วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

วัด สระเกศราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ตั้งอยู่ในแขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แต่มีสร้อยว่าวรมหาวิหาร มีอีกวัดเดียวที่มีสถานภาพเช่นนี้ คือวัดชนะสงคราม เดิมวัดสระเกศไม่ได้มีชื่อเช่นนี้ แต่เดิมชื่อวัดสะแก สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ชื่อสามัญ วัดสะแก
ประเภท
พระอารามหลวงชั้นโท
ที่ตั้ง
แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
( ที่อยู่ : แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร โทร. 0 2225 5873 )

พระประธาน

พระพุทธรูปสำคัญ   วัด สระเกศราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ตั้งอยู่ในแขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แต่มีสร้อยว่าวรมหาวิหาร มีอีกวัดเดียวที่มีสถานภาพเช่นนี้ คือวัดชนะสงคราม เดิมวัดสระเกศไม่ได้มีชื่อเช่นนี้ แต่เดิมชื่อวัดสะแก สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าต่างและลวดลายที่หอไตรบ่งบอกว่าเป็นของที่สร้างตั้งแต่สมัยกรุง ศรีอยุธยาตอนปลาย ใน พ.ศ. ๒๓๒๕ เกิดจลาจลในกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ เสด็จยกทัพกลับจากประเทศเขมรทรงกระทำพิธีเข้าโขลนทวารที่วัดนี้ซึ่งในขณะ นั้นเป็นวัดป่าประทับที่ริมสระใหญ่ ทรงให้พักไพร่พลและลงสรงในสระ ทรงสระพระเกศา แล้วนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีมุรธาภิเษกได้ประทับอยู่ที่นี่สามวันเพื่อสืบสาว ราวเรื่อง อาจจะได้ทรงตั้งสัตยาธิษฐานที่วัดนี้ แล้วเคลื่อนพลไปยังวัดโพธิ์แล้วจึงข้ามน้ำไปปราบจลาจลที่กรุงธนบุรี ต่อมาทรงปราบดาภิเษก แล้วมีพระราชดำริให้ตั้งพระนครที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นฝั่งที่กระแสน้ำไม่พุ่งเข้าหา ทำให้ตลิ่งพังเหมือนฝั่งกรุงธนบุรี

ใน พ.ศ. ๒๓๒๕ หลังจากสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงปราบดาภิเษกแล้ว ทรงย้ายพระนครมาอีกฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างเป็นกรุงเทพฯ พร้อมทั้งโปรดเกล้าให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) เพื่อประดิษฐานพระแก้วมรกต เมื่อสร้างวัดพระแก้วอยู่นั้น ได้ทรงพระราชปรารภถึงวัดสะแก และทรงระลึกถึงเสียงระฆังของวัดนี้ว่าเสียงดังเพราะมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายระฆังวัดสะแกไปแขวนไว้ที่หอระฆังวัดพระแก้ว ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๒๘ พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองรอบวัดสะแกได้ชื่อว่าคลองมหานาคและคลองโอ่งอ่าง วัดสระเกศในเวลานั้นจึงมีสภาพเหมือนเกาะมีน้ำล้อมรอบ (คลองต่างๆ นี้ถูกถมไปเมื่อครั้งมีการสร้างถนนในสมัยรัชกาลที่ ๕) เมื่อทรงสร้างพระบรมมหาราชวังแล้ว ใน พ.ศ. ๒๓๒๖ จึงทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดสะแก โดยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอุโบสถวัดสะแกใหม่ ใช้เชลยศึกถึง ๑๐,๐๐๐ คนในการสร้าง เมื่อสร้างพระอุโบสถใหม่ฐานซุกซีสูงกว่าเดิมมาก ทำให้ดูเหมือนว่าพระประธานเดิมที่สร้างด้วยศิลาสลักเป็นปางสมาธินั้นดูเล็ก ลงไม่สมกับขนาดของพระอุโบสถที่สร้างขึ้นใหม่ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระประธานใหม่ด้วยการเอาปูนปั้นพอกองค์พระประธานเดิม แล้วลงรักปิดทอง จึงเหมือนว่ามีองค์พระประธานซ้อนกันอยู่สององค์ องค์ใหม่อยู่นอกองค์เก่า ด้วยเหตุนี้จึงไม่พระราชทานซื่อพระประธานประจำพระอุโบสถเพราะเป็นพระที่มีมา แต่เดิมซ้อนอยู่ แต่พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดสระเกศ” คนทั่วไปจึงเรียกพระประธานประจำพระอุโบสถว่า “พระประธาน”

พระพุทธรูปประธาน
พระประธาน เป็นชื่อที่ชาวบ้านทั่วไปใช้เรียกพระประธานในพระอุโบสถ
พระประธาน พระอุโบสถ วัดสระเกศ

ลักษณะของพระพุทธรูปประธานเป็นพระพุทธรูปางสมาธิซึ่งไม่ค่อยพบมากนักใน งานช่างไทย ลักษณะโดยรวมแล้วใกล้เคียงกับพระพุทธรูปในสมัยอยุธยา จึงแสดงให้เห็นงานที่สืบต่อมาจากสมัยก่อน ตรงตามประวัติที่กล่าว่ารัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพอกทับพระประธานองค์เดิม ลักษณะดังกล่าวเป็นงานช่างในสมัยนี้ซึ่งต่างจากงานช่างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ที่จะมีพระพักตร์อย่างหุ่นอันเป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดขึ้นในภายหลัง ลักษณะของพระพุทธรูปประธานมีลัพระพักตร์ค่อนข้างสี่เหลี่ยมแบบอยุธยา ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวสูง พระโอษฐ์กว้างแบบอยุธยา ลักษณะชายสังฆาฏิที่ซ้อนทับกันแบบเดียวกับพระพุทธรูปอยุธยาตอนปลายในสมัยของ พระเจ้าปราสาททอง มีส่วนที่แตกต่างคือในสมัยรัตนโกสินทร์นิยมทำสังฆาฏิพาดกึ่งกลางพระวรกาย ในขณะที่พระพุทธรูปสมัยอื่นๆ นั้นชายสังฆาฏิจะอยู่ทางเบื้องซ้าย

พระอุโบสถ
พระอุโบสถ
พระอุโบสถ วัดสระเกศ

พระอุโบสถตั้งอยู่ภายในกำแพงแก้ว เนื่องกันกับพระวิหารพระอัฏฐารส มีพระระเบียงรอบพระอุโบสถระหว่างกำแพงแก้วกับพระระเบียงนั้น มีพระเจดีย์รายรอบ เป็นเจดีย์เหลี่ยมไม้ย่อมุมสิบสอง จำนวน ๑๒ องค์ เจดีย์ดังกล่าวเป็นเจดีย์ทรงเครื่อง กล่าวคือมีชุดฐานสิงห์ ๓ ฐาน มีบังทรงคลุ่มรองรับองค์ระฆัง ส่วนยอดเป็นบัวทรงคลุ่มเถาและปลียอด ทั้งรูปแบบและคติการสร้างเจดีย์รอบพระอุโบสถเป็นระบบของเจดีย์บริวารนี้เกิด ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ เช่นเดียวกับที่พบที่วัดราชโอรสาราม วัดพระเชตุพนฯ วัดเทพธิดาราม เป็นต้น

พระอุโบสถประดิษฐานตั้งอยู่ตรงกลางลานทักษิณ มีพระระเบียงล้อมรอบ พัทธสีมากำหนดเขตพระอุโบสถตั้งรายรอบอยู่ ๘ ทิศ ประดิษฐานอยู่ในซุ้มทรงกูบช้าง ประดับด้วยกระเบื้องที่สั่งมาจากเมืองจีนวิจิตรสวยงาม ใบสีมาแต่ละซุ้มนั้นสลักด้วยศิลาประดับกระจกสีซุ้มละ ๒ ใบ ซุ้มพัทธสีมาวัดสระเกศนี้มีชื่อเสียงมาก ซึ่งสมเด็จพระมหาสมาณเจ้า กรมพระยาวิชรญาณวโรรส ทรงสรรเสริญไว้ว่า “ซุ้มพัทธสีมาวัดสระเกศวิจิตรสวยงามมาก ควรถือเป็นแบบอย่างได้”

ซุ้มสีมาวัดสระเกศที่กล่าวกันว่าสวยงามมาก
ซุ้มสีมา วัดสระเกศ

ลักษณะของซุ้มสีมาที่กล่าวกันว่างามนี้ประกอบด้วยฐานสิงห์รองรับเรือน สีมาทรงกูบและมียอดมงกุฏ พัฒนามาจากศิลปะในสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่ทรงกูบที่พัฒนามาเป็นการเจาะช่องทั้ง ๔ ด้านแล้วอันเป็นงานในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ ๑-๓) และที่สำคัญคือเป็นสีมาที่มียอดเป็นมงกุฏ น่าจะเป็นงานที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีการประดับกระเบื้องสีสวยงาม ด้วยเหตุที่สีมาเป็นทรงกูบยอดมงกุฏและมีการประดับกระเบื้องสีนี้เองที่ทำให้ เกิดรูปแบบที่ดูแลวมีความงามอย่างมาก

หลังคาพระอุโบสถมุงด้วยกระเบื้องเคลือบรับกันกับคลังคาพระระเบียง มีลักษณะเป็นมุขลด ๓ ชั้น ประกอบด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงศ์ หน้าบันทั้งสองด้านเป็นไม้แก่สลักประดับกระจกสี มีรูปพระนารายณ์ทรงครุฑอยู่ตรงกลาง

ประตู หน้าต่างตกแต่งด้วยลายปูนปั้นปิดทองประดับกระจกสี
ประตูหน้าต่าง วัดสระเกศ

ประตูหน้าต่างพระอุโบสถนั้นประดับด้วยซุ้มวอเป็นช่อชั้นลายรูปปั้นปิดทอง บานประตูหน้าต่างด้านนอกเขียนลายรดน้ำเป็นลายกนกเครือเถา บานหน้าต่างด้านในเป็นรูปเทวดาประทับบนแท่น เพดานเขียนเป็นรูปดาวราย

จิตรกรรม
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ในพระอุโบสถ
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดสระเกศ

พระอุโบสถหลังนี้สร้างมาแต่รัชกาลที่ ๑ โดยโปรดให้พวกเขมรจำนวนตั้งหมื่นคนช่วยกันขุดวางฐานรากเมื่อคราวขุดคลอง มหานาค แล้วสร้างพระอุโบสถ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้โปรดให้ปฏิสังขรณ์เขียนภาพฝาผนัง ในการปฏิสังขรณ์ใหญ่เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๗ ทางวัดสระเกศจึงให้เขียนภาพฝาผนังด้านในใหม่

ผนังระหว่างช่องหน้าต่างเขียนภาพ “ทศชาติ”
ผนังระหว่างช่องหน้าต่างเขียนภาพ “ทศชาติ วัดสระเกศ

เรื่องที่เขียนคือที่ผนังสกัดด้านหลังพระประธานเขียนเรื่องไตรภูมิโลกสัน ฐานที่แสดงรายละเอียดได้อย่างครบถ้วนตามที่ปรากฏหลักฐานในเรื่องไตรภูมิ เช่นการแสดงเขาพระสุเมรุที่ล้อมรอบด้วยเขาสัตตบริภัณฑ์ทั้ง ๗ ชั้น การแสดงสวรรค์ชั้นต่างๆ วิมานของเทวดาที่ล่องลอยอยู่เต็มพื้นที่ ในฉากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ได้แทรกเรื่องประวัติของพระอินทร์ไว้ด้วยและฉากที่ สำคัญอีกฉากหนึ่งคือฉากนรก ที่มีเรื่องของพระมาลัยที่เสด็จไปยังสวรรค์ และลงมายังนรกแทรกอยู่ด้วยเช่นกัน ที่ผนังสกัดด้านหนาเขียนภาพมารวิชัยมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งขัด สมาธิอยู่ตรงกลาง พญามาราธิราชผู้มีพระนามว่า วัสวดีมาร นฤมิตที่มีแขนตั้งพันแขน ถืออาวุธครอบมือกำลังขี่ช้างครีเมขล์ พร้อมด้วยเสนามาร ผจญพระพุทธองค์เพื่อแย่งชิงรัตนโพธิบัลลังค์ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งเป็นรูปพญามารกำลังพ่ายแพ้แก่พระศากยมุนีศรีสรรเพชญ์พุทธเจ้า มีภาพพระนางธรณีนามว่าพสุนธรีกำลังบีบมวลผมอยู่ใต้พระพุทธบัลลังก์เพื่อเป็น สักขีพยานในการที่พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ยพระบารมี เหล่าเสนามารกำลังแหวกว่ายไปตามกระแสธาราที่หลั่งออกจากมวยผมพระนางธรณี เป็นภาพมารผจญ

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ในพระอุโบสถ”
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ในพระอุโบสถ

ภาพบนผนังสองด้านในพระอุโบสถแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนตอนบนเขียนภาพเทพชุมนุม โดยแบ่งออกเป็น ๓ ชั้น และภาพเขียน ๒ ชั้นแรกเป็นเทวดา ชั้นที่ ๓ เป็นเทวดาสลับยักซ์ ผนังระหว่างช่องหน้าต่างเป็นรูปทศชาติ ตอนล่างเป็นภาพพุทธประวัติ และระหว่างช่องหน้าต่างเขียนภาพทศชาติ เหนือกรอบประตูเขียนเป็นรูปพระราหูสีเขียว

หลวงพ่อโต
พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปหล่อ ปิดทองในสมัยรัชกาลที่ ๓ หน้าตักกว้าง ๗ ศอก ๑ คืบ สูง ๑๐ ศอก นับว่าเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะที่ใหญ่มากองค์หนึ่ง พระพุทธรูปที่ใหญ่ขนดานี้ส่วนมากปั้นด้วยปูน ชาวบ้านเรียกกันว่า “หลวงพ่อโต” คงจะเนื่องจากเป็นพระพุทธรูปใหญ่นั้น

หลวงพ่อดำ
หลวงพ่อดำ
หลวงพ่อดำวัดสระเกศ

พระพุทธรูปองค์นี้ เป็นพระปั้นปิดทอง ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๔ ศอก ฝีมือปั้นสันนิษฐานว่าเป็นยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระพุทธรูปที่คู่กับบรมบรรพต (ภูเขาทอง) มาแต่ต้น เล่ากันว่า สร้างไว้ให้เพื่อเจ้านายและพุทธบริษัททั่วไปที่ไม่สามารถขึ้นไปบูชาบนองค์ บรมบรรพตได้บูชาที่พระพุทธรูปองค์นี้

สร้างขึ้นโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จะ สร้างพระปรางค์ใหญ่ในกรุงเทพฯ ให้เหมือนกับภูเขาทองที่อยุธยา ดังปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ความว่า

“วัดสระเกศนั้น โปรดให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาเป็นแม่กองทำพระปรางค์ใหญ่องค์ ๑ ฐานไม้ ๑๒ เหลี่ยม ด้าน ๑ ยาว ๕๐ วา ขุดรากลึกลงไปถึงที่โคลน แล้วเอาหลักแพทั้งต้นเป็นเข็ม ห่มลงไปจนเต็มที่แล้วเอาไม้ซุงทำและปูเป็นตารางแล้ว เอาศิลาแลงก่อขึ้นมาเกือบเสมอดิน จึ่งก่อด้วยอิฐ ในระหว่างองค์พระนั้น เอาศิลาก้อนซึ่งราษฏรเก็บมาถวายบรรจุลงไปจนเต็ม ฐานก่อขึ้นไปได้ถึงชั้นทักษิณที่ ๒ ศิลาที่บรรจุข้างในกดหนักลงไปและหักทรุดลงไปถึง ๙ วา อิฐที่ก่อหุ้มข้างนอกนั้นก็แตกร้าวรวนไปทั้งองค์ ของนี้ไม่ทลายก็เพราะทรุดกลางกดกันลงไป จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ขอแรงพระราชวงศานุวงศ์และขุนนางข้าราชการที่ตาม สเด็จพระราชทานพระกฐิน ผู้คนยังพรักพร้อมอยู่ ให้ปักเสาหลักแพเป็นหลักมั่นกันแน่นหลายชั้น กันฐานพระไม่ให้ดินถีบออกไป สิ้นไม้หลักแพหลายพัน แล้วก็จัดการก่อแก้ไขที่ทรุดแตกร้าวนั้นเสียให้ดี องค์พระปรางค์ก็ทรดหนักลงมาอีก ๓ วา เห็นว่าจะแก้ไขไม่ได้แล้วก็เลิกการนั้นเสีย จึ่งทำแต่การต่อไป…”

งานสร้างพระปรางค์จึงต้องเลิกสร้างมาตลอดรัชกาลที่ ๓ อย่างไรก็ตามราษฏรยังคงเรียกเนินดินนั้นว่า “ภูเขาทอง” ตามอย่างชื่อภูเขาทองที่อยุธยาอยู่เช่นเดิม” ในสมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดให้แก้ไขพระปรางค์ที่สร้างขึ้นครั้งรัชกาลที่ ๓ โดยทำเป็นภูเขา มีบันไดเวียน ๒ สายขึ้นถึงยอด บนยอดเขาก่อเป็นพระเจดีย์ และพระราชทานนามภูเขาว่า “บรมบรรพต” การก่อสร้างพระบรมบรรพตนี้สำเร็จลงในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพระทันตธาตุจำลองมาตั้งในพระคูหาพระเจดีย์บนยอดบรมบรรพตแห่งนี้ และต่อมาเมื่อพระองค์ได้รับพระบรมธษตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ขุดพบ ที่เมืองกบิลพัสดุ์ ประเทศอินเดีย โดยรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งปกครองอินเดียอยู่ในขณะนั้นได้ทูลเกล้าถวาย และโปรดฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เมื่อยังดำรงตำแหน่งเป็นพระยาสุขุมนัยวินิต เป็นราชทูต ออกไปรับพระบรมธาตุอัญเชิญมายังพระนคร หลังจากที่ทรงแบ่งให้กับประเทศพุทธบริษัทต่างๆ แล้ว พระธาตุทีเหลืออยู่ โปรดให้แห่มาประดิษฐานไว้ในซุ้มพระเจดีย์ยอดบรมบรรพต และโปรดให้สร้างพระเจดีย์น้อยตั้งไว้ที่บรรจุพระบรมธาตุดังปรากฏอยู่จนทุก วันนี้

ขอขอบคุณ http://www.phuttha.com/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .