วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันตก (ฝั่งขวา) ที่ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมืองนนทบุรี เยื้องศาลากลางจังหวัดไปทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ มีเนื้อที่ประมาณ 24 ไร่ 7 งาน 22 ตารางวา แบ่งออกเป็น 3 เขต คือ เขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส และเขตนอกกำแพงใหญ่
วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร เป็นพระอารามหลวง ที่มีความสำคัญ คู่บ้านคู่เมือง มาร่วม 135 ปีแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดให้ทำการสร้างขึ้น ด้วยทรงมีพระราชดำริว่า บริเวณป้อมเก่า (ป้อมทับทิมสมัยกรุงศรีอยุธยา) ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ใต้วัดตลาดขวัญ
เมืองนนทบุรีเคยเป็นที่ตั้งนิวาสสถานของพระอัยกา พระอัยกี และเป็นสถานที่ประสูติของ สมเด็จพระศรีสุลาลัย พระราชชนนีพันปี หลวงแห่งพระองค์ เนื่องจากพระอัยกา (นามเดิม บุญจัน เคยเป็นผู้ว่าราชการ จังหวัดนนทบุรีที่ พระยานนทบุรีศรีมหาอุทยาน สมควรที่จะสร้างพระอารามหลวง ขึ้นไว้เพื่อเป็นการ เฉลิมพระเกียรติพระอัยกา พระอัยกี และ สมเด็จพระราชชนนี จึงได้โปรดให้พระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) สมุหพระกลาโหม เป็นแม่กอง สร้างวัดขึ้นในบริเวณนั้น โปรดให้สร้าง ป้อมปราการก่ออิฐถือปูน มีใบเสมา (ทำนองเดียวกับกำแพงพระบรมมหาราชวัง) เป็นรูป 4 เหลี่ยมไว้รอบวัดเพิ่อเป็น อนุสรณ์ด้วยแล้ว พระราชทานนามพระอารามแห่งนี้ว่า “วัดเฉลิมพระเกียรติ”
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวยังสร้างวัดเฉลืมพระเกียรติไม่แล้วเสร็จก็ทรงประชวร และเสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่อยู่ รัชกาลที่ 4 เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้วจึง ทรงรับพระราชภารกิจ ดำเนินการสร้างต่อ จนเสร็จเรียบร้อย วัดเฉลิมพระเกียรตินี้จึงเป็นอีกวัดหนึ่งในหลายๆ วัดที่รัชกาลที่ 3 ทรงสร้างค้างไว้ และรัชกาลที่ 4 ทรงรับเป็น พระราชภารกิจดำเนินการต่อ
ภายในวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหารมีอุโบสถที่สร้างด้วย สถาปัตยกรรมแบบไทยปนจีน มีภาพเขียนฝาผนังอันสวยงาม ด้านในประดิษฐาน พระประธานปางมารวิชัย หล่อด้วยทองแดง ทั้งองค์ หน้าตักกว้าง 6 ศอก สูงจรดพระเศียร 8 ศอก 2 คืบ 4 นิ้ว พระนามว่า พระพุทธมหาโลกาภินันทปฎิมา ส่วนภายนอกมีลายปูนปั้นประดับกระเบื้อง หน้าบัน ลวดลายปูนปั้นที่กรอบประตูหน้าต่าง สวยงามมาก

ขอขอบคุณ http://wikimapia.org/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .