วัดอิสาน…นครราชสีมา

0105290001342510115

วัดอิสาน เป็นวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวัดพระนารายณ์(วัดกลาง) ตั้งอยู่ที่ ถนนกุดั่น ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2220 โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
โดยพระยายมราช หรือ สังข์ เป็นผู้สร้างโดยมีช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ช่วยออกแบบผังเมือง เมื่อสร้างผังเมืองเสร็จ จึงโปรดเกล้าให้ประชาชน และคฤหบดีและขุนนาง สร้างวัด 6 วัด
คือ วัดพระนารายณ์มหาราช(วัดกลาง) วัดบูรพ์ วัดอิสาน วัดพายัพ วัดบึง และวัดสระแก้ว เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิดใจประชาชน เพื่อเชิดชูพระพุทธศาสนา
ตามที่เล่าสู่กันมาว่า วัดพระนารายณ์มหาราช วัดบึง วัดสระแก้ว เป็นวัดที่ขุนนางเป็นผู้สร้าง โดยจากคำพูดของคนรุ่นเก่าว่า วัดบึง ขุนนาง หรือสถาปัตยกรรมไม้แกะสลักที่มีความประณีตอ่อนช้อย งดงามมาก
วัดอิสาน วัดบูรพ์ วัดพายัพ เป็นวัดที่คฤหบดี และประชาชนเป็นผู้สร้าง โดยเห็นความงดงามประณีตไม่ค่อยมี แต่ทางด้านจิตใจก็คงเป็นวัดประวัติศาสตร์ที่สร้างความภาคภูมิใจแก่อนุชนคน รุ่นหลังเป็นอย่างมาก
ภายในอุโบสถมีพระพุทธรูป ปูชนียวัตถุที่ชาวนครราชสีมาได้ร่วมกันสร้าง นับว่าเป็นของล้ำค่า โดยเฉพาะ พระศรีรัตนปาติการส แปลว่า “พระแก้วมงคลผู้ให้ความปรารถนาสำเร็จยิ่งกว่าปรารถนา”
พระพุทธรูปพระประธานที่ยังคงสภาพที่สมบูรณ์ คงเอกลักษณ์ศิลปะสมัยเชียงแสน สร้างในสมัยอยุธยาไว้ได้อย่างครบถ้วน
พระพุทธรูปตั้งอยู่เป็นพระประธานในอุโบสถ กว้าง 11.28 เมตร ยาว 22.60 เมตร สูง 14 เมตร มีเสา 12 ต้น เป็นเสาแปดเหลี่ยม มีหัวบนหัวเสา หรือเรียกว่า เสามรรค 8 ฐานแอ่นโค้งทรงสำเภา
หน้าบันและหลังคาได้ซ่อมใหม่ มีลวดลายแกะสลัก ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง ฐานเสมาคู่ และเสาหัวเม็ดที่กำแพง
อุโบสถของวัดอิสาน เป็นศิลปแบบอยุธยา คือแอ่นเป็นรูปเรือสำเภา เป็นอุโบสถเก่าแก่ที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2240 อุโบสถมีขนาด กว้าง 11.28 เมตร ยาว 22.60 เมตร สูง 14 เมตร มีเสา 12 ต้น เป็นเสาแปดเหลี่ยม มีหัวบนหัวเสา หรือเรียกว่า เสามรรค 8 ฐานแอ่นโค้งทรงสำเภา หน้าบันและหลังคาได้ซ่อมใหม่ มีลวดลายแกะสลัก ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง ฐานเสมาคู่ และเสาหัวเม็ดที่กำแพง

สาเหตุที่วัดส่วนใหญ่ในจังหวัดนครราชสีมาจะมีใบเสมาคู่ มีข้อสันนิษฐานถึงนัยยะที่ซ่อนอยู่ก็คือ มีการผูกพัทธสีมาที่ต่างวาระ ต่างนิกายในที่เดียวกัน ฝ่ายที่มาทีหลัง เมื่อต้องการใช้พื้นที่ในเขตสังฆกรรมแห่งนั้น ไม่มีความเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ในเขตสีมาอันก่อน จึงได้ทำการสวดผูกพัทธสีมาขึ้นมาใหม่อีกครั้ง หรืออีกความหมายหนึ่งก็คือวัดในสมัยโบราณนั้นมีด้วยกัน 2 ฝ่ายคือฝ่ายอรัญวาสีและฝ่ายคามวาสี เมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้น(วัดหลวง) เพื่อไม่ให้ถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ ก็จะอาราธนาพระสงฆ์ทั้ง 2 ฝ่าย ให้มาร่วมผูกพัทธสีมาพร้อมๆกัน วัดหลวงจึงมักเห็นมีสีมา 2 ใบแต่นั้นมา
พระประธานวัดอิสานคือ พระศรีรัตนปาติการส แปลว่า “พระแก้วมงคลผู้ให้ความปรารถนาสำเร็จยิ่งกว่าปรารถนา” พระพุทธรูปที่ยังคงสภาพที่สมบูรณ์ คงเอกลักษณ์ศิลปะสมัยเชียงแสน สร้างในสมัยอยุธยาไว้ได้อย่างครบถ้วน โดยมีลักษณะพระวรกายบอบบาง พระนลาฏกว้าง มีไรพระศก เส้นพระศกขมวดก้นหอยเล็กถี่ พระขนงเกือบเป็นเส้นตรง พระโอษฐ์กว้าง สังฆาฏิปลายตัดหรือแซงแซว พระหัตถ์และนิ้วพระหัตถ์ตรงไม่เรียว นั่งสมาธิราบบนพื้นฐานแอ่น ปูชนียวัตถุที่ชาวนครราชสีมาได้ร่วมกันสร้าง นับว่าเป็นของล้ำค่า โดยเฉพาะ
วัดอิสาน ตั้งอยู่ที่ ถนนกุดั่น ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา สังกัดมหานิกาย อาณาเขตทิศเหนือ ติดถนนพลแสน ,อาณาเขตทิศใต้ ติดซอยสาธารณประโยชน์และที่เอกชน ประตูวัดติดถนนยมราช ,อาณาเขตทิศตะวันออก ติดถนนกุดั่น และ อาณาเขตทิศตะวันตก ติดทางสาธารณะ หากนักท่องเที่ยวท่านใดผ่านเส้นทางดังกล่าว จะแวะไปสักการะ พระศรีรัตนปาติการส

 

ขอขอบคุณhttp://www.khaoyaizone.com/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .