วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

image-photo2-14341

วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร
ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

เจ้าอาวาส
พระอารามหลวง พระธรรมกิตติมุนี(ฐานมงฺคโล สาย ศรีมงคล)
ภูมิลำเนา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
วันเกิด 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 (ปีระกา)
อุปสมบท 19 เมษายน พ.ศ. 2497
วิทยฐานะ ป.ธ.7,น.ธ.เอก ป.,ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 25828 เจ้าอาวาสพระอารามหลวง พ.ศ. 2528
โทรศัพท์ 0-2881-6323,02-447-4493,08-1721-6999,02-446-3355 โทรสาร 02-447-4849

สภาพฐานะและที่ตั้งวัด
วัดเฉลิมพระเกียรติ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 86 หมู่ 3 ถนนท่าน้ำนนท์ –วัดโบสถ์ดอนพรหม ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย นนทบุรี มีที่ดินทั้งหมด 24 ไร่ 3 งาน 22 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 156460 ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2390 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2390 อาณาเขตของวัดแบ่งออกเป็น 3 เขตคือ เขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส และเขตนอกกำแพงใหญ่

อาณาเขต
ทิศเหนือ จดเขตคูวัดและที่ ธรณีสงฆ์
ทิศใต้ จดเขตคูวัดและที่ ธรณีสงฆ์
ทิศตะวันออก จดแม่น้ำเจ้า พระยา
ทิศตะวันตก จดเขตคูวัดและที่ธรณีสงฆ์

ประวัติความเป็นมา
มูลเหตุแห่งการสร้างวัดเริ่มเมื่อ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่3) เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในปี พ.ศ. 2367 นั้น พระองค์ทรงสถาปนาสมเด็จพระราชชนนีแห่งพระองค์ขึ้นเป็นกรมสมเด็จพระศรีสุลา ไลยด้วย ต่อมาทรงพระราชดำริว่าบริเวณป้อมปราการ (ชื่อว่าป้อมทับทิม) ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาใต้ตลาดขวัญ เมืองนนทบุรี เป็นนิวาสถานเดิมแห่งพระอัยกา(ตา) พระอัยกี(ยาย) ของพระองค์ และยังเป็นสถานที่ประสูติของสมเด็จพระศรีสุลาไลยพระราชชนนีพันปีหลวง สมควรที่จะสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงสักแห่งหนึ่ง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่ พระอัยกา พระอัยกี และสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงแห่งพระองค์ ด้วยเหตุนี้โปรดให้พระยาคลัง (ดิศ บุนนาค) ตำแหน่งที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กองสร้างวัดขึ้นในบริเวณนั้น และโปรดให้สร้างป้อมปราการ ก่ออิฐถือปูน มีใบเสมาเป็นทำนองเดียวกันกับพระ บรมมหาราชวังรอบวัดไว้เป็นอนุสรณ์ด้วย พระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่า วัดเฉลิมพระเกียรติ เมื่อ ปี พ.ศ. 2390 วัดเฉลิมพระเกียรติเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างขึ้นเป็นวัดสุดท้ายในรัชกาลก่อนที่พระองค์จะเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.2394 การสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติน่าจะยังไม่แล้วเสร็จในรัชกาลของ พระองค์ เพราะเมื่อพระองค์ใกล้จะเสด็จสรรรคต พระองค์ก็ยังตรัสถึงวัดต่างๆ ที่ยังสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ค้างไว้ว่า ” …ทุกวันนี้คิดสละห่วงใหญ่ให้หมด อาลัยอยู่แต่วัด สร้างไว้ใหญ่โตหลายวัด ที่ยังค้างอยู่ก็ดี ถ้าชำรุดทรุดโทรมไปจะไม่มีผู้ช่วยทนุบำรุง เงินในพระคลังที่เหลือจับจ่ายใช้ราชการแผ่นดิน มีอยู่ 40,000 ชั่ง ขอสัก 1,000 ชั่งเถิด ถ้าผู้ใดเป็นเจ้าแผ่นดินแล้วให้ช่วยบอกแก่เขาขอเงินรายนี้ให้ช่วยทนุบำรุง วัดที่ชำรุดและการวัดที่ยังค้างอยู่นั้น เสียให้แล้วด้วย…” เมื่อเป็นเช่นนี้ วัดเฉลิมพระเกียรติที่ยังสร้างค้างอยู่น่าจะเป็นวัดหนึ่งที่พระองค์ทรง ห่วงใยด้วย ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่4) เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้ว พระองค์ก็ทรงรับเป็นพระราชภาระในการสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติจนเสร็จเรียบ ร้อย โดยโปรดให้พระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุญนาค) เป็นแม่กองการบูรณะจนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2401 วัดเฉลิมพระเกียรติได้รับการคัดเลือกเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของกรมการ ศาสนา ในปี พ.ศ.2531 เป็นวัดอุทยานการศึกษากรมการศาสนา ปี พ.ศ.2538

ทรัพย์สิน
พระอุโบสถ กว้าง 26 เมตร ยาว 40 เมตร สร้างเมื่อรัชกาลที่ 3 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน สถาปัตยกรรมไทยผสมจีน พื้นพระอุโบสถปูด้วยหินอ่อน พระวิหาร กว้าง 15 เมตร ยาว 24 เมตร สร้างเมื่อรัชกาลที่ 3 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน สถาปัตยกรรมไทยผสมจีน ภายในวิหารประดิษฐานพระศิลาขาว ศาลาการเปรียญ กว้าง 16 เมตร ยาว 24 เมตร สร้างเมื่อสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน สถาปัตยกรรมไทยผสมจีน พระไตรปิฎกภาษาไทย จำนวน 45 เล่ม ธรรมาสน์ลายทอง 1 องค์ ในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ศาลาแดงเหนือแอละศาลาแดงใต้ จำนวน 2 หลัง สร้างด้วยไม้ทรงไทย กว้าง 8 เมตร ยาว 16.50 เมตร

ขอขอบคุณ http://www.bangsrimuang.go.th/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .