วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ (วัดเมือง)

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกงฝั่งตะวันตก บนถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ภายในบริเวณกำแพงแก้ว มีเนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่ มีพระอุโบสถ ๑ หลัง ด้านหน้าหันไปทางทิศตะวันออกสู่แม่น้ำ ด้านหลังมีพระวิหารอีก ๑ หลัง หันหน้าไปทางทิศเหนือ ในเขตกำแพงแก้วเป็นลานยกพื้นเทปูนไว้ พระอุโบสถและพระวิหารล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่และหนา ประกอบด้วยพระปรางค์หลายองค์ ที่บริเวณมุมของกำแพงแก้วมีลักษณะคล้ายกับพระปรางค์ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) จึงเป็นที่ยอมรับเชื่อถือกันว่าคงจะเป็นช่างฝีมือจากเมืองหลวงเป็นผู้ก่อสร้างปัจจุบันกำลังทรุดโทรมมาก

โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงรักษ์รณเรศ (พระองค์เจ้าไกรสร) ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓๓ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) ต้นราชกุล “พึ่งบุญ” ประสูติจากเจ้าจอมมารดา “น้อยแก้ว” เป็นแม่กองยกกำลังไปก่อสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการดังกล่าว โดยมีพระอนุชาร่วมพระโสทร พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอภัยทัต หรือ “พระองค์เสือ” เป็นผู้ช่วยคุมงาน ในขณะที่เสด็จในกรมฯ ได้ทรงงานก่อสร้างป้อมปราการอยู่นั้น พระองค์ได้ทรงสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นมาพร้อมกันอีกด้วย เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้รับพระราชทานนามวัดอย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ ๕ ตามพระฐานันดรศักดิ์ของเสด็จในกรมฯ ซึ่งเป็นอาของพระเจ้าแผ่นดินว่า “วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์” แปลว่า วัดที่อาของพระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง (คำว่า ปิตุลา ตามพจนานุกรมแปลว่า ลุง อา (พี่น้องผู้ชายข้างพ่อ) ในที่นี้หมายถึง อา เพราะทรงเป็นพระอนุชาของรัชกาลที่ ๒ ซึ่งเป็นพระราชบิดาของรัชกาลที่ ๓ คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าเป็นลุง) แต่เดิมเรียกกันว่า “วัดหลักเมือง” หรือ “วัดหน้าเมือง” เพราะเป็นวัดสำคัญกลางใจเมืองเพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่ต่อมาชาวบ้านนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า “วัดเมือง”

วัดเมืองได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕ ) เสด็จพระราชดำเนินประพาสวัดเมือง และซ่อมแซมอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ โดยชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาท้องถิ่นช่วยกันทำตามกำลัง ตามภูมิปัญญาในขณะนั้น ด้วยเห็นว่าเป็นวัดสำคัญทางประวัติศาสตร์ และเป็นวัดของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ถึงบัดนี้ก็ล่วงเลยมาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๗๗ ก็เป็นเวลากว่า ๑๗๒ ปี ปัจจุบันพระประธาน พระอุโบสถ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์แล้ว ส่วนพระวิหาร พระปรางค์ และกำแพงแก้ว ตลอดจนศาลของเสด็จในกรมฯ สกปรกและชำรุดทรุดโทรมไปมาก กำลังจะทำการบูรณปฏิสังขรณ์ในโอกาสต่อไป

Wat Pitula Thi Rat Rang Srit is located near the east side of Bang Pakong Riveron Marupong Road, Na Mueang, Capital District, Chachoengsao province. It was built by Her majesty Krom Luang Raksa Ronares as an offer to Phra Bat Somdet Phra Nangklao Chao Yu Hua or as known as King Rama III which later on this temple was officially given the name “Wat Pitula Thi Rat Rang Srit” in the reign of King Rama V. Inside the area of the temple, there is a chapel in the front and one in the back, which the Viharn is surrounded by glass wall and bricks with many Stupas in the corner of the wall. Theses Stupas inside are so similar to the one from Wat Phra Si Rattana Satsadaram, which we believe that the one who built this was the glassmaker from capital city.

ขอขอบคุณ http://travel.truelife.com/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .