ท้าวเทพกระษัตรี-ท้าวศรีสุนทร วีรสตรีผู้ปกป้องเมืองถลาง

ท้าวเทพกษัตรี หรือท่านหญิงจัน เป็นลูกของจอมร้าง เจ้าเมืองถลางกับนางหม่าเสี้ย ชาวเมืองไทรบุรี โดยมีพี่น้อง 4 คน ได้แก่ มุก (ท้าวศรีสุนทร) มหาอาด และเรือง ต่อมาท่านหญิงจันได้สมรสกับหม่อมศรีภักดีภูธร เป็นชาวนครศรีธรรมราช ซึ่งทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ ปรางและเทียน ภายหลังเมื่อหม่อมศรีภักดีภูธรถึงแก่กรรม ท่านผู้หญิงจันและลูก ๆ จึงกลับมาอยู่ที่บ้านตะเคียนกับบิดา – มารดา ส่วนคุณมุกน้องสาว ได้แต่งงานกับชาวกรุงเทพฯ และมาทำมาหากินที่บ้านวัง เกาะถลาง
ต่อมาท่านหญิงได้แต่งงานใหม่กับพระยาพิรม (ขันธ์) จนมีบุตรด้วยกันอีก 5 คน ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน พระยาพิมลได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าเมืองถลาง ภายหลังเมื่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์ ได้โปรดให้สำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าตากสิน พร้อมเชื้อพระวงศ์และนายทหารที่จงรักภักดี โดยต่อมาได้โปรดเกล้าให้ พระธรรมไตรโลก ทำการสะสางบ้านเมืองให้เรียบร้อย ทำให้พระยาพิมล ได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ท่านผู้หญิงถูกคุมตัวไปที่ค่ายปากพระ เนื่องจากค้างค่าภาษีดีบุก ซึ่งเป็นขณะเดียวกันกันที่พม่ามาตีเมืองตะกั่วป่า และค่ายปากพระจนพ่าย ต่อมาท่านหญิงจึงรวมพรรคพวก ฝ่าวงล้อมหนีกลับมารวมคนที่ถลาง ซึ่งขณะนั้นถูกพม่าล้อมอยู่ ด้วยกองทัพไทยนั้นมีกำลังน้อย คุณหญิงจัน และคุณหญิงมุก (น้องสาว) สั่งให้คัดเลือกผู้หญิงกลางคนประมาณ 500 คน มาแต่งตัวเป็นผู้ชาย แล้วนำทางมะพร้าว มาทำเป็นอาวุธ เพื่อลวงข้าศึก ว่าทัพไทยมีกำลังเสริม ทำให้พม่าไม่กล้าโจมตีและขาดแคลนเสบียง ซึ่งพม่าล้อมเมืองถลาง อยู่ได้ประมาณ 1 เดือน ก็บาดเจ็บล้มตายไปประมาณ 300 – 400 คน จึงเลิกทัพกลับไป อันถือว่าเป็นการป้องกัน เมืองถลางเอาไว้ได้

นอกจากนี้หลังจากเสร็จศึกสงครามแล้ว เมืองถลางต้องประสบปัญหาความอดอยากแร้นแค้น เพราะพม่าทำลาย ข้าวของต่าง ๆ ไปเป็นจำนวนมาก ท้าวเทพกษัตรีและครอบครัวซึ่งทำแร่ดีบุก อยู่ที่บ้านสะปำ จึงนำแร่ไปแลกข้าวสาร มาเลี้ยงดูประชาชนอีกด้วย
เมื่อพม่าถอยทัพกลับไป พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงทราบเรื่องจึงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นท้าวเทพกษัตรี อันหมายถึงวีรสตรีผู้กล้าหาญ และยังโปรดตั้งคุณหญิงมุกน้องสาว เป็นท้าวศรีสุนทร อีกด้วย และเพื่อให้คนรุ่นหลังได้รำลึกถึงความดีของท้าวเทพกษัตรี – ท้าวศรีสุนทร จึงมีการสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นที่ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เพื่อเชิดชูเกียรติ โดยจะนำพวงมาลาสดุดีวีกรรมของสองวีรสตรี ศรีถลาง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชินีนาถทรงเสด็จ มาเปิดอนุสาวรีย์แห่งนี้เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2510

ขอขอบคุณ https://sites.google.com/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .