วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ (วัดเมือง) พระอารามหลวง

ที่ตั้ง เลขที่ 156 ถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา

img_7043

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ (วัดเมือง) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2377 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงรักษ์รณเรศ พระราชโอรสองค์ที่ 33 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) และเจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว ได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2385 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2395

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดตามฐานันดรศักดิ์ของเสด็จนายกรมฯ ซึ่งเป็นอาของพระเจ้าแผ่นดินว่า “วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์” แปลว่า “วัดที่อาของพระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง” แต่เดิทเรียกกันว่า “วัดเมือง” หรือ “วัดหน้าเมือง” เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2551 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ยกวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 25 ตอนพิเศษ 140 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2551

โบราณสถาน โบราณวัตถุ

1. พระอุโบสถ ขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 24 เมตร สูง 8 เมตร (ขนาดกลาง) มีมุขเด็จด้านหน้าและหลัง หน้าบันมุขเด็จเป็นลวดลายปูนปั้น มีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ “จปร” (ของรัชกาลที่ 3 และ รัชกาลที่ 5 ใช้ จปร เหมือนกัน) ภายในอุโบสถมีพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทำด้วยปูนลงรักปิดทอง หน้าตักกว้า 1 วา ฝีมือช่างเมืองหลวง

2. พระวิหารขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 26 เมตร อยู่ทางทิสตะวันตกของอุโบสถ ภายในพระวิหารมีพระประธานและพระพุทธรูปหน้าตักกว้าง 3 ศอก จำนวน 4 องค์ (สมัยสุโขทัยเนื้อทองสำริด) และมีรอยพระพุทธบาทจำลองหล่อด้วยสำริด มีภาพมงคล 108 หล่อในสมัยรัชกาลที่ 3 ระหว่างอุโบสถกับพระวิหาร มีต้นจันทร์อายุมากกว่า174 ปี (นับถึงปี 2556)

3. พระปรางค์ มุมกำแพงรอบพระวิหาร มี 4 องค์ เป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

4. กำแพงรอบพระอุโบสถและพระวิหาร

5. ศาลาการเปรียญสร้างเมื่อ พ.ศ.2510 เดิมเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว พ.ศ.2547 บูรณะโดยยกสูงจากพื้นเดิม ทำเป็น 2 ชั้น มีระเบียงรอบตัวอาคาร หน้าบันมีพระปรมาภิไธยย่อ จปร ภายในมีโบราณวัตถุสำคัญ ได้แก่

ธรรมาสน์เทศน์ เป็นเครื่องสังเค็ด (ของที่ระลึก, ของชำร่วย) งานพระบรมศพรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ.2453 รัชกาลที่ 6 สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานสำหรับพระอารามหลวง เป็นธรรมาสน์ชั้นตรี เขียนลายรดน้ำ ซึ่งวัดนี้ได้รับพระราชทานเสมอด้วยพระอารามหลวงชั้นตรี

6. หอระฆัง สร้างเมื่อ พ.ศ.2478 เพื่ออุทิศให้พระอินทราสา อดีตเจ้าเมืองฉะเชิงเทรา

7. พระเจดีย์ สูง 6 – 7 เมตร รจพระอัฐิพลายวิเศษฤาชัย (ช้าง) อดีตเจ้าเมืองฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่บริเวณรั้วของวิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา

8. ศาลากรมหลวงรักษ์รณเรศ พระราชบุตรรัชกาลที่ 1 สร้างเมื่อ 19 มกราคม 2534 อยู่ด้านนอกกำแพงวัด ทรงชุดออกศึก ประทับนั่ง ขนาดเท่าองค์จริง หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก แม่น้ำบางปะกง พระองค์เป็นที่เคารพของชาวบ้าน และเหล่าพ่อค้าคนจีน

ขอขอบคุณ http://css.onab.go.th/

 

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .