วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

dsc_3763

ตั้งอยู่บริเวณถนนนครปฐมติดคลองเปรมประชากร ระหว่างสถานที่สำคัญๆ คือ พระราชวังดุสิต พระที่นั่งอนันตสมาคม พระตำหนักจิตลดารโหฐาน เขาดินวนา และทำเนียบรัฐบาล มีกำแพงล้อมรอบและซุ้มประตูเข้า-ออก เป็นเหล็กหล่อลวดลายโปร่งเหมือนกันหมดทั้ง 4 ด้าน

ทิศเหนือ : มี 3 ประตู
ทิศใต้ : มี 2 ประตู ทิศตะวันออก : มี 3 ประตู
ทิศตะวันตก : มี 2 ประตู

ประวัติ  เป็นอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรวิหาร เดิมเป็นวัดโบราณ ชื่อเดิมว่า “วัดแหลม” หรือ “วัดไทรทอง” สมัยรัชกาลที่ 5 กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 โปรดตั้งกองทัพรับขบถเจ้าอนุวงศ์ที่วัดนี้ หลังเสร็จจากการรบแล้วได้มีศรัทธาปฏิสังขรณ์วัดแหลม โดยร่วมกับพระเจ้าน้องยาเธอ รวม 4 พระองค์ คือ กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ พระองค์เจ้าหญิงอินทนิล และพระองค์เจ้าหญิงวงศ์ ในการปฏิสังขรณ์ครั้งนี้โปรดให้สร้างพระเจดีย์ไว้เป็นอนุสรณ์ 5 องค์ เรียงอยู่ด้านหน้าวัด สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดพระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดเบญจมบพิตร” หมายถึง วัดของเจ้านาย 5 องค์ ต่อมารัชกาลที่ 5 ทรงขยายพระนคร ซื้อที่ดินบริเวณคลองสามเสนและคลองผดุงกรุงเกษมตอนเหนือของวัดเบญจมบพิตรที่ทรุดโทรมทรงทำผาติกรรมขึ้นเป็นวัดใหม่ให้งดงามสมกับเป็นพระอารามหลวง โปรดให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ เป็นประธานในการก่อสร้างวัดใหม่ทั้งหมดแล้วพระองค์ทรงเป็นประธานในการผูกพัทธสีมาในปี 2442 ทรงพระราชทานนามเติมอักษร “ม” และเพิ่มสร้อยว่า “วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม” หมายถึงวัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5 ทรงแสดงพระราชประสงค์ให้นำพระสรีรังคารมาบรรจุไว้ภายใต้รัตนบัลลังก์ พระ-

พุทธชินราชพระประธานในพระอุโบสถ ปี 2444 รัชกาลที่ 5 ได้ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ โปรดให้สร้างด้วยหินอ่อนที่สั่งมาจากประเทศอิตาลี และในปี 2453 พระองค์ได้เสด็จสวรรคตก่อนการสร้างแล้วเสร็จ
สมัยรัชกาลที่ 6 โปรดให้ดำเนินการต่อ โปรดให้ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ประดับตกแต่งหินอ่อนฝาผนังและพื้นพร้อมรัตนบัลลังก์ ให้ช่างเขียนลายไทยที่ฝาผนัง และอัญเชิญพระสรีรังคารในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาบรรจุไว้ใต้รัตนบัลลังก์พระพุทธชินราชในพระอุโบสถ

ขอขอบคุณ http://www.lib.su.ac.th/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .