Archive for the ‘วัดในนครศรีธรรมราช’ Category

เที่ยวเมืองนครฯ ชมวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

22

“เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสาม กษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู”

บางจาก ขอนำท่านสู่เมืองนครศรีธรรมราช ที่โด่งดังเรื่องประวัติศาสตร์ ศิลป์ และสถาปัตยกรรมมากมาย โดยเฉพาะวัดวาอารามที่มีเอกลักษณ์งดงาม มากมายให้เลือกสักการะ ซึ่งในโอกาสนี้บางจากขอแนะนำตัวอย่างวัดที่น่าสนใจให้ทุกท่านลองแวะกราบไว้เที่ยวชม…นั่นก็คือ “วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร” พร้อมแล้วไปกันเลย

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือ ที่ชาวนครเรียกว่า วัดพระธาตุ โบราณสถานสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็น มิ่งขวัญชาวเมืองนครศรีธรรมราชตลอดจนพุทธศานิกชน ทั้งหลาย สัญลักษณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่รู้จัก กันแพร่หลายก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เนื่องจากเป็นที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศจดทะเบียนวัดพระมหาธาตุเป็นโบราณสถาน นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้

Read more »

ศรัทธาวัดพระมหาธาตุฯ ประวัติศาสตร์มรดกโลก

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช เข้าสู่บัญชีเบื้องต้นตามที่ประเทศไทยเสนอ เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเป็นมรดกโลก ซึ่งจะจัดประชุมอีกครั้งในปี 2558

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เข้ารอบพิจารณาเป็นมรดกโลกด้วยหลักเกณฑ์ 3 ข้อ…

หลักเกณฑ์ข้อที่ 1 เป็นตัวแทนผลงานที่เป็นเลิศของการสร้างจากอัจฉริยะของมนุษย์ เนื่องจากวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นตัวแทนของระบบความเชื่อทางศาสนาพุทธ ผ่านทางแผนผังและการออกแบบสถาปัตยกรรม โดยการแบ่งขอบเขตพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน มีพระบรมธาตุเจดีย์เป็นประธานสถาปัตยกรรมและการประดับอาคารสื่อความหมายปรัชญาทางพุทธศาสนาและพุทธประวัติ

หลักเกณฑ์ข้อที่ 2 แสดงให้เห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงคุณค่าของมนุษย์ตามกาลเวลา หรือในวัฒนธรรมด้านใดด้านหนึ่งของโลกในการพัฒนาด้านสถาปัตยกรรมหรือทางเทคโนโลยี ศิลปะสถาปัตยกรรมโบราณ การออกแบบผังเมืองหรือการออกแบบภูมิทัศน์ โดยพระบรมธาตุเจดีย์ยังคงรักษาความครบถ้วนสมบูรณ์ของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมในสมัยแรกสร้างราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18 รูปแบบทางสถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลจากศิลปะลังกา ตามแบบอย่างคติของพุทธศิลป์ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

หลักเกณฑ์ข้อที่ 3 มีความสัมพันธ์โดยตรงและแสดงเห็นได้ชัดเจนกับเหตุการณ์หรือประเพณีที่ยังคงอยู่หรือความคิด ความเชื่อ งานศิลปกรรมและวรรณกรรม ที่มีความโดดเด่นเป็นสากล ความเชื่อของผู้คนเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของพระบรมสารีริกธาตุของพุทธศาสนิกชน ที่จะสั่งสมสร้างบุญกุศลตามประเพณีในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งด้านวรรณกรรม คติกรรม และนาฏกรรม ตลอดจนการประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา อาทิ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ วันมาฆบูชาและวันวิสาขบูชา

Read more »

วัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก

t5mahathat09

ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง วัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้และประเทศไทย ตามตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช กล่าวว่า เจ้าชายธนกุมารและพระนางเหมชาลา เป็นผู้นำเสด็จพระบรมธาตุมาประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้วและสร้างเจดีย์องค์เล็ก ๆ เป็นที่หมายไว้ ต่อมาในปีมหาศักราช 1098 (พ.ศ.1719) พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นพร้อมการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ พระบรมธาตุเจดีย์มีลักษณะรูปแบบศิลปกรรมเป็นเจดีย์ทรงลังกาสูง 55.78 เมตร (กรมศิลปากรวัดเมื่อการบูรณะปลียอดทองคำเมื่อ พ.ศ. 2538) จากฐานบัวคว่ำบัวหงายถึงปลียอด 6.80 เมตร ใช้ทองคำเนื้อสิบหุ้มโดยรอบ ภายในวัดพระมหาธาตุฯ มีวิหารที่มีความสำคัญหลายหลังประดิษฐานอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระวิหารหลวง มีความงามตามแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา นอกจากนั้นยังมี วิหารสามจอม วิหารที่มีพระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ชื่อว่า “พระศรีธรรมาโศกราช” ประดิษฐานอยู่ วิหารพระมหาภิเนษกรมน์ (วิหารพระทรงม้า) วิหารทับเกษตร ส่วน วิหารเขียน และวิหารโพธิ์ลังกานั้นเป็นสถานที่จัดแสดงโบราณวัตถุที่พุทธศาสนิกชนถวายเป็นพุทธบูชา

พระแม่เจ้าเหมชาลา เริ่มต้นการเดินทางเข้าสู่วัดพระมหาธาตุ จากตัวเมืองนครศรีธรรมราชใช้ถนนราชดำเนิน ตรงอย่างเดียว มาจอดรถที่หน้าวัดแล้วเดินเข้ามา สิ่งแรกๆ ที่จะได้เห็นนอกจากยอดพระธาตุแล้วก็มีรูปปั้น พระแม่เจ้าเหมชาลา พระทนทกุมาร ซึ่งเป็นพระราชธิดาและพระราชโอรสของพระเจ้าโคสีหราชและพระนางมหาเทวีแห่งเมืองทันทบุรี ประเทศอินเดียเป็นผู้อัญเชิญพระบรมสารีริธาตุมาฝังไว้ ณ หาดทรายแก้ว เมื่อปี พ.ศ. 854 จากนั้นพระเจ้าศรีธรรมโสกราช ได้สร้างพระมหาเจดีย์ และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุดังได้ปรากฎอยู่จนทุกวันนี้

Read more »

วัดพระพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ นครศรีธรรมราช

p-pt1

พระมหาธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชศูนย์รวมแห่งศรัทธาของชาวพุทธทั้งคาบสมุทรภาคใต้
ตามตำนานกล่าวว่าเจดีย์พระบรมธาตสร้างโดย”พระเจ้าศรีธรรมโศกราช”พร้อมกับการสร้าง
เมืองนครศรีธรรมราชในพุทธศตวรรษที่๑๘นับแต่นั้นมาเมืองนครศรีธรรมราชเจริญรุ่งเรือง
ขึ้นเป็นลำดับ เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเมือง ศิลปวัฒนธรรม ตราบจนทุกวันนี้

เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง
จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่ภายในเขตกำแพงเมืองโบราณมีเนื้อที่ ทั้งหมดจำนวน
25 ไร่ 2 งาน
ประวัติความเป็นมา
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช สันนิษฐาน จากตำนาน
เมืองนครศรีธรรมราชว่า สร้างโดยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ใน พ.ศ. 1098 เพื่อเป็นที่
ประดิษฐานองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ในสมัยโบราณถือว่าเป็นเขตพุทธาวาสจึงไม่มีพระสงฆ์
จำ พรรษา ต่อมาได้มีการบูรณะและสร้างเสริมโบราณวัตถุ โบราณสถานภายในวัดอีกหลายครั้ง
ในสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชโปรดเกล้าฯให้นำทองแดงหล่อปิดทอง ยอดพระบรม
ธาตุ และสร้างพระระเบียงโดยรอบทั้งหมด 165 ห้อง พระพุทธรูป 165 องค์ สร้าง กำแพง
4 ด้าน สร้างวิหารสามจอม และพระรูปพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช
สมัยธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราชได้บูรณะวิหารทับเกษตร วิหารหลวง และศาลากุ ฎิ
ในพระอาราม ถมทรายเทปูนรอบพระบรมธาตุเจดีย์ ยกพื้นสูง 75 ซม. กว้าง 1 เมตร
เรียกกัน ว่า ทางเดินพระเจ้าตากสิน Read more »

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง วัดพระมหาธาตุเป็น พระอารามหลวงชั้นเอก ชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของ ภาคใต้และประเทศไทย ตามตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช กล่าวว่า เจ้าชายธนกุมารและพระนางเหมชาลา เป็นผู้นำเสด็จพระบรมธาตุมาประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้วและสร้างเจดีย์องค์เล็ก ๆ เป็นที่หมายไว้ ต่อมาในปีมหาศักราช 1098 (พ.ศ.1719) พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นพร้อมการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ พระบรมธาตุเจดีย์มีลักษณะรูปแบบศิลปกรรมเป็นเจดีย์ทรงลังกาสูง 55.78 เมตร (กรมศิลปากรวัดเมื่อการบูรณะปลียอดทองคำเมื่อ พ.ศ. 2538) จากฐานบัวคว่ำบัวหงายถึงปลียอด 6.80 เมตร ใช้ทองคำเนื้อสิบหุ้มโดยรอบ ภายในวัดพระมหาธาตุฯ มีวิหารที่มีความสำคัญหลายหลังประดิษฐานอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระวิหารหลวงมีความงามตามแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา วิหารสามจอม วิหารที่มีพระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ชื่อว่า “พระศรีธรรมาโศกราช” ประดิษฐานอยู่ วิหารพระมหาภิเนษกรมน์ (วิหารพระทรงม้า) วิหารทับเกษตร ส่วนวิหารเขียน และวิหารโพธิ์ลังกานั้นเป็นสถานที่จัดแสดงโบราณวัตถุที่พุทธศาสนิกชนถวายเป็นพุทธบูชา Read more »

พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ณ วัดพระธาตุมหาวรวิหาร

6248520fa

ตามตำนานกล่าวว่า พระบรมธาตุเมืองนคร สร้างขึ้นครั้งแรกประมาณ ปี พ.ศ. 854
ภายในบรรจุพระทันตธาตุ (ส่วนฟันของพระพุทธเจ้า) ณ บริเวณหาดทรายแก้ว
ด้วยศิลปะการก่อสร้างแบบศรีวิชัย (หลายคนเชื่อว่ามีลักษณะคล้ายพระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี)

ต่อมาในปี พ.ศ. 1093 พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ได้ทำการสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้น
พร้อมกับสร้างเจดีย์องค์ใหม่ทรงศาญจิครอบพระบรมธาตุองค์เดิม จากนั้นในปี พ.ศ. 1770
ได้มีพระภิกษุจากลังกามาทำการบูรณะพระบรมธาตุเมืองนครให้เป็นไปตามรูปแบบสถาปัตยกรรมทรงลังกา
หรือทรงโอคว่ำ ดังที่เห็นในปัจจุบัน โดยหาดทรายแก้วสถานที่สร้างพระบรมธาตุนั้น
เป็นสันดอนทรายชายฝั่งที่เกิดจากการตกตะกอนสะสมในทะเลจนเกิดเป็นผืนแผ่นดินขึ้น
ซึ่งก็คือที่ตั้งของ “เมืองนครศรีธรรมราช” ในปัจจุบันนั่นเอง

Read more »

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

DCF 1.0

ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง วัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้และประเทศไทย เปรียบเสมือนศูนย์รวมใจของพุทธศาสนิกชนชาวใต้ มีพระบรมธาตุเจดีย์อันยิ่งใหญ่ที่มีส่วนยอดเจดีย์เป็นทองคำเป็นภาพสะท้อนแห่งความศรัทธาของชาวพุทธที่มีต่อการสร้างพระบรมธาตุเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (พระทันตธาตุหรือพระเขี้ยวแก้วเบื้องซ้าย) ตามตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช กล่าวว่า เจ้าชายธนกุมารและพระนางเหมชาลา เป็นผู้นำเสด็จพระบรมธาตุมาประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้วและสร้างเจดีย์องค์เล็ก ๆ เป็นที่หมายไว้ ต่อมาในปีมหาศักราช 1098 (พ.ศ.1719) พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นพร้อมการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ พระบรมธาตุเจดีย์มีลักษณะรูปแบบศิลปกรรมเป็นเจดีย์ทรงลังกาสูง 55.78 เมตร (กรมศิลปากรวัดเมื่อการบูรณะปลียอดทองคำเมื่อ พ.ศ. 2538) จากฐานบัวคว่ำบัวหงายถึงปลียอด 6.80 เมตร ใช้ทองคำเนื้อสิบหุ้มโดยรอบ ภายในวัดพระมหาธาตุฯ มีวิหารที่มีความสำคัญหลายหลังประดิษฐานอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระวิหารหลวง มีความงามตามแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา นอกจากนั้นยังมี วิหารสามจอม วิหารที่มีพระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ชื่อว่า “พระศรีธรรมาโศกราช” ประดิษฐานอยู่ วิหารพระมหาภิเนษกรมน์ (วิหารพระทรงม้า) ส่วนวิหารเขียนและวิหารโพธิ์ลังกานั้นเป็นสถานที่จัดแสดงโบราณวัตถุที่พุทธศาสนิกชนถวายเป็นพุทธบูชา ส่วนฐานขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ (วิหารทับเกษตร) มีซุ้มถึง 22 ซุ้ม แต่ละซุ้มมีหัวช้างยื่นออกมารองรับพระบรมธาตุเจดีย์ ประหนึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งการค้ำจุ้นพระพุทธศาสนาให้มั่นคง นอกจากนี้ยังมีปริศนาธรรมให้ค้นหา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกมากมาย ภายในวัดมีแหล่งจำหน่ายสินค้าที่ระลึกขึ้นชื่อของเมืองนคร อาทิเช่น เครื่องเงิน เครื่องถม ตัวหนังตะลุง เป็นต้น ผู้มาเยือนที่นี่นิยมนำผ้าขึ้นห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

Read more »

พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช

chedi8

ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง วัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของ ภาคใต้และประเทศไทย ตามตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช
ตามตำนานกล่าวว่า พระบรมสารีริกธาตุเสด็จมาสู่หาดทรายแก้ว โดยนางเหมชาลาฒ และพระธนกุมาร เมื่อประมาณปี พ.ศ.๘๓๔ จึงได้สร้างพระบรมธาตุ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ผู้ปกครองเมืองนครศรีธรรมราช จะก่อสร้างตกแต่งเพิ่มเติมอยู่เสมอ เพื่อสร้างสมความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อองค์พระบรมธาตุเช่น สมัยศรีวิชัยได้สร้างเป็นเจดีย์ทรงศรีวิชัย ต่อมาในรัชสมัยพระเจ้าจันทรภาณุ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๗๙๐ ได้ทรงสร้างเป็นเจดีย์ทรงลังกาครอบองค์เจดีย์เดิมแบบศรีวิชัยไว้ภายใน

พระบรมธาตุเจดีย์ ประดิษฐานอยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นปูชนียสถานอันเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงสุดของชาวนครศรีธรรมราช และชาวใต้ทั้งปวง ไม่ปรากฎหลักฐานที่แน่นอนเกี่ยวกับประวัติการสร้างตามตำนานกล่าวว่า พระเจดีย์องค์เดิมสร้างตามความเชื่อของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๓๐๐ สมัยอาณาจักรตามพรลิงค์ ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัย ต่อมาเมื่อได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับพระภิกษุลังกา โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช ได้นิมนต์พระภิกษุลังกามาตั้งคณะสงฆ์ในเมืองนครศรีธรรมราชเป็นการสถาปนาพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในระยะนั้นพระบรมธาตุองค์เดิมชำรุดทรุดโทรมมาก พระภิกษุลังกาจึงได้ช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์ให้เป็นสถาปัตยกรรมแบบลังกา โดยสร้างพระสถูปแบบลังกาครอบองค์พระเจดีย์เดิม เป็นพระสถูปทรงโอคว่ำปากระฆังติดกับพื้นกำแพงแก้ว ที่มุมกำแพงแก้วมีพระบรมธาตุจำลองประดิษฐานอยู่ทั้งสี่มุม

Read more »

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

โบราณวัตถุที่สำคัญในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารดังนี้

1.พระบรมธาตุเจดีย์

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระบรมธาตุเจดีย์ เป็นทรงระฆังคว่ำ(โอคว่ำ) ปากระฆังติดกับพื้นกำแพงแก้ว ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆดังนี้

ส่วนประกอบของพระบรมธาตุเจดีย์

ความสูงของพื้นถึงยอด สูง 37 วา ฐานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง กว้าง 3 ศอก ฐานยาวด้านละ ยาว18 วา 1 ศอก 15 นิ้ว ยอดหุ้มด้วยทองคำหนัก 800 ชั่ง (600 กิโลกรัม) ส่วนที่หุ้มทองคำ สูง 6 วา 2 ศอก 1 คืบ ปล้องไฉน 52 ปล้อง หน้ากระดานปล้องไฉนมีพระเวียน 8 องค์ บัวคว่ำ บัวหงาย หุ้มด้วยทองคำแผ่น สูง6 วา 2 ศอก 1 คืบ ทองรูปพรรณหลายชนิด เช่น แหวน จำนวนมากกำไล ต่างหู ผูกแขวนบนปลียอดทองคำ บนยอดสุดมีบาตรน้ำมนต์ 1 ใบ รอบองค์เจดีย์ระฆังคว่ำ มีกำแพงแก้ว 4 ด้าน เท่ากัน กว้าง/ยาว 12 วา 2 ศอก รอบกำแพงแก้วมีใบเสมา และรั้วเหล็กรอบกำแพงแก้ว ฉัตร บังสูรย์ และกระดิ่งเป็นระฆัง ห้อย ฐานพระบรมธาตุเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีหัวช้างยื่นออกจากฐาน 22 หัว
Read more »

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช –ความสำคัญต่อชุมชน

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักดีทั้งในเมืองนครศรีธรรมราช และ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย เพราะมีความสำคัญดังนี้

เป็นที่ตั้งขององค์พระบรมธาตุเจดีย์อันเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พุทธศาสนิกชนทั้งใกล้และไกลจะหลั่งไหลมามนัสการพระ บรมธาตุเจดีย์อยู่มิได้ขาดสาย มีโบราณสถานโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก อยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหา วิหารซึ่งล้วนแล้วแต่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรมทั้งสิ้น เช่น พระวิหารหลวง วิหารพระม้า วิหารเขียน วิหารโพธิ์ลังกา วิหารสามจอม วิหารพระแอด วิหารทับเกษตร วิหารคดหรือพระระเบียง วิหารธรรมศาลา วิหารโพธิ์พระเดิม เจดีย์รอยองค์พระบรมธาตุเจดีย์ พระพุทธบาทจำลอง พระศรีมหาโพธิ์ พระพวย พระบรมราชา พระบุญมาก พระพุทธรูปปาง ประทานอภัย พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช โดยเฉพาะพระวิหารหลวงนั้นเป็นอาคารที่มีความใหญ่ โตและงดงามมากนับเป็นพระอุโบสถที่กว้างใหญ่ที่สุดในภาคใต้ เป็นแหล่งเริ่มต้นของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่อง ด้วยองค์พระบรมธาตุเจดีย์เป็นที่รวมแห่งความเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชน จึงได้มีการนำ ทรัพย์สินเงินทองมาถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งทางวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารก็ได้ใช้วิหารเขียน เป็นที่เก็บรักษาสิ่งของขนาดเล็กที่ทำด้วยทอง เงิน นาก สำริด เช่น พระพุทธรูป ต้นไม้เงิน ต้น ไม้ทอง ถ้วยชาม และใช้วิหารโพธิ์ลังกาเก็บโบราณวัตถุ เช่นศิลาจารึก เครื่องปั้นดินเผา พระ พุทธรูป หีบศพเจ้าพระยานคร พระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นต้น จึงได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ ของวัดไป เมื่อ พ.ศ. 2480 กรมศิลปากรได้ประกาศรับพิพิธภัณฑสถานของวัดพระมหาธาตุวร- มหาวิหารเป็นสาขาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ชื่อว่า ?ศรีธรรมราช พิพิธภัณฑสถาน? ซึ่งต่อมากรมศิลปากรก็ได้จัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัด นครศรีธรรมราชขึ้นใหม่ที่หน้าวัดสวนหลวง ตำบลศาลามีชัย อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เป็นแหล่งเริ่มต้นของหอสมุดแห่งชาติสาขาจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2480 กรมศิลปากรได้มาตั้งหอสมุดแห่งชาติสาขาจังหวัดนครศรีธรรมราชในวัด พระมหาธาตุวรมหาวิหาร โดยใช้สถานที่ที่วิหารสามจอม เมื่อมีหนังสือเพิ่มจึงได้ย้ายไปที่วิหาร ธรรมศาลา วิหารทับเกษตรและวิหารคด ตามลำดับ ต่อมากรมศิลปากรได้ไปจัดสร้างหอสมุด แห่งชาติสาขาจังหวัดนครศรีธรรมราช ขึ้นที่หน้าวัดสวนหลวง ตำบลศาลามีชัย อำเภอเมือง นครศรีธรรมราช เป็นแหล่งกำเนิดประเพณีสำคัญ ๆ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ ประเพณี แห่ผ้าขึ้นธาตุ ประเพณีตักบาตรธูปเทียน ส่วนประเพณีสวดด้านในปัจจุบันได้สูญหายไป ในวัน สำคัญทางพุทธศาสนาจะมีพุทธศาสนิกชนพร้อมใจกันมาทำบุญในวัดพระมหาธาตุเป็นจำนวน มาก ใช้เป็นสถานที่ประกอบราชพิธีและพิธีที่สำคัญในอดีต เช่น การแต่งตั้งเจ้าเมือง การถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พิธีแรกนาขวัญ พิธีโล้ชิงช้า

ขอขอบคุณ http://www.m-culture.in.th/

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช –ประวัติความเป็นมา

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช สันนิษฐาน จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชว่า สร้างโดยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ใน พ.ศ.1098 เพื่อเป็นที่ ประดิษฐานองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ในสมัยโบราณถือว่าเป็นเขตพุทธาวาสจึงไม่มีพระสงฆ์จำ พรรษา ต่อมาได้มีการบูรณะและสร้างเสริมโบราณวัตถุ โบราณสถานภายในวัดอีกหลายครั้ง

ในสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชโปรดเกล้าฯให้นำทองแดงหล่อปิดทอง ยอดพระบรมธาตุและสร้างพระระเบียงโดยรอบทั้งหมด165 ห้อง พระพุทธรูป 165 องค์ สร้าง กำแพง 4 ด้าน สร้างวิหารสามจอม และพระรูปพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช

สมัยธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราชได้บูรณะวิหารทับเกษตร วิหารหลวง และศาลากุ ฎิในพระอาราม ถมทรายเทปูนรอบพระบรมธาตุเจดีย์ ยกพื้นสูง 75 ซม.กว้าง 1 เมตรเรียกกัน ว่า ทางเดินพระเจ้าตากสิน

สมัยรัตนโกสินทร์ การบูรณะครั้งใหญ่ทำในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวในระหว่างปี พ.ศ. 2437 ถึง พ.ศ. 2441 มีผู้นำในการบูรณะคือ พระครูเทพมุนีศรีสุวรรณถู ปาฏมาภิบาล (ปาน) ต่อมา พ.ศ. 2513 กรมศิลปากรได้ซ่อมแซมวิหารคดหรือพระระเบียงและมี การซ่อมอีกหลายครั้ง

สมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้บูรณะปฏิสังขรณ์กลีบบัวทอง คำ ปัจจุบันได้มีการบูรณะซ่อมปลียอดทองคำโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราช กุมารีเป็นองค์ประธานคณะกรรมการโครงการเหรียญบาทสืบทอดพระธาตุเมืองคอนโดยมีกรม ศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการบูรณะปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์ โดยเสริมความแข็งแรงของปลียอด
ขอขอบคุณ http://www.m-culture.in.th/

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเดิมเรียกว่าวัดพระบรมธาตุ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร และมีอายุการก่อสร้างเก่าแก่ โดยมีความสำคัญทางศาสนามาแต่โบราณ อีกทั้งมีโบราณสถานที่สำคัญของประวัติศาสตร์ทางโบราณคดีและศาสนา

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือ ที่ชาวนครเรียกว่าวัดพระธาตุ โบราณสถานสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็น มิ่งขวัญชาวเมืองนครศรีธรรมราชตลอดจนพุทธศานิกชน ทั้งหลาย สัญลักษณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่รู้จัก กันแพร่หลายก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เนื่องจากเป็นที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศจดทะเบียนวัดพระมหาธาตุเป็นโบราณสถาน นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้

พระบรมธาตุเจดีย์เป็นเจดีย์สถาปัตยกรรมแบบล้านนา มีจุดเด่นที่ยอดเจดีย์ ซึ่งหุ้มด้วยทองคำแท้ จากความเชื่อ เล่าสืบตอบกันมาว่าองค์พระธาตุประกอบด้วยทองรูปพรรณและของมีค่ามากมายจรดปลายเจดีย์ ซึ่งสิ่งของมีค่า เหล่านี้พุทธศสานิกชนนำมาถวายแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อให้ตนได้พบกับนิพพาน จากคำขวัญประจำ จังหวัดเมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปข้อความว่า พระธาตุทองคำ จึงหมายถึง ยอดเจดีย์ทองของพระบรมธาตุนั่นเอง และหากใครต้องการ ชมยอดพระธาตสีทองเหลืองอร่ามอย่างใกล้ชิด มีบริการกล้องส่องทางไกลให้ใช้บริการสนนราคาแล้ว แต่ตกลง กันว่าจะชื่นชมความงดงามนั้นนานเพียงใด ด้วยความมีชื่อเสียงและศักดิ์สิทธิ์ของพระบรมธาตุเจดีย์ ดึงดูดให้ผู้คน จากทั่วสารทิศแวะมากราบไหว้ขอพรคู่ไปกับพิธีปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง คือ การนำผ้าขึ้นธาตุ ตามตำนานเชื่อว่า หากใครได้นำผ้าขึ้นธาตุ และบนขอพรใน เรื่องใด จะขอให้หายเจ็บหายไข้ ขอให้ได้ลูก ขอเรื่องการงานการเรียน สิ่งนั้นก็จะเป็นจริงดังหวัง มีเรื่องเล่าว่า มีชายคน หนึ่งประสบอุบัติเหตุเดินไม่ได้ รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หาย สุดท้ายพ่อแม่ไม่รู้จะทำอย่างไร จึงมาบนและนำผ้าขึ้นธาตุที่ พระบรมธาตุ ขอให้ลูกชายหายจากอาการป่วยและหากหายจะให้มาบวชที่วัดพระธาตุ ในไม่ช้าชายหนุ่มคนดังกล่าว ก็หายวันหายคืน จนกลับมาเดินได้เป็นปกติในทุกปีช่วงวันมาฆและวันวิสาขบูชา จะจัดงานแห่ผ้าขึ้นธาตุซึ่งถือเป็น งาน บุญประจำปีที่มีผู้คนจากทั่วสารทิศมาร่วมสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่นี้ความ มหัศจรรย์อย่างหนึ่งของ องค์พระบรมธาตุ คือ องค์พระธาตุจะไม่มีเงาทอดลงพื้นไม่ว่าแสงอาทิตย์จะส่องกระทบไปทางใด ซึ่งยังไม่มี ใครหาคำตอบ ได้ว่าเป็นเพราะอะไร จากความมหัศจรรย์นี้ ท.ท.ท. จึงให้เจดีย์นี้เป็น 1 ใน unseen Thailand ของเมืองไทย นอกจากพระบรมธาตุเแล้วเจดีย์องค์เล็กที่รายล้อมรอบองค์พระธาตุมากมายเป็นสิงที่แปลกตาแก่นักท่องเที่ยว ที่ได้พบเห็น เจดีย์นี้เรียกว่า องค์เจดีย์บริวาร ซึ่งมีทั้งหมด 149 องค์เจดีย์บริวาร คือ เจดีย์ที่ลูกหลานบรรพบุรุษ ได้สร้างไว้สืบต่อกัน มาเรื่อยๆเพื่อบรรจุอัฐิของญาติผู้ล่วงลับไปแล้วโดยอธิษฐานว่าขอให้ญาติของตนได้มาเกิด ในศาสนา ของพระพุทธองค์อีกครั้งในภพหน้า นอกจากความหัศจรรย์ของพระธาตุไร้เงาแล้ว เจดีย์บริวารที่ เรียงราย ล้อมรอบองค์พระบรมธาตุเป็นสิ่งมหัศจรรย์ซึ่งเราไม่ค่อยได้เห็นจากที่ใดเช่นกัน

Read more »

ประวัติวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร มีโบราณสถานโบราณวัตถุที่สำคัญอยู่มากมาย จึงได้รับประกาศให้เป็นโบราณสถานของชาติ ดังประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๓๔ หน้า ๑๕๓๐ วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๗๙ และประกาศขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุจำนวน ๒๑ รายการ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๖ หน้า ๗๒๖-๗๒๘ วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๓๒ ทั้งนี้เพราะแทบทุกที่ทุกทางภายในวัด ล้วนมีคุณค่าต่อการศึกษาและมีประโยชน์สำหรับอนุชนทั้งสิ้น ซึ่งจะขอกล่าวถึงโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญภายในวัดตามลำดับ ดังนี้

องค์พระบรมธาตุเจดีย์
สัญลักษณ์ของเมืองนครศรีธรรมราชที่รู้จักกันดีในทุกภาคของประเทศไทย ตลอดถึงต่างประเทศก็คือองค์พระบรมธาตุเจดีย์ อันเป็นมิ่งขวัญของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชและชาวพุทธทั้งมวล เพราะเป็นที่บรรจุประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่เคารพสักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เป็นเจดีย์ทรงกลมแบบลังการูประฆังคว่ำ หรือโอคว่ำ ตั้งอยู่บนลานทักษิณสี่เหลี่ยม
กล่าวกันว่า แต่เดิมรูปทรงของพระบรมธาตุเจดีย์ไม่ได้มีรูปทรงอย่างทุกวันนี้ ที่เห็นเป็นพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่เพื่อครอบเจดีย์องค์เก่าไว้ พระเจดีย์องค์เดิมที่อยู่ภายในนั้นสร้างตามคติความเชื่อของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ในสมัยศรี

Read more »

วัดพระมหาธาตุ ว่าที่มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย

Image

ถือเป็นหนึ่งในข่าวดีของเมืองไทยที่ล่าสุด “วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร” หรือ “วัดพระมหาธาตุ” จ.นครศรีธรรมราช ได้รับการลงมติรับรองให้วัดพระมหาธาตุ ขึ้นเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น จากที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่จัดประชุมขึ้น ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา

ทั้งนี้ในขั้นตอนต่อไปประเทศไทยจะต้องจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ หรือที่เรียกว่าแฟ้มข้อมูล (Nomination File) ส่งไปยังศูนย์มรดกโลกในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 เพื่อผลักดันให้เข้าสู่วาระการพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกต่อไป ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี

วัดพระมหาธาตุเมืองนคร ตั้งอยู่ในตัวเมืองนครศรีธรรมราช มี “พระบรมธาตุเมืองนคร” หรือ “องค์พระบรมธาตุเจดีย์” เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญคู่บ้านคู่เมือง ตามตำนานกล่าวว่า สร้างขึ้นครั้งแรกประมาณ ปี พ.ศ. 854 ด้วยศิลปะการก่อสร้างแบบศรีวิชัย (หลายคนเชื่อว่ามีลักษณะคล้ายพระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี) ภายในบรรจุพระทันตธาตุ (ส่วนฟันของพระพุทธเจ้า)
Read more »

สิ่งที่น่าสนใจในวัพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

watpratad12 watpratad8

1. พระบรมธาตุเจดีย์
2. วิหารพระทรงม้า
3. วิหารเขียน
4. วิหารโพธิ์ลังกา
5. วิหารสามจอม
6. วิหารพระแอด
7. วิหารทับเกษตร
8. วิหารคด
9. วิหารธรรมศาลา
10. วิหารหลวง
11. วิหารโพธิ์พระเดิม
12. พระอุโบสถ
13. เจดีย์รายรอบพระบรมธาตุเจดีย์
14. โบราณวัตถุภายในวัด

นอกจากนี้ในบริเวณวัดพระธาตุ ยังจำหน่าย สินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ (OTOP)เครื่องถมนคร งานฝีมือโบราณที่ ถือเป็นเอกลักษณ์ของนครศรีธรรมราช เครื่องถมหลากหลายทั้งแหวน สร้อย กำไล พาน ขันและอื่นๆ อีกมากมี แหล่งขายรวมอยู่ที่ถนนท่าช้าง หลังสนามหน้าเมืองบริเวณวัดพระมหาธาตุวรวิหาร และตลาดท่าวัง

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .