วัดพระเจดีย์ซาวหลัง พระเจ้าแสนแซ่ทองคำ จ.ลำปาง สักการะพระเจ้าแสนแซ่ทองคำ ณ วัดพระเจดีย์ซาวหลังลำปาง

วัดพระเจดีย์ซาวหลัง พระเจ้าแสนแซ่ทองคำ จ.ลำปาง
สักการะพระเจ้าแสนแซ่ทองคำ ณ วัดพระเจดีย์ซาวหลังลำปาง

พระแสนแซ่ทองคำ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง พระแสนแซ่ทองคำ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ เนื้อวัสดุทองคำน้ำหนัก ๙๕.๕ บาท หน้าตักกว้าง ๙.๕ นิ้ว สูง ๑๕ นิ้วศิลปะแบบล้านนาผสมอยุธยา สร้างใน สมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เป็นพระพุทธรูปทองคำ องค์แรกที่ขึ้นทะเบียน เป็นโบราณวัตถุแห่งชาติปัจจุบันประดิษฐานเป็น พระประธานในพระวิหาร วัดพระเจดีย์ซาวหลัง เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๖ ได้ขุดพบพระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์องค์หนึ่งในไร่อ้อย ของนายบุญเทียม เครือสาร เป็นทองคำบริสุทธิหนัก ๑๐๐ บาทสองสลึง ลักษณะกรรมวิธีการสร้าง ตีแต่งขึ้นเป็นส่วนๆ มิได้เป็นการหล่อ แต่ละส่วนต่อกันด้วยสลัก ได้แก่ พระเศียรชั้นนอก พระเศียรชั้นในกับพระพักตร์ พระกรรณ พระกร พระสังฆาฏิ ฝีมือประณีตมาก พุทธลักษณะคล้ายพระแก้วมรกตในวัดพระธาตุลำปางหลวงและพระแก้วดอนเต้า ซึ่งต่อมานายบุญเทียม เครือสาร ได้อัญเชิญมามอบให้เป็นสมบัติของแผ่นดิน ประดิษฐานในพระวิหารวัดพระเจดีย์ซาวหลัง

‘พระเจ้าแสนแซ่ทองคำ’ ‘พระเจ้าแสนแซ่’ เป็นคำเรียกพระพุทธรูปโบราณที่ชาวล้านนาหล่อขึ้นหลายส่วน และนำมาประกอบเข้าเป็นองค์พระ โดยใช้วิธีการยึดด้วยสลักหรือหมุดตามข้อต่อต่างๆ ภาษาล้านนาเรียกสลักหรือหมุดว่า “แซ่ว” หรือ “แซ่” ส่วน “แสน” หมายถึง มากยิ่ง ดังนั้น พระพุทธรูปที่ใช้หมุดหรือแซ่ยึดไว้เป็นจำนวนมาก จึงได้ชื่อว่า “พระเจ้าแสนแซ่” เช่นเดียวกับที่คนภาคกลางเรียกพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ว่า “หลวงพ่อโต” นั่นเอง วัดหลายแห่งในภาคเหนือมีพระเจ้าแสนแซ่ประดิษฐานไว้ รวมทั้งวัดเจดีย์ซาวหลัง อ.เมือง จ.ลำปาง แต่พระเจ้าแสนแซ่ที่วัดพระเจดีย์ซาวหลังนี้ เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะพิเศษต่างจากพระเจ้าแสนแซ่โดยทั่วไป ตามประวัติกล่าวว่าเมื่อปี ๒๕๒๖ ได้มีชาวบ้านขุดพบพระพุทธรูปทองคำและนำมาถวายให้เป็นสมบัติของวัดพระเจดีย์ซาวหลัง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ เข้าลักษณะพระสีหลักษณะตามตำรับช่างโบราณเชียงแสน ศิลปะสมัยลานนา-กรุงศรีอยุธยา ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ขนาดหน้าตักกว้าง ๙ นิ้วครึ่ง สูง ๑๕ นิ้ว ทำด้วยทองคำ ๙๕.๕% น้ำหนักรวม ๑๐๐ บาทกับ ๒ สลึง

สร้างด้วยกรรมวิธีเคาะตีขึ้นรูปทั้งองค์ ถอดออกเป็นชิ้นส่วนต่างๆ ได้ ๓๒ ชิ้น สังฆาฏิถอดได้เป็นแผ่นยาว ที่สังฆาฏิด้านหน้าด้านหลังประดับด้วยอัญมณีที่มีค่า ที่พระนลาฎประดับด้วยนิหล่า(พลอยชนิดหนึ่งมีสีฟ้าเข้ม อมเทา) ๑ เม็ด รอบพระเมาลีอีก ๔ เม็ด และที่ยอดพระเมาลี ๑ เม็ด เมื่อนำชิ้นส่วนต่างๆ เหล่านี้มาประกอบสวมต่อกันด้วยสลักใส่ไว้เป็นแห่งๆ จึงเข้าตำรับ ‘แสนแซ่’ ที่สำคัญก็คือ ในช่องพระเศียรมีผอบซึ่งบรรจุพระบรมธาตุไว้ด้วย และสามารถถอดพระเศียรได้เป็นชั้นๆ ที่น่าอัศจรรย์ก็คือ ภายในองค์พระมีหัวใจ ตับ ไต ไส้ ซึ่งทำด้วยทองคำบริสุทธิ์เช่นกัน และยังมีใบลานทองคำ ๒ แผ่น จารึกคาถาอักษรพื้นเมืองพันรอบขั้วหัวใจ และที่ไตมีจารึกอักขระ ๓๒ ตัว พระเจ้าแสนแซ่เป็นพระพุทธรูปทองคำองค์แรกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุแห่งชาติ และในวันที่ ๑๕ เมษายนของทุกปี จะมีงานประเพณีประจำปี พิธีสรงน้ำพระเจ้าแสนแซ่ทองคำ และในวันนั้นจะมีพิธีถอดสลักเปิดพระเศียร เพื่อนำพระบรมธาตุจากพระผอบมาสรงน้ำด้วย

พระแสนแซ่ทองคำ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ เนื้อวัสดุทองคำน้ำหนัก 95.5 บาท หน้าตักกว้าง 9.5 นิ้ว สูง 15 นิ้ว ศิลปะแบบล้านนาผสมอยุธยา สร้างในสมัยพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นพระพุทธรูปทองคำองค์แรกที่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุแห่งชาติ ปัจจุบันประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหาร วัดพระเจดีย์ซาวหลัง อ.เมือง จ.ลำปาง

เดือนสิงหาคม พุทธศักราช 2526 ได้ขุดพบพระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์องค์หนึ่งในไร่อ้อยของนายบุญเทียม เครือสาร เป็นทองคำบริสุทธิ์หนัก 100 บาทสองสลึง

ลักษณะกรรมวิธีการสร้างตีแต่งขึ้นเป็นส่วนๆ มิได้เป็นการหล่อ แต่ละส่วนต่อกันด้วยสลัก ได้แก่ พระเศียรชั้นนอก พระเศียรชั้นในกับพระพักตร์ พระกรรณ พระกร พระสังฆาฏิ ฝีมือประณีตมาก พุทธลักษณะคล้ายพระแก้วมรกตในวัดพระธาตุลำปางหลวงและพระแก้วดอนเต้า

ซึ่งต่อมานายบุญเทียม อัญเชิญ มามอบให้เป็นสมบัติของแผ่นดิน ประ ดิษฐานในพระวิหารวัดพระเจดีย์ซาวหลัง ด้วยเป็นปูชนียวัตถุที่มีคุณค่าชิ้นเอก

‘พระเจ้าแสนแซ่ทองคำ’ หรือ ‘พระเจ้าแสนแซ่’ เป็นคำเรียกพระพุทธรูปโบราณที่ชาวล้านนาหล่อขึ้นหลายส่วน และนำมาประกอบเข้าเป็นองค์พระ โดยใช้วิธีการยึดด้วยสลักหรือหมุดตามข้อต่อต่างๆ ภาษาล้านนาเรียกสลักหรือหมุดว่า “แซ่ว” หรือ “แซ่” ส่วน “แสน” หมายถึง มากยิ่ง

ดังนั้น พระพุทธรูปที่ใช้หมุดหรือแซ่ยึดไว้เป็นจำนวนมาก จึงได้ชื่อว่า “พระเจ้าแสนแซ่” เช่นเดียวกับที่คนภาคกลางเรียกพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ว่า “หลวงพ่อโต” นั่นเอง

วัดหลายแห่งในภาคเหนือมีพระเจ้า แสนแซ่ประดิษฐานไว้ รวมทั้งวัดเจดีย์ซาวหลัง อ.เมือง จ.ลำปาง แต่พระเจ้าแสนแซ่ที่วัดพระเจดีย์ซาวหลังนี้ เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะพิเศษต่างจากพระเจ้าแสนแซ่โดยทั่วไป

วัดเจดีย์ซาวหลัง ‘ซาว’ แปลว่า ยี่สิบ ‘หลัง’ แปลว่า องค์ วัดเจดีย์ซาวหลัง แปลว่า วัดที่มีเจดีย์ 20 องค์ เป็นวัดใหญ่อยู่กลางทุ่งนา

วัดแห่งนี้เป็นปูชนียสถานที่สำคัญของจังหวัดลำปางสร้างแต่โบราณ ทรงคุณค่าทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณวัตถุจากหลักฐานการขุดพบพระ เครื่องสมัยหริภุญชัยที่องค์พระเจดีย์ ทำให้สันนิษฐานได้ว่าวัดนี้สร้างมานานกว่า 1,000 ปี

สิ่งที่น่าชมภายในวัด คือ องค์พระธาตุเจดีย์ซาวหลังที่มีศิลปะล้านนา ผสมศิลปะพม่า ข้างหมู่พระเจดีย์มี วิหารหลังเล็ก ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดปางสมาธิศิลปะเชียงแสน ชาวบ้าน เรียกว่า พระพุทธรูปทันใจ

พระอุโบสถ หลังใหญ่ ซึ่งประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย มีพุทธลักษณะงดงาม บานประตูทั้งสามเป็นของโบราณ เขียนลวดลายรดน้ำละเอียดสวยงาม เสาซุ้มประตู หน้าต่างประดับลวดลายกระจกสีเป็นลักษณะศิลปะสมัยใหม่และที่ศาลาการเปรียญ เรือนไม้ชั้นเดียวด้านหลังพระอุโบสถได้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงโบราณวัตถุที่ชาวบ้านนำมาถวาย

วันที่ 15 เมษายนของทุกปี จะมีงานประเพณีประจำปี พิธีสรงน้ำพระเจ้าแสนแซ่ทองคำ และในวันนั้นจะมีพิธีถอดสลักเปิดพระเศียร เพื่อนำพระบรมธาตุจากผอบมาสรงน้ำด้วย

ขอขอบคุณ เนื้อหาและรูปภาพจาก
จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 76 มี.ค. 50 โดย เก้า มกรา
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 7 มีนาคม 2550 11:04 น.

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .