สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเกาะคา จ.ลำปาง

วัดพระธาตุลำปางหลวง

เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองลำปางมาแต่โบราณ ตามตำนานกล่าวว่ามีมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 ตอนปลาย มีความสวยงามและอลังการด้วยศิลปะสถาปัตยกรรม ที่สร้างขึ้น ในแนวกำแพงใหญ่ที่ทอดยาวกั้นทุกอย่าง ไว้ในบริเวณวัด ส่วนบันไดด้านหน้าเป็นนาค สองชั้น หัวนาคชั้นแรกเป็นมังกรคล้ายนาค ตามคตินิยม ทางเหนือ ชั้นที่สองเป็นหัวนาคหัวเดียว เดินขึ้นไปตามบันไดนาคจนถึงประตูซุ้มโค้งหรือประตูโขง ที่ส่วนบนมีลายปูนปั้นเป็นกรองวิมาน มีนาคและหงส์ตามชั้นต่าง ๆ จนถึงยอดดูสวยงามยิ่ง ข้างบน ด้านหน้าจะเป็นพระวิหารหลวง เป็นวิหาร เปิดโล่งขนาดใหญ่ เป็นวัดไม้ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย งดงามด้วยสถาปัตยกรรม เก่าแก่ มากมายได้แก่พระธาตุลำปางหลวง, วิหารหลวง, วิหารพระพุทธ, ซุ้มพระบาท, กุฏิพระแก้ว, วิหารพระเจ้าศิลา และพิพิธภัณฑ์ ภายในบริเวณวัด
พระเจ้าล้านทอง อยู่ในวิหารหลวง มีกู่สีทองซึ่งบรรจุพระเจ้าล้านทอง เป็นประธานของพระวิหาร หลังพระวิหารหลวง เป็นเจดีย์ประธานทรงกลมแบบลานนาไทย บนฐานสูงมีกำแพงแก้ว ลูกกรง สำริดยอดดอกบัวล้อมเป็นรูปจัตุรัส ส่วนองค์เจดีย์นั้นบุด้วยแผ่นทองแดงปิดทอง ทางเหนือ เรียกว่า ทองจังโก ตามแผ่นโลหะเหล่่านี้มีลายสลักคนเป็นลวดลายแบบต่าง ๆ เกือบไม่เหมือน กันสักแผ่น เดียว ท่านใดที่มีราศีเกิดกับปีฉลู (ปีวัว) อย่าลืมนำวัวมานมัสการพระธาตุเพื่อ สะเดาะเคราะห์ และขอโชคลาภ

วิหารพระพุทธ ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้างแต่ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า 700 ปี เดิมเป็นวิหารเปิดโล่งหน้าบันไดเป็นลายดอกไม้ติดกระจกสี ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป ปางมาร วิชัยขนาดใหญ่เต็มอาคาร ก่ออิฐถือปูน ศิลปะเชียงแสนและยังปรากกเงาพระธาตุในวิหารอีกด้วย เมื่อหันหน้าเข้าวิหารหลวง ด้านขวามือ คือ วิหารน้ำแต้ม หรือวิหารภาพเขียนสี (“แต้ม” แปลว่า ภาพเขียน) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2044 เป็นวิหารเปิดโล่งที่เก่าแก่ที่สุดอีกหนึ่งทางภาคเหนือภายใน เป็้นรูปแบบของถาปัตยกรรมไทยที่งดงาม ไม่มีฝ้าเพดานกำแพงด้านพระประธานเขียนภาพลาย ทองบนพื้นรักแดง มีภาพจิตรกรรมศิลปะล้านนาบนแผงไม้คอสอง ที่กล่าวกันว่าเก่าแก่ที่สุดและ หลงเหลือเพียง แห่งเดียว ในเมืองไทย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21ลงมา แต่ปัจจุบันภาพเขียน ลบเลือนไปมากและประดิษฐาน พระพุทธรูปสัมริดปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 1.25 เมตร สูง 1.25 เมตร

ซุ้มพระบาท สร้างครอบพระพุทธบาทไว้ ฐานก่อขึ้นเป็นชั้นคล้ายฐานเจดีย์ สร้างเมื่อ พ.ศ.1992 ภายในมองเห็นแสงหักเหปรากฏเป็นเงาพระธาตุและพระวิหารในด้านมุมกลับ แต่มีข้อห้ามไม่ให้
ผู้หญิงขึ้น

กุฏิพระแก้ว เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างเมื่อใด แต่ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า 400 ปีมาแล้ว

วิหารพระเจ้าศิลา เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าศิลาซึ่งเป้นพระพุทธรูปที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงละโว
เมื่อ พ.ศ.1275 พระบิดาของพระนางจามเทวีมอบให้ประดิษฐานไว้ ณ ที่นี่

พิพิธภัณฑ์ รวบรวมศิลปวัตถุจากที่ต่างๆ ที่หาชมได้ยาก เช่น สังเค็ต ธรรมาสน์ คานหาบ
ตู้พระไตรปิฎก เป็นต้น นอกจากนี้วัดพระธาตุลำปางหลวงยังเป้นที่ประดิษฐาน พระแก้วดอนเต้า
(พระแก้วมรกต) พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดลำปาง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะล้านนา สลักด้วยหยกสีเขียว ทุกปีจะมีงานนมัสการพระแก้วดอนเต้าในวันเพ็ญเดือน 12 นักท่องเที่ยว สามารถเข้าชมวัดพระธาตุลำปางหลวงได้ระหว่างเวลา 07.30-17.00 น.

การเดินทาง
การเดินทาง วัดพระธาตุลำปางหลวงตั้งอยู่ที่ ตำบลลำปางหลวง ห่างจากตังเมืองลำปาง
ประมาณ 18 กิโเมตร ตามทางหลวงสายลำปาง-เถิน ถึงหลักกิโลเมตรที่ 586 เลี้ยว เข้าไปจนถึง ที่ว่าการอำเภอเกาะคา จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร ถึงทางแยก
เข้าอีก 1 กิโลเมตร หากเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางสามารถใช้บริการรถโดยสาร
ถนนรอบเวียงใกล้ตลาดออมสิน
วัดพระธาตุจอมปิง

อยู่ที่อำเภอเกาะคา ตำบลนาแก้ว อยู่ห่างจากตัวเมือง ประมาณ 32 กิโลเมตร ความอัศจรรย์ที่เกิดกับวัดนี้ คือ การเกิดเงาสะท้อนของพระธาตุบนกระดานผ้าขาว ที่ปรากฏในพระ วิหารตลอดเวลาที่มีแสงสว่าง และยังมีการขุดพบโบราณวัตถุคล้ายจากแหล่ง บ้านเชียง ซึ่งกรมศิลปากรมีโครงการที่จะสำรวจต่อไป เช่น ลูกปัดที่สวยงาม หม้อลายขูดมีด และ
เครื่องใช้สัมฤทธิ์

 

วัดเสลารัตนปัพพตาราม (วัดไหล่หิน)

วัดไหล่หินหรือวัดไหล่หินแก้วช้างยืน มีวิหารเก่าแก่ฝีมือช่างเชียงตุง สร้างแบบศิลปะล้านนา ไทย ประดับลวดลายงดงามทั้งหลัง โดยเฉพาะส่วนหน้าบันและซุุ้้มประตู มีการก่ออิฐถือปูน ประดับรูปปั้น สัตว์ศิลปะล้านนา ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวัดมีพิพิธภัณฑ์วัดไหล่หิน ซึ่งเป็นที่เก็บหอพระแก้ว ซุ้มพระพิมพ์ อาวุธโบราณ ที่โรงธรรมมีใบลาน เก่าแก่ของล้านนาไทย ซึ่งพระมหาเกสระปัญโญจารไว้เมื่อ 300 ปีที่แล้ว และวัดแห่งนี้ยังเป็น สถานที่ถ่ายทำหนังเรื่อง พระสุริโยไทอีกด้วย

ขอขอบคุณ http://www.lampang.go.th/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .