วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์

pitula

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ หรือ วัดเมืองตั้งอยู่เลขที่ 156 บนถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นวัดเก่าแก่เริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ 3 ในปี พ.ศ.2377ภายในวัดมีสถานที่สำคัญคือ หอระฆัง เริ่มก่อสร้าง เมื่อปี พ.ศ. 2478 โดยนางปุย กับ นางสาวแฝง ที่ได้รับการบริจาค และเพื่ออุทิศให้พระอินทราสา ซึ่งเป็นอดีตเจ้าเมืองฉะเชิงเทรา และ ศาลกรมหลวงรักษ์รณเรศ เป็นศาลเจ้าเล็กที่มีศิลปะแบบจีน ที่ก่อสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2534 ในวัดมีพระอุโบสถหลังเก่า มี้ขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 24 เมตร สูง 8 เมตร ในพระอุโบสถ พระอุโบสถได้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกที่ติดกับแม่น้ำบางปะกง ส่วนพระวิหาร มีขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 26 เมตร ฐานอยู่สูงกว่าระดับฐานพระอุโบสถประมาณ 0.90 เมตรอยู่ด้านทิศตะวันตกของพระอุโบสถ พระวิหารมีมุขเด็จด้านหน้าและด้านหลัง หลังคาลด 2 ชั้น ภายในวิหารมีพระประทานและพระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอกเศษ จำนวน 4 องค์ และมีรอยพระพุทธบาทจำลองหล่อด้วยสำริด มีภาพมงคล 108 หล่อในสมัย รัชกาลที่ 3

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ สร้างโดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงจักร กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ ในสมัยรัชกาลที่ 3 และพร้อมๆ กับการสร้างกำแพงเมืองฉะเชิงเทรา โดยฝีมือช่างปั้นจากเมืองหลวง วัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพมหานคร วัดเดิมนี้ใช้เรียกว่าวัดเมือง แล้วในปี พ.ศ. 2451 ในสมัย รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระพาสเมืองฉะเชิงเทรา และทำการบูรณะวัดขึ้น ใหม่พระองค์ได้สถาปนาชื่อใหม่ว่า “วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์” ซึ่งมีความหมายกับชื่อว่า วัดที่ลุงของพระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง และได้ชื่อมาจนถึงปัจจุบันนี้

โบราณสถาน โบราณวัตถุที่น่าสนใจภายในวัด

1. พระอุโบสถ ขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 24 เมตร สูง 8 เมตร (ขนาดกลาง) มีมุขเด็จด้านหน้าและหลัง หน้าบันมุขเด็จเป็นลวดลายปูนปั้น มีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ “จปร” (ของรัชกาลที่ 3 และ รัชกาลที่ 5 ใช้ จปร เหมือนกัน) ภายในอุโบสถมีพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทำด้วยปูนลงรักปิดทอง หน้าตักกว้า 1 วา ฝีมือช่างเมืองหลวง

2. พระวิหารขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 26 เมตร อยู่ทางทิสตะวันตกของอุโบสถ ภายในพระวิหารมีพระประธานและพระพุทธรูปหน้าตักกว้าง 3 ศอก จำนวน 4 องค์ (สมัยสุโขทัยเนื้อทองสำริด) และมีรอยพระพุทธบาทจำลองหล่อด้วยสำริด มีภาพมงคล 108 หล่อในสมัยรัชกาลที่ 3 ระหว่างอุโบสถกับพระวิหาร มีต้นจันทร์อายุมากกว่า174 ปี (นับถึงปี 2556)

3. พระปรางค์ มุมกำแพงรอบพระวิหาร มี 4 องค์ เป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

4. กำแพงรอบพระอุโบสถและพระวิหาร

5. ศาลาการเปรียญสร้างเมื่อ พ.ศ.2510 เดิมเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว พ.ศ.2547 บูรณะโดยยกสูงจากพื้นเดิม ทำเป็น 2 ชั้น มีระเบียงรอบตัวอาคาร หน้าบันมีพระปรมาภิไธยย่อ จปร ภายในมีโบราณวัตถุสำคัญ ได้แก่
– ธรรมาสน์บุษบก สร้างสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2377)
– ธรรมาสน์เทศน์ เป็นเครื่องสังเค็ด (ของที่ระลึก, ของชำร่วย) งานพระบรมศพรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ.2453 รัชกาลที่ 6 สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานสำหรับพระอารามหลวง เป็นธรรมาสน์ชั้นตรี เขียนลายรดน้ำ ซึ่งวัดนี้ได้รับพระราชทานเสมอด้วยพระอารามหลวงชั้นตรี
– ตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3

6. หอระฆัง สร้างเมื่อ พ.ศ.2478 เพื่ออุทิศให้พระอินทราสา อดีตเจ้าเมืองฉะเชิงเทรา

7. พระเจดีย์ สูง 6 – 7 เมตร รจพระอัฐิพลายวิเศษฤาชัย (ช้าง) อดีตเจ้าเมืองฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่บริเวณรั้วของวิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา

8. ศาลากรมหลวงรักษ์รณเรศ พระราชบุตรรัชกาลที่ 1 สร้างเมื่อ 19 มกราคม 2534 อยู่ด้านนอกกำแพงวัด ทรงชุดออกศึก ประทับนั่ง ขนาดเท่าองค์จริง หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก แม่น้ำบางปะกง พระองค์เป็นที่เคารพของชาวบ้าน และเหล่าพ่อค้าคนจีน

ขอขอบคุณ http://woodychannel.com/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .