ประวัติความเป็นมาของ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

e0b894e0b8b2e0b8a7e0b899e0b98ce0b982e0b8abe0b8a5e0b894-11

กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการคุ้มครองและดูแลโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรและเมือนครชุม และได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อ พ.ศ. 2478 และ พ.ศ. 2480 โดยในปี พ.ศ. 2508 ได้เริ่มดำเนินการในส่วนของการขุดแต่ง บูรณะ และพัฒนาโบราณสถาน เป็นครั้งแรก และในปี พ.ศ. 2511 ได้ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งหนึ่ง

จนปี พ.ศ. 2525 กรมศิลปากรได้บรรจุงานปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (2525 – 2529) ภายใต้ชื่อโครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มุ่งเน้นการอนุรักษ์และพัฒนากลุ่มโบราณสถานทั้งภายในเมืองเนื้อที่ 503 ไร่ และเขตอรัญญิก เนื้อที่ 1,611 ไร่ เพื่อป้องกันมิให้ถูกทำลายหรือเสื่อมค่า พัฒนาโบราณสถาน และบริเวณเพื่อให้เป็นแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม เกิดความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ของชาติ
เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2524 กรมศิลปากรได้ดำเนินการเปิดอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรอย่างเป็นทางการ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จเป็นองค์ประธาน

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร อยู่ในบริเวณป่าธรรมชาติ ซึ่งยังคงบรรยากาศพุทธสถานเขตอรัญวาสีดังเช่นในอดีต ดังนั้นคณะกรรมการมรดกโลกแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก จึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมืองสุโขทัยและเมืองบริวารคือ เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองกำแพงเพชรเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปีพ.ศ. 2534
งานสถาปัตยกรรมของโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มีลักษณะโดดเด่น คือการใช้วัสดุศิลาแลง เป็นส่วนสำคัญในการก่อสร้าง และรูปแบบทางศิลปกรรมทั้งหมดเป็นของแท้ดั้งเดิมที่แสดงถึงฝีมือและความเชื่อของบรรพชนในอดีต นอกจากจะหลงใหลกับสิ่งที่เห็นแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองในสมัยพุทธศตวรรษที่ 19 อีกด้วย

ขอขอบคุณhttp://topsutthiphong.wordpress.com/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .