วัดสวนตาล พระเจ้าทองทิพย์ จ.น่าน

วัดสวนตาล พระเจ้าทองทิพย์ จ.น่าน สักการะหลวงพ่อวัดสวนตาล จังหวัดน่าน แผนที่วัดสวนตาล อ.เมืองน่าน วัดสวนตาล ไหว้พระเจ้าทองทิพย์

วัดนี้สร้างขึ้นโดยพระนางปทุมมาวดีชายาของพญาภูเข็ง เจ้าผู้ครองนครน่านเมื่อราว พ.ศ.1955 เป็นวัดที่ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองน่านด้านพิศเหนือ ในบริเวณที่เป็นสวนตาลหลวง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อวัด ตัวเจดีย์หลังวิหารนั้น เดิมเป็นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัย ต่อมาพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ผู้ครองนครน่านโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.2547 ได้แก้ไขรูปทรงเป็นเจดีย์ยอดปรางค์ ดังปัจจุบัน

ภายในวัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐาน พระเจ้าทรงทิพย์ พระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัยองค์ใหญ่หน้าตักกว้าง 10 ฟุต สูง 14 ฟุต 4 นิ้ว พระเจ้าติโลกราช แห่งนครเชียงใหม่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.1993 เพื่อแสดงถึงชัยชนะ ที่พระองค์สามารถยึดเมืองน่าน ไว้ในพระราชอำนาจ

ทุกปีใหม่ช่วงเทศกาลมหาสงกรานต์ ชาวน่าน จัดงานนมัสการ และสรงน้ำพระเจ้าทองทิพย์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระพี่นางเธอ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ฯ ประทานน้ำสรงเป็นประจำทุกปี ชาวน่านเคารพนับถือเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง
พระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่ ได้สร้างพระพุทธรูป พระเจ้าทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปทองสำริด ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 10 ฟุต สูง 14 ฟุต 4 นิ้ว (4.11 เมตร) พระพุทธรูป พระเจ้าทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปทองสำริดองค์ใหญ่ปางมารวิชัย เป็นพระประธานในวิหารวัดสวนตาล พ.ศ. 2457 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้าน่าน ได้ทรงบูรณะรูปทรงเป็นเจดีย์ยอดปรางค์ดังที่เห็นในปัจจุบัน ส่วนฐานเป็นฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมซ้อนกัน รองรับเรือนธาตุย่อเก็จ ส่วนยอดเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ มีปล้องไฉนและปลียอด ตามแบบเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์ ศิลปะสุโขทัย

เปิดตำนาน…พระพุทธรูปทองทิพย์ วัดสวนตาล จ.น่าน

พระเจ้าทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง ๑๐ ฟุต สูง ๑๔ ฟุต ๔ นิ้ว สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราชเจ้า ผู้ครองนครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นใหญ่แคว้นล้านนาไทยสมัยนั้น
ในการสร้างพระพุทธรูปทองทิพย์องค์นี้ในพงศาวดารเมืองน่าน กล่าวไว้ว่า
เมื่อจุลศักราช ๘๑๒ ตรงกับพุทธศักราช ๑๙๙๓ พระเจ้าติโลกราช เจ้านครเชียงใหม่ มีกำลังเข้ม แข็งได้กรีฑาทัพไปตีหัว เมืองต่างๆ ในแคว้นล้านนาไทย คือ เมืองลอ เมืองเทิง เมืองปง เมืองควร ไปทางตีนดอยลาวได้หัวเมือง เหล่านั้นไว้ในอำนาจ หมดแล้ว เลยยกเข้าไปตีเมืองน่าน พระองค์ได้ ตั้งทัพอยู่ที่สวนตาลหลวงตั้งทัพล้อมอยู่ได้ ๗ วัน โดยเร่งไพร่พลยิงปืนใหญ่ เข้าไปในเมือง
พอตกกลางคืนก็ยกพลเข้าตี หวังจะเอาเมืองให้ได้ ฝ่ายพญาอินต๊ะแก่น ท้าว ซึ่งเป็นเจ้านครน่านใน เวลานั้นเห็นกองทัพ เชียงใหม่มีไพร่พลมาก มายนัก ประกอบกับได้ยินกิตติศัพท์เล่าลือถึงความเก่ง กล้าสามารถของ พระเจ้าติโลกราชที่สามารถ ปราบหัวเมืองใกล้เคียงได้เกือบหมด เห็นชัด แจ้งว่าไม่ อาจจะรักษาเมืองไว้ได้จึงได้อพยพครอบครัวหนี พระเจ้าติโลก ราช จึงยกทัพไพร่พลเข้าเมืองได้ อย่างง่ายดาย ไม่ต้องสู้รบให้เสียเลือด เสียเนื้อเลย
เมื่อพระเจ้าติโลกราชยึดเมืองได้แล้ว จึงได้ปรึกษาเหล่านายทัพนายกอง และเสนาอำมาตย์ทั้งหลาย ว่า การที่กองทัพของ พระองค์เข้ายึดเมืองไว้ ได้ในครั้งนี้ มิได้สู้รบให้เสียเลือดเสียเนื้อกำลังไพร่พล เลย เหมือนกับว่ามี เทพเจ้าเข้ามาช่วยเหลือ จึงเห็นควรให้สร้างอะไรไว้อย่างหนึ่งเพื่อเป็นอนุสรณ์ สักขีพยานในชัยชนะ ของพระองค์
ครั้งนั้นขุนนางเสนอว่าควรจะสร้างถาวรวัตถุเพื่อประชาชนรุ่นหลังจะรำลึก ถึง เช่น สร้างพระพุทธรูป หล่อด้วยทอง เป็นต้น ในที่สุดพระเจ้าติโลกราชก็ ตัดสินพระทัยที่จะสร้างพระพุทธรูปหล่อด้วยทอง
พระเจ้าทองทิพย์ ซึ่งพระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้ สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๑๙๘๗ ลักษณะเป็นพระพุทธรูป ทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ ปางมารวิชัย ประดิษฐานในวิหารสวนตาล หน้าตักกว้าง ๑๐ ฟุต สูง ๑๔ ฟุต ๔ นิ้ว (๔.๑๑ เมตร)
ในการสร้างพระพุทธรูปหล่อด้วยทองนี้ พระองค์ได้โปรดให้ช่างทั้งหลาย อาทิ พม่า เงี้ยว และชาวเมืองเชียงแสน กระทำพิธี หล่อหลอมทอง และพิธีหล่อองค์พระพุทธรูป ด้วย ช่างได้ กระทำการหล่อทองเทเข้าเบ้าพิมพ์หลายครั้งหลายหน ก็ไม่สำเร็จเพราะ เบ้าพิมพ์แตกเสียทุกครั้ง
ในที่สุดก็มีชายชราแปลกหน้านุ่งขาวห่มขาวมาช่วยทำ จึงสำเร็จเรียบร้อยสมปรารถนา
เมื่อสร้างพระพุทธรูปเสร็จแล้ว พระเจ้าติโลกราชก็ทรงจัดให้มีการสวดปริตถมงคล และจัดให้มีงาน มหกรรมเฉลิมฉลองทำบุญ เป็นการใหญ่มโหฬารยิ่ง
ส่วนชายชรานั้นก็หายสาบสูญไป ไม่มีผู้ใดพบเห็นอีกเลย ประชาชนชาวเมืองต่างโจษขานกันว่าเป็น เทพยดาแปลงกายลงมา ช่วย จึงได้ขนานพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระพุทธรูปทองทิพย์ หรือ พระเจ้า ทองทิพย์ ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
เจดีย์วัดสวนตาล องค์เดิมเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัย ต่อมา พระเจ้าสุริยพงษ์ปริตเดชฯ พระเจ้าน่าน โปรดให้บูรณะ ขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ได้แก้ไขรูปทรงเป็นเจดีย์ยอดปรางค์ ดังที่ เห็นในปัจจุบัน
จากรูปถ่ายเก่าเข้าใจว่า ส่วนฐานเป็นฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมซ้อนกัน รองรับเรือนธาตุย่อเก็จ ซึ่งยังมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ส่วนยอดเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ มีปล้องไฉน และปลียอด ตามแบบเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์ศิลปะสุโขทัย
เจดีย์องค์นี้คงจะสร้างขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ หลังจากเจ้าพระยาผา กองสร้างเมืองน่านใน พ.ศ. ๑๙๑๑
ขณะเดียวกัน ภายในวิหารอีกหลังหนึ่งเป็นที่ประดิษฐาน พระศรีอริยเมตไตรยปางนั่งพับเพียบองค์ แรกที่พบในภาคเหนือ วัดสวนตาล จ.น่าน พร้อมกับมีพระเจ้า ๕ ที่ประดิษฐานอยู่ที่เดียวกัน ทำให้มี ประชาชนเดินทางมาสักการะกันเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นสิริมงคลกับตัวเอง
วัดสวนตาล ตั้งอยู่ที่ ต.เวียง อ.เมือง จ.น่าน สร้างขึ้นโดย พระนางปทุม มาวดี เมื่อ พ.ศ. ๑๗๗๐ เจดีย์ มีสัณฐานงดงาม ชั้นล่าง มีซุ้มประตูทั้งสี่ทิศ ภายในวัดมีพระพุทธรูปที่สำคัญ คือ พระเจ้าทองทิพย์ทุกปี จะจัดให้มีงาน นมัสการและสรงน้ำเป็นประจำระหว่าง เทศกาลสงกรานต์ ซึ่งจะมีการเฉลิม ฉลอง ทั้งกลางวันและกลางคืน อย่างไรก็ตาม ประชาชนทั่วไปสอบถามรายละเอียดได้ที่ วัดสวนตาล ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน โทร.๐-๕๔๗๗-๒๕๓๙, ๐-๕๔๗๕-๐๒๔๓, ๐-๖๑๑๔-๓๐๒๓, ๐-๙๔๓๔-๗๕๒๑

ขอขอบคุณ เนื้อหาจาก
thaitravelcommunity.com
www.nan.go.th
th.wikipedia.org

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .