ประวัติของวัดพระธาตุลำปางหลวง

wp_dsc53691

ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ได้เสด็จจาริกไปตามบ้านเมืองต่าง ๆ จนถึงบ้านลัมภะการีวัน (บ้านลำปางหลวง) พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือดอยม่อนน้อย มีชาวลัวะคนหนึ่งชื่อ ลัวะอ้ายกอน เกิดความเลื่อมใส ได้นำน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้างมะพร้าว และมะตูมมาถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ฉันน้ำผึ้งแล้วทิ้งกระบอกไม้ป้างไปทางทิศเหนือ แล้วทรงพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะมีชื่อว่า ลัมพกัปปะนคร แล้วได้ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศามาหนึ่งเส้น มอบให้แก่ลัวะอ้ายกอนผู้นั้น ลัวะอ้ายกอนได้นำพระเกศานั้น บรรจุในผอบทองคำ และใส่ลงในอุโมงค์พร้อมกับถวาย แก้ว แหวน เงิน ทอง เป็นเครื่องบูชา แล้วแต่งยนต์ผัด (ยนต์หมุน) รักษาไว้ และถมดินให้เรียบเสมอกัน แล้วก่อเป็นพระเจดีย์สูงเจ็ดศอกเหนืออุโมงค์นั้น ในสมัยต่อมาก็ได้มีกษัตริย์เจ้าผู้ครองนครลำปางอีกหลายพระองค์ มาก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซม จนกระทั่งเป็นวัดที่มีความงามอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ในทางประวัติศาสตร์นครลำปาง วัดพระธาตุลำปางหลวงมีประวัติว่า เมื่อปี พ.ศ. 2275 นครลำปางว่างจากผู้ครองนคร และเกิดความวุ่นวายขึ้น สมัยนั้นพม่าเรืองอำนาจได้แผ่อิทธิพลปกครองอาณาจักรล้านนาไว้ได้ทั้งหมด พม่าได้ยึดครองนครเชียงใหม่ ลำพูน โดยแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์พม่า ท้าวมหายศ เจ้าผู้ครองนครลำพูนได้ยกกำลังมายึดนครลำปาง โดยได้มาตั้งค่ายอยู่ภายในวัดพระธาตุลำปางหลวง ครั้งนั้น หนานทิพย์ช้าง ชาวบ้านปงยางคก (ปัจจุบันอยู่อำเภอห้างฉัตร) วีรบุรุษของชาวลำปาง ได้รวบรวมพลทำการต่อสู้ทัพเจ้ามหายศ โดยลอบเข้ามาในวัด และใช้ปืนยิงท้าวมหายศตาย แล้วตีทัพลำพูนแตกพ่ายไป ปัจจุบันยังปรากฏรอยลูกปืนอยู่บนรั้วทองเหลืองที่ล้อมองค์พระธาตุเจดีย์ ต่อมาหนานทิพย์ช้างได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าทิพย์จักรสุละวะฤๅไชยสงคราม เจ้าผู้ครองนครลำปาง และเป็นต้นตระกูล ณ ลำปาง เชื้อเจ็ดตน ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ น่าน
*ที่มาจาก วัดพระธาตุลำปางหลวง wikipedia
องค์พระธาตุลำปางหลวง
ได้ยินเสียงหลวงพ่อสวดมนต์ให้พรงานพีธีทำบุญในวิหารด้วยสำเนียงล้านนา รู้สึกว่าไพเราะเสนาะหูอย่างไม่เคยได้ยินมาก่อน เข้าไปดูใกล้ๆก็เห็นว่าพลวงพ่ออ่านคำภีร์ใบลานด้วย

หลวงพ่อกำลังให้ศีลให้พร โดยอ่านจากคำภีร์ใบลานด้วยสำเนียงแบบชาวเหนือ
ซูมกล้องเข้าไปข้างในวิหาร เห็นมณฑพสวยงามอยู่ข้างใน ค้นข้อมูลได้ความว่าเป็น พระเจ้าล้านทองในซุ้มปราสาททอง ลักษณะการสร้างมณฑพครอบพระพุทธรูปแบบนี้ ได้ข้อมูลมาว่า บางแห่งเรียกว่า โขงพระเจ้า

พระเจ้าล้านทองในซุ้มโขงพระเจ้า
ผู้คนยังคงทำพิธีกรรมอยู่ข้างในวิหาร ด้วยความเกรงใจ เราจึงไม่เข้าไปถ่ายรูปข้างในวิหารหลวง ได้แต่ถ่ายรูปอยู่แต่ภายนอก เมื่อแหงนมองขึ้้นไปก็พบกับลวดลายไม้ที่แกะสลักด้านหน้าวิหารหลวงเป็นลายสวยงามซับซ้อน แสดงฝีมือการแกะสลักของช่างลำปางได้อย่างวิจิตรงดงาม

ประตูโขง
นอกจากฝีมือทางงานไม้แล้ว งานปูนปั้นช่างลำปางก็ไม่ได้มีฝีมือน้อยไปกว่างานไม้เลย เห็นได้จากโขงประตูทางเข้า ที่มีลวดลายปูนปั้นที่สวยงามไม่แพ้ลายแกะสลักไม้ที่วิหาร ดูไปเรื่อยๆก็สังเกตุความแตกต่างของวัดพระธาตุลำปางหลวงอย่างหนึ่งคืองานปูนปั้นจะไม่ลงสี แต่ปล่อยให้เป็นสีปูนธรรมชาติ ทำให้สวยแปลกตาและดูเข้มขลังไม่น้อยเลย

ขอขอบคุณ http://natski13.wordpress.com

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .