ความสำคัญของแหล่งศิลปกรรม :วัดกลางวรวิหาร

วัดนี้ตั้งเป็นวัดเมื่อประมาณ พ.ศ. 2299 ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษ แห่งกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดตะโกทอง ต่อมาชาวบ้านเรียกกัน ว่าวัดกลาง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงปฏิสังขรณ์ทั่วทั้งพระอารามแล้วยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง

ในสมัยพระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์เสด็จถวายผ้าพระกฐินที่วัดนี้(ประมาณพ.ศ.2401)ในช่วงเวลานี้เองที่โปรดสร้างพระเจดีย์ครอบองค์พระพระสมุทรเจดีย์องค์เดิมซึ่งเป็นเจดีย์แบบย่อมุมไม้สิบสอง

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงโปรดให้ฟื้นฟูการศึกษาและการศาสนาขึ้นใหม่ทั่วพระราชอาณาจักร วัดกลางจึงเป็นศูนย์กลางส่งเสริมการศึกษาและการศาสนาประจำเมืองสมุทรปราการสืบต่อมาดดยลำดับ

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2459) ได้กล่าวกันว่าได้ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงซํ้ากันกับรัชกาลที่ 3

เป็นแหล่งศิลปสถาปัตยกรรมตามแนวพระราชนิยมรัชกาลที่ 3 ศิลปกรรมที่พระอุโบสถเก่า มีลายปูนปั้นเครือเถาประยุกต์จากแบบจีน ให้มีความเป็นลายอย่างฝรั่งอยู่ที่หน้าพระอุโบสถ ภายในพระอุโบสถมีจิตรกรรมพระปฐมโพธิกถาประกอบด้วยสาระของภาพทัดเทียมกับพระอาราม

หลวงอื่นๆ จิตรกรรมนี้ได้ชื่อว่าเป็นวัฒนธรรมชั้นสูงทัดเทียมจิตรกรรมฝาผนังของจีนและอินเดีย มีพระมณฑปจตุรมุข มุขลดทั้งสี่ด้าน ที่ยอดมุขทั้งสี่มีหน้าของท้าวจตุโลกบาล ที่หน้าบันมีลายล้อกับพระอุโบสถเก่า ศาลาการเปรียญและกฎิสงฆ์ที่มีความเป็นเอกลักษณืไทย มีความแตกต่างตามยุคสมัยที่ญาติโยมได้รื้อถอนถวายเป็นสมบัติของวัด

พระอุโบสถเก่า เนื่องจากปัญหาแผ่นดินในเขตจังหวัดสมุทรปราการทรุดตัวลงทุกปี ตำแหน่งที่ตั้งอยู่ในระดับที่ตํ่ากว่าระดับลานและถนนคอนกรีตโดยรอบ ประกอบกับระดับนํ้าใต้ดินและแรงดันจากนํ้าทะเลที่มีระดับสูง ดันให้ความชื้นใต้ดินขึ้นมาทำลายผนังก่ออิฐถือปูนเดิมรวมถึงจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถทำให้เกิดหลุดลอกออก แม้ได้ดำเนินการซ่อมแล้วแต่ก็ยังต้องเฝ้าระวังต่อไป สำหรับถ้วยจานลายคราม-เบยจรงค์มีทั้งการแตกหัหสูยหาย นับเป็นภัยคุกคามศิลปกรรมเป็นอย่างยิ่ง

การบูรณปฎิสังขรณ์ สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมใดๆในพระอารามควรขอความเห็นชอบจากกรมศิลปากร โดยเฉพาะกรณีที่สถาปัตยกรรม-ศิลปกรรมนั้นได้ขึ้นทะเบียนแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้คงความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ในสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมไทยในพระอาราม

ขอขอบคุณ http://www.onep.go.th/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .