อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มีพื้นที่ทั้งสิ้น ๓.๔ ตารางกิโลเมตร มีโบราณสถานกว่า ๖๐ แห่ง โดยแบ่งออกเป็น ๒ พื้นที่ มีโบราณสถานที่สำคัญ ดังนี้

_Oa3Pa3aA

โบราณสถานภายในกำแพงเมือง

วัดพระแก้ว
ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองกำแพงเพชร มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตอนหน้าสุดเป็นอุโบสถตั้งอยู่บนฐานไพทีขนาดสูงใหญ่ ถัดจากฐานไพทีใหญ่ ไปทางทิศตะวันตกเป็นเจดีย์ประธานทรงระฆังขนาดใหญ่ ฐานล่างประดับสิงห์ปูนปั้นอยู่ภายในซุ้มรายรอบจำนวน ๓๒ ซุ้ม ถัดขึ้นมาทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นจำนวน ๑๖ ซุ้ม

วิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ ปางมารวิชัย ๒ องค์ และปางไสยาสน์ ๑ องค์ ลักษณะพระพักตร์ของพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ ค่อนข้างเป็นเหลี่ยม พระขนงต่อกันคล้ายกับรูปปีกกา พระเนตรเรียวเล็กปลายแหลมขึ้น มีผู้เสนอว่าพระพุทธรูปดังกล่าวเป็นแบบศิลปะอู่ทองหรืออยุธยาตอนต้น

ตอนหลังสุดของวัดมีเจดีย์ทรงระฆังฐานสี่เหลี่ยม ประดับช้างปูนปั้นโดยรอบจำนวน ๓๒ เชือก และด้านหน้าของเจดีย์ทรงระฆังช้างล้อม มีร่องรอยพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่ภายในซุ้ม ปัจจุบันเหลือเฉพาะส่วนพระบาททั้ง ๒ ข้าง สันนิษฐานว่าคือ พระอัฏฐารศ ที่นิยมสร้างในสมัยสุโขทัย

วัดพระแก้วน่าจะเป็นสถานที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต เมื่อครั้งอัญเชิญมาประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชร ตามที่ตำนานพระพุทธสิหิงค์และชินกาลมาลีปกรณ์ได้กล่าวถึง

วัดพระธาตุสิ่งก่อสร้างสำคัญคือ เจดีย์ประธานทรงระฆังก่ออิฐสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ มีระเบียงคดรูปสี่เหลี่ยม-ผืนผ้าล้อมรอบเจดีย์ประธานระเบียง คดจะเชื่อมต่อกับฐานวิหาร ส่วนท้ายหรือหลังของวิหารล้ำเข้ามาอยู่ในระเบียงคด ด้านหน้าฐานวิหารมีเจดีย์รายทรงระฆังก่อด้วยอิฐ ๒ องค์

รูปแบบเจดีย์ทรงระฆังของวัดแห่งนี้ ตั้งอยู่บนฐานแปดเหลี่ยมที่ซ้อนลดหลั่นกันหลายชั้นจนทำให้องค์เจดีย์สูง จัดเป็นแบบเฉพาะของเมืองกำแพงเพชร

ศาลพระอิศวร
ศาลพระอิศวร เป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู ปัจจุบันเหลือเฉพาะฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง ส่วนเสาและเครื่องบนหลังคาทำด้วยไม้ จึงหักพังจนหมดแล้ว ศาลแห่งนี้เดิมได้ประดิษฐาน เทวรูปพระอิศวรสำริด ที่ฐานมีจารึก กล่าวว่า สร้างขึ้นเมื่อ พุทธศักราช ๒๐๕๓ นอกจากนี้ ยังพบเทวรูปพระนารายณ์และเทวสตรีรวมอยู่ด้วย แต่อาจจะเป็นไปได้ว่าได้นำไปประดิษฐานไว้ภายหลังหรือนำมาจากที่อื่นการที่เมืองกำแพงเพชรซึ่งนับถือพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น แต่ได้มีการสถาปนาเทวรูปพระอิศวรไว้กลางเมืองก็เพราะเหตุว่า พราหมณ์ได้เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นผู้ประกอบพระราชพิธีต่างๆ ให้กับราชสำนักและเป็นผู้รักษาคัมภีร์ธรรมศาสตร์ที่ใช้ในการปกครองบ้านเมือง

วังโบราณหรือสระมน
ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของวัดพระแก้ว ติดกับกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือบริเวณประตูสะพานโคม ลักษณะผังบริเวณเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคัน ดินเป็นขอบเขตรอบนอก ภายในแนวคูน้ำรูปสี่เหลี่ยมขนานกับแนวคันดินทั้งสี่ด้าน จึงแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วน คือเขตชั้นนอกและชั้นใน ตรงกลางของพื้นที่ที่สระน้ำมีรูปสี่เหลี่ยมที่เรียกกันว่า สระมน

จากการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดี ได้พบฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลงซึ่งใช้กระเบื้องดินเผาแบบตะขอมุงหลังคานอกจากนี้ ยังพบเศษกระเบื้องดินเผาอีกเป็นจำนวนมากตามพื้นที่ส่วนต่างๆ จึงเชื่อว่าน่าจะมีอาคาร โครงสร้างไม้มุงหลังคาอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากโบราณวัตถุสำคัญ อื่นๆ ที่ขุดค้นพบ เช่น เศษภาชนะดินเผาแบบสังคโลก เครื่องถ้วยจีน และโซ่คล้องประตูทำจากสำริด เป็นต้น

ศาลพระอิศวร เป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู ปัจจุบันเหลือเฉพาะฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง ส่วนเสาและเครื่องบนหลังคาทำด้วยไม้จึงหักพังจนหมดแล้ว ศาลแห่งนี้เดิมได้ประดิษฐานเทวรูปพระอิศวรสำริด ที่ฐานมีจารึก กล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อ พุทธศักราช ๒๐๕๓ นอกจากนี้ ยังพบเทวรูปพระนารายณ์และเทวสตรีรวมอยู่ด้วย แต่อาจจะเป็นไปได้ว่าได้นำไปประดิษฐานไว้ภายหลังหรือนำมาจากที่อื่น

การที่เมืองกำแพงเพชรซึ่งนับถือพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น แต่ได้มีการสถาปนาเทวรูปพระอิศวรไว้กลางเมืองก็เพราะเหตุว่า พราหมณ์ได้เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นผู้ประกอบพระราชพิธีต่างๆ ให้กับราชสำนักและเป็นผู้รักษาคัมภีร์ธรรมศาสตร์ที่ใช้ในการปกครองบ้านเมือง

โบราณสถานนอกกำแพงเมือง หรือเขตอรัญญิก
วัดพระสี่อิริยาบถ
สิ่งก่อสร้างสำคัญประกอบด้วย วิหารตั้งอยู่ด้านหน้าวัด ทำเป็นฐานสองชั้น ฐานล่างเป็นแบบฐานบัวลูกแก้วอกไก่สูงใหญ่ ผนังด้านข้างใช้ศิลาแลงก่อเป็นลูกกรงเตี้ยๆ เลียนแบบเครื่องไม้ ชานชาลาด้านหน้ามีแท่นประดับสิงห์ปูนปั้นและทวารบาล ส่วนฐานบนเป็นวิหารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีมุขเด็จทั้งด้านหน้า – หลังภายในวิหารมีแท่นอาสน์สงฆ์และแท่นประดิษฐานพระประธาน

ด้านหลังวิหารเป็นมณฑปขนาดใหญ่ ลักษณะเป็นแบบจตุรมุข กึ่งกลางเป็นแท่งสี่เหลี่ยมเพื่อรับส่วนยอดหลังคา จากนั้นทำเป็นมุขยื่นออกมาทั้ง ๔ ทิศ แต่ละด้านก่อผนังให้เว้าเข้าไปและประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ผนังด้านตะวันออกประดิษฐานพระพุทธรูปลีลา ด้านทิศเหนือเป็นพระพุทธรูปนอน ด้านทิศใต้เป็นพระพุทธรูปนั่ง และด้านทิศตะวันตกเป็นพระพุทธรูปยืน ซึ่งยังคงสภาพดีมากกว่าด้านอื่นๆ

วัดพระนอน
มีอุโบสถตั้งอยู่ทางด้านหน้า เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าย่อมุมเป็นมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีใบเสมาสลักลวดลายพันธุ์พฤกษา บางใบสลักเป็น ภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์ ถัดไปด้านหลังเป็นวิหารพระนอน ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปนอนสภาพพังทลาย แต่ที่สำคัญคือเสาวิหารเป็นเสาศิลาแลงสี่เหลี่ยมแท่งเดียวตลอด ที่มีขนาดสูงใหญ่มาก เป็นเอกลักษณ์ ที่โดดเด่นของเมืองกำแพงเพชร เจดีย์ประธานอยู่ถัดจากวิหารไปทางด้านหลัง เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ฐานแปดเหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกันหลายชั้น

วัดช้างรอบ
เจดีย์ประธานทำฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมสูงใหญ่ มีบันไดอยู่ที่กลางด้านทั้งสี่เพื่อขึ้นไปถึงลานด้านบนสำหรับเดินประทักษิณ บันไดทางขึ้นสร้างชันมาก ชานบันไดแต่ละด้านประดับสิงห์และทวารบาลปูนปั้น จากบันไดเข้าสู่ลานด้านบนทำเป็นซุ้มประตู หลังคาซุ้มมีเจดีย์ยอดระฆังขนาดเล็กประดับผนังของฐานสี่เหลี่ยมล่างประดับรูปช้างปูนปั้นครึ่งตัวล้อมรอบ จำนวน ๖๘ เชือก ตัวช้างปั้นด้วยปูนแกนในโกลนจากศิลาแลง หัวและสองขาหน้าโผล่พ้นจากผนังประดับลวดลายปูนปั้นที่แผงคอ กำไลโคนขาและข้อขาผนังระหว่างช้างแต่ละเชือกตกแต่งลายปูนปั้นนูนสูงรูปต้นไม้งดงาม

องค์เจดีย์บนฐานประทักษิณเหลือเฉพาะชั้นหน้ากระดาน แปดเหลี่ยมชั้นหน้ากระดานกลม และส่วนที่ต่อเนื่องขึ้นไปอีกเล็กน้อย ส่วนยอดเจดีย์ที่อยู่เหนือขึ้นไปพังทลายหมดแล้ว เฉพาะชั้นหน้ากระดานกลมเหนือฐานแปดเหลี่ยม เดิมประดับลวดลายปูนปั้นเล่าเรื่องพุทธประวัติ โดยแบ่งออกเป็นช่วงรอบองค์เจดีย์รวม ๔๔ ช่อง แต่ปัจจุบันชำรุดหลุดร่วงออกหมด ใต้ภาพปูนปั้นประดับหงส์ดินเผาที่งดงามมาก

วัดอาวาสใหญ่
สิ่งก่อสร้างสำคัญ ได้แก่ ด้านหน้าสุดก่อเป็นฐานไพทีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หักเป็นมุมจำนวน ๒ ฐาน ด้านบนมีฐานเจดีย์รายแบบต่างๆ ฐานละ ๘ องค์ ถัดไปเป็นวิหารซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางของเขตพุทธาวาส ตัววิหารตั้งอยู่บนฐานทักษิณขนาดใหญ่ ด้านหลังวิหารเป็นเจดีย์ประธานขนาดใหญ่ ฐานล่างสุดเป็นแบบฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวแปดเหลี่ยมย่อมุม ส่วนยอดเจดีย์ที่ถัดขึ้นไปพังทลาย จึงไม่ทราบรูปทรงเดิมที่แน่ชัด

วัดอาวาสใหญ่เป็นวัดที่มีการจัดแผนผังสิ่งก่อสร้างได้งดงาม คงเป็นวัดที่พระสงฆ์ผู้ใหญ่ฝ่ายอรัญวาสีของเมืองกำแพงเพชรจำพรรษาอยู่ ด้วยมีฐานอาคารที่คาดว่าเป็นกุฏิสงฆ์ขนาดใหญ่น้อยจำนวนมากอยู่ในเขตสังฆาวาส

วัดพระบรมธาตุ
ตั้งอยู่กลางเมืองนครชุม สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตามหลักฐานในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๓ (จารึกนครชุม) ได้กล่าวถึงพระมหาธรร มราชาลิไทได้ประดิษฐานพระศรีรัตนมหาธาตุ และปลูกพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งได้มาจากลังกาทวีปที่เมืองนครชุม ในปีพุทธศักราช ๑๙๐๐

เจดีย์วัดพระบรมธาตุปัจจุบันเป็นรูปแบบเจดีย์พม่า แต่เดิมกล่าวกันว่าเป็นพระเจดีย์ก่อด้วยอิฐแบบพระเจดีย์สุโขทัยสามองค์ (น่าจะหมายถึงพระเจดีย์ทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) ครั้นสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงอนุญาตให้พ่อค้าชาวพม่า ชื่อ พระยาตะก่า ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์สร้างพระเจดีย์ใหม่ใหญ่กว่าเดิมโดยใช้สร้างแบบเจดีย์พม่าดังที่ปรากฏในปัจจุบัน

วัดเจดีย์กลางทุ่ง
วัดแห่งนี้ไม่ปรากฏแนวกำแพงวัด แต่มีการขุดคูน้ำโดยรอบเพื่อแสดงขอบเขตวัดที่เรียกว่าอุทกสีมา อันเป็นรูปแบบนิยมกันมากในสมัยสุโขทัย สิ่งก่อสร้างสำคัญภายในวัดประกอบด้วยวิหารก่อด้วยอิฐ ด้านหลังวิหารเป็นเจดีย์ประธานทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ รูปทรงขององค์เจดีย์ประกอบด้วย ฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมซ้อนลดหลั่นสามชั้น จากนั้นเป็นแบบฐานบัวลูกแก้วอกไก่ชั้นแว่นฟ้าย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบสองชั้น ส่วนเรือนธาตุย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบรอบรับส่วนยอดทรงดอกบัวตูม

 

วัดหนองพิกุล
แผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีคูน้ำโดยรอบทั้ง ๔ ด้านหรือที่เรียกว่า อุทกสีมา สิ่งก่อสร้างสำคัญภายในวัด คือ มณฑปรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งทำหน้าที่เป็นคันธกุฎี ตั้งอยู่หลังวิหารอันเป็นประธานของวัด มณฑปก่อฐานสูงประมาณ ๑.๕๐ เมตร ก่อผนังหนาทึบทั้งสามด้านเว้นทางเข้าเฉพาะด้านหน้าด้านเดียว ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ เต็มคับพื้นที่เครื่องบนก่ออิฐถือปูนเป็นหลังคารูปแบบมณฑปวัดหนองพิกุลคล้ายคลึงกับมณฑปวัดศรีชุม วัดตึก วัดตระพังทองหลาง ที่เมืองสุโขทัย

 

ป้อมทุ่งเศรษฐี
อยู่นอกเมืองนครชุมทางด้านทิศใต้ ลักษณะป้อมเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่อด้วยศิลาแลงยาวด้านละ ๘๔ เมตร แต่ละด้านมีช่องประตูเข้าออกตรงบริเวณกึ่งกลาง ด้านนอกก่อเป็นกำแพงสูง ด้านในก่อเป็นแท่นเชิงเทิน บนเชิงเทินสามารถเดินตรวจตรา ได้ตอนบนสุดก่อเป็นรูปใบเสมาใต้ใบเสมาทุก ใบมีช่องอาจจะใช้เป็นช่องปืนตรงมุมกำแพงทั้งสี่มุมทำเป็นป้อมรูปสี่เหลี่ยมยื่นออกมา ตอนล่างของแนวกำแพง มีช่องกุดทำเป็นวงโค้งยอดแหลม ภายในบริเวณป้อมไม่ปรากฏร่องรอยสิ่งก่อสร้างอื่นใด

จากลักษณะช่องกุดที่เจาะเป็นรูปโค้งเข้าไปในตัวกำแพง คล้ายกับช่องหน้าต่างอาคารที่สร้างในสมัยอยุธยา โดยเฉพาะตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์ลงมา สันนิษฐานว่า ป้อมทุ่งเศรษฐีคงสร้างในสมัยอยุธยาตอนกลางและเป็นลักษณะป้อมที่ได้รับอิทธิพลจากยุโรป อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒

ขอขอบคุณ http://haab.catholic.or.th/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .