พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก วัดใหญ่พิษณุโลก สักการะพระพุทธชินราช

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
วัดใหญ่พิษณุโลก สักการะพระพุทธชินราช

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก เรียกกันทั่วไปว่าวัดใหญ่หรือวัดหลวงพ่อพระพุทธชินราช เป็นพระอารามหลวงมาแต่เดิมสร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย ต่อมาเมื่อ ปีพุทธศักราช ๒๔๕๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯให้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิด วรมหาวิหาร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ ปัจจุบันจึงมีชื่อเต็มว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญยิ่งทั้งทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านทางทิศตะวันออกตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงกล่าวถึงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารไว้ว่า ” เป็นวัดใหญ่และเป็นวัดที่สำคัญกว่าวัดอื่นในเมืองพิษณุโลก มีพระมหาธาตุอยู่กลางเห็นจะสร้างตั้งแต่สุโขทัยเป็นราชธานี หากแต่ซ่อมแซมมาหลายครั้งหลายสมัย” Read more »

วัดร่องขุ่น แผนที่วัดร่องขุ่น จ.เชียงราย

วัดร่องขุ่น จ.เชียงราย
การเดินทางไปวัดร่องขุ่น ข้อมูลวัดร่องขุ่น

วัดร่องขุ่น เป็นวัดพุทธและวัดฮินดู ที่จังหวัดเชียงราย ออกแบบและก่อสร้างโดย เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน โดยเฉลิมชัยคาดว่างานก่อสร้างวัดร่องขุ่นจะไม่เสร็จลงภายในช่วงชีวิตของเขา วัดร่องขุ่นได้ต้นแบบการสร้างมาจาก วัดมิ่งเมือง ใน จังหวัดน่าน

เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างวัดมาจาก 3 สิ่งต่อไปนี้คือ

ชาติ : ด้วยความรักบ้านเมือง รักงานศิลป์ จึงหวังสร้างงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ไว้เป็นสมบัติของแผ่นดิน
ศาสนา : ธรรมะได้เปลี่ยนชีวิตของอาจารย์เฉลิมชัยจากจิตที่ร้อนกลายเป็นเย็น จึงขออุทิศตนให้แก่พระพุทธศาสนา
พระมหากษัตริย์ : จากการเข้าเฝ้าฯ ถวายงานพระองค์ท่านหลายครั้ง ทำให้อาจารย์เฉลิมชัยรักพระองค์ท่านมาก จากการพบเห็นพระอัจฉริยะภาพทางศิลปะและพระเมตตาของพระองค์ท่าน จนบังเกิดความตื้นตันและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงปรารถนาที่จะสร้างงานพุทธศิลป์ถวายเป็นงานศิลปะประจำรัชกาลพระองค์ท่าน

วัดร่องขุ่นแห่งนี้เป็นวัดพุทธ ซึ่งสังกัดอยู่ในฝ่ายมหานิกาย ไม่ใช่วัดฮินดูเหมือนดังที่จั่วหัวไว้ในวรรคแรก ซึ่งนั่นการนำเอาวัฒนธรรมแวดล้อมของตัวเองเข้ามาผสมผสานหรือถูกอิทธิของศาสนาอื่นเข้ามาแทรกแซงบ้าง ก็เป็นเรื่องของธรรมชาติ Read more »

วัดพระธาตุดอยตุง (วัดพระมหาชินธาตุเจ้า) อ.แม่สาย จ.เชียงราย ไหว้พระธาตุประจำปีเกิด

วัดพระธาตุดอยตุง พระเจดีย์ประจำคนเกิดปีกุน (คนเกิดปีหมู)

วัดพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บริเวณส่วนที่เรียกว่าหน้าอกของดอยนางนอน ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขา ซึ่งดอยตุงมีระยะทางห่างจากอำเภอเมืองเชียงรายประมาณ 46 กม. และมีพระธาตุดอยตุงประดิษฐานอยู่บนยอดดอย สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลเนื่องจากพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณสองพันเมตร

ตามตำนานเล่าว่า พระธาตุดอยตุงสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนาคพันธุ์(ปัจจุบันคืออำเภอแม่จัน) พระมหากัสสปะได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย(กระดูกไหปลาร้า) แล้วมอบให้แก่ พระเจ้าอชุตราช ได้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้นไว้บนดอยแห่งนี้ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ แล้วจึงได้ให้ทำตุง (ธง) มีความยาว 1,000 วาปักบนยอดเขาหากตุงปลิวไปถึงที่ใดก็กำหนดให้เป็นฐานของพระเจดีย์ ทั้งนี้พระองค์ได้พระราชทานทองคำให้พวกลาวจกเป็นค่าที่ดิน และให้พวกมิลักขุ 500 ครอบครัวดูแลรักษาพระธาตุ ต่อมาในสมัยพญามังรายแห่งราชวงค์มังราย พระมหาวชิรโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย 50 องค์ พญามังรายจึงให้สร้างพระเจดีย์อีกองค์ใกล้กับเจดีย์องค์เดิม นับจากนั้นเป็นต้นมาพระธาตุดอยตุงจึงได้มีเจดีย์สององค์มาจนถึงทุกวันนี้ Read more »

วัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ สักการะพระธาตุดอยสุเทพ แผนที่ การเดินทาง แหล่งท่องเที่ยวในเชียงใหม่

วัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ การเดินทางไปวัดพระธาตุดอยสุเทพ วัดพระธาตุประจำคนเกิดปีมะแม
สักการะพระธาตุดอยสุเทพ แหล่งท่องเที่ยวในเชียงใหม่ ขอพรพระธาตุพระเจดีย์ประจำปีมะแม

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์เม็งราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการะบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำทักษิณาวัตรสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้ทรงโปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ Read more »

ชาวพุทธกำแพงเพชรร่วมปิดทองไหว้พระธาตุ 700 ปีแน่นลานวัด

557000001836501

นายสุรพล วาณิชเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ได้เดินทางไปเป็นประธานในพิธีเปิดงานประจำปีไหว้พระบรมธาตุ เพ็ญเดือน 3 ที่วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง ต.นครชุม อ.เมืองกำแพงเพชร เมื่อค่ำวานนี้ (13 ก.พ.) ที่วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง ต.นครชุม อ.เมืองกำแพงเพชร มีหัวหน้าส่วนราชการพร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนไปร่วมงานที่บริเวณลานพระบรมธาตุเจดีย์จำนวนมาก

โดยก่อนที่จะเปิดงานทางวัดได้นิมนต์พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์จำนวน 10 รูป และเจ้าคุณพระราชวชิรเมธี เจ้าอาวาสวัดบรมธาตุ รองเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร ร่วมประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์

นายเรืองศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ นายกเทศมนตรีเทศบาล ต.นครชุม กล่าวรายงานว่า ประเพณีไหว้พระบรมธาตุเพ็ญเดือน 3 ชาวตำบลนครชุมได้จัดกันมาเป็นประจำทุกปีตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปและพุทธศาสนิกชนได้มานมัสการองค์พระบรมธาตุและร่วมทำบุญกัน เป็นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดี รวมทั้งอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้สืบต่อไปอย่างยั่งยืน

จากนั้นนายสุรพลได้กล่าวเปิดงานว่า จังหวัดกำแพงเพชรมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากว่า 700 ปี มีโบราณสถานที่เก่าแก่และยิ่งใหญ่เป็นหลักฐานยืนยัน โดยเฉพาะพระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งเป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวกำแพงเพชรจนถึงปัจจุบัน การจัดงานไหว้พระบรมธาตุประจำปีเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน มีตำนานเป็นประวัติศาสตร์ที่น่าชื่นชม พร้อมลั่นฆ้องชัย-ปิดทองไหว้พระบรมธาตุเจดีย์จำลอง

Read more »

พระบรมธาตุ จุดเริ่มต้นของเมืองกำแพงเพชร

prabarom

วัดบรมธาตุ สร้างขึ้นมาพร้อมกับเมืองนครชุม เป็นพระอารามหลวงประจำเมืองกำแพงเพชร เมื่อตีความจากจารึกนครชุมวัดพระบรมธาตุน่าจะสร้างเมื่อ ปี พ.ศ. 1762 ในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีความเจริญรุ่งเรืองมากกว่า 200 ปี จนกระทั่งเมืองนครชุมถึงกาลล่มสลายเพราะภัยทางธรรมชาติ แม่น้ำปิงกัดเซาะกำแพงเมืองพังพินาศความเจริญทางพุทธจักรและอาณาจักรจึงสูญสิ้นไปจากเมืองนครชุม ทำให้เมืองฝั่งตรงข้ามทางทิศตะวันออก คือเมืองกำแพงเพขรเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่

วัดพระบรมธาตุร้างมานานกว่า 300 ปี กระทั่งสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ วัดพระบรมธาตุจึงมีหลักฐานชัดเจรขึ้นอีกครั้ง ในพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2 เมื่อเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2449 ณ เมืองกำแพงเพชร ความว่า “แล้วลงมาขึ้นที่วัดพระบรมธาตุ องค์ใหญ่หนึ่งย่อมสององค์ พญาตะก่าสร้างรวามสามองค์ให้เป็นองค์เดียวกัน แปลงรูปเป็นเจดีย์มอญ แต่ยังไม่แล้วเสร็จพญาตะก่าตาย พะโป้ จึงได้มากฏิสังขรณ์ต่อ ได้ยกยอดฉัตรซึ่งมาจากเมืองมะมะแม่งขึ้นแล้วแต่ฐานชุกชี ยังถือปูนไม่รอบพระเจดีย์นี้ทาสีเหลืองมีลายปูนขาวและดูในแม่น้ำงามดี”

Read more »

วัดพระบรมธาตุเจดียาราม กำแพงเพชร

k_watpraboromathat1

วัดพระบรมธาตุเจดียาราม มีเจดีย์แบบพม่า 1 องค์ สันนิษฐานว่าเดิมคงเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ อย่างศิลปะสุโขทัย แต่ปัจจุบันเป็นเจดีย์แบบพม่าเนื่องจากเศรษฐีพม่าผู้หนึ่งได้มาบูรณะเมื่อประมาณ 100 ปี มาแล้ว ในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัยและอยุธยามากมาย

ที่จริงวัดนี้ก็รวมอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร แต่ทั้งนี้เราขอนำมารวมกับศาลหลักเมืองแทนเนื่องจากสภาพของวัดไม่ได้เป็นหินศิลาแลง ดูโบราณแต่อย่างใด

ขอขอบคุณ http://www.touronthai.com/

วัดพระบรมธาตุนครชุม กำแพงเพชร

วัดพระบรมธาตุนครชุม ตั้งอยู่เลขที่ 15 หมู่ที่ 3 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร เป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองกำแพงเพชร สร้างขึ้นมาพร้อมกับเมืองนครชุมเป็นวัดประจำจังหวัด

เป็นต้นกำเนิดของ “พระซุ้มกอ” 1 ในพระเครื่องชุดเบญจภาคีอันขึ้นชื่อลือลั่น

ตามตำนานเล่าขานกันว่า เดิมทีเป็นพระธาตุเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ 3 องค์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท ราวปีพ.ศ.1900 หรือประมาณ 600 ปีก่อน

วัดพระบรมธาตุนครชุมเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ภายในมีศาสนสถานที่สำคัญหลายอย่าง เช่น พระบรมธาตุเจดีย์ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์ พระอุโบสถหลังเก่า พระวิหารโบราณ วิหารพระนอน ศาลาเรือนไทย และศาลาการเปรียญที่ใช้เป็นศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน เพื่อให้เป็นแหล่งความรู้แก่ชุมชน

ที่สำคัญคือ ต้นศรีมหาโพธิ เป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ ซึ่งเชื่อกันว่าพระยาลิไททรงปลูก

วัดพระบรมธาตุนครชุมเป็น 1 ในโบราณสถานนครชุมที่มีประวัติเก่าแก่ยาวนาน

Read more »

เปิดกรุพระวัดพระบรมธาตุนครชุมเตรียมนำออกให้บูชา

วัดพระบรมธาตุนครชุม ทุบฐานพระในวิหารเปิดกรุพระเครื่องเก่า และพระโบราณหลากหลายชนิด เตรียมนำออกให้ประชาชนบูชาในวันมาฆบูชานี้…

เมื่อวันที่ 4 มี.ค. มีรายงานว่า ที่วัดพระบรมธาตุนครชุม ต.นครชุม อ.เมือง จ.กำแพงเพชร พระราชวชิรเมธี รองเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุนครชุม ได้ปรับปรุงซ่อมแซมใหม่ เพื่อให้เป็นห้องสมุดสำหรับพระเณรใช้เป็นที่ศึกษาค้นคว้าตำราเรียน ดังนั้น จึงได้มีการอัญเชิญพระพุทธรูปออกไปจากวิหาร ซึ่งตาม ประวัติทราบว่า พระสิทธิวชิรโสภณ หรือหลวงพ่อช่วง อดีตเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในยุคนั้น ได้นำพระเครื่องบรรจุไว้ที่หน้าแท่นพระประธาน ตั่งแต่เมื่อปี 2537 โดยในสมัยนั้นมีทั้งพระที่สร้างใหม่ มีทั้งพระเก่าที่หลวงพ่อช่วงเก็บสะสมไว้ และยังมีพระที่ชาวบ้านเก็บไว้นำมาบรรจุไว้ในกรุแห่งนี้ด้วย

สำหรับการทุบฐานพระประธานในวันนี้ มีช่างที่มารับเหมาสร้างศาลาเป็นคนลงมือ โดยใช้เวลาทุบไปไม่นาน ก็พบกรุหน้าแท่นพระประธาน หลังจากที่ทั้งเจาะและทุบจนเปิดกว้างออก ภายในกรุก็พบพระพุทธรูปบูชาปางต่างๆ และยังพบบาตรเก่าวางเรียงรายอยู่หลายใบ พบภาชนะแบบโบราณหลายรูปแบบทั้งเล็กและใหญ่อีกหลายลูก นอกจากนี้ ภายในกรุยังพบจอมปลวกอีกด้วย พระราชวชิรเมธีจึงค่อยๆ ให้ช่าง รื้อสิ่งของภายในกรุขึ้นมาไว้ข้างบน เริ่มจากพระบูชาปางต่างๆ ประมาณ 30 องค์ ตามด้วยบาตรพระเก่า ไหและโถโบราณรวมแล้วกว่า 20 ลูก จากนั้นนำมาที่กุฏิ

Read more »

วัดพระบรมธาตุ/ Wat Phra Borommathat Chediyaram

วัดพระบรมธาตุ (จังหวัดกำแพงเพชร) วัดพระบรมธาตุ เป็นวัดอยู่ริมแม่น้ำปิง ฝั่งตะวันตกกลางเมืองนครชุมมีเจดีย์แบบพม่าอยู่ 1 องค์ ด้านใต้มีพระอุโบสถมีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย และอยุธยาอยู่หลายองค์ วัดนี้สันนิษฐานว่า เดิมคงเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์อย่างศิลปสุโขทัย แต่ปัจจุบันเป็นเจดีย์แบบพม่า เนื่องจากเศรษฐีพม่าผู้หนึ่งได้มาบูรณะไว้เมื่อประมาณ 100 ปี มาแล้ว
วัดพระบรมธาตุ ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชรเป็นพระอารามหลวง

ปีที่สำคัญ

พ.ศ. 1762 สร้างวัดพระบรมธาตุ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี พญาลิไทสร้างเมืองนครชุม ปัจจุบันคือเมืองกำแพงเพชร
เดิมเป็นพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ 3 องค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน
พ.ศ. 2329 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ได้พบว่า วัดพระบรมธาตุมีพระบรมธาตุบรรจุอยู่ในพระเจดีย์ 3 องค์
พ.ศ. 2414 พระยาตะก่า ชาวกะเหรี่ยงมีจิตศรัทธาจะบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ใหม่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงพระราชทานอนุญาตให้ปฏิสังขรณ์เปลี่ยนเป็นพระเจดีย์แบบพม่า พระเจดีย์แบบพม่า มีขนาดความยาวด้านละ 15 วา สูงจากฐานถึงยอดฉัตร 38 วา บูรณะเสร็จเรียบร้อย
รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสต้น นมัสการวัดพระบรมธาตุ เมืองกำแพงเพชร ในวันเพ็ญเดือน 3

Read more »

วัดพระบรมธาตุเจดีย์นครชุม

nakonchom (7)

สิ่งสำคัญที่สุดภายในวัดก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์ เดิมนั้นเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์(ทรงดอกบัว)สามองค์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ในปี พ.ศ 2414 แซพอ(แซภอ หรือพระยาตะก่า) และพ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยงมีใจศรัทธาจะบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์วัดพระบรมธาตุนครชุม โดยสร้างครอบฐานเดิม ภายในวัดก็มีแหล่งความรู้ที่สำคัญคือศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลนครชุม โดยจัดแสดงเป็นอาคารทรงไทยสวยงาม ทำด้วยไม้สักทองทั้งหลัง ภายในจัดแสดงวัตถุโบราณและข้าวของเครื่องใช้ในอดีตมากมาย และแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อีกหลายอย่าง แสดงวิถีชีวิตของชาวเมือง

วัดพระบรมธาตุเจดีย์นครชุมตั้งอยู่ที่ เลขที่ 15 หมู่ที่ 3 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เปิดให้เข้านมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ทุกวันตั้งแต่เช้าจนเย็นและ ศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลนครชุมเปิดให้เข้าชม ตั้งแต่เวลา 8.30-16.30 น. และเพื่อสืบทอดประเพณีบูชาพระบรมธาตุ ทางจังหวัดจะจัดงานประเพณี พบพระเล่นเพลง

Read more »

นมัสการพระบรมธาตุคู่เมืองกำแพงเพชร ที่วัดพระบรมธาตุเจดีย์ นครชุม จังหวัดกำแพงเพชร

พระบรมธาตุนครชุมมหาเจดีย์ทรงสูงใหญ่ สวยงามด้วยสถาปัตยกรรมและสีทองอร่ามทั้งองค์ เป็นพระบรมธาตุเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จำนวน 9 องค์

nakonchom (4)(1)

วัดพระบรมธาตุเจดีย์ นครชุม สร้างขึ้นมาพร้อมกับเมืองนครชุมเป็นวัดประจำเมือง เดิมมีพระบรมธาตุเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์สามองค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน สันนิษฐานว่าสร้างโดยสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุนรามคำแหง และสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยองค์ และยังเคยเป็นเส้นทางเสด็จประพาสต้นของพระพุทธเจ้าหลวงอีกด้วย ปัจจุบันพระบรมธาตุเจดีย์เป็นทรงไทยประยุกต์ผสมมอญ เนื่องจากผู้ที่บูรณะครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นคหบดีพ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยงได้สร้างองค์เจดีย์ทรงมอญครอบไว้บนฐานเดิม พระเจดีย์จึงมีรูปร่างอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จำนวน 9 พระองค์ ซึ่งเป็นศาสนสถานที่มีความศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองกำแพงเพชรอีกแห่งหนึ่ง

Read more »

ไปไหว้พระวัดพระบรมธาตุเจดียาราม นครชุม จ. กำแพงเพชร

วัดพระบรมธาตุเจดียาราม จ.กำแพงเพชร
เป็นพระอารามหลวงประจำเมืองนครชุมมาแต่โบราณ มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยตอนต้น ตาม หลักศิลาจารึก หลักที่ 3 (จารึกนครชุม) ที่พบบริเวณมุขเด็ดของพระวิหาร (ต่อมาได้รักษาไว้ที่วัดเสด็จ และกรุงเทพฯ ตามลำดับ) ได้บันทึกไว้ว่า พระยาลิไท แห่งราชวงษ์สุโขทัย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และปลูกพระศรีมหาโพธิ์จากลังกา ณ วัดพระบรมธาตุเจดียาราม เมื่อปี พ.ศ. 1900 ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญคือ พระบรมธาตุเจดีย์ แต่เดิมครั้งกรุงสุโขทัยนั้น เป็นพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ดอกบัวตูม) ตั้งเรียงกันสามองค์ อยู่บนฐานเดียวกัน โดยองค์กลางของพระเจดีย์นั้นประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์ อยู่ภายในภาชนะเงินรูปสำเภา พระเจดีย์องค์ปัจจุบันเป็นพระเจดีย์ทรงมอญซึ่งได้รับการบูรณะขึ้นภายหลัง ประวัติการบูรณะกล่าวคือ ในรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีคหบดีชาวพม่า ซึ่งมีอาชีพค้าไม้ชื่อ พระยาตะก่า มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ขอราชานุญาตในการปฏิสังขรณ์วัดซึ่งมีสภาพทรุดโทรมจากการถูกทิ้งร้างมานาน (จากครั้งกำแพงเมืองนครชุมพังลงเนื่องจากถูกแม่น้ำปิงกัดเซาะ) โดยได้บูรณะพระเจดีย์ขึ้นใหม่เป็นพระเจดีย์ขนาดใหญ่ทรงมอญองค์เดียว ครอบแทนพระเจดีย์เดิมทั้งสามองค์
แต่ไม่แล้วเสร็จ พระยาตะก่า ได้ถึงแก่กรรมลง ในปี พ.ศ.2418 จนต่อมา ปี พ.ศ.2448 พะโป้ น้องชายพระยาตะก่า ได้ทำการบูรณะต่อ และได้นำยอดฉัตรมาจากพม่า ขึ้นประดิษฐานบนยอดพระเจดีย์พระบรมธาตุ ในปี พ.ศ. 2449 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร
Read more »

ประวัติการบูรณะของวัดพระบรมธาตุเจดียาราม

_DSC1970

พ.ศ.2329 สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม ได้เสด็จมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร พักที่วัดเสด็จได้อ่านจารึกนครชุมที่ประดิษฐาน ณ อุโบสถวัดเสด็จ ตำบลเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ได้ทราบว่ามีเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ อยู่ริมน้ำปิง ฝั่งตะวันตกตรงข้ามเมืองเก่าสามองค์ ได้ให้เจ้าเมืองกำแพงเพชรพระยารามณรงค์สงคราม (น้อย) ได้ป่าวร้อง ให้ประชาชนแผ้วถางพบเจดีย์ตามจารึกและปฏิสังขรณ์ขึ้น

พ.ศ.2414 มีคหบดีชาวพม่า ซึ่งมีอาชีพค้าไม้ชื่อ พระยาตะก่า(ซงพอ) มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ขอราชานุญาตในการปฏิสังขรณ์วัดพระบรมธาตุนครชุม ซึ่งมีสภาพทรุดโทรมจากการถูกทิ้งร้างมานาน พระยากำแพงเพชร เจ้าเมืองได้ทำหนังสือขออนุญาตลงมาที่กรุงเทพฯ ทางกรุงเทพฯจึงตอบอนุโมทนาและอนุญาตให้ซ่อมแซมได้ โดยได้บูรณะพระเจดีย์ขึ้นใหม่เป็นพระเจดีย์ขนาดใหญ่ทรงมอญองค์เดียว ครอบแทนพระเจดีย์เดิมทั้งสามองค์ แต่ไม่แล้วเสร็จ

พ.ศ.2418 ซงพอถึงแก่กรรม การปฏิสังขรณ์ชะงักไป

พ.ศ.2447-2448 พะโป้ น้องชายพระยาตะก่า ได้ทำการบูรณะต่อ และได้นำยอดฉัตรมาจากพม่า ขึ้นประดิษฐานบนยอดพระเจดีย์พระบรมธาตุ ในเดือน 6 พ.ศ.2449 ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพง เพียง 3 เดือน

Read more »

วัดพระบรมธาตุเจดียาราม

_DSC1956

วัดพระบรมธาตุเจดียารามเป็นวัดเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยเมื่อ 600 กว่าปีที่แล้ว ก็ยุคสุโขทัยนั้นละครับ ดินอดนบริเวณนี้ มีชื่อว่า “นครชุม” และวัดแห่งนี้ก็เป็นพระอารามหลวงประจำเมืองนครชุมมาแต่สมัยนั้น ตามข้อมูลประวัติศาสตร์ที่ค้นพบจากหลักศิลาจารึก หลักที่ 3 (จารึกนครชุม) ได้บันทึกไว้ว่า พระยาลิไท แห่งราชวงษ์สุโขทัย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และปลูกพระศรีมหาโพธิ์จากลังกา ณ วัดพระบรมธาตุเจดียาราม เมื่อปี พ.ศ. 1900

ภายในวัดมีเจดีย์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “พระบรมธาตุเจดีย์” เป็นเจดีย์เก่าแก่ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเช่นกันกับตัววัด พระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ดอกบัวตูม) ตั้งเรียงกันสามองค์ อยู่บนฐานเดียวกัน โดยองค์กลางของพระเจดีย์นั้นประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์ อยู่ภายในภาชนะเงินรูปสำเภา พระเจดีย์องค์ปัจจุบันเป็นพระเจดีย์ทรงมอญซึ่งได้รับการบูรณะขึ้นภายหลัง

สิ่งสำคัญอีกอย่างในวัดคือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งชาวกำแพงเพชรเชื่อกันว่า เป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พระยาลิไททรงปลูกเมื่อ พ.ศ.1900 เป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ ประมาณ9คนโอบ

ขอขอบคุณ http://sadoodtakamphaengphet.com

วัดพระบรมธาตุ กำแพงเพชร

12

สิ่งสำคัญที่สุดภายในวัดก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์ เดิมนั้นเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์(ทรงดอกบัว)สามองค์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ในปี พ.ศ 2414 แซพอ(แซภอ หรือพระยาตะก่า) และพ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยงมีใจศรัทธาจะบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์วัดพระบรมธาตุนครชุม โดยสร้างครอบฐานเดิม ต่อมา พ.ศ.2418 แซภอถึงแก่กรรม การปฏิสังขรณ์ชะงักไป จนถึง พ.ศ.2447-2448 พะโป้จึงรวบรวมทุนทรัพย์ เริ่มปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่จนสำเร็จและยกยอดฉัตรขึ้นประดิษฐานในเดือน 6 พ.ศ.2449 ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพง เพียง 3 เดือน ปัจจุบันพระบรมธาตุเจดีย์เป็นเจดีย์ทรงไทยประยุกต์มอญ เนื่องจาก การบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นพระยาตะก่า และพะโป้คหบดีพ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยงได้สร้างพระเจดีย์ทรงมอญครอบไว้บนฐานเดิม เนื่องจากใช้ช่างชาวกะเหรี่ยง ลักษณะองค์จึงออกไปทางศิลปะพม่า พระเจดีย์จึงมีรูปอย่างที่เห็นในปัจจุบัน และได้บูรณะใหม่อีกครั้ง ในปี 2533 โดยทำเป็นสีทองทั้งองค์ มีซุ้มจรทั้งสี่ทิศประดิษฐานพระพุทธรูปประจำซุ้ม ตั้งอยู่บนฐานสูงประมาณ 1 เมตร มีกำแพงล้อมรอบ เป็นองค์เจดีย์ขนาดใหญ่ที่มีความสวยงามอีกแห่งหนึ่งของเมืองไทย และเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง เพราะภายในบรรจุพระบรมสาริกธาตุ 9 องค์ ซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนมาเป็นเวลาช้านาน บริเวณด้านหน้าพระบรมธาตุ ทำเป็นศาลาเล็ก ๆเพื่อใช้เป็นจุดบูชาพระบรมธาตุ และมีบริการดอกไม้ธูปเทียน มีองค์พระธาตุจำลองสำหรับให้ปิดทองและมีพระพุทธรูปอีกหลายองค์ให้เราได้กราบไหว้บูชา

Read more »

วัดพระบรมธาตุนครชุม กำแพงเพชร

biggaaaaaaaaaaaaaa

พระบรมธาตุนครชุมมหาเจดีย์ทรงสูงใหญ่ สวยงามไปด้วยสถาปัตยกรรมและสีทองอร่ามทั้งองค์ เสมือนดั่งเจดีย์ ชเวดากองในเมืองพม่า เป็นพระบรมธาตุเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จำนวน 9 องค์ เมื่อได้เข้าไปนมัสการและบูชาแล้ว ดังได้พบกับพระพุทธเจ้าด้วยตนเอง เป็นพระบรมธาตุเจดีย์ที่อยู่คู่เมืองกำแพงเพชรมาตั้งแต่สมัยเป็นเมืองนครชุมกินเวลายาวนานมากกว่า 600 ปี และยังคงยั่งยืนสืบต่อกันมาเป็นองค์มหาเจดีย์แห่งศรัทธา จวบจนปัจจุบัน
วัดพระบรมธาตุนครชุมเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เป็นวัดเก่าแก่อยู่คู่เมืองกำแพงเพชรมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ภายในมีศาสนสถานที่สำคัญหลายอย่าง เช่น พระบรมธาตุเจดีย์ภายในบรรจุพระสารีริกธาตุ 9 องค์,ต้นศรีมหาโพธิ์ขนาดใหญ่ที่พระยาลิไททรงปลูกไว้,พระอุโบสถหลังเก่า,พระวิหาร,วิหารพระนอน,ศาลาเรือนไทย นอกจากนี้ยังมีศาลาการเปรียญที่ใช้เป็นศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน เพื่อให้เป็นแหล่งความรู้แก่ชุมชน อีกด้วย

พระบรมธาตุนครชุมเป็นวัดที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับเมืองนครชุมเป็นวัดประจำเมืองเหมือนกับวัดพระแก้วประจำเมืองกำแพงเพชรและวัดพระบรมธาตุ จากจารึกนครชุมเดิมภายในวัดมีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์(ทรงดอกบัว)สามองค์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน สันนิษฐานว่าสร้างโดยกษัตริย์ในสมัยกรุงสุโขทัย คือพระมหาธรรมราชาลิไทหรือพระยาลิไท สร้างขึ้นในปี 1900 เพื่ออุทิศถวาย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์องค์หนึ่ง พ่อขุนรามคำแหงองค์หนึ่ง และพระเจดีย์ประจำรัชกาลองค์อีก 1 องค์ และได้นำพระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์ สถาปนาไว้ในพระเจดีย์องค์กลาง และพระองค์ได้เสด็จมาพระมหาธาตุเจดีย์เป็นประจำทุกปี ซึ่งในสมัยสุโขทัยนั้นวัดพระบรมธาตุนครชุมมีความเจริญ มากเพราะเป็นวัดพระอารามหลวงประจำเมือง
Read more »

วัดพระธาตุ จ.กำแพงเพชร

watphrathat1

เป็นวัดหลวงโบราณ ประจำเมืองกำแพงเพชร ตั้งอยู่ด้านหน้าวัดพระแก้ว รูปแบบสถาปัตยกรรมสกุลช่างเมืองกำแพงเพชร สิ่งปลูกสร้างก่อด้วยอิฐและศิลาแลง แตกต่างจากวัดพระแก้วซึ่งใช้ศิลาแลงเป็นหลัก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นภายหลัง วัดพระแก้ว

โบราณสถานภายในวัดประกอบด้วย
พระเจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ทรงระฆัง บนฐานแปดเหลี่ยม ลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ ตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหาร มีระเบียงคดล้อมรอบพระเจดีย์ประธาน ต่อเนื่องมายังด้านหลังพระวิหาร ผังรูปแบบดังกล่าว เป็นรูปแบบที่มักสร้างในกรุงศรีอยุธยา โดยระเบียงคดนี้ นิยมที่จะประดิษฐานแถวพระพุทธรูปอยู่โดยรอบ เหมือนอย่างเช่นที่ วัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา
ถัดจากด้านหน้าพระวิหาร มี พระเจดีย์ราย ประจำด้านซ้าย และด้านขวา ส่วนด้านหน้าสุดซึ่งอยู่ตรงข้ามพระวิหาร คือประตูซุ้มยอด เป็นประตูทางเข้าวัด

วัดพระธาตุ ตั้งอยู่ที่ ถนนปิ่นดำริห์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

Read more »

วัดพระบรมธาตุเจดียาราม พระธาตุแห่งนครชุม

phraborommathat1

เป็นพระอารามหลวงประจำเมืองนครชุมมาแต่โบราณ มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยตอนต้น ตาม หลักศิลาจารึก หลักที่ 3 (จารึกนครชุม) ที่พบบริเวณมุขเด็ดของพระวิหาร (ต่อมาได้รักษาไว้ที่วัดเสด็จ และกรุงเทพฯ ตามลำดับ) ได้บันทึกไว้ว่า พระยาลิไท แห่งราชวงษ์สุโขทัย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และปลูกพระศรีมหาโพธิ์จากลังกา ณ วัดพระบรมธาตุเจดียาราม เมื่อปี พ.ศ. 1900
ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญคือ พระบรมธาตุเจดีย์ แต่เดิมครั้งกรุงสุโขทัยนั้น เป็นพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ดอกบัวตูม) ตั้งเรียงกันสามองค์ อยู่บนฐานเดียวกัน โดยองค์กลางของพระเจดีย์นั้นประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์ อยู่ภายในภาชนะเงินรูปสำเภา พระเจดีย์องค์ปัจจุบันเป็นพระเจดีย์ทรงมอญซึ่งได้รับการบูรณะขึ้นภายหลัง

ประวัติการบูรณะกล่าวคือ ในรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีคหบดีชาวพม่า ซึ่งมีอาชีพค้าไม้ชื่อ พระยาตะก่า มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ขอราชานุญาตในการปฏิสังขรณ์วัดซึ่งมีสภาพทรุดโทรมจากการถูกทิ้งร้างมานาน (จากครั้งกำแพงเมืองนครชุมพังลงเนื่องจากถูกแม่น้ำปิงกัดเซาะ) โดยได้บูรณะพระเจดีย์ขึ้นใหม่เป็นพระเจดีย์ขนาดใหญ่ทรงมอญองค์เดียว ครอบแทนพระเจดีย์เดิมทั้งสามองค์
Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .