วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร

s2_sub1

ในบรรดาพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรมหาวิหารนั้นได้ถือวัดแห่งนี้เป็นอันดับ 1 เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างพระบรมมหาราชวัง ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นเพียงวัดโบราณ
สมัยกรุงศรีอยุธยาชื่อ “วัดโพธาราม” แต่คนทั่วไปนิยมเรียกกันว่า “วัดโพธิ์” มาจนทุกวันนี้
เนื่องจากสมัยรัชกาลที่ 3 ยังไม่มีการพิมพ์หนังสือการศึกษาที่มีเรียนอยู่ตามวัดนั้นคนทั่วไปไม่มีโอกาสได้เรียนด้วยทรงมีพระราชประสงค์
จะให้มีแหล่งเล่าเรียนความรู้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมและเลือกสรรตำรับตำรามาจารึกที่แผ่นศิลาไว้โดยรอบวัดเพื่อเผยแพร่แก่ประชาชน วัดพระเชตุพนฯ จึงได้ชื่อว่าเป็น “มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย”
พระพุทธไสยาสน์ ( พระนอนวัดโพธิ์ )

เป็นฝีมือช่างสิบหมู่ของหลวง ก่ออิฐถือปูนที่รอยฝ่าพระบาทจำหลักภาพมงคล 108 ประการประดับมุก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้ลงรักปิดทองใหม่ทั้งองค์
พระเจดีย์อาจเรียกได้ว่าเป็นอาณาจักรแห่งเจดีย์ มี 99 องค์ เจดีย์ที่มีความพิเศษคือพระมหาเจดีย์ 4 องค์

พระพุทธเทวปฏิมากร ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่นพระอุโบสถ ภายในองค์พระบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่ฐานชุกชีประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคารรัชกาลที่ 1
วิวจากฝั่งของหนึ่งของหมู่พระเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุด ภายในหมู่พระเจดีย์จะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์หรือพระผู้เป็นบุคคลสำคัญ ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างพระเจดีย์นั้นเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
กับการก่อสร้างปิรามิดของประเทศอียิปต์
พระมหาวิหารเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธไสยาส วัดโพธิ์เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า วัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม

โรงเรียนแพทย์แผนโบราณและอายุรเวทวัดโพธิ์
ทำการสอนปรุงยา ตรวจโรคและนวดแผนโบราณตามจารึกในแผ่นศิลาและรูปั้นฤษีดัดตนที่รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมขึ้น การสอนเน้นที่ภาคปฏิบัติ โดยในแต่ละวันมีคนไทยและชาวต่างชาติมาเรียนและรับบริการนวดเป็นจำนวนมาก

ศาลเจ้าพ่อกรมหลวงชุมพร
ย้ายจากเชิงสะพานนางเลิ้งมาประดิษฐานในพระวิหารน้อยใกล้ประตูทางเข้าด้านทิศใต้

พระพุทธไสยาสน์ ( พระนอนวัดโพธิ์ ) เป็นฝีมือช่างสิบหมู่ของหลวง ก่ออิฐถือปูนที่รอยฝ่าพระบาทจำหลักภาพมงคล 108 ประการประดับมุก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้ลงรักปิดทองใหม่ทั้งองค์

วัดเป็นศาสนสถาน ทั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา

วัดโพธิ์ประกอบด้วยวิหารมากมาย จึงทำให้มีทางเดินทอดยาวไปสู่บริเวณลานและวิหารอย่างทั่วถึง
อุโบสถนั้นเป็นส่วนที่ใช้เพื่อประกอบศาสนพิธีที่สำคัญ

พระวิหาร วัดโพธิ์นับเป็นวัดที่มีพระวิหารมากที่สุดโดยมีถึง 12 หลัง แบ่งเป็นพระวิหารทิศ 4 หลัง พระวิหารดต 4 หลัง พระวิหารน้อย 2 หลัง พระวิหารพุทธไสยาสน์ 1 หลังและพระวิหารหลวง 1 หลัง

จากมุมนี้จะเห็นได้ว่าพระวิหารที่เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธไสยาสนั้นมีขนาดใหญ่โตมาก หากมองจากภายนอก และเมื่อได้เข้ามาภายในจะทราบว่า เพราะเหตุใดจึงรู้สึกว่าภายในของพระวิหารนั้นค่อนข้างต่างจากภายนอก
พระเจดีย์ อาจเรียกได้ว่าเป็นอาณาจักรแห่งเจดีย์ มี 99 องค์ เจดีย์ที่มีความพิเศษคือพระมหาเจดีย์ 4 องค์

หมู่พระเจดีย์ได้รับการตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบแบบจีนด้วยลวดลายที่ประณีตงดงาม ภายในวัดโพธิ์ประกอบด้วยพระเจดีย์จำนวนถึง 95 องค์

ที่ตั้ง 2 ถ.สนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: (662) 222-5910 226-2942 225-9595
แฟกซ์: (662) 225-9779

รถประจำทาง: 1 3 6 9 12 25 32 43 44 47 48 53 60 82 91 123
รถปรับอากาศ:8 25 44 91 82 506 507 512

ท่าเรือ:
1.เรือด่วนเจ้าพระยา: ท่าช้าง ท่าเตียน ท่าราชินี (ปากคลองตลาด)
2. เรือข้ามฟาก: ท่าช้าง ท่าเตียน ท่าราชินี (ปากคลองตลาด)

เวลาทำการ: บริเวณวัด: ทุกวัน 8.00-17.00 น.
โบสถ์: ทุกวัน 8.00-17.00 น.

ค่าธรรมเนียม-ค่าเข้าชม: ชาวต่างชาติ 20 บาท

การถ่ายรูปภายในอาคาร: ต้องขออนุญาต

ข้อกำหนด: ควรแต่งกายสุภาพ

ที่จอดรถ: บริเวณภายในวัด

สถานที่ใกล้เคียง: ตลาดปากคลอง พระบรมมหาราชวัง พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณ ม.ศิลปากร วิทยาลัยในวัง
วัดพระแก้ว วัดราชประดิษฐฯ วัดอรุณฯ สวนสราญรมย์ หอกลอง หอนาฬิกา

ขอขอบคุณ http://www.tripsthailand.com/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .