที่ได้ รัชกาลที่ 1 ก็เสด็จสวรรคต การก่อสร้างวิหารมาทำต่อในสมัยรัชกาลที่ 2 แต่การก่อสร้างวัดยังไม่เรียบร้อยดี เสร็จเพียงเฉพาะวิหารเท่านั้นรัชกาลที่ 2 ก็เสด็จสวรรคตไปก่อน
ในการก่อสร้างพระวิหารนั้น รัชกาลที่ 2 ซึ่งทรงพระปรีชาในงานเชิงช่าง ได้มีพระราชศรัทธาสลักบานประตูพระวิหารด้วยฝีพระหัตถ์เป็นประเดิมไว้ด้วย ซึ่งเดิมบานประตูกลางนั้นเป็นบานที่เป็นฝีพระหัตถ์ของรัชกาลที่ 2 แต่ได้ถูกไฟไหม้บางส่วนจึงได้ถอดไปเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ซึ่งถ้ามีโอกาสก็น่าจะได้ไปชมกัน

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 จึงสร้างส่วนอื่น ๆ ต่อให้เสร็จ ดังนั้นวัดสุทัศน์นี้ต้องนับว่าสร้างต่อเนื่องกันมาถึง 3 แผ่นดิน โดยส่วนใหญ่นั้นจะสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 จะเว้นก็แต่พระวิหารเท่านั้นที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 2

ขอขอบคุณ http://www.thaiweekender.com

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .