วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์(วัดเมือง)

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์หรือวัดเมือง เป็นโบราณสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อเกิดการสร้างบ้านแปลงเมืองของจังหวัดฉะเชิงเทราในปีพ.ศ. 2377 ครั้งนั้นได้มีการสร้างกำแพงเมืองเพื่อกำหนดขอบเขตของแปดริ้วและให้เมืองนี้เป็นปราการรักษาพระนคร กระทั่งชาวบ้านชาวเมืองปลอดภัยจากข้า ศึกศัตรู ศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้ทำให้มีการสร้างวัดขึ้นโดยช่างฝีมือจากเมืองหลวง มีรูปแบบสถาปัตยกรรมใกล้เคียงกับพระปรางค์วัดพระศรีรัตนศาสดารามที่กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองและเป็นที่พึ่งทางใจในยามสงคราม เนื่องจากวัดนี้ ตั้งอยู่ในเมือง ชาวบ้านจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า ” วัดเมือง” ต่อมาภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสฉะเชิงเทรา ในปี พ.ศ. 2451 พระองค์ทรงพระราชทานนามวัดว่า “วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์” ซึ่งมีความหมายว่า วัดที่ลุงของพระเจ้าแผ่นดินสร้าง

ภายในวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์มีสถานที่สำคัญคือ
หอระฆัง เริ่มก่อสร้าง เมื่อปี พ.ศ. 2478 โดยนางปุย กับ นางสาวแฝง ที่ได้รับการบริจาค และเพื่ออุทิศให้พระอินทราสา ซึ่งเป็นอดีตเจ้าเมืองฉะเชิงเทรา
ศาลกรมหลวงรักษ์รณเรศ เป็นศาลเจ้าเล็กที่มีศิลปะแบบจีน ที่ก่อสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2534
พระอุโบสถหลังเก่า มีขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 24 เมตร สูง 8 เมตร ในพระอุโบสถ พระอุโบสถได้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกที่ติดกับแม่น้ำบางปะกง
พระวิหาร มีขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 26 เมตร ฐานอยู่สูงกว่าระดับฐานพระอุโบสถประมาณ 0.90 เมตรอยู่ด้านทิศตะวันตกของพระอุโบสถ พระวิหารมีมุขเด็จด้านหน้าและด้านหลัง หลังคาลด 2 ชั้น ภายในวิหารมีพระประทานและพระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอกเศษ จำนวน 4 องค์ และมีรอยพระพุทธบาทจำลองหล่อด้วยสำริด มีภาพมงคล 108 หล่อในสมัย รัชกาลที่ 3

ขอขอบคุณ http://www.zeekway.com/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .