ความเป็นมาของวัดสมัยกรุงธนบุรี( วัดราชบุรณราชวรวิหาร)

สมัยกรุงธนบุรี วัดราชบุรณราชวรวิหารเป็นวัดประจำชุมชน มีพระสงฆ์ชั้นพระราชาคณะจำพรรษาอยู่ และเป็นชุมชนหนึ่งที่อยู่นอกกำแพงพระนคร เพราะส่วนที่เป็นกำแพงพระนครในส่วนของคลองคูเมือง หรือคลองตลาดเท่านั้น ชุมชน วัดเลียบอาจเป็นชุมชนชาวจีน และมีขนาดใหญ่ เนื่องจากต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ การย้ายพระนครมาตั้งอยู่ที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ระหว่าง วัดสลัก กับ วัดโพธิ์ เป็นที่ของพระยาราชาเศรษฐี และชาวจีนย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณวัดจักรวรรดิราชาธิวาส ไปจนถึงคลองวัดสามเพ็ง (วัดปทุมคงคาในปัจจุบัน)

ต่อมาได้ทำการย้ายชุมชนญวน (เพื่อใช้ที่สร้างวัดท่าเตียน พระราชทานแด่สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์) ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำบริเวณวัดโพธิ์ไปจรดป้อมบางกอกเดิม มาตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านหม้อ และย่านพาหุรัด ใกล้วัดเลียบ บริเวณชานพระนครที่สร้างใหม่นั้น อาจเป็นพื้นที่ห่างไกล ทำให้ต้องมีการขยายชุมชนออกไปทางใต้ของพระนคร เพราะชานพระนครด้านทิศใต้เป็นที่อยู่ของช่างฝีมือต่างๆ และเป็นย่านการค้า นับตั้งแต่ปากคลองตลาด วัดเลียบ วัดสามปลื้ม ไปถึงย่านสำเพ็ง บ้านหม้อ และพาหุรัด
ขอขอบคุณ http://www.watliab.com/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .