ตามรอยละครพื้นบ้านไทย ณ วัดเฉลิมพระเกียรติ วรวิหาร

37_20110406095608.

วัดเฉลิมพระเกียรติ วรวิหาร อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันตก (ฝั่งขวา) ในเขตพื้นที่ของ ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ถือว่าเป็น Landmark ในการถ่ายภาพยนตร์ และละครพื้นบ้านไทยจำนวนหลายเรื่อง

วัดเฉลิมพระเกียรติ วรวิหาร เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองมาร่วม 135 ปีแล้ว เนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดให้ทำการสร้างขึ้น ด้วยทรงมีพระราชดำริว่า บริเวณป้อมเก่า (ป้อมทับทิมสมัยกรุงศรีอยุธยา) ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ใต้วัดตลาดขวัญ นอกจากนี้แล้วภายในวัดยังประกอบไปด้วยโบราณสถานหลายๆแห่ง อาทิ

– องค์พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย (พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา) หล่อด้วยทองแดงทั้งองค์ หน้าตักกว้าง 6 ศอก สูงจรดพระเศียร 8 ศอก 1 คืบ 4 นิ้ว พระประทานองค์นี้มีตำนานเล่าว่า เมื่อรัชกาลที่ 3 โปรดให้ขุดแร่ทองแดงที่อำเภอจันทึกในแขวงนครราชสีมาได้แร่ถลุงเป็นเนื้อทองแดงลงมามาก

เนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะใช้ทองแดงนั้นให้เป็นประโยชน์ เกื้อกูลแต่พระศาสนาก่อน จึงโปรด ให้หล่อพระพุทธรูป ซึ่งประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอาราม ซึ่งทรงสร้างใหม่ 2 พระอาราม คือ วัดราชนัดดา กับวัดเฉลิมพระเกียรติ และยังได้โปรดฯ

เมื่อ พ.ศ. 2389 เฉพาะที่อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดราชนัดดานั้นเวลาชักเคลื่อนองค์พระไปวัด เกิดอาเพศตะเฆ่ที่ประดิษฐานพระได้ทับเอาเจ้าพระยายมราช (บุญนาค) กับทนายอีก 2 คน ตาย พระประธานที่วัดเฉลิมพระเกียรตินี้ถึงรัชกาลที่ 4 ถวายพระนามว่า “พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา”

– พระอุโบสถวัดเฉลิมพระเกียรติ มีความกว้าง 26 เมตร ความยาว 40 เมตร ตั้งอยู่ระหว่างศาลาการเปรียญและพระวิหารหลวง มีกำแพงแก้วล้อมรอบ (รวมทั้งเจดีย์ทางด้านทิศตะวันตกด้วย) ด้านเหนือและด้านใต้ยาวด้านละ 100 เมตร ด้านตะวันออกและตะวันตกยาวด้านละ 45 เมตรด้านละ 100 เมตร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาคลังขึ้นไปเป็นแม่กองจัดการก่อสร้าง กำหนดฤกษ์ก่อสร้างพระอุโบสถในวันขึ้น 13 ค่ำเดือน 11 ตรงกับวันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2390 ปีมะแม เวลา 1 โมงเช้ากับ 4 บาท

อุโบสถหลังนี้มีความสวยงามมากสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบไทยปนจีน กล่าวคือ หลังคามุงด้วยกระเบื้องรางดินเผาชนิดกาบกล้วยไม่เคลือบสี ถือปูนทับแนวทำเป็นลอนลูกฟูกแบบจีน หน้าบันทั้งทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีสดจาก ประเทศจีน ปั้นและประดับตกแต่งสีให้เป็นรูปใบและดอกพุดตาน (ดอกเบญจมาศ) โตโต เห็นได้ชัดเจนสวยงามมาก

ส่วนกระจังฐานพระ ช่อฟ้า ลำยอง ใบระกาและหัวนาค ปั้นทำเป็นหินอ่อน พื้นรอบนอกปูด้วยกระเบื้องหน้าวัวดินเผา ผนังภายในพระอุโบสถเขียนตกแต่งรายสีชนิดดอกไม้ร่วง บานหน้าต่างและบานประตูเขียนลายทองลดน้ำซุ้มประตูและซุ้มหน้าต่างประดับลาย ปูนปั้นยกดอก เป็นดอกพุดตาน พื้นประดับกระจก

ส่วนด้านในของบานประตูหน้าต่างเขียนรูปกอบัว ดอกบัว นก และสัตว์น้ำฐานพระอุโบสถเป็นฐานสิงห์ก่ออิฐถือปูน บันไดและขั้นบันไดปูด้วยศิลาทรายสีเขียว ชั้นทักษิณ พระอุโบสถทำเป็นฐานปัทม์ก่ออิฐถือปูน ปูกระเบื้องซีเม็นต์ บันไดตรงพนักเชื่องกับเสาทำเป็นเสาประทีปแปดเหลี่ยมแทนเสาเม็ดมุมฐานทักษิณ และช่องกลางฐานทักษิณ ทำเป็นย่อเก็จก่อเป็นเรือนซุ้มเสมากับพนักทักษิณ บันไดชั้นทักษิณทำชั้นด้วยศิลาเขียวกับบันไดขึ้นอุโบสถ

– พระวิหารหลวงวัดเฉลิมพระเกียรติ มักเรียกกันว่าวิหารพระศิลาขาว อยู่ทางด้านทิศใต้ของพระอุโบสถ มีกำแพงแก้วล้อมรอบต่อจากพระอุโบสถอีกชั้นหนึ่ง พระวิหารหลังนี้มีความกว้าง 14 เมตร ยาว 24 เมตร รวมเนื้อที่ทั้งหมด 360 ตารางเมตร วิหารพระศิลาขาวสร้างด้วยอิฐถือปูนเป็นสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับพระอุโบสถ

– พระเจดีย์วัดเฉลิมพระเกียรติ เป็นแบบพระเจดีย์แบบลังกาองค์เจดีย์เป็นรูปทรง กลมมีฐานแปดเหลี่ยมสองชั้น ฐานกว้างทั้งหมด 30 เมตรสูงจากพื้นถึงยอดประมาณ 45 เมตร พระเจดีย์นี้อยู่ทางด้านหลัง (ทิศตะวันตก) ในเขตแนวกำแพงแก้วเดียวกันกับพระอุโบสถ

ตามหลักฐานที่ปรากฎเข้าใจว่าพระเจดีย์องค์นี้สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังปรากฎในพระราชพงศวดาร รัชกาลที่ 4 ว่า “ครั้นสิ้นแผ่นดิน วัดนั้นยังค้าง อยู่บ้างเล็กน้อย จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี จ้างช่างไปเขียนผนัง พระอุโบถ วิหารการเปรียญและเขียนเพดานประตูหน้าต่าง

โดยเขียนเป็นลายรถน้ำมีปราสาทตราแผ่นดินและเขียนเป็นดวงจันทร์เต็มบริบูรณ์ คือ พระชนกชนนีของสมเด็จพระศรีสุลาไลน์ท่านทรง พระนามว่า เพ็งองค์ 1 จันทร์องค์1 เบื้องต่ำเขียนเป็นเครื่องยศหญิงบาน 1ชายบาน 1 ตือ ท่านผู้ได้เป็นผู้ว่าราชการเมืองนนทบุรี แล้วให้แก้ไขพระเจดีย์เสียใหม่ให้ต้องตามแบบอย่างกรุงเก่า แล้วถวยพระนามประทานว่า พระพุทธไตรรัตนโลกภินันทปฎิมาหรือพระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา”

– ป้อมทับทิม รอบวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร มีป้อมปราการเป็นทำนองเดียวกันกับกำแพงพระบรมมหาราชวัง แต่เดิมมีป้อมไม้ชื่อ “ป้อมทับทิม” มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือ เป็นสถานที่พักกองทัพ และประกอบพิธีกรรมในการยกทัพไปตีทางเหนือหลายคราว ในสมัยรัชกาลที่ 4 และการยกทัพไปปราบฮ่อในสมัยรัชกาลที่ 5 จากความสำคัญของป้อมปราการดังกล่าว เทศบาลเมืองบางศรีเมือง จึงนำมาเป็นตราสัญลักษณ์ของเทศบาล

ขอขอบคุณ http://travel.thaiza.com/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .