Posts Tagged ‘วัดป่าแสงอรุณ’

วัดป่าแสงอรุณ

watpasangarun-konkaen17

ตั้งอยู่ตำบลพระลับ อำเภอเมือง ห่างจากศาลากลางจังหวัดขอนแก่นประมาณ 3 กิโลเมตร ตามเส้นทางขอนแก่น-กาฬสินธุ์ สิมอีสาน(อุโบสถ) ได้เน้นถึงรูปแบบ ทรวดทรง ความมั่นคงสามารถคุ้มแดดคุ้มฝน ตลอดจนความวิจิตรงดงามของภาพเขียนฝาผนังลายผ้าไหมมัดหมี่ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดขอนแก่น เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้และอนุรักษ์สถาปัตยกรรมท้องถิ่น อันเป็นการปลูกฝังแนวความคิดสร้างสรรค์ที่ดีต่อไป อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดขอนแก่นตลอดไป

โบสถ์วัดป่าแสงอรุณ มีลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบอีสานตอนบน ผสมกับสถาปัตยกรรมภาคกลาง ด้านหน้าสู่ทิศตะวันออก มีความกว้าง ๑๕ เมตร ความยาว ๓๔ เมตร ปลียอดบนทำด้วยโลหะทองคำบริสุทธิ์สูงจากพื้น 60 เมตร จำนวนเสา 52 ต้น หน้าต่าง 14 ช่อง ประตู 3 ช่อง หลังคามุงด้วยกระเบื้องเกล็ดปลาสีแดงส้มแบบโบราณ มีหอระฆัง 4 หอที่มุมกำแพงแก้วทั้งสี่มุม ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 9 ปี ใช้งบประมาณ 49 ล้านบาทถ้วน

Read more »

ประวัติวัดป่าแสงอรุณ ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

๑. สภาพฐานะและที่ตั้งวัด
วัดป่าแสงอรุณ เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่เลขที่ ๔๔๙ บ้านเลิงเปือย (แอวมอง) หมู่ ๙ ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต อยู่ด้านทิศตะวันออกและห่างจากตัวเมืองขอนแก่น ระยะทางประมาณ ๑ กิโลเมตร สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๒๘
๒. อาณาเขตของวัด
ทิศเหนือ กว้าง ๔๔๓ เมตร ติดถนนพระคือ-หนองโพธิ์
ทิศใต้ กว้าง ๒๐๔ เมตร ติดถนนสาธารณประโยชน์
ทิศตะวันออก กว้าง ๒๔๓ เมตร ติดถนนสาธารณประโยชน์
ทิศตะวันตก กว้าง ๒๖๑ เมตร ติดถนนสาธารณประโยชน์
๓. ลักษณะพื้นที่ตั้งวัด
เดิมพื้นที่ตั้งวัดไม่ราบเรียบ มีลักษณะเป็นเนินสูง จากด้านทิศเหนือราบลุ่มลงไปทางด้านทิศใต้ และพื้นที่บางส่วนก็เป็นหลุม เป็นบ่อ มีไผ่ป่าและหญ้าคาขึ้นหนาแน่น ส่วนบริเวณที่พระสงฆ์อยู่อาศัย มีไม้ยืนต้นที่สำคัญ เช่น มะค่าแต้ ตะโก ตะแบก ประดู่ สะเดา ไม้จิก ไม้แดง ต้นปีบ เป็นต้น ปัจจุบัน ได้ปรับพื้นที่ให้อยู่ในสภาพที่ราบเรียบเป็นส่วนมากแล้ว ภายในวัดได้แบ่งเขตใหญ่ ๆ ไว้ ดังนี้
Read more »

สิมอีสาน (วัดป่าแสงอรุณ)

สิมอีสาน หรือ โบสถ์อีสาน มาจากการที่ทางอีสานเรียกโบสถ์ว่า “สิม” ลักษณะโดยทั่วไปของสิม แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักตามสภาพของแหล่งที่ตั้ง คือ สิมน้ำและสิมบก สิมน้ำ เป็นสิมที่ตั้งอยู่กลางน้ำ เช่น สระ หนอง บึง ส่วนใหญ่เป็นอาคารที่สร้างอย่างชั่วคราวสำหรับวัดที่ยังไม่มีวิสุงคามสีมา ส่วนใหญ่สิมบกเป็นสิมที่ตั้งอยู่บนแผ่นดิน มีลักษณะเป็นอาคารถาวร นอกจากนี้ สิมยังแบ่งตามลำดับอายุก่อนหลังและลักษณะร่วมในรูปแบบได้เป็น 4 ประเภท คือ สิมก่อผนังแบบดั้งเดิม สิมโถง สิมก่อผนังรุ่นหลัง และสิมแบบผสม

สิม มาจากคำว่า สีมา สิมมา หรือพัทธสีมา ที่ปรากฏในคำจารึกบนแผ่นหินที่ประกาศเจตนาอุทิศของผู้สร้างปักไว้ด้านหลังสิมมีปรากฏอยู่ทั่วไป ความหมายของคำเหล่านี้ หมายถึง เขตแดนที่กำหนดในการประชุมทำสังฆกรรมอันเป็นกิจของสงฆ์โดยมีแผ่นสีมาหินเป็นเครื่องหมายแสดงขอบเขตรอบบริเวณตัวสิม*

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .