วัดเพชรสมุทรวรวิหาร

banlame1

วัดเพชรสมุทรวรวิหาร เดิมชื่อ “วัดศรีจำปา” สร้างขึ้นในราวรัชสมัยพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยาตาม ตำนานเล่าว่า ในปี พ.ศ.2307ชาวบ้านแหลมในเขตเมืองเพชรบุรีอพยพหนีพม่ามาตั้งบ้านเรือน อยู่บริเวณตำบล แม่กลองเหนือวัดศรีจำปา และเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านแหลม” ตามชื่อห มู่บ้านเดิมของตนชาวบ้านแหลมได้ช่วย กันบูรณะวัดศรีจำปาและเรียกวัดนี้ใหม่ว่า วัดบ้านแหลม” ต่อมาวัดบ้านแหลมได้ยกฐานะขึ้นเป็นอาราม หลวง ชั้นวรวิหาร ได้รับ พระราชทานนามว่า วัดเพชรสมุทรวรวิหาร

สิ่งที่น่าสนใจในวัดบางกุ้ง
1.หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพเลื่อมใสของคนทั่วไป เป็น พระพุทธรูปยืนอุ้มบาตรขนาดเท่าคนจริง สูงประมาณ 167 เซนติเมตร ตามตำนานเล่าว่า ชาวประมงบ้านแหลมออก ไปลากอวนในอ่าวแม่กลอง ได้พระพุทธรูปติดมา 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปนั่งอีกองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูป ยืน พระพุทธรูปนั่งได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่วัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี ส่วนพระพุทธรูปยืนนำมา ประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านแหลม เรียกกันว่า หลวงพ่อบ้านแหลม ตอนที่ชาวประมงพบในอ่าวแม่กลองบาตรนั้น สูญหายไปในทะเล สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ที่ ได้เคยเสด็จมานมัสการ ได้ถวายบาตร แก้วสีน้ำเงินถวายหลวงพ่อบ้านแหลมเป็นพุทธบูชา และยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงพระราชศรัทธาหลวงพ่อบ้านแหลม จึงพระราชทานผ้าดิ้นทองแก่หลวงพ่อ จำนวนสองผืนแต่ละผืนมี ขนาด หน้า กว้าง 6 นิ้ว ยาวประมาณ 10 ฟุต ปัจจุบันทางวัดได้จัดแสดงไว้ในพระอุโบสถที่ ประดิษฐานหลวงพ่อ บ้านแหลม ในวันสำคัญ เช่น วัดสงกรานต์ วันทอดกฐินพระราชทาน จะนำผ้าดิ้นทองพระราชทาน หลวงพ่อบ้านแหลมเป็นที่เคารพบูชาในหมู่พุทธศานิกชนโดยทั่วไป ในแต่ละวันจะมีผู้ศรัทธาจากทั่วทุกสารทิศ Read more »

วัดเพชรสมุทรวรวิหาร

วัดเพชรสมุทรวรวิหาร เดิมชื่อ วัดบ้านแหลมในอดีตชื่อ วัดศรีจำปา ตั้งอยู่ที่ ตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นอารามหลวง ชั้นวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

ประวัติ
วัดเพชรสมุทรวรวิหาร เดิมชื่อ “วัดศรีจำปา” สร้างขึ้นในราวรัชสมัยพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยาตาม ตำนานเล่าว่า ในปี พ.ศ. 2307ชาวบ้านแหลมในเขตเมืองเพชรบุรีอพยพหนีพม่ามาตั้งบ้านเรือน อยู่บริเวณตำบล แม่กลองเหนือวัดศรีจำปา และเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านแหลม” ตามชื่อห มู่บ้านเดิมของตนชาวบ้านแหลมได้ช่วย กันบูรณะวัดศรีจำปาและเรียกวัดนี้ใหม่ว่า วัดบ้านแหลม” ต่อมาวัดบ้านแหลมได้ยกฐานะขึ้นเป็นอาราม หลวง ชั้นวรวิหาร ได้รับ พระราชทานนามว่า วัดเพชรสมุทรวรวิหาร

วัดบ้านแหลม
พระพุทธรูปสำคัญ หลวงพ่อบ้านแหลม
พระรูปหล่อหลวงพ่อบ้านแหลม วัดเพชรสมุทร เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร พระประจำวันเกิดวันพุธเวลากลางวัน หลวงพ่อบ้านแหลมเป็นพระที่สร้างในสมัยเดียวกันกับหลวงพ่อโสธร กับหลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรเช่นเดียวกันหลวงพ่อบ้านแหลม สร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น หลวงพ่อวัดบ้านแหลม มีความสูง 167 เซนติเมตร

ประวัติหลวงพ่อบ้านแหลม
ชาวบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีได้มาตีอวนหาปลาบริเวณแม่น้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสาคร ได้ลากอวนพบพระพุทธรูป 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร ซึ่งได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานที่ วัดศรีจำปา (ปัจจุบันชื่อ วัดบ้านแหลม ทำให้ชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่าหลวงพ่อบ้านแหลมตั้งแต่นั้นมา พระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง ปางสมาธิ ชาวบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ได้นำกลับไปประดิษฐานที่วัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี

ตำนานพระพุทธรูปห้าองค์อยู่บนแพลอยน้ำมาในแม่น้ำแม่กลองจากเมืองทางทิศเหนือของจังหวัดสมุทรสาคร คือ หลวงพ่อวัดบ้านแหลม หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อโตวัดบางพลี หลวงพ่อวัดเขาตะเครา และหลวงพ่อวัดไร่ขิง ซึ่งชาวบ้านริมฝั่งน้ำที่ศรัทธาได้อัญเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถของวัด เพื่อสักการบูชา Read more »

ประวัติ หลวงพ่อโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร (วัดหลวงพ่อโสธร)

อันบุญบารมีอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ใครๆ จะปฏิเสธไม่ได้เลย และจะแข่งขันให้เท่าเทียมกันนั้นก็ได้ยาก จะมีบ้างก็บางสถานที่ บางท่านบางคนทั้งยังเป็นสิ่งที่เหนือเหตุผลของการพิสูจน์ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า สิ่งมหัศจรรย์นั้นเป็นอจินตัยไม่ควรคิดค้นหาเหตุผล ความศักดิ์สิทธิ์อภินิหารจะดลบันดาลให้เกิดมีเฉพาะผู้มีบุญวาสนา และผู้เลื่อมใสศรัทธาเชื่อมั่นเท่านั้น หลวงพ่อโสธรองค์หนึ่งที่ทรงอานุภาพศักดิ์สิทธิ์มีอภินิหารเป็นพระพุทธรูปที่ทรงอานุภาพศักดิ์สิทธิ์ เป็นมิ่งขวัญของชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา และเป็นที่รู้จักเคารพบูชาของประชาชนทั้งหลาย หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้างประมาณ 1 ศอกเศษ ปรางค์ขัดสมาธิเพชร แต่ได้เสริมแต่งขึ้นจากเดิมโดยพอกปูนลงลักปิดทองให้เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 3ศอก 5 นิ้ว พระเนตรเนื้อเลียนแบบพระสมัยลานช้าง หรือเรียกกันสามัญว่า “พระลาว” ซึ่งพระชนิดนี้มีชื่อว่าวัดหงษ์

โดยที่วัดนี้มีเสาใหญ่ มีหงษ์เป็นเครื่องหมายติดอยู่กับยอดเสา วัดนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงด้านทิศตะวันตก สถานที่ตั้งวัดแต่ดั้งเดิมนั้น เวลานี้ถูกน้ำเซาะพังเป็นแม่น้ำไปหมดแล้ว วัดนี้ใครเป็นผู้สร้างและสร้างขึ้นในสมัยใดไม่ปรากฏ แต่ได้ความว่าเป็นวัดเก่าแก่สร้างมานานแล้ว ต้นเหตุที่วัดนี้ได้ชื่อว่า โสทรหรือ โสธร นั้นเล่ากันว่ากาลต่อมาหงษ์ใหญ่ที่ติดอยู่บนยอดเสานั้น พลัดตกลงมาหักทำลายคงเหลือแต่เสา จึงได้เอาผ้าผืนใหญ่ทำเป็นธงขึ้นไปแขวนไว้บนยอดเสาแทนหงษ์ประชาชนก็เลยเรียกชื่อตามนิมิตเครื่องหมายนั้นว่า วัดเสาธง นานมาเสาธงนี้ได้ถูกลมพายุพัดหักโค่นลงมาเป็น 2 ท่อน ชาวบ้านก็เลยถือเอานิมิตที่เสาธงหักเป็นท่อนนั้นตั้งเป็นชื่อวัดว่า “วัดเสาทอน” อยู่สิ้นกาลช้านาน จวบจนถึงสมัยที่มีพระพุทธรูป 3 องค์ พี่น้องล่องลอยน้ำมาจากเหนือ และในจำนวนพระพุทธรูป 3 องค์ นั้นได้อาราธนาอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่วัดนี้ 1 องค์ คือ หลวงพ่อโสธร และปรางหลังครั้งหลังก่อนหลวงพ่อโสธรจะมีชื่อเรียกมาอย่างไรไม่มีใครทราบ Read more »

เส้นทางไปวัดโสธรวรารามวรวิหาร

b654ca14-ae0f-5caf-d286-528c93dcc2ff

วิธีการเดินทาง
จากกรุงเทพ มุ่งหน้าสู่จังหวัดฉะเชิงเทราโดยถนนสายมอเตอร์เวย์ ขับมาจนถึงทางออกสู่จังหวัดฉะเชิงเทรา เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 314 ขับไปตามทาง เมื่อเข้าสู่ตัวเมืองจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้เลี้ยวเข้าถนนเทพคุณากร ตรงไปตามทางจะเห็นวัดโสธรฯ อยู่ทางด้านขวามือ
– วัดโสธรฯ เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 7.00-16.30 น. และ 7.00-17.00 น. ในวันหยุดต่างๆ

– การเข้าไปภายในอุโบสถ ควรแต่งกายสุภาพ ผู้หญิงไม่ควรนุ่งกางเกง กระโปรงสั้น และไม่ควรสวมเสื้อแขนกุด

– ถ้าหากแต่งกายไม่เรียบร้อย บริเวณด้านหน้าอุโบสถ มีเสื้อคลุมไว้คอยให้บริการแก่ทุกคนก่อนเข้าไปยังภายใน

– ภายในอุโบสถหลังใหม่ ไม่อนุญาตให้จุดธุปเทียนภายใน รวมถึงการปิดทองที่องค์พระด้วย แต่ถ้าหากต้องการนมัสการปิดทอง ที่อาคารด้านข้างของวัด จะประดิษฐานองค์หลวงพ่อโสธรจำลองไว้ให้ประชาชนทั่วไปได้กราบไหว้ขอพร และปิดทอง รวมถึงการแก้บนต่างๆ ก็จะทำกันที่บริเวณ

ข้อมูลทั่วไป
ที่อยู่ : 134 ถนนเทพคุณากร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000
GPS : 13.674305, 101.067162
เบอร์ติดต่อ : 0 3851 1048 begin_of_the_skype_highlighting 0 3851 1048 FREE end_of_the_skype_highlighting
E-mail : watsothorn@hotmail.com
Facebook : https://www.facebook.com/watsothornwararam
เวลาทำการ : วันธรรมดา 7.00-16.30 น. วันหยุดต่างๆ 7.00-17.00 น.
ค่าธรรมเนียม : ไม่มีค่าธรรมเนียม
ช่วงเวลาแนะนำ : ตลอดทั้งปี
ไฮไลท์ : พระอุโบสถที่มีขนาดใหญ่ และมีความสวยงามที่สุด ซึ่งภายในประดิษฐานหลวงพ่อพุทธโสธร และมีภาพจิตรกรรมฝาผนังโดยรอบ
กิจกรรม : สักการะขอพรจาก หลวงพ่อพุทธโสธร เดินเล่นตลาดนัดตอนเย็นบริเวณข้างวัด

ขอขอบคุณ http://www.thetrippacker.com

 

วัดโสธรฯ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้าน ศรัทธาคู่เมืองแปดริ้ว

1e9b77ed-9572-0850-8c5c-528c91ce2115

ในวันหยุดสุดสัปดาห์ที่มีเวลาว่างอยู่อย่างจำกัด เชื่อว่าใครๆ ก็คงอยากจะหาสถานที่ท่องเที่ยวใกล้ๆ แบบที่สามารถเดินทางแบบเช้าไปเย็นกลับได้ และถ้ายิ่งไม่ต้องใช้เวลาเดินทางนานๆ ก็คงจะยิ่งดีขึ้นไปอีก ด้วยเงื่อนไขเหล่านี้เอง คราวนี้เราจึงขอพาทุกคนไปเที่ยวกันใกล้ๆ ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และแน่นอนว่าถ้าพูดถึงเมืองแปดริ้ว สถานที่สำคัญแห่งแรกที่ต้องนึกถึงนั่นก็คือ “วัดโสธรฯ” ซึ่งแน่นอนว่าเป้าหมายแรกของเราก็คือ การไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแปดริ้วกันเสียก่อน

“วัดโสธรฯ” ที่เราเรียกกันติดปากนั้น มีชื่อเต็มว่า “วัดโสธรวรารามวรวิหาร” ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง เดิมมีชื่อว่า “วัดหงษ์” สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งประดิษฐาน “หลวงพ่อพุทธโสธร” หรือที่ชาวบ้านมักเรียกกันว่า “หลวงพ่อโสธร” พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองแปดริ้ว เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ตามประวัติที่เล่าต่อกันมานั้น ว่ากันว่าหลวงพ่อโสธรลอยตามน้ำมา และมีผู้อัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้ แต่เดิมองค์พระเป็นรูปหล่อสำริดมีความสวยงามมาก แต่พระสงฆ์ในวัดเกรงว่าจะมีผู้มาลักพาไป จึงได้นำเอาปูนมาพอกหุ้มองค์พระไว้ทั้งองค์ ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโสธรจึงมีประชาชนหลั่งไหลมาอย่างไม่ขาดสาย ซึ่งเราจะเห็นว่าทุกวันจะมีผู้คนมานมัสการปิดทองหลวงพ่อโสธรเป็นจำนวนมาก บ้างก็มาเพื่ออธิฐานขอพรให้ท่านคุ้มครอง บ้างก็มาบนบานศาลกล่าวให้สมปรารถนา Read more »

ไหว้หลวงพ่อโสธร ท่องเมืองแปดริ้ว

พูดถึง ฉะเชิงเทรา ใคร ๆ ก็ต้องนึกถึง หลวงพ่อโสธร เพราะใครต่อใครที่ไปเยี่ยมเยือนเมืองแปดริ้วแห่งนี้ก็มักจะตั้งใจไปกราบนมัสการองค์หลวงพ่อกันเป็นหลัก

ตรงหน้าทางเข้าจะมีบริการดอกไม้ธูปเทียนของทางวัดจัดไว้ให้ ชุดละ 20 บาท ตอนจ่ายเงินก็ให้หยอดลงตู้ได้เลย
ทางวัดจะจัดที่ทางให้จุดธูปเทียนบูชา อยู่ด้านนอกอุโบสถชั่วคราว
ถ้ามากันช่วงวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ ก็ต้องทำใจกันนิดว่าผู้คนจะล้นหลามประมาณนี้ หรือไม่ก็มาให้เช้าสักนิด ที่นี่จะเปิดกันตั้งแต่ 7 โมงเช้า
ถ้าใส่รองเท้ามีราคามา จะมาฝากเจ้าหน้าที่เขาดูแลให้ก่อนเข้าไปในพระอุโบสถก็ได้
ผู้คนที่มีจิตศรัทธาพากันหลั่งไหลมานมัสการและปิดทององค์หลวงพ่อโสธรกัน

เล่าประวัติกันหน่อย

พระพุทธโสธร หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อโสธร มีประวัติเล่ากันมาว่า มีพระพุทธรูปสามองค์ลอยน้ำมาจากทางเหนือ มาผุดขึ้นที่แม่น้ำปางปะกงในลักษณะที่ลอยทวนน้ำ ชาวบ้านพยามจะเอาเชือกคล้องเพื่ออัญเชิญขึ้นฝั่งแต่ก็ไม่สำเร็จและพระพุทธรูปก็จมน้ำหายไป ชาวบ้านเลยเรียกบริเวณนั้นว่า สามพระทวน ที่เดี๋ยวนี้เพี้ยนไปเป็น สัมปทวน ต่อมาพระพุทธรูปองค์หนึ่งก็ไปปรากฏที่แม่น้ำแม่กลอง ชาวบ้านได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานอยู่ที่วัดบ้านแหลม เรียกว่า “หลวงพ่อวัดบ้านแหลม” อีกองค์ไปพบลอยอยู่ที่คลองบางพลี สมุทรปราการ ชาวบ้านได้อัญเชิญขึ้นไว้ที่วัดบางพลี และองค์ที่สามก็คือ พระพุทธโสธร นี่เองที่มาลอยอยู่ที่หน้าวัดและชาวบ้านได้อัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัด Read more »

ประวัติ หลวงพ่อโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร

หลวงพ่อโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา
ประวัติหลวงพ่อโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร
หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปที่มีอภินิหาร มีฤทธานุภาพของชาวไทยองค์หนึ่ง ชาวไทยได้รับการคุ้มครองรักษาอภิบาลจากหลวงพ่อโสธรองค์นี้อย่าง ร่มเย็นเป็นสุขและปลอดภัยอริราชศัตรูมาหลายปีแล้วอย่างแปลกประหลาด เพราะฉะนั้นท่านผู้ปรารถนาจะมีความสุขสวัสดี ปลอดภัยจากโรคพยาธิควรจะมีหลวงพ่อโสธรไว้บูชา หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ คือมีพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระชงฆ์ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายวางซ้อนกันอยู่บนพระเพลา มีส่วนสูง ๖ฟุต ๗นิ้ว พระเพลากว้าง ๕ฟุต ๖นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐาน อยู่ในพระอุโบสถหลวงวัดโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา ชาวฉะเชิงเทราเคารพนับถือมาก ทางราชการจัดให้มีงานสมโภชเป็นเทศกาลประจำปี มีพุทธศาสนิกชนทั่วทั้งประเทศหลั่งไหลกันมานมัสการคับคั่งตลอดงาน ได้รับทั้งความสนุกและทั้งบุญกุศลด้วย

งานเทศกาลประจำปีของหลวงพ่อโสธร ถือเป็น เทศกาลประจำปีหลวงพ่อโสธร ซึ่งจะจัดปีละ 2 ครั้ง
– ครั้งแรกจัดช่วงเดือน 5 เรียกว่า งานกลางเดือน 5 เริ่มจัดงานตั้งแต่วันขึ้น 14-15 ค่ำ ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 รวม 3 วัน
– อีกครั้งจัดเดือน 12 เรียกว่า งานกลางเดือน 12 เริ่มจัดงานตั้งแต่วันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 รวม 5 วัน Read more »

ประเพณีนมัสการหลวงพ่อโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา

s3

ช่วงเวลา
งานเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโสธร จัดขึ้นปีละ ๓ ครั้ง โดยกำหนดวันทางจันทรคติตามลำดับ คือ
๑. งานเทศกาลกลางเดือน ๕ ตั้งแต่วันขึ้น ๑๔ ค่ำจนถึงวันแรก ๑ ค่ำ เดือน ๕ รวม ๓ วัน
๒. งานเทศกาลกลางเดือน ๑๒ ระหว่างวันขึ้น ๑๒-๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ รวม ๕ วัน
๓. งานเทศกาลตรุษจีน ระหว่างวันขึ้น ๑-๕ ค่ำ เดือน ๓ รวม ๓ วัน

ความสำคัญ
หลวงพ่อโสธรเป็นพระพุทธรูปที่เชื่อถือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์จึงมีประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางไปนมัสการอย่างเนืองแน่นทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันเทศกาลสำคัญและงานนักขัตฤกษ์ จะมีผู้มานมัสการจำนวนมากกว่าวันปกติทั่วไป Read more »

ประวัติและความเป็นมาของ หลวงพ่อโสธร จ.ฉะเชิงเทรา–ตอน ตำนานพระพุทธรูปสามพี่น้อง ลอยทวนน้ำ

เรื่องเล่าสามพี่น้อง

ประวัติเกี่ยวกับหลวงพ่อโสธรมีเรื่องราวที่เล่าขานกันมานาน เริ่มตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีพระพุทธรูปลอยน้ำมา3องค์ที่แม่น้ำบางปะกง พอมาถึงบริเวณสถานที่แห่งหนึ่ง มีชาวบ้านเห็นพระพุทธรูปลอยน้ำมา จึงช่วยกันอัญเชิญขึ้นมาบนฝั่ง ด้วยการเอาเรือออกไปอัญเชิญช่วยกันยกขึ้นเรือ แต่ก็ไม่สำเร็จเพราะยกเอาขึ้นมาไม่ไหว จึงเปลี่ยนวิธีการเป็นเอาเชือกเส้นใหญ่ ไปคล้ององค์พระทั้ง3องค์อย่างแน่นหนา แล้วช่วยกันชักลากขึ้นมาบนฝั่ง ซึ่งเป็นที่น่าแปลกใจของชาวบ้านในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก เพราะทำอย่างไรก็ไม่สำเร็จ ชาวบ้านพยายามลองอยู่หลายครั้งหลายวิธีก็ไม่สำเร็จ จนกระทั่งเชือกขาดรั้งเอาไว้ไม่อยู่ ประกอบกับ กระแสน้ำเกิดปาฏิหาริย์ปั่นป่วนขึ้นมาเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ทำให้พระพุทธรูปทั้ง3องค์จมหายไป ท่ามกลาง ความเสียดายของผู้คนซึ่งเห็นเหตุการณ์อย่างชัดเจน ต่างพากันยกมือไหว้ท่วมศีรษะ

บางคนก็พูดว่าไม่มีบุญเพียงพอ ที่จะอัญเชิญพระพุทธรูปทั้ง3องค์ขึ้นมาได้ ทำให้ผู้คนในสมัยนั้นโจษขานกันต่างๆนานา บ้างก็ว่า เทวดาฟ้าดินไม่โปรด หลวงพ่อก็ไม่ยอมประดิษฐานอยู่บนฝั่ง เรื่องราวโจษขานกันไปมากมายนี้ ทำให้ชาวบ้านพากันเรียกสถานที่ ที่พระพุทธรูปทั้ง3 องค์ มาสำแดงปาฏิหาริย์ลอยวนทวนน้ำไปมาว่า “สามพระทวน”เรียกกันเรื่อยไปนานเข้าก็เพี้ยนกลายเป็น “สัมปทวน” กันไปในที่สุด

ตามตำนานเล่าว่าพระพุทธรูปทั้ง3องค์ที่ลอยมาในแม่น้ำบางปะกงนั้น องค์หนึ่งลอยไปทางบางพลี ไปผุดขึ้นที่คลองวัดบางพลี ชาวบ้านอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานเอาไว้ที่วัดบางพลีได้โดยง่าย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะพระพุทธรูปองค์นี้ ท่านต้องการจะประดิษฐานอยู่ ณ ที่ตรงนั้นก็เป็นได้ ปัจจุบันคือ หลวงพ่อโต วัดบางพลี สมุทรปราการ

อีกองค์หนึ่งลอยไปที่บริเวณบ้านแหลมสมุทรสงคราม ชาวบ้านตีอวนได้องค์พระขึ้นมา แล้วอัญเชิญไปประดิษฐาน ที่วัดบ้านแหลม หรือในปัจจุบันคือวัดเพชรสมุทรวรวิหาร หรือที่รู้จักกันดีคือ หลวงพ่อวัดบ้านแหลม สมุทรสงคราม
และอีกองค์หนึ่งผุดขึ้นมาที่แม่น้ำบางปะกง ที่หน้าวัดเสาธงทอนหรือ “วัดโสธรในปัจจุบัน” Read more »

ประวัติและความเป็นมาของ วัดโสธร จ.ฉะเชิงเทรา–ตอนประวัติพระอุโบสถหลวงพ่อโสธร หลังใหม่

เนื่องจากพระอุโบสถหลังเก่าของวัดมีสภาพทรุดโทรมและคับแคบ ซึ่งหลวงพ่อพุทธโสธรประทับอยู่ในโบสถ์หลังเก่าที่มีขนาดเล็ก รวมกับพระพุทธรูปอื่นๆ 18 องค์ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) เสด็จพระราชดำเนินมาที่วัดแห่งนี้ ทรงมีพระราชปรารภเรื่องความคับแคบของพระอุโบสถเดิม ซึ่งพระจริปุณโญ ด. เจียม กุลละวณิชย์ (หลวงพ่อเจียม) อดีตเจ้าอาวาสจึงได้รวบรวมเงินบริจาค เพื่อจัดซื้อที่ดินสำหรับสร้างพระอุโบสถหลังใหม่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานการสร้าง และทรงเป็นผู้กำกับดูแลงานสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ลักษณะพระอุโบสถหลังใหม่เป็นแบบรัตนโกสินทร์ประยุกต์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้เสด็จพระราชดำเนิน ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อ พ.ศ. 2531 และทรงประกอบพิธียกยอดฉัตรทองคำ น้ำหนัก 77 กิโลกรัม ประดิษฐานเหนือยอดมณฑป เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2539 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จมาทรงตัดหวายลูกนิมิต เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2549 นับเป็นที่ปลื้มปิติของชาวฉะเชิงเทรา อย่างหาที่เปรียบมิได้ ทั้งนี้ทุนทรัพย์ที่ใช้ในการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่นี้ เป็นเงินบริจาคจากประชาชนทั้งหมด ไม่ได้ใช้งบประมาณแผ่นดินแต่ประการใด Read more »

ประวัติและความเป็นมาของ วัดโสธร จ.ฉะเชิงเทรา-ตอนจากอดีตวัดหงส์ สู่วัดโสธรฯ ในปัจจุบัน

วัดโสธรวรารามวรวิหาร เดิมมีชื่อว่า “วัดหงส์” มีหลักฐาน สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยมีประวัติที่เล่าสืบทอดกันมายาวนาน และเมื่อเวลาผ่านไป แม่น้ำบางปะกงไหลกัดเซาะตลิ่งพังลงมา วัดหงส์จึงหมดไป จึงมีการสร้างวัดขึ้นใหม่

วัดโสธรวรารามวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองฉะเชิงเทรา เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพุทธโสธร พระพุทธรูปอันเป็นที่เคารพสักการะของชาวแปดริ้ว และคนต่างบ้านต่างเมืองมาแต่อดีตกาล ตั้งอยู่บนถนนสายมรุพงษ์ ห่างจากตลาดกลางเมืองประมาณ 2 กิโลเมตร

วัดนี้แต่เดิมเป็นวัดราษฎร์ สร้างขึ้นตอนปลายของกรุงศรีอยุธยา ตามประวัตินั้นแต่แรกมีชื่อว่า “วัดหงส์” เพราะมี “เสาหงส์” อยู่ในวัด เป็นเสาสูงมียอดเป็นตัวหงส์อยู่บนปลายเสา ต่อมาหงส์บนยอดเสาหักตกลงมาเหลือแต่เสา และมีผู้เอาธงขึ้นไปแขวนแทน จึงได้ชื่อว่า “วัดเสาธง” ครั้นเมื่อเสาธงหักเป็นสองท่อน จึงเรียกชื่อใหม่ว่า “วัดเสาธงทอน” ส่วนชื่อ “วัดโสธร” อันมีความหมายว่า “บริสุทธิ์” และ “ศักดิ์สิทธิ์” นั้น เรียกตามพระนามของพระพุทธโสธร หรือหลวงพ่อโสธรซึ่งได้มาประดิษฐานในวัดนี้

ในภายหลังวัดโสธรได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร มีนามว่า “วัดโสธรวรารามวรวิหาร” เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2501

ความจริงวัดโสธรแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปีใดก็ไม่มีหลักฐานที่แน่นอน เพียงแต่ทราบว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เท่านั้นเอง แล้วก็สร้างในสมัยเดียวกับหลวงพ่อบ้านแหลม ที่แม่กลองหรือสมุทรสงคราม ที่มีผู้คนบูชากราบไหว้ เพราะความศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกัน

ขอขอบคุณ  http://www.sawasdee-padriew.com/

วัดโสธรวราราม วรวิหาร –พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร

watsothon2

วัดโสธรวรารามวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง ริมแม่น้ำบางปะกง เดิมชื่อว่า “วัดหงษ์” สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อพุทธโสธร” พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของฉะเชิงเทรา เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๑.๖๕ เมตร สูง ๑.๔๘ เมตร ฝีมือช่างล้านช้าง

ตามประวัติเล่าว่าได้ปาฏิหาริย์ลอยน้ำมาและมีผู้อัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้ แต่เดิมเป็นพระพุทธรูปหล่อสำริดปางสมาธิหน้าตักกว้างศอกเศษ รูปทรงสวยงามมาก แต่พระสงฆ์ในวัดเกรงจะมีผู้มาลักพาไปจึงได้เอาปูนพอกเสริมหุ้มองค์เดิมไว้จนมีลักษณะที่เห็นในปัจจุบัน ทุกวันจะมีผู้คนมานมัสการปิดทองหลวงพ่อพุทธโสธรจำนวนมาก

เนื่องจากอุโบสถหลังเก่ามีสภาพทรุดโทรมและคับแคบ ทางคณะกรรมการวัดจึงได้มีมติให้รื้อพระอุโบสถหลังเก่าและสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ โดยมีสำนักงานโยธาจังหวัดเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างเป็นอาคารทรงไทย ที่ออกแบบพิเศษเฉพาะรัชกาล ลักษณะแบบพระอุโบสถเป็นหลังคาประกอบเครื่องยอดชนิดยอดทรงมณฑปแบบไทย ต่อเชื่อมด้วยวิหารทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านข้างต่อเชื่อมด้วยอาคารรูปทรงเดียวกับพระวิหารเป็นอาคารมุขเด็จ จึงมีลักษณะเป็นอาคารมีหลังคาแบบจตุรมุขอย่างปราสาทไทย กว้าง ๔๔.๕ เมตร ยาว ๑๒๓.๕๐ เมตร ส่วนกลางพระอุโบสถมียอดมณฑปสูง ๘๕ เมตร ยอดมณฑปมีลักษณะเป็นฉัตร ๕ ชั้น มีความสูง ๔.๙๐ เมตร ยอดฉัตรเป็นทองคำน้ำหนัก ๗๗ กิโลกรัม มูลค่า ๔๔ ล้านบาท ผนังด้านนอกพระอุโบสถปูด้วยหินอ่อนจากเมืองคาร์ราร่า ประเทศอิตาลี ผนังด้านในเป็นงานจิตรกรรมฝาผนัง โดยศิลปินแห่งชาติซึ่งเป็นผู้เขียนภาพประกอบพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก Read more »

วัดหลวงพ่อโสธร

อยู่ในเขตเทศบาลเมือง ริมแม่น้ำบางปะกง เดิมชื่อว่า “วัดหงส์” สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อโสธร” พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 1.65 เมตร สูง 1.48 เมตร ฝีมือช่างล้านช้าง ตามประวัติเล่าว่าได้ปาฏิหาริย์ลอยน้ำมา และมีผู้อัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้ แต่เดิมเป็นพระพุทธรูปหล่อทองสัมฤทธิ์ปางสมาธิหน้าตักกว้างศอกเศษ รูปทรงสวยงามมาก แต่พระสงฆ์ในวัดเกรงว่าจะมีผู้มาลักพาไปจึงได้เอาปูนพอกเสริมหุ้มองค์เดิมไว้จนมีลักษณะดังที่เห็นในปัจจุบัน ทุกวันนี้จะมีผู้คนมานมัสการปิดทองหลวงพ่อโสธรกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากพระอุโบสถหลังเก่าของวัดมีสภาพทรุดโทรม และคับแคบ ทางคณะกรรมการวัดจึงมีมติให้รื้อพระอุโบสถหลังเก่าและสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ โดยอัญเชิญพระพุทธโสธรองค์จำลองไปประดิษฐานไว้ ณ อาคารชั่วคราว เพื่อเปิดให้ประชาชนได้มานมัสการตามปกติ ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ และเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2530 โดยมีสำนักงานโยธาจังหวัดเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง ลักษณะพระอุโบสถหลังใหม่เป็นแบบรัตนโกสินทร์ประยุกต์ ขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ เวลาเปิดให้เข้านมัสการ วันธรรมดา 07.00 น.-16.15 น วันหยุด 07.00 น.-17.00 น.
บริเวณวัดโสธรฯ มีบริการร้านค้าจำหน่ายอาหารและสินค้าของที่ระลึกจากจังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดใกล้เคียง นอกจากนั้นบริเวณท่าน้ำของวัด มีบริการเรือหางยาวรับส่งผู้โดยสารระหว่างตลาดในตัวเมือง และวัดโสธรฯ และเรือบริการท่องเที่ยวลำน้ำบางปะกง

ขอขอบคุณ http://www.thai-tour.com/

ประัวัิติพระพุทธโสธร

watsothon6

พระพุทธโสธรหรือเรียกกันสามัญทั่วไปว่า”หลวงพ่อโสธร”เป็นพระทรงอานุภาพศักดิ์สิทธิ์เป็นมิ่งขวัญของ ชาวแปดริ้วและเป็นที่รู้จักเคารพบชูาของ ประชาชนทั่วประเทศ หลวงพ่อโสธร เป็นพระรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 3 ศอก5 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปพอกปูนลง รักปิดทองพระเนตรเนื้อแบบสมัยลานช้าง หรือเรียกกันสามัญว่า พระลาว พระพุทธรูปแบบนนิยมสร้างกันมากที่เมือง หลวงพระบางอินโดจีนและภาคอิสาน ของประเทศไทย ประดิษฐาน อยู่ใน พระอุโบสถ วัดโสธร อำเภอเมืองจังหวัดฉะเชิงเทราตำนาน หรือประวัติของหลวงพ่อโสธรนี้หาหลักฐาน ยืนยันแน่นอนไม่ได้เป็นเพียงคำบอกเล่าสืบๆกันมา ประวัติที่เกี่ยวกับวัดโสธรเท่านั้น หลวงพ่อโสธรมาประดิษฐาน อยู่ที่วัดโสธร นานเท่าใด พอจะมีีคำบอกเล่าอันเกี่ยวโยง ถึงหลวงพ่อวัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม ตามประวัติหลวงพ่อพ่อวัดบ้านแหลมกับหลวงพ่อวัดโสธรลอยน้ำมาด้วยกัน และเป็นพี่น้องกันและชาวบ้านแหลม ได้อัญเชิญหลวงพ่อวัดบ้านแหลมขึ้นจากน้ำ เมื่อ พ.ศ. 2313 จึงคาดคะเนว่าหลวงพ่อ ก็มาประดิษฐานอยู่ที่ วัดโสธร ราว พ.ศ.2313 หรือก่อนนั้นก็ไม่นานนัก

ประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อโสธรนี้มีผู้เล่าสืบๆ กันมาหลายกระแสว่า หลวงพ่อโสธรลอยน้ำมามีคำปรารถว่า ล่วงกาลนานมาแล้วยังมีพระพี่น้องชายสามองค์อยู่ทางเมืองเหนือ มีอิทธิปาฏิหาริย์แสดงฤทธิ์ได้ ได้อภินิหารล่อง ลอยตามแม่น้ำมาจากทิศเหนือเพื่อให้คนทางทิศใต้ได้เห็น ในที่สุดมาผุดขึ้นที่แม่น้ำบางปะกงที่ ตำบลสัมปทวน และแสดง ปาฏิหารย์ลอยน้ำและ ทวนน้ำได้ทั้งสามองค์ ประชาชนชาวสัมปทวนได้พบเห็นจึงช่วยกันเอาเชือกรวน มนิลาลงไปผูกมัดที่องค์พระพุทธรูปทั้งสามองค์นั้น แล้วช่วยกันฉุดลากขึ้นฝั่งด้วยจำนวนผู้คนประมาณ 500 คน ก็ฉุดขึ้นไม่ได้เชือกขาด ไม่สำเร็จตามความประสงค์ พากันเลิกไป ครั้นแล้วพระพุทธรูปหล่อทั้ง สามองค์ก็จมน้ำ หายไป สถานที่พระสามองค์ลอยน้ำและทวนน้ำได้นี้เลยให้ชื่อว่า”สามพระทวน” ต่อมา เรียกว่า “สัมปทวน” ได้แก่ แม่น้ำหน้าวัดสัมปทวน อ.เมืองแปดริ้ว ทุกวันนี้ ต่อจากนั้นพระทั้งสามองค์ก็ลอยตามแม่น้ำบางปะกง เลยผ่านหน้า
วัดโสธรไปถึงคุ้งน้ำใต้วัดโสธรแสดงฤทธิ์ผุดขึ้นให้ชาวบ้านบางนั้นเห็น ชาวบ้านได้ช่วยกันฉุดขึ้นฝั่งทำนองเดียวกับ ชาวสัมปทวนแต่ก็ไม่สำเร็จ จึงเรียกหมู่บ้านและคลองนั้นว่า ” บางพระ ” มาจนทุกวันนี้ Read more »

วัดโสธรวรารามวรวิหาร

watsothon1

วัดโสธรวรารามวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง ริมแม่น้ำบางปะกง เดิมชื่อว่า “วัดหงษ์” สร้างในสมัยกรุงศรี อยุธยาตอนปลายเป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อพุทธโสธร” พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของฉะเชิงเทราเป็นพระพุทธรูป ปูนปั้นปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 1.65 เมตร สูง 1.48เมตร ฝีมือช่างล้านช้างตามประวัติเล่าว่าได้ปาฏิหาริย์ลอยน้ำมา และมีผู้อัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้ แต่เดิมเป็นพระพุทธรูปหล่อสำริดปางสมาธิหน้าตักกว้างศอกเศษ รูปทรง วยงามมาก แต่พระสงฆ์ในวัดเกรงจะมีผู้มาลักพาไปจึงได้เอาปูนพอกเสริมหุ้มองค์เดิมไว้จนมีลักษณะที่เห็น ในปัจจุบัน ทุกวันจะมีผู้คนมานมัสการปิดทองหลวงพ่อพุทธโสธรจำนวนมากเนื่องจากอุโบสถหลังเก่ามีสภาพ ทรุดโทรมและคับแคบ ทางคณะกรรมการวัดจึงได้มีมติให้รื้อพระอุโบสถหลังเก่าและสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ โดยมีสำนักงานโยธาจังหวัดเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างเป็นอาคารทรงไทยที่ออกแบบพิเศษ เฉพาะรัชกาลลักษณะ แบบพระอุโบสถเป็นหลังคาประกอบเครื่องยอดชนิดยอดทรงมณฑปแบบไทย ต่อเชื่อมด้วยวิหารทั้งด้านหน้าและ ด้านหลังด้านข้างต่อเชื่อมด้วยอาคารรูปทรงเดียวกับพระวิหารเป็นอาคารมุขเด็จ จึงมีลักษณะเป็นอาคารมีหลังคา แบบจตุรมุขอย่างปราสาทไทย กว้าง 44.5 เมตร ยาว 123.50 เมตร ส่วนกลางพระอุโบสถมียอดมณฑปสูง 85 เมตร ยอดมณฑปมีลักษณะเป็นฉัตร 5 ชั้น มีความสูง 4.90 เมตร ยอดฉัตรเป็นทองคำน้ำหนัก 77กิโลกรัม มูลค่า 44 ล้านบาท ผนังด้านนอกพระอุโบสถปูด้วยหินอ่อนจากเมืองคาร์ราร่า ประเทศอิตาลี ผนังด้านในเป็นงาน จิตรกรรมฝาผนัง โดยศิลปินแห่งชาติซึ่งเป็นผู้เขียนภาพประกอบพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .