วัดเพชรสมุทรวรวิหาร หรือวัดบ้านแหลม จ. สมุทรสงคราม

1476

วัดศรีจำปา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง ด้านทิศตะวันออก จำเนียรกาลต่อมาก็รกร้างโรยไปเหมือนกัน ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2307 พม่ายกทัพเข้ามาตีเมือเพชรบุรี กองทัพกรุงศรีอยุธยามีพระยาพิพัฒน์โกษากับพระยาตากสิน (พระเจ้าตากสินมหาราช) ยกทัพไปช่วยรักษาเมืองไว้ พม่าจึงยกทัพกลับไป แต่ชาวบ้านแหลมในเขตเมืองเพชรบุรีได้อพยพหนีพม่ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ในตำบลแม่กลอง เหนือวัดศรจำปา ริมคลองมากลอง จึงเรียกยกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านแหลม” ตามชื่อบ้านเดิมของตนในเมืองเพชร ได้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดศรีจำปาให้เป็นปึกแผ่นขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แล้วเรียกวัดศรีจำปานี้ว่า “วัดบ้านแหลม”

ชาวบ้านแหลมพวกนี้เป็นชาวประมง มีอาชีพออกตีอวนจับปลาในทะเล คราวหนึ่งได้ออกไปตีอวนในอ่าวแม่กลอง ได้พระพุทธรูปติดอวนขึ้นมา 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปนั่ง ได้ให้ญาติของตนในเขตอำเภอบ้านแหลมไปประดิษฐานไว้ที่วัดเขาตะเครา เรียกว่า “หลวงพ่อวัดเขาตะเครา” เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือของชาวเพชรบุรีสืบมาจนทุกวันนี้

ส่งอีกองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตรขนาดเท่าคนจริง สูงประมาณ 167 เซนติเมคร แต่บาตรนั้นสูญหายไปในทะเล เมื่อได้ขึ้นมาแล้วก็เอามาประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านแหลมเรียกว่า “หลวงพ่อวัดบ้านแหลม” เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพบูชาของชาวสมุทรสงครามทั่วไป

เล่ากันว่า แต่เดิมวัดบ้านแหลมเป็นวัดเล็ก ๆ รอบ ๆ บริเวณวัดก็ยังรกเป็นป่าโกงกาง ป่าแสม ป่าจากอยู่มาก ชาวบ้านแหลมจึงคิดจะนำพระพุทธรูปองค์นี้ไปประดิษฐานที่วัดใหญ่ซึ่งเจริญเป็นปึกแผ่นกว่าหากแต่ว่าเมื่อบรรทุกเรือจะนำไปยังวัดใหญ่นั้นเกิดคลื่นลมกล้า ชาวบ้านจึงต้องนำขึ้นประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านแหลม เมื่อนำพระพุทธรูปองค์นี้มาไว้ที่วัดบ้านแหลม แล้วต่อมาก็เกิดอภินิหารศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวบ้านทั่วไป จึงมีคนมาเคารพบูชากันมาก วัดบ้านแหลมจึงเจริญเป็นปึกแผ่นขึ้นมาจนทุกวันนี้

หลวงพ่อบ้านแหลมมาประดิษฐานอยู่ที่วัดบ้านแหลม ตั้งแต่ปีใดนั้นไม่ปรากฏหลักฐาน มีกล่าวไว้แต่ว่าชาวบ้านแหลม เมืองเพชรบุรี อพยพหนีมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ข้างวัดนี้เมื่อปี พ.ศ. 2307 ในระยะนี้คงยังไม่ได้หลวงพ่อบ้านแหลมมาจากทะเล

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาแตกแล้วบ้านเมืองก็มีศึกสงครามอยู่ ราษฎรตามถิ่นนี้เคยอพยพหลบหนีเข้าป่าเข้าดงจนไม่กล้าออกไปทอดแหลากอวนในทะเลตามปกติ ระยะเวลาระหว่าง พ.ศ. 2307 ถึง พ.ศ. 2310 จึงคงยังไม่ได้หลวงพ่อบ้านแหลมขึ้นมาจากทะเล ในสมัยกรุงธนบุรีก็ยังมีศึกพม่าอยู่เหมือนกัน

เมื่อ พ.ศ. 2310 ก็มีศึกบางกุ้งจนกระทั่ง พ.ศ. 2317 ก็มีศึกบางแล้ว เข้าใจว่าระหว่างนี้ก็คงยังไม่ได้หลวงพ่อบ้านแหลมมาจากทะเล แต่ก็คงจะได้หลวงพ่อบ้านแหลมขึ้นมาในสมัยแผ่นดินพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกก็เป็นได้ เพราะชาวบ้านแหลมคิดว่าจะนำพระพุทธรูปองค์นี้ไปไว้ที่วัดใหญ่ ซึ่งเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองกว่าวัดใหญ่นั้นเดิมเป็นวัดเล็ก ๆ ตั้งอยู่ด้านเหนือขึ้นไปไม่ใช่ตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้ วัดใหญ่เพิ่งย้ายมาอยู่ ที่ปัจจุบันนี้เป็นวัดที่เจริญรุ่งเรือง จนกระทั่งคนทั้งหลายเรียกว่าวัดใหญ่นั้น ก็เมื่อเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน รัตนกุล) มาสร้างขึ้นใหม่ในสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประมาณ พ.ศ. 2325 ถึง พ.ศ. 2352

ฉะนั้น ที่ว่าตั้งใจจะนำหลวงพ่อบ้านแหลมไปไว้วัดใหญ่เพราะเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรือง ก็น่าจะเป็นในระยะ พ.ศ. 2352 นี้เอง ถ้าเป็นเช่นนั้นก็น่าจะได้หลวงพ่อบ้านแหลมขึ้นมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง นับจนถึงบัดนี้ก็ประมาณ 180 ปี หรือประมาณ 6 ชั่วอายุคน

ขอขอบคุณ http://www.amulet.in.th

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .