วัดมหาธาตุ จ.เพชรบูรณ์ สักการะหลวงพ่อวัดมหาธาตุ หลวงพ่อเพชร มีชัย วัดมหาธาตุเพชรบูรณ์

วัดมหาธาตุ จ.เพชรบูรณ์
สักการะหลวงพ่อวัดมหาธาตุ หลวงพ่อเพชร มีชัย วัดมหาธาตุเพชรบูรณ์

ประวัติวัดมหาธาตุ วัดมหาธาตุ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๗ ถนนนิกรบำรุง ตำบลในเมืองอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๑๗ ไร่๓งาน ๓๓ ตารางวาตามโฉนดที่ดินเลขที่๘๓๐เล่ม๙หน้า๓๐อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับที่ดิน ของเอกชนทิศใต้ติดต่อกับคลองตลุกทิศตะวันออกติดต่อกับถนนนิกรบำรุงทิศตะวัน ตกติดต่อกับที่ดินของเอกชน

พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบอยู่ในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ การคมนาคมสะดวก อาคารเสนาสนะต่าง ๆ มี พระอุโบสถหลังใหม่ ศาลาการเปรียญเป็นอาคารไม้ยกพื้นสูง กุฎีสงฆ์ จำนวน ๑๓ หลัง อาคารเรียน พระปริยัติธรรม ๒ ชั้น พระวิหารหลวงพ่อเพชรมีชัย ศาลาธรรมสังเวชและฌาปนสถาน ปูชนียวัตถุของวัดมี พระประธานในพระอุโบสถ มีพระนามว่า “หลวงพ่องาม” พระประธานในพระวิหารมีพระนามว่า “หลวงพ่อเพชรมีชัย” นอกจากนี้มีพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ บูรณะเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๐ เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ อัฐิธาตุพระอรหันต์ และพระพุทธรูปบูชา พระเครื่อง พระพิมพ์ต่าง ๆ ตลอดจนวัตถุโบราณอื่น ๆ อีกด้วย
วัดมหาธาตุ สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.๑๙๒๖ พระเจ้าเพชรบูรณ์ซึ่งเป็นเจ้าเมืองเพชรบูรณ์เป็นผู้สร้างขึ้น ตามการสันนิษฐานของเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ซึ่งขุดพบลานทองจารึกในพระเจดีย์องค์ใหญ่เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ คงเป็นวัดที่ได้รับการทะนุบำรุงจากเจ้าเมืองให้เจริญรุ่งเรืองมาก ต่อมาได้กลายสภาพเป็นวัดร้าง เล่ากันว่า เจ้าพระยาจักรี(สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) กับเจ้าพระยาสุรสีห์ (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) เมื่อคราวยกทัพไปรบกับพม่าที่พิษณุโลก ได้นำไพร่พลมาทางเมืองเพชรบูรณ์ และได้กระทำพิธีบวงสรวงเพื่อชัยชนะที่วัดมหาธาตุ นอกจากนี้แล้วทางราชการยังเคยใช้สถานที่นี้ประหารนักโทษสำคัญอีกด้วย
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๗ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขณะประทับอยู่ที่เมืองเพชรบูรณ์ มีรับสั่งให้พระยาเพชรรัตน์ (เฟื่อง) เจ้าเมืองเพชรบูรณ์ เกณฑ์ผู้คนมาทำการบูรณะวัดมหาธาตุครั้งใหญ่ ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๖ ราว พ.ศ.๒๔๕๓ มีพระราชพิธีราชาภิเษกทรงรับน้ำจากหัวเมืองต่าง ๆ โดยเจ้าเมืองเพชรบูรณ์ได้นำน้ำจากสระมนในวัดมหาธาตุไปร่วมพิธีด้วย
วัดมหาธาตุ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแต่เดิม ซึ่งมีใบเสมาของเก่าทำจากหินทรายปรากฏอยู่ แต่ได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่ ได้รับพระราชทานเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๖ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร ได้ผูกพัทธสีมาใหม่ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ มีพระภิกษุจำพรรษาประมาณปีละ ๕๐ รูป สามเณร ๘๐ รูป ทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรม พ.ศ.๒๔๘๓ มีทั้งแผนกธรรมและบาลี เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างในปี พ.ศ.๒๕๐๙ ได้รับการสถาปนาให้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ นับตั้งแต่วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๕ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๕ เจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามมี ๑๐ รูป คือ

รูปที่ ๑ พระอาจารย์มี พ.ศ.๒๔๓๐ -๒๔๓๖
รูปที่ ๒ พระอาจารย์คง พ.ศ.๒๔๕๐ -๒๔๖๒
รูปที่ ๓ พระอาจารย์ทองดี พ.ศ.๒๔๖๒-๒๔๖๔
รูปที่ ๔ พระอาจารย์มิ่ง พ.ศ.๒๔๖๔ – ๒๔๖๗
รูปที่ ๕ พระอาจารย์เรียบ พ.ศ.๒๔๖๗ – ๒๔๖๙
รูปที่ ๖ พระอาจารย์สำเริง หลวงปราบ พ.ศ.๒๔๗๑ – ๒๔๗๒
รูปที่ ๗ พระปลัดคำภา พ.ศ.๒๔๗๔ – ๒๔๗๘
รูปที่ ๘ พระอาจารย์แดง พ.ศ. ๒๔๗๙ – ๒๔๘๑
รูปที่ ๙ พระวินัยธรรม (แพ ธมฺมธริโก) พ.ศ.๒๔๘๓ – ๒๕๒๓
รูปที่ ๑๐ พระเทพรัตนกวี ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๔ เป็นต้นมา
วัดมหาธาตุ มีพระเจดีย์ ทรงพุ่ม ข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัย สูง ประมาณ 4 วาเศษ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า วัดนี้คงสร้างมา ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 2510 ทางกรมศิลปกรได้บูรณะพระเจดีย์องค์นี้ ได้ขุดพบลานทองจารึกใน พระเจดีย์องค์ใหญ่ หลังพระอุโบสถ และได้นำ โบราณวัตถุที่บรรจุเจดีย์นั้นขึ้นมาด้วย มีสิ่งหนึ่งที่ได้มาพร้อมกับพระเครื่อง พระบูชา เป็นรูปช้าง รูปหมู ในท้องหมูมีลานทองจาลึกอยู่ 3 แผ่น มีข้อความตามจารึกว่า “พระเจ้าเพชรบุรเป็นลูกพระญาอนรงปรดิสถาแล” เขียน เป็นคำปัจจุบันได้ “พระ เจ้าเพชรบุรเป็นลูก พระยาอันรงประดิษฐานไว้”จึงทำให้เราทราบว่า”เพชรบูรณ์”แต่เดิมนั้นเป็น “เพชรบุร”
ตั้งอยู่ถนนนิกรบำรุง ในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดเพชรบูรณ์

ประวัติความเป็นมาของวัดมหาธาตุ

นับ ตั้งแต่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ที่เมืองกุสินาราราชธานี ตราบเท่าจนถึงถวายพระเพลิงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กษัตริย์เมืองต่าง ๆ มีความประสงค์จะได้พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์ จึงพากันมายังเมืองกุสินารา เป็นเหตุให้เกิดการยื้อแย่งพระบรมสารีริกธาตุ จนในที่สุดโทณพราหมณ์ ได้ทำหน้าที่ตัดสินความ และได้จัดแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้โดยยุติธรรม
เรื่อง นี้ เป็นเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เกิดนิยมเคารพบูชา โดยคิดว่าเมืองไหนที่มีพระบรมสารีริกธาตุ เมืองนั้นจะมีความเป็นสิริมงคลแก่ประชาชน ตามความในมงคลข้อว่า

เมื่อ พุทธปรินิพพานล่วงไปแล้วได้ประมาณ ๓๐๐ ปีเศษ พระสมณทูตสองรูป คือพระโสณและพระอุตตระ ได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ในท้องที่เขตสุวรรณภูมิ คนไทยและคนชาติอื่น ๆ ในเอเซียอาคเนย์ต่างก็ตื่นตัว และยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ และถือคติเหมือนอินเดีย คือแต่ละประเทศ จะต้องมีสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญ ได้แก่ พระบรมสารีริกธาตุ จึง ถือเป็น คตินิยมของคนไทยในสมัยต่อมาว่า ตรงไหนที่เป็นเมือง ตรงนั้นจะต้องมีพระบรมสารีริกธาตุประจำเมือง โดยถือว่าเป็นองค์แทนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นประมุขของพระพุทธศาสนา แต่ดูเหมือนจะมีได้เฉพาะแต่พระมหากษัตริย์ผู้ครองเมืองเท่านั้น สามัญชนหามีได้ไม่ พระบรมสารีริกธาตุ เป็นของควรแก่สักการะบูชาอย่างสูง คือเป็นของสูงสุด ไม่เหมาะสมที่จะครอบครองไว้เป็นส่วนตัว จำเป็นที่จะต้องประดิษฐานไว้ ณ สถานที่อันเหมาะสมพระเกียรติ เพื่อให้เป็นที่สักการบูชาของประชาชนทั่วไปทั้งเมืองเมื่อ จะ สร้างพระเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ควรที่จะต้องอยู่ในวัด จึงต้องมีการสร้างวัด ชื่อวัดก็จะต้องพิเศษกว่าวัดอื่น ๆ เพราะเป็นวัดสร้างถวายพระพุทธเจ้า และวัดดังกล่าวนี้ สมควรจะต้องอยู่ในวัง พร้อมกับให้ชื่อว่า วัดมหาธาตุ แปลว่า วัดเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ควรแก่การสักการะบูชายิ่งใหญ่ ถึงแม้บางเมือง จะมีชื่อแตกต่างกันไปบ้าง ก็ย่อมจะไม่ทิ้งความหมายเดิมเพราะอยู่ต่างเมืองที่ห่างไกลกัน เช่น วัดมหาตุ วัดธาตุ วัดบรมธาตุ วัดพระศรีรัตนะมหาธาตุ เป็นต้น จึงถือว่าเป็นขัตติยประเพณีการสร้างเมือง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีว่า จะสร้างเมืองก็ต้องสร้างวัดมหาธาตุ ที่เรียกว่า สร้างวังสร้างวัด ตรงไหนมีเมือง ตรงนั้นก็จะต้องมีวัดมหาธาตุเช่นวัดมหาธาตุเมืองศรีสัชชนาลัย เมืองสุโขทัย เมืองพิษณุโลก เป็นต้น

ดังนั้น จึงเห็นว่า วัดที่มีชื่อว่า วัดมหาธาตุ จึงมีอยู่มาก ดังนี้
วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบูรณ์ ก็เป็นวัดหนึ่งตามที่ได้กล่าวมา จึงสมควรที่ชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ จะได้ช่วยกันรักษาและอนุรักษ์ ถือเป็นวัดประจำเมืองต่อไป

ขอขอบคุณ เนื้อหาจาก
http://www.thongteaw.com http://www.watmahathatu.in.th http://pnb.onab.go.th http://www.thai-tour.com

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .