Archive for the ‘วัดในอยุธยา’ Category

วัดมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Mongkholborphit500_updated

“ พระมงคลบพิตร ” เป็นชื่อของพระประธานองค์ใหญ่ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในวัดแห่งนี้ เดิมทีพระมงคลบพิตรประดิษฐานอยู่ในวิหารหลังเล็ก แต่ในสมัยพระพุทธเจ้าเสือ เกิดอสุนีบาตต้องยอดพระมณฑป เกิดไฟไหม้พังลงมาต้องพระศอของพระมงคลบพิตรหัก

ขอขอบคุณ http://www.thailandsworld.com/

วิหารพระมงคลบพิตร

วิหารพระมงคลบพิตร

วิหารพระมงคลบพิตร ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปคุ้มขุนแผน วิหารพระมงคลบพิตรจะอยู่ถัดไปไม่ไกลนัก พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง 9.55 เมตร และสูง 12.45 เมตร นับเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์หนึ่งในประเทศไทย ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ระหว่างปี พ.ศ. 1991-2145 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายจากทิศตะวันออกนอกพระราชวังมาไว้ทางด้านทิศตะวันตกที่ประดิษฐานอยู่ในปัจจุบัน และโปรดเกล้าฯ ให้ก่อมณฑปสวมไว้

ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ เมื่อปี พ.ศ. 2249 อสุนีบาตตกลงมาต้องยอดมณฑปพระมงคลบพิตรเกิดไฟไหม้ทำให้ส่วนบนขององค์พระมงคลบพิตรเสียหาย จึงโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมใหม่ แปลงหลังคายอดมณฑปเป็นมหาวิหารและต่อพระเศียรพระมงคลบพิตรในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ (พ.ศ. 2285-2286) ในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 วิหารพระมงคลบพิตรถูกข้าศึกเผาชำรุดทรุดโทรม เครื่องบนวิหารหักลงมาต้องพระเมาฬีและพระกรขวาของพระมงคลบพิตรหัก รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้การปฏิสังขรณ์ใหม่

สำหรับบริเวณข้างวิหารพระมงคลบพิตรทางด้านทิศตะวันออก แต่เดิมเป็นสนามหลวง ใช้เป็นที่สำหรับสร้างพระเมรุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์และเจ้านายเช่นเดียวกับท้องสนามหลวงของกรุงเทพฯ

ขอขอบคุณ http://travel.kapook.com/

วิหารพระมงคลบพิตร

พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปอิฐบุทองสัมฤทธิ์สีดำตลอดองค์ เพราะเคลือบรักไว้สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระไชยราชา ราว พ.ศ.2081 สำหรับเป็นพระพุทธรูปประจำวัดซีเซียง ประดิษฐานอยู่กลางแจ้งวิหารพระมงคลบพิตรทั้งองค์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดองค์หนึ่งของประเทศไทย
วิหารพระมงคลบพิตร ตั้งอยู่ที่ ถ.คลองท่อ ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

ขอขอบคุณ http://www.ayutthaya.go.th/

: วิ ห า ร พ ร ะ ม ง ค ล บ พิ ต ร :

วิหารพระมงคลบพิตร ……ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ ” พระมงคลบพิตร ” เป็นพระพุทธรูปบุทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ องค์หนึ่งในประเทศไทย เดิมอยู่ทางทิศตะวันออกนอกพระราชวัง สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรด ฯ ให้ชะลอมาไว้ทางทิศตะวันตกที่ซึ่งประดิษฐานอยู่ในปัจจุบัน และโปรด ฯ ให้ก่อมณฑปครอบไว้ ครั้นถึงแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าเสือ ยอดมณฑปเกิดไฟไหม้เพราะอสุนีบาต ทำให้ส่วนบนขององค์พระมงคลบพิตรเสียหาย จึงโปรด ฯ ให้ก่อสร้างใหม่ แปลงมณฑปเป็นพระวิหารแทน เมื่อเสียกรุงครั้งที่ 2 วิหารพระมงคลบพิตร ได้ถูกไฟไหม้พระวิหาร และองค์พระพุทธรูปได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ แต่ฝีมือไม่งดงามอ่อนช้อยเหมือนของเก่า บริเวณข้างวิหารพระมงคลบพิตร ทางด้านทิศตะวันออกเดิมเป็นสนามหลวง ใช้เป็นที่สำหรับสร้างพระเมรุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ และเจ้านายเช่นเดียวกับท้องสนามหลวงของกรุงเทพ ฯ

ขอขอบคุณ http://www.hamanan.com/

ชุบชีวิตความรุ่งเรืองกรุงศรีฯ กราบพระพุทธรูปใหญ่ทองสัมฤทธิ์

Phra-Mongkhon-Bophit-Ayudhya-1

ภายในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ นามว่า “พระมงคลบพิตร” จากประวัติที่พบสันนิษฐานกันว่า พระมงคลบพิตรสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นราวแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เคยประดิษฐานอยู่กลางแจ้งที่วัดชีเชียงมาก่อน จากนั้นสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดฯให้ชลอมาไว้ทางด้านทิศตะวันตกแล้วให้สร้างมณฑปขึ้นครอบไว้ หลังเสียกรุงฯพระมงคลบติรถูกทิ้งเหลือไว้เพียงซาก ทิ้งร่องรอยความรุ่งเรืองในอดีตโดยสิ้นเชิง โดยมีรูปที่ถูกแพร่หลายในความทรงจำมากที่สุดคือรูปที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จวัดมงคลบพิตร พร้อมด้วยพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ 2 แห่งรัสเซีย ราวเดือนมีนาคม พ.ศ. 2434 จากนั้นจึงมีการซ่อมและบูรณะเรื่อยมาจนกลับมามีสภาพใหม่เฉกเช่นปัจจุบัน วิหารพระมงคลบพิตรในปัจจุบันนี้ได้ถูกสร้างขึ้นใหม่บนซากวิหารเดิมด้วยความร่วมมือกับทางพม่าส่วนหนึง

สำหรับคนที่ตั้งใจมาเที่ยวอยุธยาแล้วนั้น มีคำกล่าวอยู่เสมอว่า “ผู้ใดที่มาเที่ยวอยุธยาแล้ว ยังไม่ได้มาไหว้หลวงพ่อมงคลบพิตรแล้ว ถือว่ามาไม่ถึงอยุธยา”

ขอขอบคุณ http://www.zthailand.com/

วัดพระมงคลบพิตร อยุธยา

ครั้นมาถึงปี 2552-2553 คนไทยไม่น้อยก็น้ำตาตกอีกครั้งหนึ่ง ที่เห็นคนไทยด้วยกันเองย่ำยีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่เคยเป็นศูนย์กลางราชธานีกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นทั้งพระราชวัง และเป็นวัดของพระมหากษัตริย์ไปพร้อมๆกัน

ใครมาเห็นก็ต้องตกใจว่า ผ่านไปหลายเดือนแล้วก็ยังไม่มีการแก้ไขปัญหาตามที่เป็นข่าว ร้านค้าร้านขายปลูกเพิงขายกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันรอบๆวัดมงคลบพิตร จากที่เคยเห็นเป็นวัดที่สง่างามกลับมีสิ่งรกรุงรุงรังปิดทางเดิน ไม่ต่างกับเป็นเส้นทางบังคับว่า เมื่อลงจากรถในบริเวณลานจอดแล้วก็ต้องเดินผ่านตลาดนัดกันก่อนแล้วค่อยขึ้นไปไหว้พระ ทั้งของกินของใช้ เสื้อผ้า กางเกงใน แขวนขายกันข้างวิหารพระมงคลบพิตร กันอย่างหน้าตาเฉย

มาเห็นของจริงในวันนี้แล้วรู้สึกว่า มันเสื่อมโทรม และทุเรศทุรังกว่าที่คิดไว้มากทีเดียว แสดงว่าหลังจากตกเป็นข่าวและถูกวิพากษ์วิจารณ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็แทบไม่ได้ทำอะไรเลย

มันต่างกับมรดกโลกที่เคยไปเที่ยวในประเทศต่างๆที่อยู่รอบๆบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นเมืองหลวงพระบางของลาว นครวัด-นครธมของเขมร หรือเมืองเก่ามะละกาของมาเลเซีย ไกลหน่อยก็เป็นประเทศเวียดนาม และอีกหลายๆแห่งในประเทศจีน

ทุกประเทศต่างเห็นคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมที่คนรุ่นหลังจะต้องรักษาไว้ แต่บ้านเรากลับทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม โดยเฉพาะหน่วยงานที่ดูแล ปล่อยให้เป็นแบบนี้ได้อย่างไร

Read more »

วิหารพระมงคลบพิตร Wiharn Phra Mongkol Bophit

วิหารพระมงคลบพิตร ตั้งอยู่ติดกับพระราชวังโบราณ ทางทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สันนิษฐานกันว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นราวแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ มามากมายหลายครั้ง เช่น ยอดมณฑปต้องอสนีบาต (ฟ้าผ่า) ไฟไหม้เครื่องบนมณฑปหักพังลงมาต้องพระเศียรพระพุทธรูปหัก(สมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ) เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 วิหารและพระพุทธรูปถูกไฟไหม้ ชำรุดทรุดโทรม เครื่องบนวิหารหักลงมาต้องพระเมาฬีและพระกรข้างขวาหัก กระทั่งรัฐบาลสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงได้เริ่มการบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารและองค์พระพุทธเสียใหม่ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ นักท่องเที่ยวนิยมเข้ามานมัสการหลวงพ่อมงคลบพิตรก่อนจะเข้าชมพระราชวังโบราณ บริเวณทางด้านหน้าวิหารพระมงคลบพิตรจะมีร้านค้าตั้งเรียงรายมากมายหลายร้าน จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมืองแทบทุกชนิด เช่น ปลาตะเพียน เครื่องจักสาน เครื่องหวาย มีด ผลไม้กวน และขนมชนิดต่างๆ สำหรับผู้สนใจซื้อสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกต่างๆ และของฝากที่เป็นเอกลักษณ์ของอยุธยานั่นคือโรตีสายไหม หาซื้อได้ที่นี่เลยจ้า

ขอขอบคุณ http://www.chillpainai.com/

วิหารพระมงคลบพิตร

003

วิหารพระมงคลบพิตร ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่มาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นพลังความเชื่อทางศาสนาที่ไม่อาจจะแยกออกได้จากอุดมคติในทางสังคมและการเมือง ทั้งเป็นประจักษ์พยานถึงความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับศาสตร์แห่งโลหะและความสามารถในการหล่อโลหะโดยเฉพาะสำริดซึ่งเป็นโลหะที่สำคัญที่สุดชนิดหนึ่งในสมัยอยุธยาด้วย
พระพุทธรูปสำริดของวิหารมงคลบพิตรนี้ไม่มีประวัติการสร้างว่าสร้างเมื่อใดและใครสร้าง แต่ทราบว่าต้นรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม ได้มีการชะลอเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปจากตำแหน่งเดิมซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระวิหารในปัจจุบันประมาณ 200 เมตร ก่ออาคารรูปทรงมณฑปคลุมเอาไว้ เพราะต้องการพื้นที่เพื่อใช้สร้างพระเมรุถวายพระเพลิงพระบรมศพ
ยอดมณฑปของพระมงคลบพิตรถูกฟ้าผ่าในสมัยพระเจ้าเสือ จนพังทลายลงมาโดนพระเศียรของพระพุทธรูปหักตกลงมา จึงได้มีการบูรณะและเปลี่ยนอาคารจากทรงมณฑปมาเป็นพระวิหาร ซึ่งต่อมาจะได้ทำการบูรณะพระวิหารใหม่อีกครั้งในสมัยพระเจ้าบรมโกศ หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ.2310 พระวิหารได้ถูกทิ้งร้างและพังทลายตามกาลเวลา พระเมาลีและพระกรได้หัก จึงได้มีการซ่อมในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาในปี พ.ศ.2499 สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีการสร้างวิหารพระมงคลบพิตรขึ้นใหม่ อย่างที่ปรากฏในปัจจุบัน
อนึ่งในปี พ.ศ.2498 นั้น รัฐบาลไทยได้เชิญ ฯพณฯ อูนุ นายกรัฐมนตรีพม่า มาเยือนประเทศไทย และได้มาเยือนอยุธยาเป็นกรณีพิเศษ ท่านได้กล่าวขอขมาต่อการที่กองทัพพม่าที่ได้กระทำต่อกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังได้มอบเงินจำนวน 200,000 บาท เพื่อสมทบทุนสร้างหลังคาวิหารพระมงคลบพิตรที่เห็นอยู่ในปัจจุบันและยังได้อัญเชิญหน่อพระศรีมหาโพธิ์มาปลูกไว้ ณ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพ

Read more »

วัดมงคลบพิตร อยุธยา

ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปคุ้มขุนแผน วิหารพระมงคลบพิตรจะอยู่ถัดไปไม่ไกลนัก พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง 9.55 เมตร และสูง 12.45 เมตร นับเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์หนึ่งในประเทศไทย ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นระหว่างปี พ.ศ. 1991–2145 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดเกล้าฯให้ย้ายจากทิศตะวันออก นอกพระราชวังมาไว้ทางด้านทิศตะวันตกที่ประดิษฐานอยู่ในปัจจุบันและโปรดเกล้าฯให้ก่อมณฑปสวมไว้ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ เมื่อปี พ.ศ. 2249 อสุนีบาตตกลงมาต้องยอดมณฑปพระมงคลบพิตรเกิดไฟไหม้ทำให้ส่วนบนขององค์พระมงคลบพิตรเสียหายจึงโปรดเกล้าฯให้ซ่อมแซมใหม่ แปลงหลังคายอดมณฑปเป็นมหาวิหารและต่อพระเศียรพระมงคลบพิตรในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ (พ.ศ. 2285–2286)

ในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 วิหารพระมงคลบพิตรถูกข้าศึกเผาเครื่องบนโทรมลงมาต้องพระเมาฬีและพระกรขวาของพระมงคลบพิตรหัก รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้การปฏิสังขรณ์ใหม่ สำหรับบริเวณข้างวิหารพระมงคลบพิตรทางด้านทิศตะวันออกแต่เดิมเป็นสนามหลวง ใช้เป็นที่สำหรับสร้างพระเมรุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์และเจ้านายเช่นเดียวกับท้องสนามหลวงของกรุงเทพฯ

ขอขอบคุณ http://www.touronthai.com/

วิหารพระมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา

ตั้งอยู่ใกล้กับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ และพระราชวังโบราณ ภายในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ นามว่า พระมงคลบพิตร หรือ พระพุทธสยมภูวญาณโมฬี พระพระพุทธรูปคู่เมืองของกรุงอยุธยามาแต่โบราณ
ประวัติการสร้างพระมงคลบพิตรไม่แน่ชัด มีปรากฏในพงศาวดารว่า แต่เดิมองค์พระประดิษฐานอยู่การแจ้ง ต่อมาในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2153 ได้มีการเคลื่อนย้ายองค์พระมาประดิษฐานทางด้านตะวันตก โดยสร้างพระมณฑปครอบองค์พระไว้ ภายหลังในรัชสมัยพระเจ้าเสือ เมื่อปี พ.ศ. 2249 พระมณฑปได้ถูกฟ้าผ่าจนเครื่องบนหลังคาเกิดไฟไหม้และทรุดตัวลงถูกองค์พระเสียหาย แต่ไม่ทันได้บูรณะปฏิสังขรณ์ พระองค์ทรงสวรรคตลงเสียก่อน
ต่อมาในรัชสมัย พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อปี พ.ศ. 2285 ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระและมณฑป โดยเปลี่ยนหลังคาเดิมเป็นแบบพระวิหาร และซ่อมพระเศียรพระมงคลบพิตรที่หักลง เมื่อครั้งที่เกิดไฟไฟม้จากการถูกฟ้าผ่า
ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระวิหารและองค์พระได้ถูกไฟไหม้อย่างหนัก จนพระเมาฬีและพระกรข้างขวาหักลง และถูกทิ้งร้างในที่สุด

จนถึงยุคปัจจุบันสมัย พระยาโบราณราชธานินทร์ ในปี พ.ศ. 2310 ได้ทำการบูรณะองค์พระ โดยซ่อมพระเมาฬีและพระกรขวาที่หักลง ส่วนพระวิหารนั้นได้ทำการบูรณะในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในปี พ.ศ. 2499 โดย นายอูนุ นายกรัฐมนตรีพม่า ได้มอบเงินจำนวนสองแสนบาทในการร่วมบูรณะในครั้งนั้น ส่วนองค์พระที่บูรณะเพิ่มเติม ได้พบพระพุทธรูปสำริดหลายองค์อยู่ภายในองค์พระ ซึ่งปัจจุบันได้เก็บรักษาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา

ขอขอบคุณ http://www.comingthailand.com/

วิหารพระมงคลบพิตร, อยุธยา

ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปคุ้มขุนแผน วิหารพระมงคลบพิตรจะอยู่ถัดไปไม่ไกลนัก พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง 9.55 เมตร และสูง 12.45 เมตร นับเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์หนึ่งในประเทศไทย ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นระหว่างปี พ.ศ. 1991–2145 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดเกล้าฯให้ย้ายจากทิศตะวันออกนอกพระราชวังมาไว้ทางด้านทิศตะวันตกที่ประดิษฐานอยู่ในปัจจุบันและโปรดเกล้าฯให้ก่อมณฑปสวมไว้

ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ เมื่อปี พ.ศ. 2249 อสุนีบาตตกลงมาต้องยอดมณฑปพระมงคลบพิตรเกิดไฟไหม้ทำให้ส่วนบนขององค์พระมงคลบพิตรเสียหายจึงโปรดเกล้าฯให้ซ่อมแซมใหม่ แปลงหลังคายอดมณฑปเป็นมหาวิหารและต่อพระเศียรพระมงคลบพิตรในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ (พ.ศ. 2285–2286) ในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 วิหารพระมงคลบพิตรถูกข้าศึกเผาเครื่องบนโทรมลงมาต้องพระเมาฬีและพระกรขวาของพระมงคลบพิตรหัก รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้การปฏิสังขรณ์ใหม่ สำหรับบริเวณข้างวิหารพระมงคลบพิตรทางด้านทิศตะวันออกแต่เดิมเป็นสนามหลวง ใช้เป็นที่สำหรับสร้างพระเมรุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์และเจ้านายเช่นเดียวกับท้องสนามหลวงของกรุงเทพฯ

ขอขอบคุณ http://www.thai-tour.com/

วิหารพระมงคลบพิตร พระมงคลบพิตร พระนครศรีอยุธยา

watmongkhonbophit

วิหารพระมงคลบพิตร ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์องค์ใหญ่องค์หนึ่งในประเทศไทย เดิมอยู่ทาง ทิศตะวันออกนอกพระราชวัง สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดฯ ให้ย้ายมา ไว้ทางด้านตะวันตก ที่ซึ่งประดิษฐานอยู่ในปัจจุบันและโปรดฯ ให้ก่อมณฑปสวมไว้

ครั้นถึงแผ่นดิน ของสมเด็จพระเจ้าเสือ ยอดมณฑปเกิดไฟไหม้เพราะอสุนีบาต ทำให้ส่วนบนขององค์พระมงคลบพิตรเสียหายจึงโปรดให้ก่อสร้างใหม่ แปลงเป็นพระวิหารแทน เมื่อเสียกรุงครั้งที่ 2 วิหารพระมงคลบพิตร ได้ถูกไฟไหม้ พระวิหารและองค์พระพุทธรูปได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ ฝีมือ ไม่งดงามอ่อนช้อยเหมือนเก่า บริเวณข้างวิหารพระมงคลบพิตรทางด้านทิศตะวันออก เดิมเป็น สนามหลวง ใช้เป็นที่สำหรับสร้างพระเมรุพระบรมศพของพระมหากษัตริย และเจ้านายเช่นเดียวกับ ท้องสนามหลวงของกรุงเทพฯ

วิหารพระมงคลบพิตรถูกไฟเผาผลาญ ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2310 จนเครื่องบนของพระวิหารพังลงมา ถูกพระเมาฬีและพระกรขวาขององค์พระชำรุด พระยาโบราณราชธานินทร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ได้บูรณะซ่อมแซมให้คืนดี สำหรับพระวิหารที่ชำรุดหักพังเกือบจะโดยสิ้นเชิงนั้น ได้บูรณะขึ้นใหม่อย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบันเมื่อปี พ.ศ. 2499 โดย นายอูนุ นายกรัฐมนตรีสหภาพพม่าในขณะนั้น ได้บริจาคเงินจำนวนสองแสนบาท ร่วมกับฝ่ายรัฐบาลไทยอีกสองแสนห้าหมื่นบาท

ขอขอบคุณ http://www.dhammathai.org/

 

เที่ยวอยุธยา ไหว้หลวงพ่อมงคลบพิตร วัดมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา

182849-165

วัดมงคลบพิตรเป็นวัดเดียวในละแวกนี้ที่ได้รับการบูรณะให้ดีอย่างสมัยใหม่ ข้างในวิหารมีพระมงคลบพิตร พระขนาดใหญ่ที่ถูกเผาสมัยเสียกรุงศรีอยุธยา

สันนิษฐานกันว่า สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นราวแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยตามพงศาวดารวิหารพระมงคลบพิตรนั้น เดิมประดิษฐานอยู่ด้านทิศตะวันออกของ พระราชวังหลวง บางคนสันนิษฐานว่า เคยประดิษฐานอยู่กลางแจ้งที่วัดชีเชียงมาก่อน ในปี พ.ศ. ๒๑๔๖ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดฯ ให้ชลอมาไว้ทางด้านทิศตะวันตก แล้วให้สร้างมณฑปขึ้นครอบไว้ โดยมีหลักฐานจากภาพวาดของชาวตะวันตกที่เข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองว่าเป็นรูปร่างคล้ายๆมณฑป

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๒๔๖ แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือ ยอดมณฑปต้องอสนีบาต (ฟ้าผ่า) ไฟไหม้เครื่องบนมณฑปหักพังลงมาต้องพระเศียรหัก สมเด็จพระเจ้าเสือ จึงโปรดฯให้แปลงมณฑปเป็นวิหารแต่ยังคงส่วนยอดของมณฑปไว้ แล้วซ่อมพระเศียรพระพุทธรูปใหม่ กระทั่งในรัชกาล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่หมด เปลี่ยนหลังคาคล้ายในปัจจุบัน เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งสุดท้ายวิหารและพระพุทธรูปถูกไฟไหม้ ชำรุดทรุดโทรม เครื่องบนวิหารหักลงมาต้องพระเมาฬี และพระกรข้างขวาหัก

ในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ สมัยพระยาโบราณราชธานินทร์ ตำแหน่งสุมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา คุณหญิงอมเรศร์สมบัติกับพวก ได้ขอยื่นเรื่องซ่อมแซมวิหาร แต่รัฐบาลไม่อนุญาต เนื่องจากต้องการที่จะรักษาตามแบบอย่างทางโบราณคดี โดยจะออกแบบให้ปูชนียสถานกลางแจ้งเหมือนไดบุซึของญี่ปุ่น แต่ด้วยเวลานั้นรัฐบาลยังไม่มีงบประมาณพร้อมในการดำเนินการ
Read more »

วิหารพระมงคลบพิตร

สันนิษฐานกันว่า สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นราวแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยตามพงศาวดารวิหารพระมงคลบพิตรนั้น เดิมประดิษฐานอยู่ด้านทิศตะวันออกของ พระราชวังหลวง บางคนสันนิษฐานว่า เคยประดิษฐานอยู่กลางแจ้งที่วัดชีเชียงมาก่อน ในปี พ.ศ. ๒๑๔๖ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดฯ ให้ชลอมาไว้ทางด้านทิศตะวันตก แล้วให้สร้างมณฑปขึ้นครอบไว้ โดยมีหลักฐานจากภาพวาดของชาวตะวันตกที่เข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองว่าเป็นรูปร่างคล้ายๆมณฑป

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๒๔๖ แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือ ยอดมณฑปต้องอสนีบาต (ฟ้าผ่า) ไฟไหม้เครื่องบนมณฑปหักพังลงมาต้องพระเศียรหัก สมเด็จพระเจ้าเสือ จึงโปรดฯให้แปลงมณฑปเป็นวิหารแต่ยังคงส่วนยอดของมณฑปไว้ แล้วซ่อมพระเศียรพระพุทธรูปใหม่ กระทั่งในรัชกาล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่หมด เปลี่ยนหลังคาคล้ายในปัจจุบัน เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งสุดท้ายวิหารและพระพุทธรูปถูกไฟไหม้ ชำรุดทรุดโทรม เครื่องบนวิหารหักลงมาต้องพระเมาฬี และพระกรข้างขวาหัก

Read more »

วัดมงคลบพิตร

072

วัดมงคลบพิตร เป็นวัดโบราณสำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โดยที่ตั้งของวัดมงคลบพิตรและพระราชวังโบราณตั้งอยู่ติดกัน นักท่องเที่ยวจึงนิยมเข้ามา
นมัสการหลวงพ่อมงคลบพิตรก่อนจะเข้าชมพระราชวังโบราณ และบริเวณทางด้านหน้าวิหารวัด
พระมงคลบพิตร มีร้านค้าตั้งเรียงรายมากมายหลายร้าน จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมืองแทบทุกชนิด
เช่น ปลาตะเพียน เครื่องจักสานเครื่องหวาย มีดอรัญญิก ผลไม้กวน และขนมชนิดต่างๆ
เหมาะสำหรับผู้สนใจซื้อสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกต่างๆ

ประวัติ
วิหารพระมงคลบพิตร ถ้าตามพระราพงศาวดารฯบริเวณที่ตั้งวิหารนี้เคยเป็นวัด
ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมเพราะระบุว่าโปรดอัญเชิญพระพุทธรูปขนาดใหญ่
นามว่า “มงคลบพิตร” มาจากพื้นที่ทางตะวันออกต่อจากนั้นก็ทรงก่อมณฑปครอบ

ครั้นถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ โปรดเกล้าให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์
พระมงคลบพิตรขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยโปรดให้ทำบัวหงายคั่นระหว่างพระเกตุมาลากับพระรัศมี
ส่วนพระวิหารนั้นก็โปรดให้รื้อเครื่องบนออก แล้วก่อหลังคาให้เหมือนดังพระวิหารทั่วไป

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .