พอดีวันนี้ไปวัดสวนดอกมา เลยไปเก็บภาพกู่ ที่วัดมาพร้อมประวัติ ซึ่งปีนี้กู่วัดสวนดอกจะมีอายุครบ 100 ปีพอดี คำว่ากู่ ตามสารานุกรมวัฒนธรมไทยภาคเหนือ ฉบับปี พ.ศ.2530 ไดให้ความหายไว้ว่า กู่ คือ ที่บรรจุอัฐิของบุคคลล่วงลับไปแล้ว และ พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ์พ.ศ.2530 ได้ให้ความหมายของกู่ไว้ 3 อย่างครับคือ
1.หมายถึงวัด
2.หมายถึง เจดีย์ อันเป็นสิ่งซึ่งก่อเป็นรูปลอมฟาง มียอดแหลม บรรจุสิ่งที่นับถือ หรือ บุคคลที่เคารพยับถือ
3.หมายถึง สิ่งก่อสร้างที่คล้ายเจดีย์บรจุอัฐิธาตุของบุคคลผู้ล่วงลับ โดยมีขนาดและศิลปกรรม หลากหลายแตกต่างกันไปตามสมัยนิยม
สำหรับ กู่ วัดสวนดอก นี้เป็นที่บรรจุอัฐิ พระ อัฐิของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และ เชื้อสาย เดิมเคยตั้งอยุ่บริเวณ ข่วงเมรุ ซึ่งเป็นสนามโล่ง ไว้ใช้เผาศพ ของเจ้าผู้คตรองนครเชียงหใ ถ้าเทียบกับ รกุงเทพ ก็คือ ทุ่งพระเมรุ หรือ สนามหลวงในปัจจุบัน และ เมื่อเผาแล้ว ก็จะสร้างกู่ หรือ ที่เก็บกระดูกขึ้นในบริเวณนั้น ซึ่งเจ้าองค์สุดท้ายที่มีการสร้างเมรขึ้น คือ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7 และเป็นบิดา ของ พระราชายาเจ้าดารารัศมี หลังจากงานของพระเจ้าอินทวิชยานนท์แล้ว บริเวณนั้นไดเริ่มมีการสร้างบย้านเรือนขึ้น โดยบางส่วนนั้นไดมีการบุกรุกเข้าไปในบริเวณข่วงเมรุ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 9 ต้องจ่ายเงินถึง ๑๓,๐๐๐ รูเปียเป็นค่ารื้อย้ายบ้านเรือนที่บุกรุกเข้าไปข่วงเมรุ และ จัดสรรพื้นที่นี้เป็นกาด หรือ ตลาด ( บริเวณตลาดวโรรส ในปัจจุบัน) ต่อมา พระราชายาเจ้าดารารัศมี ไดเสด็จกลับ เชียงใหม่ ทรงเห็นว่า กู่ ต่างๆนั้นกระจัดกระจายอยู่บริเวณกาด ดูไม่เป็นระเบียบ ไม่เหมาะสม จึงพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระอวงค์ ในการรื้อย้าย กุ่บริเวณนั้นทั้งหมด และ โปรดให้สร้างกู่ใหม่ขึ้น ในบริเวณวัดสวนดอก โดยมีแนวคิดมาจาก สุสานหลวง วัดราชบพิธ ที่กรุงเทพ และ ให้ช่างจากกรุเทพเป็นคนออกแบบและสร้างกู่ โดยกู่ในยุคแรกนั้นเป็นศิลป สถาปัตยกรรมระหว่างไทย ล้านนา และ ยุโรป ผสมกันหลากหลาย เป็มาตรฐานเดียวกันทั้งหมด โดยในก่อนที่ ที่พระราชายาเจ้าดารารัศมีได้เสด็จเชียงใหม่ครั้งหลังสุดนั้น ยังโปรดให้ช่างของกรมศิลปากรออกแบบกู่ของพระองค์และถวายให้กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงตรวจแก้ด้วย กุ๋ที่สร้างในยุคต่อๆมา จึงต้องอ้างอิงจากศิลปกรรมของกู่เดิม ที่มีเมื่อแรกสร้าง โดยเมื่อสร้างกุ่ และ รื้อย้ายอัฐิมาไว้ ณ วัดสวนดอกแล้ว โปรดหใมการจัดงานเฉลิงฉลอง 5 วัน 5 คืน และ เป็นครั้งแรกที่มีการนำศิลปการแสดง จากเมืองหลวง มาเผยแพร่ ยังเชียงใหม่ด้วย คือ การแสดงเรื่องสาวเครือฟ้า ซึ่งเป็นพระนิพนธํของกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
ขอขอบคุณ http://www.clipmass.com/